วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

Re: อ้างถึง: [SIAMHRM.COM :28953] ปรึกษาเกี่ยวกับคดีแรงงานค่ะ

เรียน  อาจารย์อดิศร 

ขอบคุณมากๆๆเลยค่ะเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์มากๆๆค่ะ แต่ว่า มีเรื่องจะรบกวนสอบถามเพิ่มเติมอาจารย์อีกค่ะ คือว่า บริษัทฯของดิฉันเป็นองค์การเล็กๆๆมีพนักงานอยู่ประมาณ 30 คน ค่ะ มีเรื่องพิพาทกัน คือว่า พนักงานเกิดทะเลาะวิวาทกัน ด้วยเหตุเพียงเล็กน้อย คือ มีเรื่องเข้าใจผิดกัน และเกิดการท้าทายกันขึ้น จึงเป็นเหตุให้ มีการต่อย ตบ ตีกันขึ้น ซึ่งทั้งสองฝ่ายก็ต่างไม่ยอมรับหรอกค่ะว่าตัวเองผิด ซึ่งจากการสอบสวนนั้น ดิฉันทำหน้าที่เป็นฝ่ายสอบสวน เนื่องจากหัวหน้างาน สองแผนกนั้น กลัวว่าจะไม่เป็นกลาง จึงได้ให้ฝ่ายบุคคลเป็นผู้สอบสวนข้อเท็จจริง หลังจากที่สอบสวนแล้วนั้น พบว่าฝ่ายที่หนึ่ง นั้นเป็นฝ่ายหาเรื่องก่อนเพราะข้องใจในการพูดจาของฝ่ายสอง ส่วนฝ่ายสองก็บอกว่าเจตนาพูดเล่นและที่พูดก็ไม่ได้พูดกับฝ่ายหนึ่งเลย แต่ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกันหรือไม่สามารถตกลงกันได้  จึงเกิดมีปากเสียงจนนำไปสู่การท้าทายกันขึ้นนั่นเอง เรื่องบานปลายจนถึงขั้นลงไม้ลงมือกันค่ะ หัวหน้าฝ่ายของหนึ่ง ซึ่งเริ่มหาเรื่องก่อนนั้น พิจารณาเห็นแล้วว่าสมควรลงโทษทั้งคู่ ตามกฎระเบียบของบริษัทฯ ที่ว่า พนักงานคนใด ก่อการวิวาท มีโทษร้ายแรงสามารถ บอกเลิกจ้างได้ทันที ส่วนหัวหน้าฝ่ายสองนั้น มีความคิดเห็นว่า น่าจะลงโทษเป็นอย่างอื่นไม่น่าจะให้ออกทั้งสองคน โดยอาจจะลงโทษโดย สั่งพักงาน จ่ายค่าแรง ห้าสิบเปอร์เซ็นของค่าแรงปัจจุบัน  หัวหน้าทั้งสองฝ่ายก็ขอคำปรึกษาฝ่ายบุคคล ว่ามีความเห็นเป็นเช่นไร ดิฉันซึ่งเป็น ฝ่ายบุคคล นั้นคิดว่าน่าจะให้โอกาสทั้งสองฝ่าย เพราะว่า จากการสอบสวนนั้น เป็นการเข้าใจผิดกัน ตากกฎระเบียบนั้น สามารถให้ลงโดยเลิกจ้างได้ ก็จริงอยู่ แต่ว่าดิฉันก็คิดว่า มันเป็นบทลงโทษที่รุนแรงไป ดิฉันคิดว่าการลงโทษโดยการพักงาน และให้ใบเตือน และชี้แจงว่าถ้าหากเกิดการทะเลาะวิวาทกันอีก ต้องไล่ออกทั้งคู่ อย่างนี้น่าจะดีกว่า  แต่ว่าเรื่องก็ไม่ได้จบง่ายแบบนั้นค่ะ เพราะว่า ถึงแม้สองฝ่ายจะคิดว่าลงโทษพักงานนั้นน่าจะเป็นการลงโทษที่ดี แต่ว่าผลสรุปกลับต้องลงโทษโดยการไล่ออกเพราะว่า หัวหน้าฝ่ายหนึ่ง ค่อนข้างมีอิทธิพลในองค์กร ค่ะ ทำให้ผู้บริหารที่มีอำนาจสูงสุด จึงเห็นดีด้วยที่จะให้ลงโทษสถานหนักคือการไล่ออก ถึงแม้ว่าดิฉันซึ่งเป็นฝ่ายบุคคลเอง ก็พยายามที่จะชี้แจงด้วยเหตุผลหลายๆๆประการ แต่ก็ดูเหมือนไม่มีน้ำหนักพอ ค่ะ  ดิฉันจึงให้ทั้งคู่ ลงชื่อในหนังสือยอมรับความผิด ทั้งสองก็ไม่ยินยอมและบอกว่าจะไปฟ้องทางแรงงานว่าตัดสินไม่ยุติธรรม หลังจากนั้นพนักงานในส่วนของสองนั้น ไ้ด้มาแสดงความคิดเห็นกับผู้บริหารค่ะว่า เป็นการตัดสินใจไม่ยุติธรรม ผู้บริหารจึงแจ้งว่าถ้าเช่นนั้นจะขอพิจารณาและให้ตัวแทนแต่ละแผนกเข้าร่วมเสนอความคิดเห็นอีกครั้งค่ะ เพราะพยานที่เห็นเหตุการณ์รูึ้สึกว่าการลงโทษแบบนี้ไม่ยุติธรรม สำหรับสองค่ะ เพราะว่าเค้าไม่ได้เป็นคนเริ่มต้นก่อน ที่ทำไปก็เพราะป้องกันตัวเท่านั้นเอง ซึ่งในตอนแรกที่ชี้แจงไป ก็ให้เหตุผลไปค่่ะว่า ถ้าเกิดการทะเลาะวิวาทนั้น ทุกครั้งก็จะลงโทษทั้งสองฝ่ายแต่คนอื่นๆๆก็แย้งค่ะว่า ถ้ายังงั้น ถ้าใครไม่ชอบเราแล้วก็มาทำร้ายเรา ก็ต้องให้ออกทั้งสองคนอย่างนี้หรอ ฟังดูแล้วก็เหมือนไม่ยุติธรรม อยากจะขอคำปรึกษา จากอาจารย์ค่ะว่า ดิฉันควรจะหาทางออกอย่างไรดีคะ แล้วหากว่าเราตัดสินแล้วให้ออกทั้งคู่นั้น จะมีข้อพิพาทตามมาหรือป่าวคะ  

ขอแสดงความนับถือ

กัญวรา 

เมื่อ 27 สิงหาคม 2553, 23:25, lekhots <lekhots@gmail.com> เขียนว่า:
 - ขอขอบพระคุณ คุณอดิศรอีกครั้งสำหรับคำแนะนำที่ดีมากๆ ผมเชื่อว่าท่านอื่นๆก็จะสามารถนำไปปรับใช้ได้เหมือนกัน
 - เห็นด้วยอย่างยิ่งกับ"คำยืม"จากคุณ Prakal ...เป็นคำที่โดนเอามากๆครับ
 - คำที่คุณอดิศรบอกว่า"ตายแทนเจ้านายได้" ผมก็ได้ยินมาแล้ว แต่เขาไม่ได้หมายถึงบริษัทครับ หมายถึงลูกพี่เขาคนเดียว
   แต่กับบริษัท ซึ่งเขาคงจะหมายถึงผู้บริหารระดับสูง HR ,Office , ฯลฯ เขามักจะรู้สึกไม่ค่อยดี เพราะฉะนั้น จึงมีความคิด
   อยาก "เอาคืน"บริษัทบ้าง ไปซะทุกเรื่องทำให้ทรัพย์สินหายยังคงมี ตอกบัตรแทนกันก็มีเรื่อยๆ ทำงานด้วยความเฉื่อยชา
   ไม่ยอมทำโอที หรือทำงานในวันหยุดแม้ว่างานจะเร่ง  ฯลฯ เป็นต้น ไม่ทราบว่าท่านอื่นๆพบเจออยู่ด้วยหรือเปล่า....
 
 - ถ้าจะคิดแบบโอเวอร์ไปเลยเถิด ผมอยากจะให้สมาคม ชมรม หรือผู้เชี่ยวชาญรวมตัวกันเสนอกฏหมายให้ผู้ประกอบการ
   หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งให้กระทำการแทนก็แล้วแต่ ต้องเข้ารับการอบรมบ่มนิสัยก่อนทุกครั้งที่มีการยื่นขอจดทะเบียนบริษัทหรือ
   สถานประกอบการจะดีมั๊ยครับ ถ้าไม่ผ่านอบรมก็ไม่จดทะเบียนให้เป็นต้น เพราะไม่งั้นมันก็จะเกิดปัญหาเดิมๆ คนที่ดีอยู่แล้ว
   ก็ขอให้ดีต่อๆไป แต่คนที่คิดไม่ดี คิดแต่จะเอากำไร บนความหวาดกลัวของลูกจ้างนี่สิ ผมว่ามีเยอะกว่ามาก ไม่งั้นป่านนี้
   ค่าจ้างขั้นต่ำก็ดี สวัสดิการของประชาชนที่ขายแรงงานก็ดี หรือความมั่นคงในชีวิตในอนาคตของลูกจ้างทั้งหลายของประเทศไทย
   คงจะดีกว่านี้มาก
 - ลูกจ้างหลายคนทำงานในแต่ละสถานประกอบการด้วยความรู้สึกไม่มั่นคง อาจด้วยการศึกษา พื้นฐานทางความคิด หรืออื่นๆ
   รู้สึกหวาดกลัวต่ออนาคตของตัวเองที่จะโต้แย้ง หรือ" เรียกร้องหาความสุข" กฏหมายและเจ้าหน้าที่รัฐก็มักจะเอื้อต่อนายจ้าง
   ซะมากคือมีช่องว่างให้กระทำอีกอย่างหรือไม่ต้องกระทำอะไรซักอย่าง เหมือนระบบบัญชีที่ทำกันสองบัญชีเป็นต้น โดยที่คนที่
  ได้ประโยชน์ที่เป็นตัวเงินที่มากกว่ามักจะเป็นนายจ้าง ซึ่งส่วนใหญ่เวลานี้เป็นผู้ประกอบการชาวต่างชาติ ... เราควรหาประโยชน์
   จากการลงทุนของผู้ประกอบการเหล่านั้นให้มากกว่าภาษีอากรได้มั๊ย สิ่งที่ประชาชนของเราควรได้รับหรือเป็นอยู่ เป็นไป น่าจะ
   มากกว่าเงินค่าจ้างเพียงอย่างเดียว
- กระบวนการทั้ง 5 ที่คุณอดิศรยกขึ้นมา เป็นตัวอย่างของข้อบังคับทางกฏหมายที่ควรจะทำกัน หรือให้ผ่านการอบรมบ่มนิสัยที่ว่า
  ทั้ง 5 ประการนี้ก่อน ไม่ใช่ให้จนท.บุคคลไปอบรมนะครับ ตัวผู้ประกอบการนั่นแหละ เพราะถ้าพวกเขามีนิสัยที่ดีแล้ว ก็จะมากำหนด
  เป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ หรือนโยบายที่ชัดเจนเป็นธรรมตั้งแต่ต้น อันนี้ก็เหมือนกับการป้องกันโรคใช่มั๊ยครับ
 
 - ก็หวังว่าจะได้รับคำแนะนำที่ดีๆจากคุณอดิศรอีกเช่นเคยครับ  ขอบคุณครับ
 
    เล็กครับ

เมื่อ 27 สิงหาคม 2553, 15:15, adisorn klinpikul <adisorn_pers@hotmail.com> เขียนว่า:
สวัสดีครับ คุณเล็ก
  เหตุการณ์ที่ลูกจ้างฟ้องนายจ้างก็เป็นปัญหาปลายเหตุตามที่คุณว่ามานั่นล่ะครับ
  เพราะองค์กรมีปัญหาพิพาทเกิดขึ้นระหว่างนายจ้างลูกจ้าง จึงเกิดกรณีนี้ขึ้นได้
  ก็ต้องถามต่อว่าทำไมถึงได้มีการพิพาทเกิดขึ้นได้ เพื่อที่จะได้ไปรักษาที่ต้นเหตุอันเป็นการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้น
    นายจ้างบางคนไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้ก็มีเยอะครับ คิดว่าฟ้องได้ก็ฟ้องไป แต่ถ้านายจ้างที่ฉลาดเค้าจะไม่ยอมให้เรื่องนี้เกิดขึ้นในองค์กร
โดยเด็ดขาด
    เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาลก็คือความเชื่อถือของลูกค้าและภาพลักษณ์ขององค์กร  ขอยืมคำจากคุณ prakal
ที่ส่งบทความมาให้สด ๆ ร้อน ๆ เมื่อเช้านี้เองครับว่า " ถ้าพนักงานไม่มีความสุขแล้วลูกค้าจะมีความสุขได้อย่างไร "
    เรื่องความสุขของพนักงานเป็นสิ่งสำคัญมากครับ เพราะส่งผลถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และศักยภาพในการแข่งขันขององค์กรโดยตรง
เรื่องพวกนี้สามารถวัดเป็นมูลค่าได้ด้วยซ้ำ แต่นายจ้างหลายท่านไม่ได้คำนึงถึง และไม่เคยนำมาประเมินมูลค่าเลย ทำให้ในองค์กรมีต้นทุนแฝง
เป็นมะเร็งที่คอยกัดกร่อนอยู่โดยไม่รู้ตัวครับ
 
    ข้อแนะนำว่าเราควรจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดโรคนี้
   1. นายจ้างจะต้องมีความเข้าใจเรื่องของการบริหารบุคคลและมีแนวคิดเรื่องทรัพยากรบุคคลให้ได้เสียก่อนครับ
       HR. เองก็มีหน้าที่ที่จะต้องทำให้นายจ้างเห็นความสำคัญของเรื่องนี้อย่างเต็มความสามารถ แต่ถ้าทำไม่ได้
       เรื่องอื่นที่จะทำต่อไปก็จะยากมากครับ
  2. หากนายจ้างมีแนวคิดที่ถูกต้องแล้ว เรื่องต่อไปที่ต้องทำคือการวางโครงสร้างการบริหารและการบังคับบัญชา
      ให้มีการกระจายอำนาจหน้าที่อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะผู้บังคับบัญชาทั้งหลายในองค์กรที่นายจ้างมอบหมายให้มีอำนาจ
     กระทำการแทนนายจ้าง  ก็จะต้องมีตามความจำเป็นให้ครอบคลุมการบริหารจัดการองค์กรครับ
 3. หากมีผู้มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างครบถ้วนในองค์กรแล้ว  HR. ก็จะต้องมีหน้าที่ในการวาง กฎ ระเบียบต่าง ๆ
     โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะต้องใช้เป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามกฎหมายมาตรา 108 และ 110
 4. HR. มีหน้าที่ที่จะต้องกำหนดกฎเกณฑ์เรื่องกระบวนการพิจารณาทางวินัยเพื่อใช้บังคับในองค์กรครับ
     หลาย ๆองค์กรมักจะมอบหมายให้ HR. มีหน้าที่ลงโทษพนักงาน ซึ่งเป็นวิธีการที่ผิดและขัดต่อหลักการปกครองที่ดีครับ
     HR, ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในการลงโทษใครทั้งสิ้น ยกเว้นลูกน้องของตัวเอง หน้าที่ในการสอบสวน พิจารณาโทษต่าง ๆ ของพนักงานนั้น
     จะต้องอยู่ที่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้าง หรือผู้บังคับบัญชาโดยตรงของพนักงานที่กระทำผิดเท่านั้น โดย HR. มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษา
     หรือไกล่เกลี่ย หรือระงับข้อพิพาทที่อาจจะเกิดขึ้นในองค์กรครับ
 5. เมื่อ HR. ได้วางระบบเอาไว้ครบถ้วนแล้ว ก็จะต้องทำการอบรมผู้บังคับบัญชาทั้งหลายเหล่านี้ให้มีความรู้ด้สนทักษะการเป็นผู้บังคับบัญชา
     , กระบวนการพิจารณาทางวินัย, กฎหมายแรงงาน, จิตวิทยาการปกครอง รวมทั้งจะต้องสร้างผู้บังคับบัญชาเหล่านี้โดยอาจจะกำหนดเป็นวัฒนธรรม
    องค์กรเลยก็ได้ว่า ผู้บังคับบัญชาจะต้องเป็นผู้รักษาวินัยของตนเองและขององค์กรอย่างเคร่งครัด เพราะปัญหาการพิพาทส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น
   มักจะพบว่า สาเหตุมาจากตัวผู้บังคับบัญชาเสียเองครับ ที่ละเลยวินัย จนเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีขึ้น และมักจะโทษว่าพนักงานหัวหมอ
   พนักงานที่ทัศนคติไม่ดีเหล่านี้ต้องยอมรับว่าทุก องค์กรจะต้องมีเพราะมันเป็นเรื่องธรรมชาติของคน แต่หน้าที่ของ HR. และผู้บังคับบัญชาก็คือ
   การที่จะต้องควบคุมพฤติกรรมที่ไม่ดีให้อยู่ในกรอบอย่างเที่ยงธรรมโดยให้กระบวนการพิจารณาทางวินัยเชิงสร้างสรรค์ให้ได้ครับ
 
    กระบวนการทั้ง 5 ข้อนี้ ถ้าเราสร้างขึ้นมาได้แล้ว ปัญหาการฟ้องร้องก็แทบจะไม่มีแล้วครับ เพราะข้อพิพาทต่าง ๆ จะถูกไกล่เกลี่ยภายในองค์กรก่อนแล้ว
โดย HR. จะมีหน้าที่เป็นทั้ง พนักงานตรวจแรงงาน ทนายความ แม้กระทั่งเป็นศาล เพื่อระงับปัญหา ข้อพิพาท ทั้งนี้ในองค์กรควรจะต้องมีคณะกรรมการสวัสดิการและแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบกิจการที่ทำหน้าที่จริง ๆ ตามกฎหมายอยู่ด้วยก็จะช่วยได้เยอะครับ
 แต่หลาย ๆ องค์กรมักจะมีเป็นแค่แผ่นกระดาษเท่านั้น ในความเป็นจริงไม่ได้มีหน้าที่อะไรเลย  การสร้างระบบสวสัดิการและแรงงานสัมพันธ์
จะช่วยให้องค์กรมีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้นได้ครับ เพราะคนในองค์กรจะมีความสุข รู้สึกรักและหวงแหนองค์กร แม้กระทั่งจะลาออกก็ต้องคิดแล้วคิดอีก เพราะเกรงใจ รักเพื่อน รักเจ้านาย มีปัญหาอะไรเค้าก็จะมาปรึกษาก่อนเสมอ  ความรับผิดชอบและวินัยในองค์กรก็จะสร้างได้ไม่ยากครับ
   หลาย ๆ องค์กรที่ทำเรื่องนี้ได้ดี จะมีพนักงานที่บอกได้เลยว่าเค้าตายแทนเจ้านายได้นะครับ ผมสัมผัสมาหลายแห่งหลายคนแล้ว ไม่ได้พูดเล่นสนุกปากนะครับ
 
   แต่หากทุกอย่างทำได้ดีแล้ว ก็อาจมีปัญหาฟ้องร้องเกิดขึ้นได้ นายจ้างก็ไม่ต้องกังวลครับ ถ้ากระบวนการทุกอย่างเราทำถูกต้อง
มีความโปร่งใส เป็นธรรม มีมนุษยธรรมแล้ว นายจ้างก็ไม่แพ้คดีหรอกครับ แต่ที่สำคัญคือจะต้องพูดคุยและปรับเปลี่ยนทัศนคติของพนักงาน
ที่เค้าอาจจะเข้าใจผิด คิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมให้ได้ ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องยากแล้วครับ
 
   ต้องการเอกสารหรือ ความรู้เพิ่มเติมประเด็นใดก็สอบถามมาได้นะครับ
อดิศร   

Date: Fri, 27 Aug 2010 13:13:57 +0700
Subject: Re: อ้างถึง: [SIAMHRM.COM :28747] ปรึกษาเกี่ยวกับคดีแรงงานค่ะ
From: lekhots@gmail.com
To: adisorn_pers@hotmail.com
CC: siamhrm@googlegroups.com


 - ได้อ่านเมล์ของคุณอดิศรครั้งใดมีความรู้เพิ่มขึ้นทุกที ผมจะทำสำเนาเป็น word เก็บไว้เกือบทุกครั้ง ต้องขอขอบพระคุณมากๆเลยที่เสียสละเวลา
    เป็นวิทยาทานให้กับคนที่รู้น้อย อย่างผมเป็นต้น
 - ผมเองก็มีปัญหาที่ต้องคอยแก้ไขเรื่องพวกนี้อยู่เรื่อยๆ ซี่งเมื่ออ่านความรู้ที่คุณอดิศรกรุณาให้มานี้ก็รู้สึกว่า ปัญหาเหล่านี้มันเป็นปลายเหตุใช่มั๊ยครับ
   การที่ลูกจ้างต้องไปฟ้องร้องเนี่ย มันเป็นเหมือนเพียงอาการของโรคใช่มั๊ยครับ
 - จึงอยากขอคำแนะนำเพิ่มเติมอีกครับว่า เพื่อไม่ให้เกิดโรคที่ว่าเนี่ยมันต้องเริ่มต้นยังไง และถึงแม้จะเกิดโรค ก็จะมีวิธีการรักษาหรือแก้ไขได้ เช่น
   ที่คุณอดิศรบอกว่า ต้องมีการสอบสวนที่เป็นธรรม , ต้องมีการสอน-การประเมินผลที่เป็นรูปธรรม ฯลฯ ทีนี้ระบบ ,ขั้นตอน , วิธีการ หรือเอกสารที่
   ต้องทำ ต้องใช้ในแต่ละขั้นตอนต้องเป็นยังไง ใครต้องเกี่ยวข้องบ้าง จนกระทั่งมันเป็นเรื่องต้องไปถึงศาล มันจะต้องมีขั้นมีตอน มีเอกสารอะไรบ้าง
   ครับ (เช่น ถูกฟ้องร้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเพราะเหตุขาดงาน)
 - ผมอาจจะถามด้วยคำถามที่อาจจะสับสน ก็ด้วยความรู้น้อย ยังไงก็ยังหวังจะได้รับคำแนะนำอยู่นะครับ
   ขอบพระคุณครับ
  
    เล็กครับ

เมื่อ 27 สิงหาคม 2553, 10:11, adisorn klinpikul <adisorn_pers@hotmail.com> เขียนว่า:

สวัสดีครับ อดิศร ครับ

กรณีนี้เป็นการใช้สิทธิของลูกจ้างในมาตรา 49 พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน เรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมครับ

ซึ่งลูกจ้างมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากนายจ้างได้ อัตราค่าเสียหายไม่มีกำหนดไว้ในกฎหมายครับ

ขึ้นอยู่กับว่าลูกจ้างจะคิดว่าตนเองเสียหายอะไรบ้าง และเรียกร้องเอาจากนายจ้างตามเหตุผลที่ลูกจ้างจะอ้างต่อศาล

และเมื่อศาลรับฟ้องและวินิจฉัยว่านายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจริง ค่าเสียหายในส่วนนี้ก็จะมีการเจรจาต่อรองและศาลจะไกล่เกลี่ยให้จนสามารถตกลงหรือยินยอมกันได้ทั้งสองฝ่ายครับ

 

ทีนี้มาดูกันนะครับว่าอะไรบ้างที่เป็นเหตุผลเข้าข่ายว่านายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ผมพอจะรวบรวมได้จากประสบการณ์ดังนี้ครับ

  1. กรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่อายุงานไม่ถึง 120 วัน หรือกรณีที่นายจ้างมีเหตุผลว่าลูกจ้างไม่ผ่านทดลองงาน

           หลาย ๆ คดีเกิดขึ้นและเข้าข่ายเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือนายจ้างเอาเปรียบลูกจ้างเกินสมควรนั้น เนื่องจากนายจ้างไม่มีระบบการประเมินผลทดลองงานที่โปร่งใสและเป็นธรรมต่อลูกจ้าง เช่น นายจ้างไม่มีแบบประเมินผลทดลองงานเลย เมื่อลูกจ้างเข้ามาทำงานให้แล้ว นายจ้างก็ปล่อยให้ลูกจ้างทำงานไปโดยอาจจะไม่มีคนคอยชี้แนะหรือสอนงานด้วยซ้ำ พอนายจ้างเห็นว่าลูกจ้างทำงานไม่ได้ตามที่คาดหวัง หรือเมื่อครบกำหนดทดลองงานแล้วโดยนายจ้างอาจจะเข้าใจว่าการทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลา ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ก็เลยบอกเลิกจ้างลูกจ้างทันที สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 นายจ้างก็ไม่จ่าย  อย่างนี้หากลูกจ้างเห็นว่าไม่เป็นธรรมก็สามารถฟ้องตามมาตรา 49 วิ. ได้ครับ  ศาลก็จะมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง หรือถึงแม้ว่านายจ้างจะจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแล้วก็ตาม แต่หากลูกจ้างพิสูจน์ได้ว่าฝ่ายนายจ้างมีการกลั่นแกล้ง หรือนายจ้างไม่มีหลักฐานที่แสดงว่ามีการพิจารณาทดลองงานอย่างเป็นธรรมลูกจ้างก็เรียกร้องค่าเสียหายได้ครับ

 

  1. กรณีที่ลูกจ้างทำงานเกิน 120 วันแล้ว เหตุผลในการเลิกจ้างก็จะมีอยู่ 2 ประการคือ

2.1   นายจ้างเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่ได้มีความผิดทางวินัยตามมาตรา 119 ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 118 และหากไม่ได้มีการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วยก็ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 ถ้านายจ้างไม่จ่าย ลูกจ้างก็ฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยหรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ หรือลูกจ้างก็อาจเรียกร้องค่าเสียหายตามมาตรา 49 วิ ได้อีก หากเห็นว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการเอาเปรียบเกินสมควรหรือลูกจ้างถูกกลั่นแกล้ง หรือเหตุผลที่นายจ้างเลิกจ้างในกรณีนี้เป็นเพราะระเบียบของนายจ้างบางอย่างขัดต่อกฎหมาย ถึงแม้นายจ้างจะจ่ายค่าชดเชยแล้วก็ตาม

2.2   นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากลูกจ้างมีความผิดทางวินัยตามมาตรา 119 ซึ่งนายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย แต่ฝ่ายนายจ้างไม่มีการพิจารณาสอบสวนอย่างเป็นธรรม หรือกฎระเบียบของนายจ้างขัดต่อกฎหมาย หรือเอกสารหนังสือเตือนก็ดี หนังสือเลิกจ้างก็ดีของฝ่ายนายจ้างเป็นโมฆะ อย่างนี้ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าเสียหายจากการเลิกจ้างได้ครับ

 

 

นอกจากนี้แล้ว ก็จะยังมีค่าตอบแทนอื่น ๆ ( ถ้ามี ) ที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้ลูกจ้างกรณีเลิกจ้างด้วย เช่นเงินประกันตามมาตรา 10 , ค่าจ้างค้างจ่าย ,ค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสม ตามมาตรา 67 หรือเงินอื่น ๆ อันเป็นสิทธิของลูกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมาย หากนายจ้างจ่ายให้ไม่ครบ ลูกจ้างก็เรียกร้องได้ครับ

 

เท่าที่คุณได้ยกตัวอย่างมา เรื่องของระเบียบการลา ถ้านายจ้างกำหนดไว้อย่างนี้ลูกจ้างฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้แน่นอนครับ เพราะเป็นระเบียบที่ขัดต่อกฎหมาย ใช้บังคับลูกจ้างไม่ได้ครับ

ถึงแม้จะจ่ายค่าชดเชยก็ตาม ลูกจ้างก็ยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ครับ

   หากนายจ้างจะพิจารณาการลางานของลูกจ้างว่ามีความผิดทางวินัยนั้น นายจ้างจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่า การลาของลูกจ้างเป็นเท็จ หรือลูกจ้างได้ทำผิดระเบียบในการลางานที่นายจ้างได้กำหนดไว้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นครับ 

  เหตุผลเพราะการลางานของลูกจ้างนั้น มีกฎหมายกำหนดไว้แล้ว ว่าลูกจ้างมีสิทธิอย่างไรบ้าง

เช่นสิทธิในการลาป่วยตามมาตรา 32 หรือสิทธิในการลากิจตามมาตรา 34

ถึงแม้ในมาตรา 34 นายจ้างจะมีสิทธิกำหนดข้อบังคับในการลากิจได้ แต่ข้อบังคับนั้นก็จะต้องไม่เป็นการเอาเปรียบลูกจ้างเกินสมควรด้วยเช่นกันครับ

  แนะนำว่าหากไม่ต้องการให้เกิดปัญหาพนักงานฟ้องร้อง ฝ่ายบุคคลจะต้องเอาข้อบังคับการทำงานที่มีอยู่รวมทั้งวิธีในการปฏิบัติด้านกระบวนการพิจารณาทางวินัย ตลอดจนแบบฟอร์มต่าง ๆ มาทบทวนดูใหม่ครับ ว่ามีอะไรขัดต่อกฎหมายหรือไม่  เพราะถ้ามี ข้อบังคับจะเป็นโมฆะ ใช้บังคับไม่ได้ ถึงแม้ลูกจ้างจะยินยอมก็ตาม และหากลูกจ้างไปฟ้อง นายจ้างก็จะแพ้คดีครับ

 

   ส่งข้อบังคับหรือระเบียบต่าง ๆ มาให้ผมช่วยดูให้ก็ได้นะครับ จะแนะนำให้

   และไม่ทราบว่าเคยได้รับเอกสาร คำถาม คำตอบ ที่ผมรวบรวมไว้หรือยัง ถ้ายังก็ขอมาได้ครับ

จะ mail ส่งมาให้นะครับ

อดิศร

             

   
  

From: malisa.yon@sammitrauto.com
To: Angkarn@kslgroup.com; siamhrm@googlegroups.com
Subject: FW: อ้างถึง: [SIAMHRM.COM :28713] ปรึกษาเกี่ยวกับคดีแรงงานค่ะ
Date: Thu, 26 Aug 2010 13:26:43 +0700

 
ยกตัวอย่างเช่น บริษัทฯ มีระเบียบการลาให้พนักงานเช่น
ลาได้ไม่เกิน 5% ของ MAN HOUR ในแต่ละเดือน หากเกิน ติดต่อกัน 2 เดือน จะถูกใบเตือนครั้งที่ 1 ด้วยวาจา
ติดต่อกันอีก ก็ถูกครั้งที่ 2 ,ครั้งที่ 3 ...ซึ่งพนักงานลงนามเซ็นต์รับทราบทุกครั้ง จนถึงเลิกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชยตามอายุงาน
เป็นต้นค่ะ
 
 
 
 
 
ขอแสดงความนับถือ
มาลิสา  พรสุดาชัย(นุ่น)
เจ้าหน้าที่บุคคล
บริษัท สามมิตรโอโตพาร์ท จำกัด
02-4209696

 

From: Angkarn Chaiyachart [mailto:Angkarn@kslgroup.com]
Sent: Thursday, August 26, 2010 1:10 PM
To: malisa.yon@sammitrauto.com
Subject: อ้างถึง: [SIAMHRM.COM :28697] ปรึกษาเกี่ยวกับคดีแรงงานค่ะ

 
กรณีที่เลิกจ้างนี้ มีเหตุผลในการเลิกจ้างอย่างไร หรือทำผิดระเบียบบริษัทฯอะไรบ้างครับ
 
จาก: siamhrm@googlegroups.com [mailto:siamhrm@googlegroups.com] ในนามของ malisa.yon@sammitrauto.com
ส่ง:
Thursday, August 26, 2010 11:24 AM
ถึง:
siamhrm@googlegroups.com
เรื่อง: [
SIAMHRM.COM :28697] ปรึกษาเกี่ยวกับคดีแรงงานค่ะ

 
ปรึกษาผู้รู้ค่ะ
บริษัทฯ มีคดีความที่ต้องขึ้นศาลแรงงานหลายคดีค่ะ(เช่น สถิติการหยุดงานมากสะสมฯลฯ)
โดยบริษัทฯ ก็ได้ทำการเลิกจ้างพนักงานโดยจ่ายเงินชดเชยตามอายุงาน
และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง+วันพักร้อนคงเหลือให้พนักงานแล้ว
ซึ่งพนักงานส่งฟ้องบริษัทฯ โดยขอค่าเสียหายกรณีถูกเลิกจ้าง เป็นเงินหลายแสนบาท
บางรายเป็นล้านบาท ซึ่งตำแหน่งงานก็เป็นพนักงานธรรมดา แต่ศาลก็รับฟ้อง
ปัจจุบันก็ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาคดีอยู่ เลยอยากจะถามผู้รู้ว่า ค่าเสียหายกรณีถูกเลิกจ้าง
ที่พนักงานอ้างว่า ทำให้เขาต้องลำบากเช่น ต้องส่งรถ ส่งลูก ส่งบ้าน ฯลฯ ศาลจะพิจารณาจากอะไร
และมีอัตราการจ่ายกำหนดไว้หรือไม่
ตัวดิฉันเองก็เป็นลูกจ้างคนหนึ่ง ถึงจะเป็นฝ่ายบุคคล แต่ก็มิได้เข้าข้างนายจ้างจนเกินไป
แต่ในกรณีนี้ หากนายจ้างต้องจ่ายเพิ่มเติมจากเงินชดเชยตามอายุงานแล้ว ต้องมาจ่ายค่าเสียหาย
อีก แล้วนายจ้างจะเลิกจ้างพนักงานที่เกเร ด้วยวิธีอะไร บางครั้งการลงโทษตามขั้นตอน หรือการนับ
อายุใบเตือนว่าไม่เกิน 1 ปี ก็เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งในการจัดการกับพนักงานที่เกเรหรือหัวหมออยู่
เหมือนกัน   รบกวนผู้ที่เคยมีประสบการณ์เรื่องดังกล่าว แชร์ข้อมูลด้วยค่ะ
 
 
 
 
ขอแสดงความนับถือ
มาลิสา  พรสุดาชัย(นุ่น)
เจ้าหน้าที่บุคคล
บริษัท สามมิตรโอโตพาร์ท จำกัด
02-4209696

 
--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
 
แนะนำ :
 
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน รับส่วนลดลด 40 % ถึง 31 สิงหาคม 2553 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
 
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

 
__________ Information from ESET NOD32 Antivirus, version of virus signature database 5397 (20100825) __________
 
The message was checked by ESET NOD32 Antivirus.
 
http://www.eset.com


__________ Information from ESET NOD32 Antivirus, version of virus signature database 5397 (20100825) __________

The message was checked by ESET NOD32 Antivirus.

http://www.eset.com


--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
 
แนะนำ :
 
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน รับส่วนลดลด 40 % ถึง 31 สิงหาคม 2553 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
 
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
 
แนะนำ :
 
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน รับส่วนลดลด 40 % ถึง 31 สิงหาคม 2553 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
 
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~


--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
 
แนะนำ :
 
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน รับส่วนลดลด 40 % ถึง 31 สิงหาคม 2553 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
 
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
 
แนะนำ :
 
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน รับส่วนลดลด 40 % ถึง 31 สิงหาคม 2553 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
 
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
 
แนะนำ :
 
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน แถมฟรี สูงสุด 2 เดือน ถึง 31 ตุลาคม 2553 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
 
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

ไม่มีความคิดเห็น: