วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

[SIAMHRM.COM :14653] Re: ลาพักร้อน

สวัสดีครับ ผมน้องชายคุณอดิศร ครับ
 
Copy ที่พี่อดิศร ตอบคำถาม เรื่อง ลาพักร้อน กับสมาชิก มาให้ทราบน่ะครับ.....
 
อ่อ..น้องเนี้ย น้องในวงการ HR แล้วก็น้องจังหวัดนนทบุรีน่ะครับ  เผอิญ พี่อดิศร อยู่ปัตตานี ไงครับ ฮ่า...
 
อย่าเข้าใจผิดว่า เป็นน้องสายพันธ์ทางพันธุกรรม น่ะค๊าบบ เอิ๊กกกก..เพราะถ้าสายพันธ์ ก็คงสายพันธ์ ยุ่งทุกเรื่อง พอกัน กระมั้ง คริคริ...
 
สวัสดีครับ อดิศร ครับ
ในประเด็นนี้ขออธิบายในสาระของมาตรา 30 อีกครั้งนะครับ ว่าทำไมผมถึงบอกว่าถ้าลูกจ้างมาขอลาพักร้อนแล้วนายจ้างไม่อนุญาต นายจ้างอาจไปละเมิดสิทธิในวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้
สาระสำคัญของมาตรา 30
1. วันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นวันหยุด ไม่ใช่วันลา ดังนั้นกรณีที่นายจ้างมิได้จัดให้ลูกจ้างหยุดแต่ละปี นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างชดเชยวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้หยุดคืนให้แก่ลูกจ้าง
2. ในกรณีที่มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือมีข้อตกลงกับลูกจ้างไว้ให้ลูกจ้างยื่นขอหยุดขึ้นมาเพื่อให้นายจ้างอนุมัติ ถ้าไม่ยื่นขอลาหรือใช้สิทธิไม่หมดถือว่าลูกจ้างสละสิทธินั้น ข้อความในลักษณะนี้เป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับเพราะเป็นการขัดต่อกฎหมาย นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างชดเชยวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังไม่ได้หยุดหากลูกจ้างยื่นคำฟ้องเรียกร้องเงินส่วนนี้ มีอายุความ 2 ปี
 
  จากสาระสำคัญสองข้อนี้ ในทางปฏิบัติที่ถูกต้อง
  -  ประการแรกเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่ว่าจะเป็นระเบียบข้อบังคับในการทำงานหรือเอกสารแจ้งการใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น นายจ้างไปใช้คำว่า "ลา" ไม่ได้ครับ เอกสารทั้งหมดนี้จะเป็นโมฆะ และเมื่อถึงเวลามีข้อพิพาท นายจ้างก็จะเสียเปรียบตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว
   - ในทางปฏิบัตินายจ้างต้องกำหนดล่วงหน้าให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปี หรือ กำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
หากสถานประกอบการที่มีลูกจ้างไม่มากและนายจ้างสามารถกำหนดล่วงหน้าได้และลูกจ้างตกลงก็สามารถตกลงให้ลูกจ้างได้ใช้สิทธิตามที่นายจ้างกำหนดได้ เอกสารที่เกี่ยวข้องก็จะไม่ใช้ใบลาครับ แต่นายจ้างอาจมีเอกสารบันทึกไว้ว่าลูกจ้างคนไหนหยุดพักผ่อนประจำปีวันไหน และเมื่อถึงเวลาก็ให้ลูกจ้างมาลงชื่อขอใช้สิทธิตามที่กำหนดไว้ หรือหากสถานประกอบการไหนมีลูกจ้างเยอะ การกำหนดจากนายจ้างอาจมีปัญหาได้เพราะลูกจ้างบางคนก็ไม่สะดวก  ก็ให้นายจ้างกับลูกจ้างตกลงกันเป็นราย ๆ ไปได้ แต่หากลูกจ้างหยุดไปโดยไม่บอกล่าวล่วงหน้าหรอืไม่มีเหตุผลอันสมควรเค้าก็จะมีความผิดทางวินัยอยู่แล้วครับ ประเด็นนี้จึงอยู่ที่วิธีการว่าเราจะทำอย่างไรให้สะดวกกันทั้งสองฝ่าย นายจ้างก็ต้องมีหน้าที่ให้ลูกจ้างได้ใช้สิทธิ ลูกจ้างก็จะต้องใช้สิทธิตามความเหมาะสมโดยไม่ทำให้นายจ้างเสียหายแล้วก็ตกลงกัน โดยเอกสารจะใช้ใบลาไม่ได้เพราะเป็นโมฆะ แต่ก็จำเป็นต้องมีเอกสารไว้บันทึก ซึ่งในสาระของกฎหมายเค้าจะเรียกว่า เอกสารยื่นขอใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีครับ
    เช่นสถานประกอบการที่ผมทำงานอยู่มีลูกจ้าง 1300 คน การกำหนดล่วงหน้าให้ลูกจ้างแต่ละคนหยุดพักผ่อนประจำปีวันไหนก็ยุ่งยากพอสมควรครับ กำหนดไปแล้วก็มีลูกจ้างเข้ามาขอแก้ไขตามความจำเป็นของเค้าซึ่งเราก็ต้องรับฟังเพื่อให้ทุกคนได้ใช้สิทธิอย่างเหมาะสมเหมือนกัน ไม่งั้นลูกจ้างก็ไม่มีความสุขครับ  วิธีการที่ผมใช้โดยได้รับคำแนะนำจากนิติกรก็คือในแต่ละปีจะกำหนดให้ลูกจ้างแต่ละคนไปเลยว่า มีสิทธิในวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีนี้กี่วัน ( มีหลายอัตราครับ ตั้งแต่ 6 จนถึง 15 ตามตำแหน่งงานและอายุงาน ) ทีนี้เวลาที่พนักงานต้องการใช้สิทธิวันไหนก็ให้มาแจ้งต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนจะขอใช้สิทธิ หากผู้บังคับบัญชาไม่มีปัญหาอะไร พนักงานก็จะมาเอาเอกสารขอใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ฝ่ายบุคคล เพื่อนำไปกรอกรายละเอียดว่าจะหยุดวันไหน แล้วก็ให้ผู้บังคับบัญชานั้นลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิได้เป็นหลักฐานไว้ และส่งเอกสารนี้กลับมาที่ฝ่ายบุคคลเพื่อบันทึกประวัติต่อไป แต่หากผู้บังคับบัญชามีปัญหาว่าวันที่ขอใช้สิทธินั้น จำเป็นจะต้องมีคนทำงานอยู่ เพราะอาจจะมีงานเร่งด่วนหรืออะไรก็ตาม ก็ให้ผู้บังคับบัญชานั้นตกลงกับพนักงานให้ชัดเจนและยอมรับกันทั้งสองฝ่ายว่าจะเลื่อนออกหรือเลื่อนเข้าไปในวันไหนแทน ตกลงกันอย่างไรก็มาขอเอกสารนี้ที่ฝ่ายบุคคลเช่นกัน แต่ทั้งนี้ในปีนั้น ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ที่จะต้องจัดให้ลูกน้องตัวเองได้หยุดพักผ่อนประจำปีให้ครบตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดไว้แล้ว
ถ้าหากไม่สามารถจัดให้ครบได้ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม เมื่อครบกำหนดสิ้นปีแล้ว บริษัทก็จะต้องจ่ายค่าจ้างชดเชยวันหยุดพักผ่อนประจำปีคืนให้พนักงานคนนันไปครับ เพราะเราไม่อนุญาตให้สะสมไปในปีถัดไป จะไม่มีการใช้ใบลาเลย ในทางปฏิบัติลักษณะนี้ก็ทำนองเดียวกับการลางานนั่นล่ะครับ แต่แตกต่างตรงที่ 1. ไม่มีการใช้เอกสารใบลา และ 2. ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ที่จะต้องตกลงกับพนักงานในแต่ละปีเพื่อให้พนักงานได้ใช้สิทธิให้ครบ 3. หากไม่ครบ บริษัทก็จะต้องรับผิดชอบจ่ายค่าจ้างชดเชยวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ เพราะหากไม่จ่ายโดนลูกจ้างฟ้องได้ครับ
 อายุความก็ตั้งสองปีซะด้วย นอกจากนี้การไม่จ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีก็เป็นคดีอาญานายจ้างมีโทษตามบทกำหนดโทษมาตรา 145 ครับ   
   เรื่องนี้อธิบายเพิ่มเติมว่าผมมีประสบการณ์เรื่องนี้โดยตรงครับ คือเมื่อประมาณสักสี่ปีมาแล้ว มีพนักงานที่บริษัทเค้าบ่น ๆ ออกมาว่าหัวหน้าเค้าไม่อนุญาตให้ลาพักร้อน แล้วก็มีหลายคนด้วย เค้าก็เลยเข้ามาปรึกษาผมว่าจะทำยังไงดี อยากหยุดก็ไม่ได้หยุด  ผมก็เลยเข้าไปปรึกษานิติกร เอาข้อบังคับการทำงานเข้าไปด้วย นิติกรก็เลยอธิบายสาระสำคัญและเจตนารมณ์ของมาตรา 30 ให้ผมฟังอย่างละเอียด และแนะนำว่าข้อบังคับที่เขียนมานั้นเป็นโมฆะทั้งหมดรวมทั้งใบลาพักร้อนด้วย และวิธีการในการปฏิบัติที่ใช้กันอยู่นี้ ก็ขัดต่อกฎหมาย ให้ผมแก้ไขใหม่ทั้งหมดครับ โดยจะต้องไม่มีคำว่าลาพักผ่อน ลาพักร้อน หรือลาอะไรก็แล้วแต่ ใช้คำว่าลาไม่ได้ แล้วระเบียบก็ต้องเขียนถึงสิทธิในค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ชัดเจน ผู้บังคับบัญชาจะได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องครับ
   ส่วนเรื่องวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมนั้น หากจะกำหนดให้สะสม เงื่อนไขจะกำหนดอย่างไรก็แล้วแต่  ก็ต้องให้ลูกจ้างได้สิทธินั้นให้ครบนะครับ ไปตัดสิทธิไม่ได้ครับ นายจ้างอาจกำหนดอย่างไรก็ตามแต่หากขัดต่อมาตรา 30 มาตรา 56 มาตรา 67 ก็ใช้บังคับไม่ได้ครับ
ส่วนที่บอสไปคุยกับแรงงานเรื่องการคำนวณพักร้อนสะสม  เข้าใจว่าเป็นประเด็นของการจ่ายค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมตามมาตรา 67 นะครับ  ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีมีสองกรณี คือค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสม ผมแนบคำชี้แจง พรบ. 2551 มาให้อ่านดูนะครับ เพราะจะอธิบายถึงวิธีการคิดค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมไว้ว่ามีฐานคิดจากอะไรบ้าง
 
อดิศร


From: st.iceberg@hotmail.com
To: adisorn_pers@hotmail.com; siamhrm@googlegroups.com; thitipan_vip@hotmail.com
Subject: [SIAMHRM.COM :13820] Re: รบกวนด่วน!! ปรึกษา เรื่องพักร้อนสะสมครับ
Date: Fri, 12 Jun 2009 00:38:30 -0800

เรียน คุณฐิติพันธ์ และคุณอดิศร
   ขอบคุณมากๆ สำหรับความเห็นตามแนวทางข้อกฎหมายครับ  แต่ผมมีส่วนที่คิดแตกต่างกับคุณอดิศร ตรงที่
มาตรา30 ที่ระบุไว้ว่า ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ หนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้า หรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
ประเด็นที่คุณอดิศรพูดมาว่า

  1. การใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น ลูกจ้างไม่จำเป็นต้องมาขอลาต่อนายจ้าง และหากนายจ้างใช้วิธีให้ลูกจ้างมาขอลาแล้วนายจ้างไม่อนุญาตให้ลานายจ้างก็จะมีความผิดตามมาตรา 30 เพราะไปละเมิดสิทธิของลูกจ้าง การปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมายคือนายจ้างต้องกำหนดล่วงหน้าในแต่ละปีออกมาว่าจะให้ลูกจ้างแต่ละรายหยุดพักผ่อนประจำปีวันไหนหรือนายจ้างกับลูกจ้างแต่ละรายอาจพูดคุยตกลงกันก่อนล่วงหน้าก็ได้ครับ และเมื่อถึงวันที่ได้ตกลงกันแล้วลูกจ้างก็สามารถหยุดพักผ่อนประจำปีตามที่ได้กำหนดไว้  

 

ตรงที่ผมขีดเส้นใต้ไว้ที่ข้อความที่คุณอดิศรพูดถึง ไม่น่าจะถูกต้องนะครับ เพราะว่า มาตรา 30 ที่ระบุไว้ว่า หรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน การที่ลูกจ้างมาขอลางาน แล้วนายจ้างไม่อนุญาต อาจเพราะเหตุผลด้านการปฎิบัติงาน ความจำเป็นที่ไม่สามารถให้ลางานได้ คงต้องมีการตกลงวันพักร้อนกันอีกทีหนึ่ง คงไม่ใช่ความผิดของนายจ้างที่กฎหมายจะเอาผิด เพราะไปละเมิดสิทธิของลูกจ้าง แต่เนื่องจากเหตุผล และความจำเป็น ที่ได้ทำการพูดคุย ชี้แจงให้ทราบ ของทั้งสองฝ่าย และส่วนที่ลูกจ้างก็ไม่จำเป็นต้องมาขอลางานต่อนายจ้าง ก็คงไม่ถูกต้อง เช่นในการณีหยุดหายไปเลย ไม่มีการแจ้ง ทางนายจ้างก็คงคิดว่าเป็นการขาดงาน ไม่มีเหตุผลอันสมควร ทำให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อการดำเนินกิจการ ส่วนลูกจ้างก็อ้างสิทธิพักร้อนที่ไม่ต้องแจ้งต่อนายจ้าง

 

   2. บอสผมได้ทำการคุยกับแรงงาน  ในประเด็นเรื่องการคำนวณพักร้อนสะสม แล้วจำนวนวันพักร้อนเกินสิทธิที่จะสะสม วันพักร้อนที่เกินก็จะโดนตัดสิทธินี้ ทางแรงงานแจ้งว่า ไม่ผิดกฎหมาย ทางบริษัทไม่ทำเป็นต้องจ่ายคืน และไม่จำเป็นต้องประกาศแจ้งให้พนักงานทราบด้วย

 

   3. ส่วนคำตอบของคุณฐิติพันธ์ ปัจจุบันบริษัทผมก็ใช้แนวทางดังนี้อยู่ แต่มีการแก้กฎระเบียบ เรื่องการจ่ายคืนวันพักร้อนเป็นเงิน ในการณีที่พนักงานลาออก หรือ เลิกจ้างโดยที่ไม่มีความผิด ผมจึงเอาประเด็นการตัดพักร้อนสะสมส่วนเกินมาวิเคราะห์ดูอีกทีว่าควรแก้หรือไม่อย่างไร ( ผมสอบถามบางบริษัทที่ให้สิทธิสะสม เค้าใช้วิธีการประกาศจำนวนวันพักร้อนสะสมคงเหลือที่จะโดนตัดสิทธิ และแจ้งให้พนักงานใช้ภายใน 6 เดือน ไม่ใช้จะถือว่าสละสิทธิ )

 

ปล. เพื่อนๆ คนอื่นมีความคิดเห็น และแนวทางอย่างไร รบกวน Share ความรู้กันด้วยนะครับ

 

มานิต

 

 



 

 

From: thitipan_vip@hotmail.com
To: st.iceberg@hotmail.com
Subject: RE: [SIAMHRM.COM :13794] รบกวนด่วน!! ปรึกษา เรื่องพักร้อนสะสมครับ
Date: Fri, 12 Jun 2009 09:52:37 +0700

เรียน  คุณมานิต
 
สิทธิในการหยุดพักผ่อนประจำปีที่พนักงานได้รับคือ สะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้ไม่เกิน 2 ของเท่าของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่มีสิทธิ และสะสมได้ไม่เกิน 2 ปี ดังนั้น จำนวนวันหยุดพักผ่อนประจำปีของพนักงานก็มีจำนวนไม่เกินสิทธิที่ได้รับดังกล่าว สำหรับจำนวนวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมเมื่อคำนวณแล้วเกินสิทธิที่ได้รับดังกล่าว บริษัทท่านไม่จำเป็นต้องจ่ายเป็นเงินแต่อย่างใด
 
ฐิติพันธ์
 


From: adisorn_pers@hotmail.com
To: st.iceberg@hotmail.com; siamhrm@googlegroups.com
Subject: [SIAMHRM.COM :13807] Re: รบกวนด่วน!! ปรึกษา เรื่องพักร้อนสะสมครับ
Date: Fri, 12 Jun 2009 09:16:32 +0700


สวัสดีครับ อดิศร ครับ

เรื่องพักร้อน เป็นมาตรา 30 ซึ่งตามกฎหมายจะเรียกว่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีนะครับ

ในมาตรา 30 นี้ จะต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า ไม่ใช่เรื่องของสิทธิในการลางานเหมือนกับการลากิจนะครับ เป็นสิทธิคนละประเภทกัน และนอกจากจะมีมาตรา 30 แล้ว ยังไม่มาตราที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้อีกสองมาตรา คือมาตรา 56 และมาตรา 67 ครับ

ขออธิบายโดยสรุปดังนี้นะครับ

   มาตรา 30 เป็นสิทธิของลูกจ้างที่ทำงานมาแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่งปีจะต้องได้สิทธิในวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากนายจ้างปีละไม่น้อยกว่าหกวัน และเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่จะต้องจัดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานครบหนึ่งปี โดยที่นายจ้างจะเป็นผู้กำหนดล่วงหน้าให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีวันไหนก็ได้ หรือนายจ้างกับลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าว่าจะหยุดพักผ่อนประจำปีวันไหนก็ได้

เช่นกัน แล้วแต่ความเหมาะสมหรือความสะดวกของทั้งสองฝ่ายครับ

   วันหยุดพักผ่อนประจำปีนี้นายจ้างอาจกำหนดให้ลูกจ้างสามารถสะสมหรือเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปในปีถัดไปหรือไม่ก็ได้

   มาตรา 56 เป็นหน้าที่ที่นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างครับ

 

    จากสองมาตรานี้ ในทางปฏิบัติที่ถูกต้องคือ

  1. การใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น ลูกจ้างไม่จำเป็นต้องมาขอลาต่อนายจ้าง และหากนายจ้างใช้วิธีให้ลูกจ้างมาขอลาแล้วนายจ้างไม่อนุญาตให้ลานายจ้างก็จะมีความผิดตามมาตรา 30 เพราะไปละเมิดสิทธิของลูกจ้าง การปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมายคือนายจ้างต้องกำหนดล่วงหน้าในแต่ละปีออกมาว่าจะให้ลูกจ้างแต่ละรายหยุดพักผ่อนประจำปีวันไหนหรือนายจ้างกับลูกจ้างแต่ละรายอาจพูดคุยตกลงกันก่อนล่วงหน้าก็ได้ครับ และเมื่อถึงวันที่ได้ตกลงกันแล้วลูกจ้างก็สามารถหยุดพักผ่อนประจำปีตามที่ได้กำหนดไว้ 
  2. ตามมาตรา 56 วันหยุดพักผ่อนประจำปี นายจ้างมีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง

ดังนั้น กรณีที่นายจ้างไม่ได้กำหนดให้สะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปในปีถัดไป สำหรับลูกจ้างที่ใช้สิทธิในปีใดไม่ครบ เมื่อถึงสิ้นปีแล้วนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีคืนให้แก่ลูกจ้าง แต่ถ้านายจ้างให้สะสมหรือเลื่อนไปในปีถัดไปได้ นายจ้างก็จะต้องให้สิทธินั้นให้ครบในปีที่ผ่านมาและรวมกับไปในปีต่อไปให้ครบตามจำนวนวันที่ลูกจ้างได้สิทธิครับ

จะกำหนดให้สะสมได้ไม่เกินกี่ปีก็แล้วแต่ แต่หลักการตามกฎหมายคือเมื่อนับรวมวันหยุดพักผ่อนประจำปีแล้ว ลูกจ้างจะต้องได้สิทธิในแต่ละปีที่รวมกันให้ครบตามสิทธิที่เค้าได้รับจากนายจ้าง

เพราะฉะนั้นการที่ไปกำหนดว่าสะสมได้ไม่เกินกี่เท่าก็แล้วแต่ แต่หากเมื่อนับรวมแล้วลูกจ้างได้วันหยุดพักผ่อนไม่ครบแล้ว นายจ้างก็จะมีความผิดตามมาตรา 30 หรือหากนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ครบตามสิทธิของลูกจ้าง นายจ้างก็จะมีความผิดตามมาตรา 56 ครับ

 ทั้งมาตรา 30 และมาตรา 56 นี้ นายจ้างไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะไปลดหรือตัดสิทธิของลูกจ้างไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้นครับ

 

ส่วนในมาตรา 67 ผมขออธิบายรายละเอียดผมได้เคยอธิบายให้สมาชิกไปแล้วขอยกมาอีกที

ดังนี้ครับ

 คำอธิบายมาตรา 67

 

A. สวัสดีครับ อดิศร ครับ

ขออนุญาตอธิบายเพิ่มเติมอีกนิดนะครับ มาตรา 67 ค่อนข้างมีปัญหาในการตีความพอสมควร

คืองี้ครับ ในมาตรา 67 ของ พรบ. 2541 เขียนไว้ว่า

 

" ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความผิดตามมาตรา 119 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ และรวมทั้งวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมตามมาตรา 30 "

 

   ทีนี้มีปัญหาอยู่ว่า แล้วถ้าเป็นกรณีที่ลูกจ้างขอลาออกเองหรือถูกเลิกจ้างตามมาตรา 119 จะต้องทำอย่างไรกับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสม นายจ้างจะต้องจ่ายให้หรือไม่ เพราะมาตรา 67 ของ 2541 ไม่ได้เขียนไว้ให้มีการคุ้มครองเรื่องสิทธิของลูกจ้างในเรื่องค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามมาตรา 56 กรณีลาออกหรือกรณีมีความผิดตามมาตรา 119 ด้วย

 

   พอมาใน พรบ. 2551 จึงได้มีการแก้ไขใหม่ โดยเจตนารมณ์  เพื่อคุ้มครองให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสม ย้ำว่า วันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสม นะครับ สำหรับกรณีที่ลูกจ้างลาออกจากงาน หรือนายจ้างเลิกจ้างไม่ว่าลูกจ้างจะได้ทำความผิดประการหนึ่งประการใดที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 หรือไม่ เพิ่มเติมเข้ามาด้วยครับ

 

   ในพรบ. 2551 จึงเขียนไว้ดังนี้ครับ

 

มาตรา 19  ให้ยกเลิกความในมาตรา 67 แห่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

 

 

มาตรา  67  ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความผิดตามมาตรา  119  ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา 30

 

 ( ตัดถ้อยคำ "และรวมทั้งวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมตามมาตรา 30" ของ พรบ. 2541 ออก )

 

แล้วยังไม่หมดนะครับ ไม่ใช่เฉพาะยกเลิกตามมาตรา 19 อย่างเดียว แต่มีเพิ่มเติมด้วย ในมาตรา 20

 

มาตรา 20  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 67/1 แห่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

 

มาตรา 67/1  ในกรณีที่นายจ้างหรือลูกจ้างบอกเลิกสัญญาจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมตามมาตรา 30 ที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ

 

( เพื่อให้ลูกจ้างสามารถเรียกร้องค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมในกรณีที่ลูกจ้างลาออกหรือถูกเลิกจ้างได้ )

 

โดยสรุปที่เป็น พรบ. 2551 มาตรา 67 จะเขียนไว้ ซึ่งมีสองวรรค ซึ่งใน 2541 มีวรรคเดียว ดังนี้ครับ

 

     มาตรา  67  ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความผิดตามมาตรา  119  ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ

 

    ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างหรือนายจ้างเลิกจ้าง ไม่ว่าการเลิกจ้างนั้นเป็นกรณีมาตรา 119 หรือไม่ก็ตาม ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมตามมาตรา 30 ที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ

สองวรรคของมาตรา 67 นี้จึงใช้ในกรณีต่างกัน

 

   ในวรรคหนึ่งใช้ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามมาตรา 118 เท่านั้น และที่นายจ้างจะต้องจ่าย คือ ค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี ในกรณีที่ลูกจ้างยังไม่ได้ใช้สิทธิหรือยังใช้สิทธิไปไม่ครบในปีที่นายจ้างเลิกจ้างครับ

 

   ส่วนในวรรคสองที่เพิ่มเข้ามา  ใช้ในกรณีที่ลูกจ้างขอลาออก หรือกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างตามมาตรา 119 หรือมาตรา 118 ก็ตาม หากนายจ้างมีข้อตกลงเรื่องการสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีกับลูกจ้างไว้ในข้อบังคับการทำงาน  นายจ้างจะต้องจ่าย ค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสม ให้ลูกจ้างตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ  วันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสม หมายถึง

วันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างมีสิทธิได้หยุด แต่ตกลงกันสะสมไว้และไม่ทันได้ใช้สิทธิหยุดก็ถูกเลิกจ้างหรือลาออกเสียก่อน และลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างตามจำนวนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่สะสมไว้นั้นในปีก่อนปีที่จะถูกเลิกจ้างหรือลาออกทุกปีรวมกัน การคำนวณค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสม ให้คำนวณโดยถืออัตราค่าจ้างในปีที่เลิกจ้างหรือลาออกด้วยนะครับ ไม่ใช่คำนวณจากค่าจ้างในแต่ละปีที่มีสิทธิย้อนหลังครับ

 

   ซึ่งหากในวรรคสองนี้ นายจ้างมิได้มีข้อตกลงเรื่องวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมไว้ ก็จะไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับวรรคสองเลยครับ

 

  ยกตัวอย่างเช่น หากลูกจ้างคนหนึ่งทำงานมาห้าปีแล้ว และมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละ 10 วัน

สมมุติว่าลูกจ้างท่านนี้ทำงานมาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปี 2551 และในปี 2551 ลูกจ้างท่านนี้ หยุดพักผ่อนประจำปีไป 5 วัน และตามระเบียบหรือข้อตกลงนายจ้างตามมาตรา 30 นั้น นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างสามารถสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปในปีถัดไปได้ นั่นก็หมายถึงว่าลูกจ้างท่านนี้มีวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมในปี 2551 มายังปี 2552 อีก 5 วัน  และยังมีวันหยุดพักผ่อนประจำปี ( ปกติ ) ในปี 2552

อีก 10 วัน รวมวันหยุดพักผ่อนประจำปีทั้งหมดของลูกจ้างคนนี้ในปี 2552 = 15 วัน   

 

   แต่ปรากฏว่าลูกจ้างท่านนี้มีความประสงค์จะบอกเลิกสัญญาจ้างต่อนายจ้าง (ขอลาออก) ในวันที่ 31 มกราคม 2552 หรือนายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้างท่านนี้เพราะมีความผิดตามมาตรา 119 ในเดือนมกราคม 2552  ก็จะเข้าข่ายวรรคสองครับ ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้ลูกจ้าง

   ส่วนที่จะต้องจ่ายคือจำนวนวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมของปี 2551 ที่จะมาใช้ในปี 2552 จำนวน 5 วันนั้นครับ แต่ค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี ของปี 2552  จำนวน 10 วันนั้น ไม่ต้องจ่ายครับ

 

  หากเป็นกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างท่านนี้ตามมาตรา 118 คือลูกจ้างไม่ได้มีความผิดอะไรและไม่ได้ขอลาออก ก็จะเข้าข่ายวรรคหนึ่ง และวรรคสอง นายจ้างจึงจะต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ตามวรรคหนึ่ง รวมทั้งค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมตามวรรคสองให้แก่ลูกจ้างท่านนี้ด้วย รวมทั้งหมดคือ 15 วันครับ

 

  แต่หากว่านายจ้างไม่ได้มีข้อตกลงให้ลูกจ้างสามารถสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีถัดไป

กรณีที่ลูกจ้างท่านนี้ลาออก หรือถูกเลิกจ้างตามมาตรา 119 ค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมก็จะไม่มีครับ

   ซึ่งถ้าหากลูกจ้างยังใช้สิทธิในปี 2551 เหลืออีก 5 วัน นายจ้างก็จะต้องจ่ายคืน 5 วันที่เหลือและลูกจ้างยังมีสิทธิอยู่เช่นเดียวกันครับ แต่ไม่ได้จ่ายตามมาตรา 67 เป็นการจ่ายตามมาตรา 56 ครับ เพราะเป็นสิทธิที่ลูกจ้างจะต้องได้รับ ส่วนค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2552 นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายให้ครับ เพราะเป็นการขอลาออกของลูกจ้างเองหรือเป็นกรณีที่ลูกจ้างมีความผิดทางวินัย

   แต่หากว่านายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างท่านนี้โดยไม่ได้มีความผิด อันนี้นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2552 จำนวน 10 วันให้ลูกจ้างท่านนี้ รวมทั้งค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างยังใช้สิทธิไม่ครบในปี 2551 อีก 5 วัน ตามมาตรา 56 ด้วยครับ

 

 

อดิศร


 


From: st.iceberg@hotmail.com
To: siamhrm@googlegroups.com
Subject: [SIAMHRM.COM :13794] รบกวนด่วน!! ปรึกษา เรื่องพักร้อนสะสมครับ
Date: Thu, 11 Jun 2009 00:57:00 -0800

ถึง เพื่อนๆ พี่ๆ ทุกคน
       รบกวนสอบถามปัญหาเรื่องพักร้อนนะครับ ประเด็นคือ ที่บริษัทผมให้สะสมวันลาพักร้อนได้ แต่ว่าสะสมได้ไม่เกิน 2 เท่าของจำนวนวันที่มีสิทธิ และ สะสมได้ไม่เกิน 2 ปี   จึงอยากสอบถามประเด็นทางกฎหมายกับเพื่อนๆว่า กรณีที่มีวันพักร้อนคงเหลือ ที่ไม่สามารถนำไปสะสมได้ตามกฎระเบียบบริษัท ที่บริษัทเพื่อนๆ มีแนวทางอย่างไร  ในกรณีของผมจะถือว่าพนักงานรับรู้
ตามกฎระเบียบที่ทางบริษัทมีการจัดพักร้อนให้พนักงานอยู่แล้วตามสิทธิ ถ้าพนักงานไม่ใช้สิทธิการลาพักร้อน ทางบริษัทก็ถือว่าสละสิทธิ และตัดสิทธิดังกล่าวทิ้ง ให้สะสมได้เฉพาะส่วนที่มีสิทธิเท่านั้น ( บริษัท ไม่ได้ระบุลงในกฎระเบียบนะครับ ว่าถ้าพนักงานไม่ใช้สิทธิพักร้อน และถ้าส่วนที่สะสมไม่ได้จะตัดทิ้ง  ระบุแต่ว่า สะสมได้ไม่เกิน 2 เท่า และไม่เกิน 2 ปี ) ในกรณีที่ผมตัดสิทธิวันพักร้อนที่สะสมไม่ได้นี้ ไม่จ่ายคืนพนักงานเป้นเงิน จะถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่ครับ บริษัทจะจ่ายคืนพักร้อนสะสมทั้งหมด เฉพาะกรณี ลาออก, เลิกจ้างที่มีความผิดและไม่มีความผิด เท่านั้น
 
ปล. บริษัทผมเป็น office ธุรกิจ Trading ครับ
 
มานิต / HR



 ข้าน้อย HR ผู้ต่ำต้อย


 

From: kannika_3924@hotmail.com
To: siamhrm@googlegroups.com
Subject: [SIAMHRM.COM :14651] ลาพักร้อน
Date: Thu, 16 Jul 2009 23:37:07 +0700

รบกวนสอบถามคะ
 
กรณีวันลาพักร้อน ถ้าบริษัท มีนโยบายที่จะไม่มีการสะสมวันลาพักร้อน บริษัทฯ ก็จะต้องจ่ายเงินคืนให้พนักงานในส่วนวันลาพักร้อนที่พนักงานยังไม่ได้ใช้สิทธิใช่ไม๊คะ ถ้าใช่ไม่ทราบว่าอยู่มาตราไหนคะ
 
ขอบคุณคะ
 


Invite your mail contacts to join your friends list with Windows Live Spaces. It's easy! Try it!
--~--~---------~--~----~------------~-------~--~----~
-------- ร่วมกัน ถาม-ตอบ คำถามวันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล  ------

มุมนี้มีดี ต้องแนะนำ ::

http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ประกาศตำแหน่งงาน 3เดือน แถม 1เดือน - 15 ก.ค. 52 นี้

http://www.SiamHrm.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์"
-  หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
-  หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm-unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยันการยกเลิก ใน Email ของท่านอีกครั้ง.)
-  หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th

~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
-~----------~----~----~----~------~----~------~--~---

ไม่มีความคิดเห็น: