วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Re: [SIAMHRM.COM :32533] ใบผ่านงาน หรือหนังสือรับรองการทำงาน


คำพิพากษาฎีกากรณีเกี่ยวกับใบผ่านงาน  เท่าที่พบ
ครับ มีอยู่เพียงฎีกาเดียว  รายละเอียดตามไฟล์ที่แนบครับ
สมทัต


2011/2/1 somthat boonmee <somthat.250204@gmail.com>
รียน คุณออม
        ที่ถามทำนองว่า  มีพนักงานประเภทลูกจ้างรายวัน ซึ่งมาทำงานในระยะเวลาที่ไม่แน่นอน เช่น มาทำงาน 3 เดือนบ้าง 2 เดือนบ้าง แล้วก็หยุดทำไปเป็นพัก ๆ  แล้วสักพักหนึ่งก็กลับมาทำอีก (ถ้าเข้าใจไม่ผิดนะครับ)  มาขอหนังสือรับรองเงินเดือนครับ  (กรณีนี้คงไม่ใช่หนังสือรับรองการทำงานครับ)  เพื่อนำไปทำบัตรเครดิตบ้าง  เพื่อขอกู้เงินซื้อรถบ้าง  จึงถามว่าสมควรออกให้หรือไม่  และจะออกอย่างไรนั้น ผมขอแนะนำอย่างนี้ครับว่า
       1.  การที่บริษัทบัตรเครดิต  หรือบริษัทไฟล์แน้นท์ (ขออภัยถ้าพิมพ์ผิด) กำหนดให้ลูกค้าต้องนำหนังสือรับรองเงินเดือนมาแสดง  เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อนั้น ก็เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าเป็นผู้ที่มีงานทำเป็นหลักแหล่ง และมีรายได้ประจำ (ในขณะนั้น) เท่านั้นครับ  เมื่อนายจ้างหรือผู้ประกอบการรายใดทำหนังสือรับรองเงินเดือนให้แก่ลูกจ้างไป  จึงเป็นการรับรองเพียงว่าในขณะนั้นลูกจ้างผู้นั้นได้ทำงานกับเราจริงและมีรายได้ต่อเดือนเท่าใดเท่านั้น  ส่วนบริษัทดังกล่าวจะเห็นชอบและอนุมัติสินเชื่อหรือไม่  เป็นเรื่องของฝ่ายประเมินสินเชื่อที่จะต้องพิจารณาเอาเอง  กรณีไม่เกี่ยวข้องหรือผูกพันนายจ้างให้ต้องรับผิดชอบ  หรือจะทำให้นายจ้างเสียหายได้แต่อย่างใดครับ  โดยประเพณีปฏิบัติแล้วหากลูกจ้างรองขอ ส่วนมากนายจ้างก็จะออกให้ครับ  เพราะถือเป็นสินนำ้ใจและช่วยเหลือลูกจ้างผู้มีรายได้ไม่มากนักให้สามารถทำนิติกรรมทางด้านการเงินต่าง ๆ ได้  จึงขึ้นอยุู่กับนายจ้างที่จะพิจารณาให้หรือไม่ให้ โดยเปรียบเสมือนเป็นการให้สวัสดิการหรือให้ความช่วยเหลือแก่ลูกจ้าง
อย่างหนึ่งมากกว่าครับ  ลูกจ้างคงจะบังคับนายจ้างไม่ได้  เพราะกรณีไม่ใช่หนังสือรับรองการทำงานตามกฎหมายครับ
      2.  ส่วนข้อความในหนังสือรับรองเงินเดือนนั้น  ก็ใช้แบบฟอร์มหรือหัวหนังสือเดียวกันกับหนังสือรับรองการทำงานครับ  จะต่างกันก็ตรงที่หนังสือรับรองเงินเดือนนั้น  ใช้ข้อความสั้น ๆ เพียงว่า  บริษัทขอรับรองว่า นาย....หรือนาง.... (พนักงาน) คนนี้  เป็นพนักงานหรือเป็นลูกจ้างของเราจริง  และมีเงินเดือน ๆ ละเท่าใดเท่านั้นครับ  ไม่ต้องระบุว่าเป็นลูกจ้างประจำ หรือรายวัน หรือทำงานตั้งแต่เมื่อใด  ตำแหน่งอะไร หรืองานที่ว่าเป็นงานลักษณะใด เหมือนเช่นใบผ่านงานแต่อย่างใดครับ  ทำง่ายกว่าใบผ่านงานเยอะครับ 
      สวัสดีครับ
     สมทัต

2011/2/1 Kabpow Jarusriwanna <Kabpow@mky.meap.com>

เรียน   คุณสมทัต

         ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณมาก เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นด้วย

        อยากเรียนถามเพิ่มเติมว่า   หากเป็นพนักงานรายวัน  ทำงาน 3 เดือนบ้าง

        2 เดือนบ้าง  กรณีอย่างนี้  คำถามค่ะ

        1. พนักงานขอหนังสือรับรองการทำงานเพื่อวัตถุประสงค์   ทำบัตรเครดิต 

            หรือ เพื่อการกู้ซื้อรถยนต์  เป็นต้น

            - ถ้าจะออกหนังสือรับรองจะเขียนอย่างไร

            - หากไม่ออกให้ จะเหมาะสมหรือไม่

 

            ขอบคุณมาล่วงหน้าค่ะ

            ออม            

 


From: siamhrm@googlegroups.com [mailto:siamhrm@googlegroups.com] On Behalf Of somthat boonmee
Sent: Tuesday, February 01, 2011 11:35 AM
To: amin55598556@hotmail.com
Cc: siamhrm@googlegroups.com
Subject: [SIAMHRM.COM :32496] ใบผ่านงาน หรือหนังสือรับรองการทำงาน

 

เรียน  คุณ Hasna

         เรื่องใบผ่านงานหรือหนังสือรับรองการทำงานนั้น  ค่อนข้างที่จะมีปัญหาครับ  เพราะทั้งลูกจ้างและนายจ้างต่างก็ไม่ค่อยจะรู้สิทธิตรงนี้กัน  หรือรู้ก็อาจจะรู้ไม่จริง  หรือหากรู้จริงก็แกล้งทำเป็นไม่รู้ก็มีเยอะ (ฝ่ายนายจ้าง) เพราะเห็นว่าฝ่ายลูกจ้างไม่รู้สิทธิดังกล่าว  ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานโดยเฉพาะทุกฉบับ ไม่ได้บัญญัติถึงสิทธิอันนี้เอาไว้  คำพิพากษาฎีกากรณีนี้ก็มีน้อยมาก เพราะลูกจ้างไม่ได้ฟ้องร้อง  หรือหากฟ้องร้องคดีก็มักจบ (ถึงที่สุด) เพียงแค่ในชั้นของศาลชั้นต้น (ศาลแรงงาน)
         แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ไม่ได้หมายความว่า สิทธิดังกล่าวนี้ไม่มีบัญญัติไว้ในกฎหมายใด ๆ เลยนะครับ  เพราะกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในหมวดเกี่ยวกับจ้างแรงงาน ประมาณมาตราที่ห้าร้อยแปดสิบกว่า ๆ (ผมจำมาตราที่แน่นอนไม่ได้เพราะไม่ได้พกตัวบทมา)  บัญญัติให้ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับใบผ่านงาน หรือชื่อที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า หนังสือรับรองการทำงานจากนายจ้าง  โดยนายจ้างเองก็มีหน้าที่ออกใบผ่านงานให้แก่ลูกจ้างเช่นกันว่า ลูกจ้างเข้าทำงานกับนายจ้างตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด  ตำแหน่งอะไร และลักษณะงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไรเท่านั้น  นายจ้างจะระบุข้อความอื่น ๆ นอกจากนั้นลงไปในใบผ่านงานเพื่อทำให้ลูกจ้างเสียหาย  เช่น  ระบุว่าลูกจ้างมีความประพฤติไม่ดี หรือเคยทำผิดระเบียบอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้
         ดังนั้น  ที่คุณถามมานั้น จึงตอบได้ในทันทีว่า  ลูกจ้างที่ทำงานให้แก่นายจ้างนั้น  ไม่ว่าจะทำงานมานานแค่ไหนก็มิสิทธิที่จะขอให้นายจ้างออกหนังสือรับรองการทำงานให้  แต่โดยกฎหมายและโดยประเพณีปฏิบัติของนายจ้างที่เคารพกฎหมายและมีคุณธรรมโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว  เมื่อลูกจ้างออกจากงาน ไม่ว่าจะออกด้วยสาเหตุใด นายจ้างดังกล่าวก็มักจะออกหนังสือรับรองการทำงานให้แก่ลูกจ้างโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว (กรณีลูกจ้างมิจำต้องร้องขอเลย) มิเพียงแค่นั้นนะครับ แม้แต่ในขณะที่ลูกจ้างยังไม่ออกจากงานก็ตาม แต่หากลูกจ้างมีความจำเป็นต้องใช้หนังสือรับรองการทำงาน หรือหนังสือรับรองเงินเดือนจากนายจ้าง  ลูกจ้างก็อาจขอให้นายจ้างออกให้ได้ และโดยทั่ว ๆ ไปเขาก็ออกให้กันจนเป็นปกติ  เพราะกรณีมิได้ทำให้นายจ้างเสียหายแต่อย่างใด
         และเรื่องที่ลูกจ้างออกจากงานในระหว่างทดลองงานนั้น  ไม่ว่าจะออกเพราะไม่ผ่านทดลองงาน (ซึ่งก็คือการถูกเลิกจ้างนั่นเอง)  หรือลาออกเอง  หรือถูกไล่ออกเพราะเหตุมีความผิด ลูกจ้างก็มีสิทธิได้รับใบผ่านงานทั้งนั้นแหละครับ  ดังนั้นโดยกฎหมายแล้วนายจ้างจึงไม่มีสิทธิอ้างเหตุใด ๆ เพื่อที่จะไม่ต้องออกใบผ่านให้แก่ลูกจ้างได้เลย  เพราะกฎหมายมิได้เปิดช่อง หรือบัญญัติถึงข้อยกเว้นใด ๆ เอาไว้เลยครับ
         หากนายจ้างไม่ยอมออกหนังสือรับรองการทำงานให้ กรณีก็เป็นเป็นการละเมิดสิทธิของลูกจ้างตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (หมวดละเมิดครับจำมาตราไม่ได้) ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงจุดประสงค์หลักของกฎหมายที่ให้นายจ้างออกหนังสือรับรองการทำงานให้แก่ลูกจ้าง  ก็เพื่อประโยชน์ให้ลูกจ้างใช้ใบผ่านงานรับรองถึงคุณสมบัติ ความชำนาญ หรือระดับฝีมือ ในการหางานทำหรือประกอบอาชีพอื่นใดต่อไปได้โดยสะดวก  การที่นายจ้างไม่ออกหนังสือรับรองการทำงานให้จึงเห็นได้ว่า อาจทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายได้  ดังนี้ เมื่อเตือนเป็นหนังสือแล้วนายจ้างยังไม่ออกให้อีก ลูกจ้างก็ชอบที่จะฟ้องร้องนายจ้างต่อศาลแรงงาน เพื่อให้ออกหนังสือรับรองการทำงานให้ รวมทั้งเรียกค่าเสียหาย (ถ้าหากมี) ไปพร้อมกันด้วยก็ได้  ซึ่งมีคนฟ้องแล้ว ปรากฎว่านายจ้างต้องรีบขอประนีประนอมยอมความ โดยออกใบผ่านงานให้ทันที่

         ดังนั้น หากผู้ถามเป็นนายจ้างก็ขอแนะนำให้ปฏิบัติตามกฎหมายดีกว่าครับ  เสียเวลานิดหน่อย  แต่ตัดปัญหาในเรื่องภาพพจน์ การฟ้องร้อง หรือความขัดแย้งอื่นใดกับลูกจ้างไปได้ทั้งหมด  ไม่ควรนำเรื่องใบผ่านงานไปต่อรองกับลูกจ้างไม่วา่กรณีใด ๆ ครับเพราะโดยกฎหมายแล้วท่านไม่มีสิทธิต่อรองใด ๆ  แต่หากเป็นฝ่ายลูกจ้างก็ขอแนะนำว่าเมื่อขอแล้วนายจ้างไม่ให้้เพราะเข้าใจผิด  ก็ขอให้ชี้แจ้งข้อกฎหมายให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือ  หากชี้แจงแล้วยังไม่ออกให้อีกก็มีคำแนะนำอยุูููู่่ด้านบนแล้วครับ

         สวัสดีและโชคดีครับ
    สมทัต

--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
 
แนะนำ :
 
www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน แจกแฟลชไดร์ฟ ฟรี ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2554 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
 
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~



--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
 
แนะนำ :
 
www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน แจกแฟลชไดร์ฟ ฟรี ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2554 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
 
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

ไม่มีความคิดเห็น: