วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

FW: [SIAMHRM.COM :25915] สอบถามเรื่องระเบียบการลากิจ


 

From: adisorn_pers@hotmail.com
To: rungruthai@iscmthai.com
Subject: RE: [SIAMHRM.COM :25909] สอบถามเรื่องระเบียบการลากิจ
Date: Fri, 21 May 2010 10:46:50 +0700

สวัสดีครับ อดิศร ครับ
การลากิจจะอยู่ในมาตรา 34 ซึ่งกำหนดว่า ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง ซึ่งเขียนไว้ค่อนข้างกว้างมากครับ
  แปลเจตนารมณ์ของมาตรานี้นะครับ เราจะต้องแยกแยะออกมาสองข้อความคือ ข้อความแรก ให้ลูกจ้างมีสิทธลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้
หมายถึงหากลูกจ้างมีกิจธุระอันจำเป็น นายจ้างก็มีหน้าที่ที่จะต้องให้ลูกจ้างได้ลากิจ กิจธุระอันจำเป็นก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ลูกจ้างมีกิจนั้น ๆ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
หรือเป็นสิทธิส่วนบุคคลในการดำเนินชีวิตตามปกติของคนทั่ว ๆ ไป  รวมทั้งการใช้ดุลยพินิจของผู้ที่มีอำนาจว่าจะอนุญาตให้ลาได้หรือไม่ซึ่งจะต้องคำนึงถึงงานขององค์กรว่ามีผลกระทบหรือไม่
และขวัญกำลังใจของคนในองค์กรด้วย
  กิจอันจำเป็นและอาจเกิดผลกระทบได้ เช่นมีเหตุกับตัวเองหรือญาติใกล้ชิด เช่นพ่อแม่ป่วย ลูกป่วย สามีภรรยาป่วย สิทธิส่วนบุคคลเช่น แต่งงาน อุปสมบท ถือบวชหรือประกอบกิจทางศาสนาอันจำเป็นแก่ศาสนาที่พนักงานนับถือ  มีเหตุสำคัญตามหมายนัดของทางราชการ  เป็นต้น ซึ่งกิจธุระลักษณะนี้หากพนักงานไม่ได้หยุดงานไป ก็อาจเกิดผลกระทบกับตัวเองหรือญาติใกล้ชิดได้
กิจประเภทนี้ นายจ้างจำเป็นต้องให้สิทธิแก่ลูกจ้างครับ หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะจะไปขัดกับมาตรา -34 และลูกจ้างฟ้องได้ครับ
 กิจประเภทอื่น ๆ ที่อาจจะไม่จำเป็น เช่นเพื่อนแต่งงาน พี่น้อง ญาติใกล้ชิดแต่งงาน  หรือกิจอะไรก็ตามที่หากลูกจ้างไม่ไปก็ไม่ส่งผลกระทบกับตัวเองมากนัก อันนี้ก็ขอให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนายจ้างครับ  อาจจะอนุญาตหรือไม่ก็ได้ แต่ก็อย่าตึงหรือหย่อนจนเกินไป นะครับ  คิดถึงเรื่องขวัญกำลังใจและแรงงานสัมพันธ์ที่ดีเอาไว้ด้วย แต่ก็อย่าให้เสียหายแก่งานครับ
 ส่วนข้อความต่อมา ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง หมายถึงว่านายจ้างจะออกระเบียบกฎเกณฑ์มาควบคุมอย่างไรก็ได้ที่ไม่แย้งหรือขัดต่อกฎหมายมาควบคุมไม่ให้นายจ้างเสียหายหรือมีช่องลูกจ้างเอาเปรียบนายจ้างเกินไป
เช่น นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างในวันลากิจให้หรือไม่ก็ได้ หรือปีหนึ่งจะจ่ายค่าจ้างในวันลากิจให้กี่วันก็แล้วแต่นายจ้างจะพิจารณาความเหมาะสมและออกเป็นระเบียบเอาไว้ในช้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้ชัดเจนครับ
  แต่บางองค์กรก็ไปกำหนดว่า ลากิจปีหนึ่งไม่เกิน...วัน ก็สามารถกำหนดได้นะครับ แต่ในทางปฏิบัติก็ต้องย้อนกลับมาดูในข้อความท่อนแรกอีกเช่นกัน สมมุติว่ากำหนดว่าลากิจได้ปีหนึ่งไม่เกิน 10 วัน
และได้รับค่าจ้างในวันลากิจ แต่หากว่า ลูกจ้างได้ลากิจไปเกิน 10 วันแล้ว ยังไม่ครบปีก็มีเหตุอันจำเป็นที่จะต้องลาอีก นายจ้างก็ต้องให้ลาครับ เพราะในความเป็นจริงคงไม่มีใครกำหนดได้แม้กระทั่งตัวนายจ้างเอง ว่าเราจะมีกิจธุระอันจำเป็นปีละกี่วัน  แต่ที่เกิน 10 วันไปแล้ว ก็อาจตกลงกับลูกจ้างว่าจะไม่จ่ายค่าจ้างให้ ก็ตกลงกันไปครับ ดังนั้นการเขียนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในประเด็นของการลากิจ
ควรเขียนให้ดีครับ อย่าผูกมัดตัวเองเกินไปจนไม่สามรารถใช้ดุลยพินิจได้ และให้มีความยืดหยุ่นบ้าง จะได้สะดวกในการใช้ดุลยพินิจและเกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายตามเจตนารมณ์ของกฎหมายครับ
 
   นี่คือความหมายและเจตนารมณ์ของมาตรา 34 ครับ  
 
 ส่วนคำถามทีว่าจะต้องรอให้ผ่านทดงานก่อนหรือไม่ อธิบายดังนี้ครับ การทดลองงานกฎหมายไม่ได้กำหนดอะไรเอาไว้นอกจากมาตรา 17 ที่ระบุว่า สัญญาจ้างทดลองงานให้ถือเป็นสัญญาจ้างแบบไม่สามารถกำหนดระยะเวลา ซึ่งหากนายจ้างจะเลิกจ้างก็ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 และหากลูกจ้างทำงานเกิน 120 วัน นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 ครับ
นายจ้างจะมาอ้างว่าครบกำหนดสัญญาจ้างทดลองงานแล้วไม่จ่ายสินจ้างหรือค่าชดเชยไม่ได้ครับ ยกเว้นว่าลูกจ้างจะมีความผิดทางวินัยร้ายแรงตามมาตรา 119 เท่านั้น
   การเป็นนายจ้างลูกจ้างกันนั้นจะเกิดขึ้นตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างทำงานให้นายจ้างตามกฎหมายการจ้างงานครับ เรื่องทดลองงานกี่วัน จะผ่านทดลองงานวันไหน ไม่เกี่ยวครับ ดังนั้น หากลูกจ้างเริ่มทำงานเมื่อไร วันที่เริ่มทำงานนั้น ลูกจ้างจะต้องได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานรวมทั้งกฎหมายแรงงานฉบับอื่น ๆ ทันทีครับ ไม่ว่าจะเป็น พรบ.ประกันสังคม พรบ.ความปลอดภัย พรบ.กองทุนเงินทดแทน  พรบ.การจ้างงาน พรบ.แรงงานสัมพันธ์เป็นต้นครับ ซึ่งสิทธิทุกอย่างขั้นต่ำที่กฎหมายแรงงานดังกล่าวที่กำหนดไว้ นายจ้างมีหน้าที่ที่จะต้องให้สิทธินั้นแก่ลูกจ้างตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างทำงานให้ครับ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการลากิจ ลาป่วย หรือสวัสดิการอื่น ๆทั้งหมดที่กฎหมายกำหนดเอาไว้  ยกเว้นบางมาตรา ที่กฎหมายจะระบุอายุงานเอาไว้ด้วย เช่นสิทธิในวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามมาตรา 30 ซึ่งกำหนดให้ลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี หรือสิทธิในค่าชดเชยจากการเลิกจ้างตามมาตรา 118 เป็นต้นครับ
อดิศร
 

From: rungruthai@iscmthai.com
To: siamhrm@googlegroups.com
Subject: [SIAMHRM.COM :25909] สอบถามเรื่องระเบียบการลากิจ
Date: Thu, 20 May 2010 21:33:39 +0700

สวัสดีค่ะ สมาชิก SiamHR ทุกท่าน

อยากสอบถามเรื่องระเบียบการลากิจค่ะว่า   บริษัทท่านกำหนดให้พนักงานมีสิทธิลากิจได้ทันที หรือต้องรอให้ผ่านการทดลองงานก่อน  และกำหนดไว้กี่วัน

ขอขอบคุณมากค่ะ

 


--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
 
แนะนำ :
 
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน แถมฟรีสูงสุด 3 เดือน ถึง 31 พฤษภาคม 2553 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
 
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~


Hotmail: อีเมลที่เชื่อถือได้ซึ่งมาพร้อมกับการป้องกันอีเมลขยะที่มีประสิทธิภาพ ลงทะเบียนเดี๋ยวนี้

Hotmail: อีเมลที่เชื่อถือได้ซึ่งมาพร้อมกับการป้องกันอีเมลขยะที่มีประสิทธิภาพ ลงทะเบียนเดี๋ยวนี้

ไม่มีความคิดเห็น: