วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

[SIAMHRM.COM :14066] การเกษียณอายุสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญ

 

Image

โดย คุณปรีชา กิจโมกข์
นักวิเคราะห์อาวุโส ฝ่ายพัฒนาคาวมรู้ผู้ประกอบวิชาชีพ
สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน


 

บุคคลผู้ที่ทำงานอยู่ในบริษัทเอกชน รัฐวิสาหกิจ หรือรับราชการ ที่เริ่มมีอายุเข้าสู่ขวบปีที่ 50 หรือใกล้ๆ ที่จะเข้าสู่อายุ 60 ปีนั้น ช่วงอายุดังกล่าวทำให้หลายคนเริ่มที่จะตระหนักและนึกถึงปัญหาที่ทุกคนจะต้องเผชิญในอนาคตอันใกล้ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกับการดำเนินชีวิตของทุกคน ปัญหานั้นก็คือ "เราจะดำเนินชีวิตหลังเกษียณอายุอย่างไร" แน่นอน หลายท่านอาจจะคิดว่า ช่วงชีวิตหลังเกษียณอายุนั้นเป็นช่วงเวลาที่จะมีความสุข เนื่องจากจะได้มีเวลาพักผ่อนมากขึ้นหลังจากที่ได้ทำงานหนักมาค่อนชีวิต รวมทั้งยังจะมีเวลามากพอที่จะท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ที่อยากจะไป หรือทำในสิ่งที่อยากจะทำ มีเวลาอยู่กับลูกกับหลานมากขึ้น แต่หลายท่านอาจจะลืมคิดไปว่าการเกษียณอายุนั้น นอกจากจะมาพร้อมกับการมีเวลาว่างมากขึ้น และไม่ต้องทำงานแล้วนั้น ยังมีบางสิ่งที่ตามมาพร้อมกับการเกษียณอายุและเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องควรคำนึงถึงอย่างมาก ได้แก่

การสูญเสียรายได้หลัก เมื่อเกษียณอายุแล้วนั้น ก็หมายความว่าไม่มีงานทำ และเมื่อไม่มีงานทำก็ไม่มีรายได้หลักเหมือนเช่นแต่ก่อน ซึ่งจะสวนทางกับค่าใช้จ่ายที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย ค่าเดินทาง เป็นต้น ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะมีสัดส่วนลดลงเมื่อเกษียณอายุแล้ว แต่ก็ยังเป็นค่าใช้จ่ายประจำและต่อเนื่องไปจนสิ้นอายุขัย นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ่ายเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเกษียณอายุแล้วได้แก่ ค่ารักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพ ค่าใช้จ่ายเดินทางท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายในการบริจาค และอื่นๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่ทุกคนยังต้องเผชิญเมื่อเกษียณอายุ

โรคภัยไข้เจ็บที่มาพร้อมกับการชราภาพ เมื่อคุณเกษียณอายุหรือเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุนั้น สิ่งที่ตามมาก็คือโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจพบว่าโรคที่จะมาพร้อมกับการเกษียณอายุสูงสุด 5 อันดับแรก คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคต่อมไร้ท่อ โรคระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูกและข้อ โรคระบบทางเดินอาหาร  และโรคระบบทางเดินหายใจ ตามลำดับ ซึ่งหากพิจารณาถึงวิธีการดูแลและรักษาโรคดัง

กล่าวข้างต้นแล้ว ก็พอจะคาดเดาได้ว่าจะต้องใช้เงินเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลค่อนข้างสูง และเมื่อท่านเข้าสู่วัยเกษียณอายุนั้น โอกาสที่ท่านจะต้องเผชิญกับโรคดังกล่าวข้างต้นนั้น ก็จะมีเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

Thailand Web Stat

ร้อยละของประชากรสูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง/โรคประจำตัว จำแนกตามกลุ่มโรคสูงสุด 5 อันดับแรก

ลำดับที่

กลุ่มโรค

ร้อยละ

1

โรคหัวใจและหลอดเลือด

42.66

2

โรคของต่อมไร้ท่อ

24.34

3

 โรคระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูกและข้อ

20.85

4

 โรคระบบทางเดินอาหาร

8.48

5

โรคระบบทางเดินหายใจ

7.96

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2548. การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ

การเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินชีวิต หลังจากที่เริ่มเข้าสู่วัยเกษียณแล้วนั้นทุกคนจะต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของชีวิต ไม่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านสถานะทางสังคม การเปลี่ยนแปลงในบทบาทและหน้าที่จากที่เคยเป็นผู้นำครอบครัวก็เปลี่ยนมาเป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว ซึ่งหลายคนอาจจะยังปรับตัวไม่ได้ในช่วงแรกๆ และอาจทำให้รู้สึกหงุดหงิดและสิ้นหวังกับชีวิตได้ ดังนั้น ควรพึงระลึกไว้เสมอว่าใบไม้เมื่อถึงเวลาก็ต้องผลัดใบและปล่อยให้ใบใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่แทนเสมอ

ทั้งนี้ สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทุกคนต้องเผชิญเมื่อเริ่มก้าวเดินเข้าสู่เส้นทางชีวิตที่เรียกว่า "วัยเกษียณอายุ" ซึ่งใครจะเผชิญกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้มากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับวิถีการดำเนินชีวิตของแต่ละคน นอกจากนี้ หากพูดถึงวัยเกษียณอายุแล้วหลายคนอาจจะบอกว่าอายุก็มากแล้วอยู่อีกไม่นานก็ต้องลาจากโลกนี้ไป ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด เนื่องจากโลกในปัจจุบันนี้นั้นมีพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ และสาธารณสุขที่ก้าวล้ำอย่างมาก ทำให้คนที่มีอายุเข้าสู่วัย 60 ปีนั้น อาจจะสามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกถึง 19 ปี สำหรับผู้ชายไทย และอีก 21.5 ปี สำหรับผู้หญิงไทย นั่นหมายความว่าผู้ชายไทยจะมีอายุขัยยาวถึง 79 ปี และ 81.5 ปี สำหรับผู้หญิงไทย ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวนานสำหรับการใช้ชีวิตในช่วงหลังวัยเกษียณของแต่ละคน

ตารางแสดงอายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทย (Life expectancy)

อายุคาดหมายเฉลี่ยปี 2549 (Life expectancy)

เท่ากับ

         อายุคาดหมายเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (Life expectancy at birth) ของเพศชาย

68 ปี

         อายุคาดหมายเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (Life expectancy at birth) ของเพศหญิง

75 ปี

         อายุคาดหมายเฉลี่ยที่อายุ 60 ปี (Life expectancy at age 60 years) ของเพศชาย

19 ปี

         อายุคาดหมายเฉลี่ยที่อายุ 60 ปี (Life expectancy at age 60 years) ของเพศหญิง

21.5 ปี

         อายุคาดหมายเฉลี่ยที่อายุ 80 ปี (Life expectancy at age 80 years) ของเพศชาย

5.7 ปี

         อายุคาดหมายเฉลี่ยที่อายุ 80 ปี (Life expectancy at age 80 years) ของเพศหญิง

6.4 ปี

ที่มา:   สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2548 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ, สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

นอกจากนี้ จากตารางดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าเมื่อท่านมีอายุครบ 80 ปีแล้ว ท่านยังมีโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกถึง 5.7 ปี สำหรับผู้ชายไทย และอีก 6.4 ปี สำหรับผู้หญิงไทย ซึ่งหากลองคิดกันเล่นๆ ว่าหากท่านจะต้องมีชีวิตอยู่ในช่วงหลังเกษียณอายุไปจนถึงอายุเกือบจะ 90 ปี โดยที่ไม่มีรายได้ที่จะเลี้ยงดูชีวิตในช่วงหลังเกษียณอายุให้อยู่ได้ตลอดรอดฝั่ง ท่านที่จะมีความรู้สึกเช่นไร และชีวิตของท่านจะอยู่อย่างลำบากยากแค้นแค่ไหน หลายท่านอาจจะคิดว่าไม่เป็นไรยังมีลูกหลานเป็นที่พึ่งสุดท้าย แต่หากท่านพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางสังคมไทยในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า สังคมไทยนั้นมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ไปเป็นสังคมเดี่ยวมากขึ้น ซึ่งก็หมายความว่า ไม้ตายสุดท้ายของท่านที่จะหวังพึ่งพิงลูกหลานให้เลี้ยงดูในช่วงเกษียณอายุเหมือนยังแต่ก่อนนั้นอาจจะมีความเป็นไปได้น้อยลง

อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวข้างต้นนั้นจะเกิดขึ้นน้อยลงหรือไม่เกิดขึ้นเลย หากท่านได้มีการวางแผนและมีการเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านการเงินและด้านจิตใจแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะทำให้ท่านมีความพร้อมและสามารถก้าวเดินเข้าสู่เส้นทางชีวิตในช่วงหลังเกษียณอายุได้อย่างมั่นใจ และไม่เป็นภาระให้แก่ใคร เพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แค่นี้ก็สามารถทำให้ท่านสามารถดำเนินชีวิตในเส้นทางบั้นปลายชีวิตนี้ได้อย่างมีความสุข และยังสามารถรักษามาตรฐานการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ของท่านได้เทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับชีวิตในช่วงก่อนการเกษียณอายุอีกด้วย 

ทั้งนี้ หากท่านต้องการที่จะทราบถึงวิธีการวางแผนหรือการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่วัยเกษียณอายุได้อย่างไรนั้น โปรดติดตามตอนต่อไปครับ

จากที่กล่าวไปแล้วในตอนที่ 1 ว่า เมื่อเกษียณอายุไปแล้วนั้น สิ่งที่ทุกคนจะต้องเผชิญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางสังคม การต้องสูญเสียรายได้หลักในขณะที่รายจ่ายยังมีอยู่ตลอดจนสิ้นอายุขัย การเสื่อมโทรมของสภาพร่างกาย การเจ็บไข้ได้ป่วยที่มาพร้อมกับการชราภาพ เป็นต้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ทำให้เรามีความจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และการเงิน เพื่อรองรับและรักษามาตรฐานการดำเนินชีวิตในช่วงหลังวัยเกษียณให้เทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับการดำเนินชีวิตในช่วงก่อนเกษียณอายุ ทั้งนี้ การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่วัยเกษียณอายุนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ

1. การเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย และจิตใจ
เมื่อเกษียณอายุนั้นทุกคนจะต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ สิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงทางด้าน

ร่างกาย และสถานภาพทางสังคม ซึ่งทำให้หลายคนเกิดความรู้สึกว่าสูญเสียความสามารถ และอำนาจที่เคยมี โดยเฉพาะคนที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน และยังคงยึดติดอยู่กับความคิดในอดีตที่ตนเคยมีมาก่อน จนเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ ดังนั้น การเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจแต่เนิ่นๆ จะทำให้ผู้เกษียณอายุนั้นมีความเข้าใจ และเกิดความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น สามารถอยู่ร่วมกับครอบครัว และสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งการเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจนั้น ได้แก่

  • การปรับเปลี่ยนทัศนคติและยอมรับว่าเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว กำลังร่างกายย่อมมีน้อยลง  ดังนั้น จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคมและหน้าที่การงานที่เหมาะสม
  • พยายามรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง โดยออกกำลังกาย และตรวจสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ทำจิตใจให้แจ่มใส ให้ความใส่ใจกับผู้คนและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
  • ให้ความสำคัญกับคำสอนทางศาสนา และทำกิจกรรมทางศาสนาให้มากขึ้น เป็นต้น

2. การเตรียมความพร้อมทางด้านการเงิน
ความพร้อมทางด้านการเงินนั้น เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากเรื่องหนึ่งที่จะต้องมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าก่อน ที่จะเกษียณอายุ แต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องการเตรียมความพร้อมทางด้านการเงินเพื่อวัยเกษียณมากนัก และโดยส่วนใหญ่จะเริ่มเตรียมความพร้อมก็ต่อเมื่อมีอายุใกล้จะเกษียณแล้ว ซึ่งทำให้มีเวลาน้อยเกินไปที่จะเตรียมความพร้อมได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมทางด้านการเงินเพื่อวัยเกษียณนั้นมีขั้นตอน  ดังนี้ 

ขั้นที่ 1 ประมาณการอายุที่คาดว่าจะอยู่ในช่วงเกษียณอายุไปจนสิ้นอายุขัย:
โดยอาจจะประมาณการจากบุคคล ในครอบครัว เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย บิดา หรือมารดา เป็นต้น โดยพิจารณาจากอายุของบุคคลดังกล่าวว่าโดยเฉลี่ยแล้วมีอายุยืนยาวเพียงใด และนำมาใช้เป็นตัวเลขสำหรับการประมาณการอายุขัยของตนเอง และตามหลักความระมัดระวัง (Conservative) ควรจะบวกเพิ่มไปอีก 8 ปี โดยประมาณ เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย อายุขัยเฉลี่ย 80 ปี อายุขัยที่ประมาณการได้ควรจะเท่ากับ 88 ปี เป็นต้น

ขั้นที่ 2  กำหนดเป้าหมายการดำเนินชีวิตที่ต้องการเมื่อเกษียณอายุ:
เป็นการวาดภาพการดำเนินชีวิตตลอดในช่วงหลังเกษียณอายุที่ได้ประมาณการไว้ว่าต้องการใช้ชีวิตแบบไหน และต้องการจะทำสิ่งใดบ้างหลังจากเกษียณอายุไปแล้ว แต่โดยพื้นฐานแล้วบุคคลทั่วไปนั้นต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ไม่แตกต่างจากช่วงก่อน     เกษียณอายุมากนัก เช่น ต้องการมีเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้เท่ากับค่าใช้จ่ายในช่วงก่อน เกษียณอายุ เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกว่าคุณภาพชีวิตต่ำลง นอกจากนี้ บางคนเมื่อเกษียณอายุแล้วอาจจะต้องการมีเงินสำหรับไปท่องเที่ยวต่างประเทศ ต้องการมีเงินที่จะนำไปใช้ในการทำบุญ ต้องการเงิน เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพ เพิ่มเติมอีก เป็นต้น

ขั้นที่ 3  ประมาณการค่าใช้จ่ายที่ต้องการสำหรับการเกษียณอายุ:
หลังจากที่ได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินชีวิต ในช่วงหลังเกษียณอายุแล้วนั้น ให้ประมาณการว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในช่วงเกษียณอายุทั้งหมดนั้นมี จำนวนเท่าใด แต่โดยทั่วไปแล้วควรจะมีค่าใช้จ่ายอย่างน้อยให้เพียงพอกับความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐาน สำหรับวัยเกษียณ

 

 

 
 
 
 
 

--~--~---------~--~----~------------~-------~--~----~
-------- ร่วมกัน ถาม-ตอบ คำถามวันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล  ------

มุมนี้มีดี ต้องแนะนำ ::

http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ประกาศตำแหน่งงาน 3เดือน แถม 1เดือน - 15 ก.ค. 52 นี้

http://www.SiamHrm.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์"
-  หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
-  หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm-unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยันการยกเลิก ใน Email ของท่านอีกครั้ง.)
-  หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th

~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
-~----------~----~----~----~------~----~------~--~---

ไม่มีความคิดเห็น: