ขอเพิ่มเติมนิดนะครับ คือผมก็ไม่ทราบว่าเจ้าของคำถามนี่จะถามในฐานะที่เป็นห่วงลูกจ้างจริงๆหรือไม่
หรือว่าถามเพื่อป้องกันความผิดที่จะเกิดขึ้นกับตนแต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามผมขอให้แนวทางไว้เป็นข้อมูล
ดังนี้นะครับ
1. กฎหมายแรงงาน ไม่ใช่กฎหมายอาญา แต่ว่าเป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญา เพราะกฎหมายอาญามีอยู่ฉบับเดียวคือประมวลกฎหมายอาญา
ส่วนโทษทางอาญานั้นมีด้วยกัน 5 วิธีตาม ม.18 แห่ง ป.อาญาคือ (ประหารชีวิต, จำคุก, กักขัง, ปรับ, ริบทรัพย์สิน)ซึ่งกฎหมายใดก็ตาม
ที่มีการลงโทษตามวิธีการที่กล่าวนี้ ถือว่าเป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญาแต่ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมายอาญา
2. กรณีที่ถ้านายจ้างจงใจที่จะเลิกจ้างลูกจ้างนั้นไม่ว่าจะใช้วิธียังไงก็ตามนั้นกรณีไม่เป็นธรรมลูกจ้างสามารถที่จะเรียกร้องหรือใช้สิทธิในการต่อสู้ได้ 2 วิธีคือ
2.1 เลือกที่จะดำเนินคดีด้วยตัวเอง (จ้างทนาย, หรือไปฟ้องด้วยตัวเองยังศาลแรงงาน) หรือ
2.2 เลือกที่จะร้องเรียนผ่านทางเจ้าพนักงานตรวจแรงงาน ตามม.123
3. สำหรับความรับผิดทางแพ่งและโทษทางอาญาในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างนั้น แบ่งเป็นดังนี้
3.1 ความรับผิดทางแพ่ง
ค่าชดเชยตามม 118 , ค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า, ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี(มาตรา 67) ซึ่งหากไม่เสียตามกำหนดต้องเสียดอกเบี้ย และเงินเพิ่มตาม ม.9
และค่าเสียหายในการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมศาลเป็นผู้กำหนดตาม ม.49 แห่ง พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ
3.2 โทษทางอาญา
กรณีนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ม.118 วรรคหนึ่ง, ไม่จ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โทษทางอาญาคือจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามม. 144
4. สรุปแนวทางในการดำเนินคดี
4.1 ลูกจ้างถ้าไม่ค่อยมีความรู้ หรือไม่อยากเสียเงินจ้างทนายก็แนะนำให้ร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงาน ซึ่งตามกฎหมายนั้นบังคับไว้ว่าพนักงานตรวจแรงงานต้องทำการสอบสวน
แล้วมีคำสั่งภายใน 60 วันนับแต่วันร้บคำร้องเว้นแต่มีความจำเป็นไม่อาจสอบสวนและมีคำสั่งได้ก็อาจขอขยายเวลาอีกไม่เกิน 30 วัน ซึ่งเมื่อสอบสวนและมีคำสั่งแล้วตามกฎหมาย
ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างภายใน 30 วัน สรุปคือลูกจ้างเมื่อร้องเรียนแล้วและพนักงานตรวจแรงงานสั่งว่านายจ้างผิดแล้วเต็มที่ตนก็จะได้รับเงินภายใน
90 วันหรือ 120 วันแล้วแต่กรณี
4.2 นายจ้างหากไม่อยากติดคุกก็ต้องจ่าย เพราะถ้าจ่ายเงินไปแล้วสิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องก็ระงับสิ้นไปตาม ม.124/1
5. ข้อยกเว้นกรณีนายจ้างและลูกจ้างทำสัญญาหรือข้อตกลงภายหลังสิ้นสุดการจ้างสัญญาหรือข้อตกลงนั้นมีผลบังคับได้
| ||
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 | ||
ป.พ.พ. มาตรา 150, 850, 852 | ||
จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลเป็นการเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2542 ซึ่งโจทก์ทราบการเลิกจ้างและไม่ไปทำงานตั้งแต่วันดังกล่าว ต่อมาโจทก์ไปทำหนังสือยินยอมรับเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าโดยการสละสิทธิไม่เรียกร้องค่าชดเชยหรือเงินใด ๆ จากโจทก์อีก หลังจากโจทก์ไม่ไปทำงานถึง 2 เดือนเศษ โจทก์จึงมีอิสระแก่ตน พ้นพันธะกรณีและอำนาจบังคับบัญชาของจำเลยโดยสิ้นเชิง การสละสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามเอกสารดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและไม่เป็นโมฆะ เอกสารฉบับพิพาทระบุว่า จำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2542 โดยจำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ 169,600 บาท โจทก์ทราบแล้วตกลงรับเงินจำนวนดังกล่าวโดยจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีเรียกค่าชดเชยหรือเงินใด ๆ จากจำเลยอีก ซึ่งเงินใด ๆ ที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอีกดังกล่าวนั้น ย่อมหมายถึงเงินทุกประเภท รวมทั้งค่าล่วงเวลาที่โจทก์อาจจะมีสิทธิได้รับจากจำเลยด้วย เมื่อการสละสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาจากจำเลย
และดู ฏีกาที่ 367/2547, 5267/2548
ดังนั้นถ้าคุณจะช่วยพนักงานจริง คุณก็ต้องเป็นพยานให้พนักงาน แต่ถ้าคุณให้การเท็จคุณก็จะผิดเสียเองในฐานเบิกความเท็จตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 ซึ่งโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ปรับไมเกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ดังนั้นขอให้ทำอะไร ไตร่ตรองให้ดีทั้งนายจ้างและลูกจ้าง
|
Date: Mon, 27 Jul 2009 18:59:19 +0700
Subject: [SIAMHRM.COM :14988] Re: ,อยากสอบถามผู้รู้จริงคะ
From: karntapong@gmail.com
To: anutida_a@hotmail.com
CC: siamhrm@googlegroups.com
กฎหมายแรงงานเป็น กฎหมายอาญานะครับ
http://www.siamhrm.com/report/chapter_report.php?max=51
ถ้าแจ้งกรมแรงงานนี่ เจ้าพนักงานเป็นผู้ส่งสำนวนฟ้องนะครับ พนักงานแทบจะไม่ต้องโผล่มาเลยก็ได้ครับ
คนแจ้งไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เสียหายก็ได้ครับ เหมือนกับคุณเดินๆ อยู่ เจอ นาย ก ยิง นาย ข คุณก็แจ้งความแทนได้ครับ
ไม่ต้องให้ นาย ข เดินเลือดอาบไปขึ้นโรงพักแจ้งความ หรือต้องให้ นาย ข ไปขึ้นศาล ยืนยันว่าตัวเองโดนยิงจริงครับ
ตาสีตาสา โทรไปแจ้งว่า บริษัท หมี่หยก จำกัด ทำผิดกฎหมายแรงงาน เจ้าพนักงานเขาก็วิ่งเข้าไปสอบเองครับ
แล้วก็สัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าเป็นโฆฆะ เช่น
นาย ก ไปทำร้าย นาง ข ภายหลังนาย ก ตกลงจะจ่ายเงินชดเชยให้ หากนาง ข เซ็นสัญญาว่าจะไม่เอาความ
ต่อมา นาง ข ได้รับเงินแล้ว ไปแจ้งความ ว่าตนโดนนาย ก ทำร้าย และขู่กรรโชกให้รับเงินพร้อมเซ็นสัญญาว่าจะไม่เอาผิด
ในชั้นศาล คิดว่าอย่างไรล่ะครับ?
ศาลจะบอกว่า นาย ก ไม่มีความผิด เพราะได้จ่ายเงินชดเชยไปแล้ว หรือว่า
นอกจากสัญญา่ว่าจะไม่คุ้มครองนาย ก แล้ว ยังใช้เป็นหลักฐานว่า นาย ก ทำร้าย นาง ข ได้อีก?
แต่หากเป็นเรื่องแรงงาน ก็ขึ้นอยู่กับรายละเอียดสัญญาแหละครับว่าสัญญาเขียนไว้ว่าอย่างไร ชอบด้วยกฎหมาย หรือมิชอบด้วยกฎหมาย
เช่น สัญญาจ้าง (ลูกจ้างประจำ) ที่เขียนไว้ว่า หากเลิกจ้างทางบริษัทไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และพนักงานจะต้องไม่แจ้งความดำเนินคดีกับบริษัท
อย่างนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมายครับ
คือตอนนี้บริษัทต้องการจ้างพนักงานในบริษัทออกคะแต่ไม่ยอมจ่ายชดเชยให้พนักงานท่านนั้นครบตามจำนวนที่ควรได้รับตามกฏหมายแรงงาน โดยบริษัทเรียกพนักงานท่านนั้นไปคุยเสนอให้ เขียนหนังสือลาออกแล้วบริษัทจะจ่ายค่าชดเลยให้ 1.5 เดือน อ่อลืมบอกพนักงานคนนี้ทำได้ที่บริษัทมา 1ปีกับ10เดือนคะซึ่งบริษัท ให้เลือกสองแบบคือ ให้เขียนใบลาออก หรือไม่ก็ลดเงินเดือนลง ซึ่งการลดเงินเดือนแล้วตามกฏหมายก็ทำไม่ได้ไช่ไหมคะ วันที่เรียกพนักงานเข้ามาคุยก็มีดิฉันอยู่ด้วยเพื่อเป็นพยาน บริษัทร่างจดหมายลาออกมาให้พนักงานเซ็น โดยไม่ให้ตั้งตัวเลย พนักงานก็ร้องให้ ว่าทำไม บริษัทแจ้งว่าพนักงานทำงานไม่เป็นที่น่าพอใจของผู้บังคับบัญชา พนักงานจึงขอค่าชดเชย เต็มจำนวนคือสามเดือน ซึ่งถูกหรือเปล่าคะ แต่บริษัทบอกไม่จ่ายหากต้องจ่ายสามเดือน และระบุในสัญญาด้วยว่าให้ออกวัน ที่ 27 กรกฎาคม 2552 และจะไม่เอาผิดทางด้านกฎหมายกับบริษัทอีก และได้ขู่พนักงานท่านนี้ว่า หากฟ้องกฎหมายแรงงานพนักงานก็จะขาดรายได้ในช่วงนั้นอาจเป็นปี กว่าจะได้เงินหากชนะคดี งานก็ไม่มีเงินก็ไม่ได้(อันนี้ไม่ทราบว่าจริงหรือเปล่าคะ) คือสงสารน้องคนนี้มากเลยคะ บริษัทบังคับให้เซ็นหนังเสือเลยทั้งที่พนักงานได้บอกว่าวันที่27 กรกฎาคม 2552ค่อยเซ็นบริษัทก็ไม่ยอมคะ (วันที่คุยเป็นวันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม 2552 ) อยากทราบว่าแบบนี้บริษัทผิดหรือไม่ค่ะ และด้วยความที่น้องคนนี้กลัวมากจึงยอมเซ็นเอกสารไป (เป็นหนูก็กลัวคะนายจ้างโหดจัง)ดิฉันอยากถามพี่ๆที่รู้เรื่องกฎหมายแรงงาน ด้วยคะ กลัวอนาคตตัวเองเหมือนกัน (เพราะทราบมาว่าบริษัทเคยทำแบบนี้กับคนอื่นๆด้วย)ขอบคุณมากคะ ช่วยตอบให้ด่วน! เลยนะคะ เพราะวันนี้วันที่ 27 แล้วคะ-*-
ด้วย Windows Live คุณสามารถจัดการ แก้ไข และ แบ่งปันภาพถ่ายของคุณ
--~--~---------~--~----~------------~-------~--~----~
-------- ร่วมกัน ถาม-ตอบ คำถามวันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล ------
มุมนี้มีดี ต้องแนะนำ ::
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ประกาศตำแหน่งงาน 3เดือน แถม 1เดือน - 15 ก.ค. 52 นี้
http://www.SiamHrm.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm-unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยันการยกเลิก ใน Email ของท่านอีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
-~----------~----~----~----~------~----~------~--~---
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น