วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

[SIAMHRM.COM :34616] RE: เรียนขอคำปรึกษา อาจารย์ค่ะ

สวัสดีครับ อดิศร ครับ
ในข้อ 1. เรื่องใบรับรองแพทย์กรณีลาป่วยข้อให้ตัดออกไปในเวลาพิจารณาครับ เพราะยังใช้เป็นหลักฐานโดยสมบูรณ์ไม่ได้ และกฎหมายมาตรา 32 เอง จะเห็นได้ว่า ไม่ได้กำหนดเอาไว้ให้ใบรับรองแพทย์นั้ต้องเป็นหลักฐานว่าป่วยจริง หรือไม่จริงนะครับ กฎหมายบอกแต่เพียงว่า หากลูกจ้างที่ป่วยเกินสามวัน ไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดง ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ
 แต่ไม่ได้บอกว่า หากลูกจ้างไม่มีมาแสดงถือว่ามีความผิดแต่อย่างใด
ในทำนองตรงข้าม ลูกจ้างที่ป่วยไม่จริง แต่เมาอย่างที่ว่ามา แล้วนำใบรับรองแพทย์มาแสดงนั้น ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นหลกฐานที่ลูกจ้างป่วยจริงและลูกจ้างจะเอามาเป็นหลักฐานอ้างต่อนายจ้าง
  หลักฐานที่ดีที่สุดคือความจริง ที่ได้มาจากเอกสารก็ดี พยานบุคคลที่เชื่อถือได้ก็ดีครับ อย่างกรณีนี้หากพยานยันยันว่า พนักงานเมา และพยานนั้นเชื่อถือได้ว่าพูดความจริง ไม่ได้เป้นการกลั่นแกล้ง ตัดเรื่องใบรับรองแพทย์ออกไปเลยครับ อย่างนี้นายจ้างเอาผิดร้ายแรงถึงขั้นเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่จ่ายค่าชดเชยครับ และยิ่งหากว่าทีการตักเตือนเป็นหนังสือด้วยแล้วก็ยิ่งง่ายที่นายจ้างจะเลิกจ้างตามมาตรา 119 ได้เลยครับ หากลูกจ้างไปฟ้อง เราก็เอาพยานหลักฐานไปยืนยันว่าลูกจ้างไม่ได้ป่วยจริง แต่แจ้งเท็จว่าลาป่วย ครับ
  แต่ทั้งนี้ต้่องมาดูสาเหตุที่แพทย์ระบุมาในใบรับรองแพทย์อีกทีด้วยนะครับ ถ้าแพทย์ระบุมาว่า ป่วยเพราะเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสุรา ก็พิจาณาโทษได้เต็มที่ครับ 
แต่ถ้าระบุมาว่า พนักงานป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง อะไรทำนองนี้ ก็ถือว่าพนักงานไม่ได้แจ้งเท็จต่อนายจ้าง ย่างนี้ ใช้มาตรา 119 ไม่ได้ครับ และหากเห้นว่าปล่อยไว้ให้ทำงานอีกจะเสียหายก็ต้องใช้มาตรา 118 เลิกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชยไปครับ
 
 ข้อ 2. ถูกต้องแล้วครับ จ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้เฉพาะวันที่นายจ้างได้ประกาศล่วงหน้าแล้วว่าเป็นวันหยุดตามประเพณีครับ
 
ข้อที่ 3. ก็ต้องปฏิบัติไปตามขั้นตอนและระเบียบของกรมบังคับคดีไปครับ และต้องแจ้งให้เจ้าตัวรับทราบด้วย โดยอาจให้ลูกจ้างลงนามในหนังสือยินยอมให้หักค่าจ้างตามคำสั่งกรมบังงับดคีด้วยก็ได้ครับ
 
 
อดิศร
From: gomon_16@hotmail.com
To: adisorn_pers@hotmail.com
Subject: เรียนขอคำปรึกษา อาจารย์ค่ะ
Date: Thu, 5 May 2011 03:31:45 +0000

เรียน  อ.อดิศร และผู้ให้คำปรึกษาทุกท่าน
 
 
          ขอรบกวนปรึกษา อ.อดิศร   3   เรื่อง ค่ะ
 
1.  ในกรณีที่พนักงาน ประเภทรายวัน / รายเดือน ไม่มาปฏิบัติงาน โดยให้เหตุผลว่าลาป่วย โดยมีใบรับรองแพทย์มาประกอบกับการลางาน ซึ่งทางหัวหน้างานก็ทราบดีว่าพนักงานท่านนี้ไม่ได้ป่วย แต่เนื่องด้วยเพราะเมา และไม่มาทำงาน เพราะมาไม่ไหว (ติดสุรา) ซึ่งก็มีการเรียกพนักงานดังกล่าวเข้ามาตักเตือนทั้งด้วยวาจา และ ลงาลยลายอักษรในการตักเตือน แล้ว แต่พนักงานยังคงใช้เอกสารเป็นตัวอ้างอิงว่าเจ็บป่วย และไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้ ทางบริษัท ฯ สามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้างที่ถูกต้องตามกฎหมายค่ะ ซึ่งหากทางบริษัท ฯ พิจารณาจากประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานและบอกเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่ เพราะพนักงานทำให้ทางบริษัท ฯ เกิดผลเสียในการทำงาน
 
 
 
2. ในกรณีที่ทางบริษัท ฯ ประกาศให้เป็นวันทำงาน ซึ่งวันดังกล่าวอาจจะตรงกับวันหยุดนักขัตฤกษ์ อาทิ วันซึ่งได้มีการจัดวันหยุดให้กับพนักงานตามกฎหมายไม่น้อยกว่า 13 วัน (ไม่นับรวมวันแรงงาน)  ไม่ต้องจ่าค่าแรงเพิ่มให้กับลุกจ้างรายวันถูกต้องหรือไม่ค่ะ เพราะ เราประกาศเป็นวันทำงานให้ทราบแล้ว
 
 
 
3. ในกรณีที่ทางบริษัท ฯ ได้รับหนังสือจากกองอายัดทรัพย์สินของกรมบังคับคดี  แจ้งให้มีการอายัดเงินของพนักงาน โดยแจ้งให้มีการอายัดในเรื่องของ

    2.1 เงินเดือน ค่าจ้าง ในอัตราร้อยละ 30 โดยให้เหลือไม่น้อยกว่า 10,000 บาท ต่อเดือน
    2.2 เงินโบนัส อัตราร้อยละ 50
    2.3 เงินตอบแทนกรณีพนักงานพนักงานออกจากงาน
    2.4 เงินตอบแทน จากกรณีพนักงานทำงานเป็นครั้งคราว
 
 
    โดยทางกรมบังคับคดี ได้แนบเอกสารแบบฟอร์มการอายัดเงิน มาด้วย ซึ่งแจ้งให้กับทางบริษัท ฯ ดำเนินการส่งเงินให้กับกรมบังคับคดี
 
 
     บริษัท ฯ จะต้องดำเนินการอย่างไร และต้องเรียกพนักงานดังกล่าวชี้แจงด้วยหรือไม่ค่ะ
 
 
ขอขอบคุณมากค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น: