ฉบับที่ ๑๘๔ ความหมายของการเป็นนายคน
ใครเป็นเจ้านายที่ลูกน้องเกลียด
ดูได้ตั้งแต่ก่อนที่เขาจะเป็นเจ้านาย
ถ้าเป็นพวกเอาแต่สั่ง เอาแต่ร้องขอ
ไม่เคยคิดช่วยให้ใคร
สบายตัวสบายใจมากกว่าเดิม
รู้จักแต่ความอยากของตัวเอง
ไม่เคยรู้ใจคนอื่นเลยว่าอยากได้อะไร
เกิดเรื่องแล้วพูดดีๆไม่เป็น เป็นแต่โวยวาย
นั่นแหละ! เมื่อมีโอกาสเป็นนาย
เขาหรือเธอจะเป็นนายที่มีแต่ลูกน้องเกลียด
ใครเป็นเจ้านายที่ลูกน้องรัก
ดูได้ตั้งแต่ก่อนที่เขาจะเป็นเจ้านาย
ถ้าคนเห็นแล้วนึกอยากพึ่งพา
ถ้าพูดจาในแบบที่ทำให้คนอื่นสบายใจได้
ถ้ามีน้ำใจ เห็นคนตกทุกข์แล้วยื่นมือช่วย
เกรงใจไม่อยากรบกวนให้ใครทำเพื่อตนเอง
แต่กล้าพอ และรู้จักพูด
ถ้าต้องขอให้ช่วยกันทำเพื่อส่วนรวม
อีกทั้งเก่งอะไรอย่างหนึ่ง
ขนาดเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นได้
นั่นแหละ! เมื่อมีโอกาสเป็นนาย
เขาหรือเธอจะเป็นนายที่มีแต่ลูกน้องรัก
จะเรียนเป็นนายคน
ไม่จำเป็นต้องเข้าหลักสูตรเจ้าคนนายคน
และอย่าเพิ่งมาเริ่มเรียนเอาตอนต้องเป็นนาย
มันช้าเกินไป
ให้เริ่มเรียนก่อนหน้านั้นนานๆ
เรียนรู้ที่จะเป็นมนุษย์คนหนึ่ง
รู้จักเห็นหัวอกคนอื่น
กล้าเอาชนะความเห็นแก่ตัว
มีแก่ใจอ่านให้ออกว่าส่วนรวม
เป็นอะไรที่ใหญ่กว่าชีวิตตนเอง
แล้วคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของความเป็นนาย
จะค่อยๆสั่งสมจนพร้อมเองก่อนถึงเวลาจริง!
ดังตฤณ
มิถุนายน ๕๙
- การเจริญเมตตาเป็นนิจย่อมทำให้จิตใจมีความสุข
ทั้งยามตื่นและในยามหลับ
ดังความตามพระธรรมเทศนาใน "สารส่องใจ"
เรื่อง "ทำไฉน? จึงจะฝันดี"
โดย พระพุทธพจนวราภรณ์ (หลวงปู่จันทร์ กุสโล) - ใครที่มักเกิดความเครียดเมื่อต้องได้ยินเสียงรบกวน
ลองมาดูวิธีฝึกเจริญสติจากเหตุดังกล่าวได้
ในคอลัมน์ "ดังตฤณวิสัชนา"
ตอน "ควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อเกิดความทุกข์จากเสียงรบกวนต่างๆ" - ส่วนคอลัมน์ "จุดหมายปลายธรรม" ในฉบับนี้
คุณงดงามได้บอกเล่าเรื่องราวของพระสงฆ์ในสมัยพุทธกาล
ซึ่งสามารถเป็นแง่คิดในการปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์
ในตอน "ราคะเสียดแทงจิต" ค่ะ
---
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณสมัครรับข่าวสารจากกลุ่ม "ธรรมะใกล้ตัว" ของ Google Groups
หากต้องการยกเลิกการสมัครรับข่าวสารและหยุดรับอีเมลจากกลุ่มนี้ โปรดส่งอีเมลไปที่ dharma-at-hand+unsubscribe@googlegroups.com
หากต้องการดูตัวเลือกเพิ่มเติม โปรดไปที่ https://groups.google.com/d/optout
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น