วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

[SIAMHRM.COM :/] Re: ,อยากสอบถามผู้รู้จริงคะ

บริษัทที่มีนโยบายตามที่คุณรุ่งโรจน์กล่าว คงไม่เป็นส่วนใหญ่แน่ๆครับ ใครที่ได้ร่วมงานในบริษัทกับคุณรุ่งโรจน์ ก็คงมีความสุขน่าดู
แต่ตัวผมไม่ค่อยเจอบริษัทที่มีนโยบายอย่างที่ว่าเท่าไร เจ้าของบริษัทพอเราเข้าไปชี้แจงให้แก้ไขกฎบริษัทเพราะเขียนไว้ขัดกับกฎหมายแรงงาน
แล้วเจ้าของบอกว่าบริษัทนี้ไม่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานก็เคยเจอครับ เหอๆ แต่ตอนมีปัญหาเขาก็จะเรียกเราไปเคลียร์ให้ที่กรม

2009/7/30 Roongroj Thongda <roongroj_thongda@hotmail.com>
ส่วนใหญ่ที่ผมเจอ มักเป็นความผิดพลาดของนายจ้าง ที่ไม่ละเอียดในการเลิกจ้าง เช่น เลิกจ้างโดยไม่บอกเหตุที่เลิกจ้าง ทั้งๆ ที่ลูกจ้างทุจริต มีกลักฐานชัดเจนแต่มิได้มีการดำเนินการหรือดำเนินคดีใดๆ อันอาจจะเกิดขึ้นเพราะการขาดความรู้ในกฎหมายแรงงาน เป็นช่องทางให้ลูกจ้างร้องเรียนได้ เมื่อมาถึงผมก็ต้องหาทางเยียวยาให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งแต่เดิมมามีการขาดการประสานงานในองค์กร ต่างฝ่ายต่างทำงาน มีปัญหาถึงมาแก้ ซีงปัจจุบันเมื่อผมมาดูแลงานด้านบุคคลด้วย ผมก็ได้แก้ไขโดยการให้ทำงานกันเป็นทีม มีการประสานงานกันทุกฝ่าย หากจะเลิกจ้างหรือทำอะไรต้องประสานกันทั้งกฎหมายและบุคคล ทำให้เรื่องเลิกจ้างไม่มีความผิดพลาด ส่วนเรื่องที่จะแกล้งเลิกจ้างลูกจ้างไม่เคยมี และผมจะไม่ยอมให้มีเด็ดขาด และต่อไปที่ผมจะพยายามผลักดันให้มีคือการสื่อสารกันระหว่างผู้บริหารกับลูกจ้าง ให้รู้ปัญหาซึ่งกันและกัน และให้ลูกจ้างรุ้ถึงสิทธิและหน้าที่ของตน เพื่อจะได้ทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน หากจะจากกันก็จากกันด้วยดี ไม่ต้องไปคุยกันที่ศาลอีก ซึ่งผมเองก็เคยทำคดีให้กับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง จึงรู้ปัญหาของทั้งสองฝ่ายดี และผมเปิดกว้างที่รับฟังความเห็นของทุกฝ่าย เช่น ทำคดีแรงงานผมก็ฟังข้อเท็จจริงและความเห็นของบุคคล ทำคดีภาษีผมก็รับฟังฝ่ายบัญชีด้วย และปรับให้เข้ากับข้อกฎหมาย ไม่เอาแต่ความเห็นของตนเองฝ่ายเดียว ขอบคุณครับ

Date: Tue, 28 Jul 2009 17:43:05 +0700
Subject: Re: [SIAMHRM.COM :14991] Re: ,อยากสอบถามผู้รู้จริงคะ
From: karntapong@gmail.com
To: roongroj_thongda@hotmail.com
CC: yong_lawyer@hotmail.com; anutida_a@hotmail.com; siamhrm@googlegroups.com


คือ ผมบอกตรงๆ นะครับ ถ้าต้อง Layoff พนักงาน แล้วจะจ่ายค่าชดเชยต่ำกว่าปกตินี่ ทางบริษัทถือเป็นฝ่ายผิด
ในการเจรจากับใครก็ตาม ควรรู้่ฐานะตัวเองครับ เมื่อเป็นฝ่ายผิด
ผู้เจรจาควรใช้คำพูดแบบละมุนละม่อม รู้จักขอโทษ อธิบายจุดยืน และความจำเป็นของตนให้อีกฝ่ายฟัง รวมถึงแสดงความเห็นใจต่อสถานะที่อีกฝ่ายต้องเผชิญ
เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยให้พนักงานมีส่วนร่วมในการเสนอทางเลือก และพูดถึงความเป็นไปได้ในแต่ละทางเลือก
ไม่ใช่ว่า กร่างเข้าไปพูดว่า ผมจะให้คุณเซ็นต์ใบลาออก ค่าชดเชยจะจ่ายครึ่งนึง (ไม่ก็ไม่จ่าย) ไม่พอใจ ไปฟ้องศาลแรงงานเอา แต่ฟ้องไปคุณก็ไม่ชนะหรอก

นายจ้างแหละครับที่จะไม่ชนะ เพราะถ้าขึ้นศาลแรงงานไปแล้ว % แพ้นี่มากกว่า 80% ครับ เพราะโดนเจ้าพนักงานเข้ามาสอบ ไม่ผิดเรื่องที่เขาแจ้ง
เจ้าพนักงานก็ไปเจอว่าผิดเรื่องอื่น

ประเภทผู้จัดการปากสุนัข แล้วทำทั้งบริษัทซวยตามไปด้วยก็มี ไปไล่พนักงานออกแบบจะไม่จ่ายค่าชดเชย แล้วไปท้าพนักงานให้มาฟ้อง
ผลคือ พนักงานไปแจ้งความกับกรมแรงงานไม่พอ ไปแจ้งกับกรมศุลกากร แล้วก็ กรมสรรพากรด้วย ว่าบริษัทจ่ายภาษีไม่ถูกต้อง
เจอเจ้าพนักงาน 3 กรมนี่เข้ามาเยี่ยมบริษัท ติดๆ กันนี่ คุณเอ๋ย ผมล่ะไม่อยากจะพูดถึงเลย

ทั้งตรวจประวัติจ้างงาน กฎบริษัท นับสินค้าคงคลัง บัญชีนำเข้า ส่งออกสินค้า และอื่นๆ อีกมากมาย...

แล้วจะไปจับมือใครดมได้ ใช่ว่าทั้งบริษัท Layoff กันทีแค่ คนสองคน


2009/7/28 Roongroj Thongda <roongroj_thongda@hotmail.com>
ขอมีความเห็นแย้งนิดหนึ่งครับ
         กฎหมายอาญา คือกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ซึ่งนอกจากประมวลกฎหมายอาญาแล้ว กฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติเป็นควรามผิดและกำหนดโทษไว้ ก้ถือเป็นกฎหมายอาญาด้วย เช่น พรบ.ยาเสพติด , พรบ อาวุธปืน ดังนั้น พรบ.คุ้มครองแรงงานถือเป็นกฎหมายอาญาอย่างหนึ่งเมือนกันครับ แต่ประเด็นนี้ไม่สำคัญเท่าไหร่ในทางปฏิบัติครับ เพราะหากฝ่าฝืนก็ติดคุกเหมือนกัน
         กรณียื่นคืนร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้สบสวนข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า นายจ้างต้องจ่ายเงินตามกฎหมายแล้ว เจ้าพนักงานตรวจแรงงานก็จะมีคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติตามคำสั่งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่นายจ้างรับทราบคำสั่ง หากนายจ้างไม่พอใจคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานก็ต้องเป็นฝ่ายยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานเพื่อเพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจงานดังกล่าว โดยฟ้องพนักงานตรวจแรงงานเป็นจำเลยครับ แต่ต้องวางเงินตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานต่อศาลด้วย เป็นการโยนภาระในการนำเสนอคดีต่อศาลแก่นายจ้างครับ ซึ่งเมื่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ทางปฏิบัติที่เคยเจอพนักงานตรวจแรงงานก็ยังไม่ดำเนินคดีอาญาครับ มักจะรอให้ศาลแรงงานพิพากษาก่อน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เจรจาตกลงกันในชั้นศาลได้ครับ เมื่อนายจ้างปฏิบัตตามคำพิพากษาแล้ว ถือว่าคดีอาญาระงับเช่นกันครับ ซึ่งปรกติก็จะจ่ายจากเงินที่วางศาลนั้นแหละครับ เรื่องนี้ผมเคยฟ้องหลายเคสอยุ่ครับ สุดท้ายก็ตกลงกันได้ แต่ใช้เวลาเป็นปีเหมือนกันครับ จนพนักงานอัยการที่แก้ต่างให้พนักงานตรวจแรงงานก็โมโหผมอยู่เหมือนกัน หากใครมีความเห็นอะไรเพิ่มเติมรบกวนแนะนำเพื่อเป็นความรู้ด้วยครับ 
        ขอบคุณครับ
 

From: yong_lawyer@hotmail.com
To: karntapong@gmail.com; anutida_a@hotmail.com
CC: siamhrm@googlegroups.com
Subject: [SIAMHRM.COM :14991] Re: ,อยากสอบถามผู้รู้จริงคะ
Date: Tue, 28 Jul 2009 04:52:13 +0700



 ขอเพิ่มเติมนิดนะครับ คือผมก็ไม่ทราบว่าเจ้าของคำถามนี่จะถามในฐานะที่เป็นห่วงลูกจ้างจริงๆหรือไม่
หรือว่าถามเพื่อป้องกันความผิดที่จะเกิดขึ้นกับตนแต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามผมขอให้แนวทางไว้เป็นข้อมูล
ดังนี้นะครับ
1. กฎหมายแรงงาน ไม่ใช่กฎหมายอาญา แต่ว่าเป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญา เพราะกฎหมายอาญามีอยู่ฉบับเดียวคือประมวลกฎหมายอาญา
    ส่วนโทษทางอาญานั้นมีด้วยกัน 5 วิธีตาม ม.18 แห่ง ป.อาญาคือ (ประหารชีวิต, จำคุก, กักขัง, ปรับ, ริบทรัพย์สิน)ซึ่งกฎหมายใดก็ตาม
    ที่มีการลงโทษตามวิธีการที่กล่าวนี้ ถือว่าเป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญาแต่ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมายอาญา
 
2. กรณีที่ถ้านายจ้างจงใจที่จะเลิกจ้างลูกจ้างนั้นไม่ว่าจะใช้วิธียังไงก็ตามนั้นกรณีไม่เป็นธรรมลูกจ้างสามารถที่จะเรียกร้องหรือใช้สิทธิในการต่อสู้ได้ 2 วิธีคือ
    2.1 เลือกที่จะดำเนินคดีด้วยตัวเอง (จ้างทนาย, หรือไปฟ้องด้วยตัวเองยังศาลแรงงาน) หรือ
    2.2 เลือกที่จะร้องเรียนผ่านทางเจ้าพนักงานตรวจแรงงาน ตามม.123
 
3. สำหรับความรับผิดทางแพ่งและโทษทางอาญาในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างนั้น แบ่งเป็นดังนี้
   3.1 ความรับผิดทางแพ่ง
   ค่าชดเชยตามม 118 , ค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า, ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี(มาตรา 67) ซึ่งหากไม่เสียตามกำหนดต้องเสียดอกเบี้ย และเงินเพิ่มตาม ม.9
   และค่าเสียหายในการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมศาลเป็นผู้กำหนดตาม ม.49 แห่ง พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ
   3.2 โทษทางอาญา
   กรณีนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ม.118 วรรคหนึ่ง, ไม่จ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โทษทางอาญาคือจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
   หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามม. 144
 
4. สรุปแนวทางในการดำเนินคดี
    4.1 ลูกจ้างถ้าไม่ค่อยมีความรู้ หรือไม่อยากเสียเงินจ้างทนายก็แนะนำให้ร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงาน ซึ่งตามกฎหมายนั้นบังคับไว้ว่าพนักงานตรวจแรงงานต้องทำการสอบสวน
    แล้วมีคำสั่งภายใน 60 วันนับแต่วันร้บคำร้องเว้นแต่มีความจำเป็นไม่อาจสอบสวนและมีคำสั่งได้ก็อาจขอขยายเวลาอีกไม่เกิน 30 วัน ซึ่งเมื่อสอบสวนและมีคำสั่งแล้วตามกฎหมาย
    ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างภายใน 30 วัน สรุปคือลูกจ้างเมื่อร้องเรียนแล้วและพนักงานตรวจแรงงานสั่งว่านายจ้างผิดแล้วเต็มที่ตนก็จะได้รับเงินภายใน
    90 วันหรือ 120 วันแล้วแต่กรณี
 
   4.2 นายจ้างหากไม่อยากติดคุกก็ต้องจ่าย เพราะถ้าจ่ายเงินไปแล้วสิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องก็ระงับสิ้นไปตาม ม.124/1
 
5. ข้อยกเว้นกรณีนายจ้างและลูกจ้างทำสัญญาหรือข้อตกลงภายหลังสิ้นสุดการจ้างสัญญาหรือข้อตกลงนั้นมีผลบังคับได้
   

 
 คำพิพากษาฎีกาที่ 3121/2543       
 
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
ป.พ.พ. มาตรา 150, 850, 852
 

จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลเป็นการเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2542 ซึ่งโจทก์ทราบการเลิกจ้างและไม่ไปทำงานตั้งแต่วันดังกล่าว ต่อมาโจทก์ไปทำหนังสือยินยอมรับเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าโดยการสละสิทธิไม่เรียกร้องค่าชดเชยหรือเงินใด ๆ จากโจทก์อีก หลังจากโจทก์ไม่ไปทำงานถึง 2 เดือนเศษ โจทก์จึงมีอิสระแก่ตน พ้นพันธะกรณีและอำนาจบังคับบัญชาของจำเลยโดยสิ้นเชิง การสละสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามเอกสารดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและไม่เป็นโมฆะ 

เอกสารฉบับพิพาทระบุว่า จำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2542 โดยจำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ 169,600 บาท โจทก์ทราบแล้วตกลงรับเงินจำนวนดังกล่าวโดยจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีเรียกค่าชดเชยหรือเงินใด ๆ จากจำเลยอีก ซึ่งเงินใด ๆ ที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอีกดังกล่าวนั้น ย่อมหมายถึงเงินทุกประเภท รวมทั้งค่าล่วงเวลาที่โจทก์อาจจะมีสิทธิได้รับจากจำเลยด้วย เมื่อการสละสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาจากจำเลย

 

และดู ฏีกาที่ 367/2547, 5267/2548

 

ดังนั้นถ้าคุณจะช่วยพนักงานจริง คุณก็ต้องเป็นพยานให้พนักงาน แต่ถ้าคุณให้การเท็จคุณก็จะผิดเสียเองในฐานเบิกความเท็จตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177

ซึ่งโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ปรับไมเกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ดังนั้นขอให้ทำอะไร ไตร่ตรองให้ดีทั้งนายจ้างและลูกจ้าง

 



Date: Mon, 27 Jul 2009 18:59:19 +0700
Subject: [SIAMHRM.COM :14988] Re: ,อยากสอบถามผู้รู้จริงคะ
From: karntapong@gmail.com
To: anutida_a@hotmail.com
CC: siamhrm@googlegroups.com

กฎหมายแรงงานเป็น กฎหมายอาญานะครับ
http://www.siamhrm.com/report/chapter_report.php?max=51

ถ้าแจ้งกรมแรงงานนี่ เจ้าพนักงานเป็นผู้ส่งสำนวนฟ้องนะครับ พนักงานแทบจะไม่ต้องโผล่มาเลยก็ได้ครับ
คนแจ้งไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เสียหายก็ได้ครับ เหมือนกับคุณเดินๆ อยู่ เจอ นาย ก ยิง นาย ข คุณก็แจ้งความแทนได้ครับ
ไม่ต้องให้ นาย ข เดินเลือดอาบไปขึ้นโรงพักแจ้งความ หรือต้องให้ นาย ข ไปขึ้นศาล ยืนยันว่าตัวเองโดนยิงจริงครับ

ตาสีตาสา โทรไปแจ้งว่า บริษัท หมี่หยก จำกัด ทำผิดกฎหมายแรงงาน เจ้าพนักงานเขาก็วิ่งเข้าไปสอบเองครับ

แล้วก็สัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าเป็นโฆฆะ เช่น
นาย ก ไปทำร้าย นาง ข ภายหลังนาย ก ตกลงจะจ่ายเงินชดเชยให้ หากนาง ข เซ็นสัญญาว่าจะไม่เอาความ
ต่อมา นาง ข ได้รับเงินแล้ว ไปแจ้งความ ว่าตนโดนนาย ก ทำร้าย และขู่กรรโชกให้รับเงินพร้อมเซ็นสัญญาว่าจะไม่เอาผิด

ในชั้นศาล คิดว่าอย่างไรล่ะครับ?
ศาลจะบอกว่า นาย ก ไม่มีความผิด เพราะได้จ่ายเงินชดเชยไปแล้ว หรือว่า
นอกจากสัญญา่ว่าจะไม่คุ้มครองนาย ก แล้ว ยังใช้เป็นหลักฐานว่า นาย ก ทำร้าย นาง ข ได้อีก?

แต่หากเป็นเรื่องแรงงาน ก็ขึ้นอยู่กับรายละเอียดสัญญาแหละครับว่าสัญญาเขียนไว้ว่าอย่างไร ชอบด้วยกฎหมาย หรือมิชอบด้วยกฎหมาย
เช่น สัญญาจ้าง (ลูกจ้างประจำ) ที่เขียนไว้ว่า หากเลิกจ้างทางบริษัทไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และพนักงานจะต้องไม่แจ้งความดำเนินคดีกับบริษัท
อย่างนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมายครับ



2009/7/27 นัจญาวา เงินโสภา <anutida_a@hotmail.com>
คือตอนนี้บริษัทต้องการจ้างพนักงานในบริษัทออกคะแต่ไม่ยอมจ่ายชดเชยให้พนักงานท่านนั้นครบตามจำนวนที่ควรได้รับตามกฏหมายแรงงาน โดยบริษัทเรียกพนักงานท่านนั้นไปคุยเสนอให้ เขียนหนังสือลาออกแล้วบริษัทจะจ่ายค่าชดเลยให้ 1.5 เดือน อ่อลืมบอกพนักงานคนนี้ทำได้ที่บริษัทมา 1ปีกับ10เดือนคะ
ซึ่งบริษัท ให้เลือกสองแบบคือ ให้เขียนใบลาออก หรือไม่ก็ลดเงินเดือนลง ซึ่งการลดเงินเดือนแล้วตามกฏหมายก็ทำไม่ได้ไช่ไหมคะ  วันที่เรียกพนักงานเข้ามาคุยก็มีดิฉันอยู่ด้วยเพื่อเป็นพยาน บริษัทร่างจดหมายลาออกมาให้พนักงานเซ็น โดยไม่ให้ตั้งตัวเลย พนักงานก็ร้องให้ ว่าทำไม บริษัทแจ้งว่าพนักงานทำงานไม่เป็นที่น่าพอใจของผู้บังคับบัญชา พนักงานจึงขอค่าชดเชย เต็มจำนวนคือสามเดือน ซึ่งถูกหรือเปล่าคะ แต่บริษัทบอกไม่จ่ายหากต้องจ่ายสามเดือน และระบุในสัญญาด้วยว่าให้ออกวัน ที่ 27 กรกฎาคม 2552 และจะไม่เอาผิดทางด้านกฎหมายกับบริษัทอีก และได้ขู่พนักงานท่านนี้ว่า หากฟ้องกฎหมายแรงงานพนักงานก็จะขาดรายได้ในช่วงนั้นอาจเป็นปี กว่าจะได้เงินหากชนะคดี งานก็ไม่มีเงินก็ไม่ได้(อันนี้ไม่ทราบว่าจริงหรือเปล่าคะ) คือสงสารน้องคนนี้มากเลยคะ บริษัทบังคับให้เซ็นหนังเสือเลยทั้งที่พนักงานได้บอกว่าวันที่27 กรกฎาคม 2552ค่อยเซ็นบริษัทก็ไม่ยอมคะ (วันที่คุยเป็นวันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม 2552 ) อยากทราบว่าแบบนี้บริษัทผิดหรือไม่ค่ะ และด้วยความที่น้องคนนี้กลัวมากจึงยอมเซ็นเอกสารไป  (เป็นหนูก็กลัวคะนายจ้างโหดจัง)ดิฉันอยากถามพี่ๆที่รู้เรื่องกฎหมายแรงงาน ด้วยคะ กลัวอนาคตตัวเองเหมือนกัน (เพราะทราบมาว่าบริษัทเคยทำแบบนี้กับคนอื่นๆด้วย)



ขอบคุณมากคะ ช่วยตอบให้ด่วน! เลยนะคะ เพราะวันนี้วันที่ 27 แล้วคะ-*-


ด้วย Windows Live คุณสามารถจัดการ แก้ไข และ แบ่งปันภาพถ่ายของคุณ




</html


Share your memories online with anyone you want anyone you want.



check out the rest of the Windows Live™. More than mail–Windows Live™ goes way beyond your inbox. More than messages


--~--~---------~--~----~------------~-------~--~----~
-------- ร่วมกัน ถาม-ตอบ คำถามวันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล  ------

มุมนี้มีดี ต้องแนะนำ ::

http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ประกาศตำแหน่งงาน ลดราคาสูงสุด 20% ถึง 30 ส.ค.52 นี้

http://www.SiamHrm.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์"
-  หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
-  หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm-unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยันการยกเลิก ใน Email ของท่านอีกครั้ง.)
-  หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th

~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
-~----------~----~----~----~------~----~------~--~---

ไม่มีความคิดเห็น: