credit mthai
ในขณะที่ผู้คนกำลังสนใจและตื่นกลัวกับ กัมมันตภาพรังสี รั่วไหลจากเหตุ ระเบิดที่ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น (ซึ่งในขณะนี้ มีทีท่าที่จะควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว) เรามารู้จักกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ให้มากขึ้นครับ
สัญลักษณ์ กัมมันตภาพรังสี
ประเภทของโรงไฟฟ้า
โรงไฟฟ้า มีหลายประเภท มนุษย์พยายามใช้ทรัพยากรที่มีในธรรมชาติ ไม่ว่าจะ แรงลม (พัดกังหันไฟฟ้า) แสงแดด (เซลล์สุริยะ) น้ำ (โรงไฟฟ้าที่เขื่อน) ซึ่งเป็น “ของฟรี” ตามธรรมชาติ แต่ต้องประดิษฐ์โรงไฟฟ้าเอง ในขณะที่ถ่านหินและน้ำมัน (เผาไหม้ให้เกิดไฟฟ้า) ก็จะมีค่าใช้จ่ายซื้อหา และเผาไหม้หมดไป ทั้งหมดก็ดูเหมือนจะอันตรายน้อยกว่า พลังงานนิวเคลียร์ หรือ ปรมาณู หรือ Nuke ตามแต่จะเรียกขาน
แต่สิ่งที่เย้ายวนคือ พลังงานของ นิวเคลียร์ ก่อเกิดพลังงานที่ประเมินค่ามิได้เมื่อเทียบกับ โรงไฟฟ้าประเภทอื่น และดูเหมือนการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าราคาแพงกว่า ก็จะคุ้มทุนได้เร็วกว่า
แต่ด้วยมหันตภัยที่ร้ายแรงหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น จึงมีการก่อตั้ง Atomic Energy Licensing Board (AELB) และ International Atomic Energy Agency (IAEA) ในการกำกับดูแล
โลกนี้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ไหนบ้าง
แม้ว่า โลกเรายังมีการใช้โรงไฟฟ้าแบบถ่านหินอยู่มากที่สุด รองลงมาคือก๊าซ
แต่ก็มี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เกิดขึ้นแล้วหลายร้อยแห่ง (ตามภาพแผนที่) โดยกระจุกกันมากสุดคือ ยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น (ส่วนที่เสี่ยง แผ่นดินไหว คือ ญี่ปุ่น และชายฝั่งตะวันตกของ สหรัฐอเมริกา)
โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งกำลังวางแผนสร้าง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 14 แห่ง วางแผนสร้างเพิ่มเติมอีก 115 แห่ง และสวีเดนที่เคยประกาศว่าต่อต้านการใช้ พลังงานนิวเคลียร์ ทุกรูปแบบ ได้กลับมาศึกษาและเตรียมสร้าง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แล้วเช่นกัน
สหรัฐฯ มี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 105 แห่ง (ถือเป็น 20% ของไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศทั้งหมด)
ฝรั่งเศส มี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 59 แห่ง (ถือเป็น 78% ของไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศทั้งหมด)
ญี่ปุ่น มี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 53 แห่ง (ถือเป็น 25% ของไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศทั้งหมด)
ภาพด้านบน คือ สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าด้วยแหล่งพลังงานรูปแบบต่างๆของแต่ละประเทศ
ประวัติศาสตร์ มหันตภัยที่เกิดขึ้นจาก โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์
อันดับที่ 1 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เชอร์โนบิล (Chernobyl)
(ภาพ:wikipedia.com)
เดิมของสหภาพโซเวียต ปัจจุบันเป็นพื้นที่ในปกครองของยูเครน ระเบิดเมื่อ 15 เมษายน 1986
เหตุ เกิดจากการทดสอบผิดพลาดของมนุษย์เอง ซึ่งไม่ทดสอบตามกฎระเบียบข้อบังคับ และยังปิดระบบหล่อเย็น ทำให้ตัวโรงไฟฟ้าที่หุ้มเหล็ก คอนกรีตระเบิดออก และมีคนตายทันที 30 กว่าคน และทำให้คนหลายแสนคน ต้องรีบอพยพจากพื้นที่
แรงระเบิดคาดการณ์ว่ารุนแรงกว่าระเบิดที่ลง ฮิโรชิม่า และนางาซากิ ถึงสามสิบเท่า มีการรายงานว่าระดับกัมมันตรังสีแพร่ไปไกลถึงสวีเดน
ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง ล้มตายและเกิดมะเร็งไทรอยด์ แม้กระทั่งในตุรกีก็ยังพบว่า มีอัตราการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว (ลูคีเมีย) มากกว่าเดิม 12 เท่า
อันดับที่ 2 เกาะธรีไมล์ (Three Mile Island)
(ภาพ:wikipedia.com)
ในสหรัฐอเมริกา เมื่อ 28 มีนาคม 1979 โดยเกิดจากความผิดพลาดเช่นกัน ที่เปิดระบบหล่อเย็นทิ้งไว้ และทำให้ สารกัมมันตรังสี หลุดรั่วสู่แหล่งน้ำในเพนซิลวาเนีย และต้องอพยพผู้คนทั้งหมดออกจากพื้นที่ทันที
ไม่มีรายงานว่ามีกรณีปัญหาด้านสุขภาพเกิดขึ้น เพราะว่าประชาชนในพื้นที่ทั้งหมดต้องลงทะเบียนเพื่อการตรวจสุขภาพพิเศษ
เหตุการณ์นี้เป็น ต้นกำเนิด (หรือแค่สร้างมาในเวลาใกล้เคียง) ของหนังเรื่อง China Syndrome ซึ่งในเรื่องจะต่อต้าน พลังงานนิวเคลียร์ โดยกล่าวว่า หากผิดพลาดระเบิดขึ้นมา โลกอาจจะทะลุจากสหรัฐฯ ไปที่เมืองจีนได้เลย (หลายคนบอกว่า พูดเกินความจริง)
แต่ก็นับว่าเป็นเหตุให้พื้นที่บางส่วนของ เพนซิลวาเนีย ต้องร้างคนไปหลายเดือน
ซึ่งยังไม่รวมเหตุการณ์ นิวเคลียร์ อื่นๆ ที่เกิดจาก สงคราม ซึ่งนอกจากระเบิดที่ตูมตามกันไป ยังมีเรือดำน้ำนิวเคลียร์ที่จมอยู่กว่า 100 ปีจากสงครามโลก สงครามเย็น ที่หลายคนคอยสำรวจว่าจะมีการกร่อนและหลุดรั่วออกมาหรือไม่
การป้องกันครั้งใหม่ – ภัยธรรมชาติ
และตอนนี้ หลายประเทศทั่วโลกที่มี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กำลังตรวจสอบตนเอง หลังจากที่ได้ตรวจสอบแล้วว่า ทนต่อแรงลม แรงระเบิด แรงกัดกร่อน และระดับความร้อนสูง
สุดท้ายแล้ว อาจจะลืมนึกถึง ภัยธรรมชาติ เมื่อแผ่นดินไหว สูงกว่า 7 ริกเตอร์ จะเกิดอะไรขึ้น? (สหรัฐฯ อวดอ้างว่า โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ของเขาเจ๋งจริง ทนแผ่นดินไหวได้ 7 ริกเตอร์) และตอนนี้หลายประเทศก็ ตำหนิต่อบริษัทที่สร้าง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ ญี่ปุ่น ในความสะเพร่าที่สร้างโรงไฟฟ้า บน วงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) วงแผนรอยต่อเปลือกโลกที่เชื่อว่าจะมี แผ่นดินไหวรุนแรงได้ตลอดเวลา
แผนที่วงแหวนแห่งไฟ
รวมทั้งมาตรการที่ ขอร้องให้รัฐบาลแต่ละประเทศเข้าควบคุม ถือหุ้นในการสร้าง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพื่อให้เกิดความรอบคอบต่อประเทศชาติมากกว่าจะตักตวงผลประโยชน์
แผ่นดินไหว และ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ใน ประเทศไทยล่ะ?
สำหรับประเทศไทยเอง มองกรณีของญี่ปุ่นเป็นตัวอย่าง หลายองค์กรที่เกี่ยวข้องกล่าวว่า เป็นเหมือนแผนนโยบายระดับชาติที่ยังไม่มีแผนงานควบคุมที่ชัดเจน และคาดว่าต้องมีประชามติจากประชาชนด้วย
(ภาพ:Siamvolunteer.com)
ประเทศไทยมีแนว แผ่นดินไหว คือ ตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี ยาวลงไปตามเขตชายแดนไทย-พม่า จนถึงสุมาตรา (แนวรอยต่อเปลือกโลกจริงๆจะอยู่ลึกเข้าไปในพม่า)
แม้จะยังไม่มี โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็มีการคาดคะเนบ่อยๆว่า เขื่อนหลายเขื่อนใน กาญจนบุรี ก็อยู่ใกล้รอยเลื่อนเหล่านั้น หากเกิดแผ่นดินไหวจะทนทานได้หรือไม่
--
(^_^)_/
--
--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
http://www.facebook.com/JobSiam ** กด ถูกใจ เป็น Fan Page ของเรานะค่ะ **
http:// www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน ลด30% ถึง 30 เมษายน 2554 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น