ฉบับที่ ๑๔๓ ต้นเหตุความเหงา
เหตุผลที่คนเราเหงา
และอยากได้ใครสักคนมาเคียงข้าง
ไม่ใช่แค่เพื่อให้อุ่นใจ
ไม่ใช่แค่เพื่อเป็นคู่คิด
ไม่ใช่แค่เพื่อได้ความรู้สึกอ่อนหวาน
แต่ยังเป็นไปเพื่อปรับสมดุลให้ตัวเอง
เอาความก้าวร้าวส่วนเกินออกไป
นำความอ่อนโยนที่ขาดหายเข้ามา
หรือลดความอ่อนแอลงไป
ด้วยการเพิ่มความเข้มแข็งขึ้นมาแทนด้วย
คนที่มีความสมดุลในตัวเอง
คือคนที่แข็งแกร่ง ไม่แข็งกร้าว
อ่อนโยน ไม่อ่อนแอ
เมื่อมีสมดุลในตัวเอง ย่อมไม่รู้สึกขาด
และพร้อมเป็นฝ่ายให้
จึงอยู่ตามลำพังได้ดี
และอยู่กับคนอื่นได้สำเร็จ
คู่ที่สมดุลกัน
คือคู่ที่สามารถถ่ายทอดความอ่อนโยน
และสามารถแลกเปลี่ยนความเข้มแข็ง
ในต่างกรรม ต่างวาระ
แล้วแต่ว่าใครอ่อนแอในเรื่องไหน
หรือเข้มแข็งได้ในสถานการณ์ใด
ยอมไปหมดจนอ่อนแอ
ในที่สุดจะไม่ถูกมองว่าแสนดี
แต่กลายเป็นดูโง่แทน
ถูกไปหมดจนแข็งกร้าว
ในที่สุดจะไม่ถูกต้อง
แต่กลายเป็นเผด็จการไป
การยอมรับไว้ล่วงหน้าว่าตนเองยังผิดได้
การเตรียมตัวเป็นที่พึ่งในเรื่องถนัด
ตลอดจนการมีจุดยืนที่ถูกต้องชัดเจน
กับการรู้จักขอความช่วยเหลือให้ถูกเวลา
จึงเป็นศิลปะทางความสมดุลที่ค่อยๆฝึกได้
ไม่ง่ายนักเมื่อยังต้องรู้สึกฝืดฝืน
แต่ไม่ยากเกินไปเมื่อนึกถึงความสบายใจในระยะยาว
ไม่ต้องหลงไปเป็นคนรู้ตัวว่าบกพร่อง
แต่กลับอยากได้ชีวิตคู่ที่สมบูรณ์แบบ
ดังตฤณ
พฤศจิกายน ๕๗
การเป็นผู้ไม่ประมาท หมั่นทำทาน รักษาศีล
และเจริญวิปัสสนาด้วยความพากเพียรเท่านั้น
จึงจะนำสู่ความพ้นทุกข์ได้
ดังความในพระธรรมเทศนา เรื่อง "ความจริงของชีวิต (ตอนที่ ๒)"
โดย พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)
ในคอลัมน์ "สารส่องใจ" ค่ะ
ใครที่อยากจะไปถึงเป้าหมายในชีวิตโดยเร็ว
แล้วกังขาว่าจะมีวิธีการใดในทางพระพุทธศาสนาที่ช่วยได้บ้างไหม
มาหาคำตอบได้ใน "ดังตฤณวิสัชนา"
ตอน "มีหลักปฏิบัติที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วบ้างหรือไม่"
นวนิยายเรื่อง "อาคม" ผลงานจากคุณชลนิล
นำเสนอต่อเนื้อมาเป็นฉบับที่ ๓๑ แล้วนะคะ
เนื้อหายังคงความเข้มข้นเร้าใจเหมือนเดิม
ติดตามอ่านได้ใน "วรรณกรรมนำใจ" ค่ะ
---
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณสมัครรับข่าวสารจากกลุ่ม "ธรรมะใกล้ตัว" ของ Google Groups
หากต้องการยกเลิกการสมัครรับข่าวสารและหยุดรับอีเมลจากกลุ่มนี้ โปรดส่งอีเมลไปที่ dharma-at-hand+unsubscribe@googlegroups.com
หากต้องการดูตัวเลือกเพิ่มเติม โปรดไปที่ https://groups.google.com/d/optout
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น