วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

[SIAMHRM.COM :28923] RE: สอบถามเรื่ิองการทำมาตรฐานเเรงงานไทย

สวัสดีครับ อดิศร ครับ
ปัญหามีอยู่ 3 เรื่องนะครับ ขอวิเคราะห์ดังนี้ครับ
 
ปัญหา ในส่วนของสำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน
  1. ปัญหาด้านงบประมาณของสำนัก ฯ มีจำกัด
ควรมีแผนการใช้งบประมาณที่คุ้มค่าหรือผลักดันด้านงบประมาณให้เพียงพอต่อแผนงานหลักของสำนักฯ และมีแผนการใช้งบประมาณที่มีประสิทธิภาพ
 
  2. ปัญหาด้านวิธีการสร้างกิจกรรมสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่จะสามารถสร้างกระแสต่อสถานประกอบกิจการได้เพียงพอ 
เห็นได้จากเวปไซท์ http://tls.labour.go.th/webboard/group.jsp?GROUP_CODE=1&GROUP_NAME=สอบถามเรื่องมาตรฐานแรงงานไทย (มรท.๘๐๐๑-๒๕๔๖) มีการเคลื่อนไหวน้อยมาก ซึงแสดงว่ามีผู้สนใจน้อย
          ควรมีแผนการประชาสัมพันธ์ให้จริงจังและต่อเนื่อง
        มีผู้ดูแลระบบของเวปไซด์ให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ และสร้างช่องทางของเวปไซด์ผ่านลิงค์ต่าง ๆ ให้ถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด โดยใช้วิธีการเชิงรุก
 
 
  3. วิธีการหรือยุทธศาสตร์ในการชี้นำ สื่อสาร หรือประชาสัมพันธ์ต่อสถานประกอบกิจการถึงประโยชน์ทางธุรกิจของระบบมาตรฐานแรงงานที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ ต่อเจ้าของสถานประกอบกิจการโดยตรง ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากเจ้าของกิจการมักจะไม่ได้มาเข้าร่วมในการประชุมหรือสัมมนาด้วยตัวเอง ส่วนมากจะส่งพนักงานเข้าประชุมซึ่งอาจจะไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะไปนำเสนอต่อผู้บริหาร เพื่อให้เกิดความสนใจในการทำระบบมาตรฐานแรงงาน
       ควรสร้างยุทธศาสตร์ในการสื่สารประชาสัมพันธ์ให้ได้กลุ่มเป้าหมายเริ่มต้นซึ่งได้แก่เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารระดับสูงให้ได้ตั้งแต่ต้น และมีผู้ติดตามประเมินอย่างใกล้ชิดเพื่อให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาในการริเริ่มทำระบบ
 
  4. ปัญหาด้านบุคลากรของภาครัฐมีไม่เพียงพอ
       ควรสรรหาภาคเอกชนเช่นอาสาพัฒนาระบบมาตรฐานแรงงาน (ซึ่งปัจจุบันมีอยู่แล้ว) เข้าทำหน้าที่ช่วยบุคลากรภาครัฐโดยมีภาระกิจและแผนงานที่ชัดเจนในแต่ละปี มีกิจกรรมในการสร้างเครือข่ายและรักษาเครือข่ายที่มีอยู่ให้แน่นแฟ้นมากขึ้น เช่นมีการให้สมาชิกเครือข่ายอาสาเข้าทำหน้าที่ต่าง ๆ หรือมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเวปไซด์ของสำนัก เป็นต้น  ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณมากนัก ดีกว่าการจัดอบรมสัมมนากันในแต่ละปีซึ่งสิ้นเปลืองงบประมาณที่มีอยู่จำกัด แต่สัมมนาเสร็จแล้วก็ต่างแยกย้ายกันไป ไม่ได้มีการสื่อสารติดต่อกันอีกเลย
 
  5. แผนงานในการสร้างกระแสของระบบมาตรฐานในแต่ละพื้นที่ไม่มีความชัดเจนในเป้าหมายและมีความต่อเนื่องเพียงพอ
ในการดูแลรักษาสถานประกอบกิจการที่ได้การรับรองแล้ว และสถานประกอบกิจการที่ยังไม่ได้รับการรับรอง
      ในแต่ละปีนั้นทางภาครัฐควรมีการกำหนดแผนและวางเป้าหมายเพื่อขยายสถานประกอบกิจการให้ชัดเจน โดยมีการจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสม
 
ปัญหา ในส่วนของสถานประกอบกิจการ
 
1. ความรู้ด้านกฎหมายแรงงานของนายจ้างและผู้มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างหรือฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลมีน้อย
สถานประกอบการหลาย ๆ แห่ง ยังมีข้อบังคับ กฎระเบียบที่ขัดต่อกฎหมายอยู่หลายประการ อาจจะโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม
แต่ทำให้เกิดความยุ่งยากตั้งแต่เริ่มแรกในการทำระบบมาตรฐาน และส่งผลต่อความสนใจในการทำระบบให้สำเร็จ
 
2. ทัศนคติหรือแนวคิดในการบริหารงานบุคคลของนายจ้างบางสถานประกอบการยังไม่สอดคล้องต่อการทำระบบมาตรฐาน
ซึ่งต้องปฏิบัติตามพื้นฐานของกฎหมายแรงงาน และนายจ้างเหล่านี้ก็ไม่ได้สนใจหรือให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน
 
ทั้ง 2 ประการนี้ ทางกระทรวงแรงงานควรจัดให้มีการสัมมนานายจ้างหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างหรือผู้บริหารระดับสูงโดยตรง
ถึงความสำคัญและประโยชน์ทางธุรกิจในการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานที่ถูกต้องรวมทั้งการสร้างจิตวิทยาการปกครองในองค์กรให้เกิดความสุข
ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพของพนักงานโดยตรงและนำมาซึ่งศักยภาพในการแข่งขันขององค์กร
 
3. ปัญหาด้านบุคลากรในองค์กรมีไม่เพียงพอที่จะสร้างทีมงานทำระบบมาตรฐาน
    ที่ปรึกษาการทำระบบมาตรฐานควรมีเทคนิคในการหาทางออกให้ หรือมีความยืดหยุ่นในข้อกำหนดบางประการแก่สถานประกอบกิจการที่สนใจและตั้งใจ
แต่ขาดแคลนบุคลากรหรือทีมงานทำระบบ
 
4. ปัญหาด้านความเข้าใจของคนในองค์กรทุกระดับถึงประโยชน์ของระบบมาตรฐานแรงงานต่อธุรกิจและคุณภาพชีวิตของคนในองค์กร
ทำให้มองระบบว่ายุ่งยากที่จะทำ และไม่คุ้มค่าทางธุรกิจหรือตัวพนักงานไม่ได้ประโยชน์อะไร จึงขาดความสนใจที่จะทำหรือผู้บริหารสนใจที่จะทำ
แต่ทีมงานไม่สามารถทำได้สำเร็จเพราะไม่ได้รับความร่วมมือจากคนในองค์กร
 
ปัญหา ด้านที่ปรึกษาระบบมาตรฐานแรงงาน
 
1. จรรยาบรรณของที่ปรึกษา พบว่าที่ปรึกษาบางท่าน ขาดจรรยาบรรณที่ดีในการทำงาน ( มีคำร้องเรียนในเวปไซท์ของสำนักฯ ถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของที่ปรึกษา หรือมีกรณีที่บางสถานประกอบกิจการได้รับการรับรองระบบแล้ว แต่ในความเป็นจริงสถานประกอบกิจการแห่งนี้ยังฝ่าฝืนกฎหมายแรงงานมาตราที่สำคัญจนมีคดีแรงงานเกิดขึ้น จึงมีคำถามว่า ผ่านการรับรองระบบมาได้อย่างไร ลักษณะนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อถือของระบบมาตรฐานแรงงานไทย )
    ทางสำนักฯ ควรมีความเข้มงวดในการคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษารวมทั้งตัวบุคคลและควรมีมาตรการในการให้โทษต่อที่ปรึกษาลักษณะนี้อย่างจริงจัง
     นอกจากนี้ก็ควรมีการตรวจสอบสถานประกอบกิจการที่ฝ่าฝืนอย่างเป็นธรรมและมีมาตรการในการถอนใบรับรองหากมีการฝ่าฝืนจริงเพื่อให้ระบบมาตรฐานน่าเชื่อถือมากขึ้น ซึ่งจะต้องมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ชัดเจนด้วย
 
2. ความรู้ด้านกฎหมายแรงงานของที่ปรึกษา พบว่าที่ปรึกษาบางท่านยังไม่สันทัดจัดเจนในกฎหมายแรงงานเพียงพอ
    ทำให้มีการชี้แนะหรือให้คำปรึกษาแก่สถานประกอบการที่ไม่ถูกต้อง และเกิดการโต้แย้งขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคที่จะทำให้สถานประกอบการ
     ดำเนินระบบให้สำเร็จได้อย่างราบรื่น  ( กรณีนี้ตัวผมเองได้รับคำร้องเรียนจากสถานประกอบการแห่งหนึ่งโดยตรงซึ่งขอคำแนะนำมาว่าจะต้องทำอย่างไร
และเมื่อได้รับข้อมูลเหตุการณ์ข้อเท็จจริงทั้งหมดแล้วก็พบว่าที่ปรึกษายังไม่เข้าใจมาตราบางมาตราที่มีการเชื่อมโยงกัน  แล้วไปให้คำชี้แนะที่ผิด ซึ่งผมให้คำแนะนำในการโต้แย้งที่ปรึกษาไปแล้วครับ ลักษณะอย่างนี้ทำให้ที่ปรึกษาและสำนักฯ รวมทั้งระบบมาตรฐานขาดความน่าเชื่อถือเช่นกันครับ )
   ทางสำนักฯ ควรมีวิธีการทดสอบความรู้ด้านกฎหมายแรงงานต่อที่ปรึกษาในกรณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแรงงานอย่างเพียงพอ ที่จะทำให้ที่ปรึกษา
สามารถให้คำแนะนำแก่สถานประกอบการได้อย่างถูกต้อง
 
3. ความรู้ด้านลักษณะการประกอบธุรกิจของกิจการประเภทต่าง ๆของที่ปรึกษา ซึ่งควรจะมีพื้นฐานความรู้ด้านลักษณะของธุรกิจของสถานประกอบกิจการ
ที่จะต้องเข้าไปเป็นที่ปรึกษาให้  ซึ่งหากที่ปรึกษาไม่มีความเข้าใจเพียงพอ การให้คำแนะนำถึงข้อจำกัดต่าง ๆ ก็จะไม่สามารถทำได้ดีเท่าที่ควร เพราะไม่เข้าใจถึงข้อจำกัดหรือเงื่อนไขต่าง ๆ เหล่านั้น
   ทางสำนักควรจัดที่ปรึกษาให้เหมาะสมกับธุรกิจของสถานประกอบกิจการแต่ละประเภท
 
พอจะวิเคราะห์จากประสบการณ์ที่ตัวเองสัมผัสมาได้ตามนี้นะครับ
ส่วนตัวผมเองก็ทำหน้าที่พัฒนาเรื่องกฎหมายแรงงานให้เจ้าของสถานประกอบการในพื้นที่อยู่
รวมทั้งให้ความรู้ด้านกฎหมายแรงงานแก่สมาขิกใน siamhrm.com อีกทางหนึ่ง
มีคำถามคำตอบด้านกฎหมายแรงงานที่ผมรวบรวมเอาไว้ตอนนี้ก็ 16 เล่มแล้วครับ ถ้าสนใจก็ขอมาได้ครับ
และในเวปของสำนักเองผมก็เข้าไปตอบ แต่มีข้อจำกัดของเวปที่ไม่สามารถตอบคำถามยาว ๆ ได้ จึงประชาสัมพันธ์
ให้คนที่มีปัญหา mail เข้ามาถามผมหรือขอเอกสารที่ผมได้โดยตรงครับ
อดิศร
 

From: romeo_fais@hotmail.com
To: adisorn_pers@hotmail.com
Subject: สอบถามเรื่ิองการทำมาตรฐานเเรงงานไทย
Date: Fri, 3 Sep 2010 02:40:44 +0700

พี่ครับพอดีผมทำรายงานเรื่อง มาตรฐานเเรงงานไทย

ผมนึกภาพไม่ออกจริงๆว่าทำไมสถานประกอบกิจการมีปัญหาอะไรจึง

ไม่ทำมาตรฐานเเรงงานไทยตาม ทรท.8001-2553 

          ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งครับ

ไม่มีความคิดเห็น: