สวัสดีครับ อดิศร ครับ
ข้อที่ 1. ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงครับ ยังมีผลใช้บังคับอยู่
เช่นพนักงานที่ทำหน้าที่ตาม ประกาศกฎกระทรวงนี้ นายจ้างกับลูกจ้างอาจตกลงกันให้เวลาทำงานปกติวันหนึ่งเกิน 8 ชั่วโมงก็ได้
แต่เมื่อรวมกันแล้วสัปดาห์หนึ่งจะต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมงครับ
แต่ถ้าจะพิจารณาให้สอดคล้องกับกฎหมายหลักจริง ๆ ที่กำหนดให้เวลาทำงานปกติวันหนึ่งต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง
เราก็ควรปฏิบัติตามหลักนี้ เพราะเจตนารมณ์เพื่อให้ลูกจ้างมีความปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีครับ
ยกเว้นมีความจำเป็นจริง ๆ จึงจะทำงานเกิน 8 ชั่วโมง
ส่วนงานที่นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้ ก็ให้ดูในมาตรา 65 ครับ
ข้อ 2. สัญญาจ้างสำหรับงานที่ต่อเนื่องกันลักษณะนี้ จัดอยู่ในงานประเภทที่ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาได้ครับ
ถึงแม้ทำสัญญากำหนดระยะเวลาเอาไว้ เมื่อครบกำหนดในสัญญาและจะเลิกจ้าง นายจ้างก็ยังคงต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118
และนับอายุงานตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างเริ่มทำงานต่อเนื่องกันไป จะไปนับตามวันที่ในสัญญาแต่ละช่วงไม่ได้ครับ
เพียงแต่สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างอาจไม่จ่ายให้ก็ได้ เพราะถือว่าในสัญญาจ้างนั้นได้บอกกล่าวไว้แล้ว
สัญญาจ้างที่จะกำหนดระยะเวลาได้นั้น ต้องเป็นลักษณะของงานที่สามารถกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานได้ชัดเจนเท่านั้น
เช่น งานรับเหมา งานในโครงการ งานตามฤดูกาลเป็นต้น ซึ่งนายจ้างจะต้องทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างก่อนที่จะเริ่มทำงานกัน ไปทำย้อนหลังไม่ได้ครับ
และในสัญญาก็ต้องระบุวันที่เริ่มงานและวันที่สิ้นสุดงานให้ชัดเจนถึงวันที่ เดือน ปี ด้วย จะไปเขียนคลุมเครือกว้าง ๆ ไม่ได้ครับ สัญญานั้นจะเป็นโมฆะได้
และเมื่อกำหนดวันสิ้นสุดสัญญาไปแล้ว ก็ถือเป็นการสิ้นสุดความเป็นนายจ้างลูกจ้างกันทันทีโดยที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
แต่ถ้านายจ้างจะเลิกจ้างก่อนถึงวันที่ระบุในสัญญา นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยครับ
อดิศร
From: hr3csr@hotmail.com
To: siamhrm@googlegroups.com
Subject: [SIAMHRM.COM :32464] พ.ร.ฎ.กำหนดงานที่ให้มีการคุ้มครองแตกต่างฯ พ.ศ. 2541 และการทำสัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา
Date: Mon, 31 Jan 2011 12:08:32 +0700
เรียน ท่านอดิศร และเพื่อน HR
ในหน่วยงานของผมกำลังหารือกันในการจะปรับปรุงระเบียบข้อตกลงเกี่ยวกับการทำงานกัน มีประเด็นเรื่องการทำสัญญาจ้างที่ผมยังคลุมเครือไม่ชัดเจน คือ
1) โดยที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดงานที่ให้มีการคุ้มครองแรงงานแตกต่างไปจาก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2541 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2541 ที่ให้มีการคุ้มครองแรงงานแตกต่างจากใน พ.ร.บ. ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับเวลาทำงานปกติ เวลาพัก และงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงหรือค่าตอบแทนอย่างอื่น (ตาม ม.22) ซึ่งกำหนดให้มีงานต่าง ๆ ที่มีประเด็นสงสัยคือ มีงานด้านบริหารและงานจัดการ งานเสมียนพนักงาน งานที่เกี่ยวกับการผลิต งานในตำแหน่งผู้บริหาร งานธุรการ รวมทั้งงานเกี่ยวกับการเงินหรือบัญชี อยากทราบว่า พ.ร.ฎนี้ยังมีผลใช้บังคับในทางปฏิบัติอยู่หรือไม่ และมีประเด็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องอย่างไร
2) ตำแหน่งทั่วไปที่เป็นลักษณะงานทำต่อเนื่อง เช่น งาน HR งานการเงิน งานจัดซื้อ รวมทั้งตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายดังกล่าว ฯลฯ จะทำสัญญาจ้างงาน เป็น (1) สัญญามีกำหนด 1 ปี แล้วต่อสัญญาทุก 1 ปีได้หรือไม่ หรือจะทำสัญญาจ้าง 3 ปี 2 ฉบับ (การต่อสัญญาที่ 2 เป็นต้นไปไม่ต้องมีการทดลองงาน) แล้วจึงปรับเข้าสัญญาแบบไม่มีกำหนดเวลา (Tenure) จะทำได้หรือไม่ และทั้งกรณี (1) และ (2) เมื่อสัญญาครบกำหนดแล้ว หากไม่ต่อสัญญา ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายตั้งแต่เริ่มงาน ใช่หรือไม่ เพราะจำไม่ได้ว่าอ่านพบความในลักษณะนี้ที่ใดซึ่งมีสาระสำคัญว่า งานเหล่านี้ไม่เข้าข่ายงานตามสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา
ขอความกรุณาช่วยให้ความกระจ่างด้วย (กำลังหาข้อมูลช่วยเหลือตนเองอยู่ด้วย) และขอขอบคุณมา ณ ที่นี้
ขอแสดงความนับถือ
HR3CSR
--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน รับส่วนลด สูงสุด 30% เดือน ถึง 31 มกราคม 2554 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น