สวัสดีครับ อดิศร ครับ
ปัญหาลักษณะนี้ สาเหตุเพราะความไม่เข้าใจหรรือเข้าใจไม่ถูกต้องในเรื่องกฎหมายแรงงานของฝ่ายนายจ้าง
หรือแม้กระทั่งฝ่ายบุคคลเองที่ยังขาดความรู้ที่ถูกต้อง รวมไปถึงการทำหน้าที่ของฝ่ายบุคคลที่จะต้องชี้แจงให้ฝ่ายนายจ้างมีความเข้าใจด้วยครับ
ประเด็นเรื่องการลาป่วยผมขอแยกอธิบายในสองเรื่องนะครับ
1. เรื่องกฎหมาย
ทั้งนายจ้างและฝ่ายบุคคลจะต้องเข้าใจเสียก่อนว่าลูกจ้างคือใครบ้าง เพราะหลายคนเข้าใจว่าลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างรายเดือน ลูกจ้างรายวัน ผิดครับ จึงทำให้มีการแบ่งแยกสิทธิต่าง ๆ ของลูกจ้างต่างกันไป
ที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้วการเป็นนายจ้างลูกจ้างจะเกิดขึ้นทันทีที่มีการจ้างงานครบองค์ประกอบการจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญาลักษณะ 6
องค์ประกอบของการจ้างงานคือ
1 มีนายจ้างหรือผู้มีอำนาจการทำการแทนนายจ้าง
2 มีลูกจ้าง
3 มีสินจ้างต่างตอบแทนการทำงาน หรือค่าจ้าง
4 มีอำนาจบังคับบัญชา หมายถึง นายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชาลูกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมาย
หากมีองค์ประกอบครบ 4 ประการนี้เมื่อไร นั่่นก็คือมีสภาพความเป็นนายจ้างลูกจ้างทันที ซึ่งจริง ๆ ก็คือ ในวันแรกที่ลูกจ้างมาทำงานให้นายจ้างเค้าก็จะเป็นลูกจ้างโดยสมบูรณ์แล้ว ไม่ว่าสัญญาจ้างจะทำเป็นเอกสารหรือตกลงกันด้วยวาจาก็ตาม ยกเว้นว่าเป็นการจ้างงานแบบกำหนดระยะเวลา เช่นงานรับเหมา งานในโครงการรืองานตามฤดูกาลที่นายจ้างจะต้องทำสัญญาเป็นเอกสารก่อนเริ่มจ้างงานครับ
ดังนั้น ไม่ว่า นายจ้างจะเรียกว่าลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างรายวัน ลูกจ้างรายเดือน
ก็คือลูกจ้างโดยสมบูรณ์ตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างทำงานให้นายจ้าง ซึ่งจะต้องได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน 7 ฉบับทันทีครับ ซึ่งสิทธิต่าง ๆ นั้น จะเหมือนกันทั้งหมด ยกเว้นที่จะต่างกันก็คือในมาตรา 56 ( 1 ) ที่วันหยุดประจำสัปดาห์นั้น
สำหรับลูกจ้างรายวันหรือลูกจ้างรับเหมาชิ้นงาน นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ให้ก็ได้ และก็จะมีแตกต่างกันในมาตรา 62 63
สำหรับค่าจ้างในวันหยุด และค่าจ้างล่วงเวลาในวันหยุด ที่ลูกจ้างรายเดือนกับรายวันหรือรายเหมาชิ้นงาน จะคำนวณอัตราต่างกัน
ลองไปอ่านรายละเอียดดูอีกทีครับ
นอกนั้นแล้ว ทุกอย่างเหมือนกันสำหรับลูกจ้างทุกประเภทการจ้างงาน
ดังนั้นคำถามที่ว่าทำไมลูกจ้างรายวันต้องจ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยด้วย ก็ตอบว่าเป็นไปตามกฎหมายมาตรา 57 ครับ
รายเดือนกับรายวัน ได้สิทธิในมาตรานี้เหมือน ๆ กันครับ และหากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามก็จะมีความผิดและมีลทกำหนดโทษนายจ้างในมาตรา 146
เจตนารมณ์ของกฎหมายก็เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายครับ
เป็นไปไม่ได้เลยที่คนเราจะไม่ป่วยเลยใน 1 ปี เมื่อป่วยแล้วก็ควรมีค่าจ้างให้ ลูกจ้างจะได้ไม่เดือดร้อน แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ใช่ว่านายจ้างจะต้องจ่ายทุกวันตลอดระยะเวลาที่ป่วย นายจ้างจ่ายค่าจ้างในปีหนึ่งสำหรับลูกจ้างที่ลาป่วยไม่เกินสามสิบวัน เกินจากนั้นนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยให้ก็ได้
2. เรื่องของการปกครอง การลาป่วยนั้นในมาตรา 32 กำหนดว่าให้ลูกจ้างลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง
และหากป่วยเกินกว่าสามวัน ต้องมีใบรับรองแพทย์ หากลูกจ้างไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดง ก็ให้ชี้แจงเหตุผลให้นายจ้างทราบ
ประเด็นนี้หลาย ๆ ท่าน มักจะเอาเรื่องใบรับรองแพทย์นี้มาเป็นเงื่อนไขที่จะไม่จ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยให้ลูกจ้าง
ซึ่งหากลูกจ้างเค้าป่วยจริง ๆ การกระทำเช่นนี้ก็เป็นการเอาเปรียบเกินสมควร และผิดหลักการปกครองที่ดีนะครับ
ต่อไปจะไม่มีลูกจ้างที่จงรักภักดีต่อองค์กรเหลืออยู่เลย
การที่จะพิจารณาตัดสินว่าลูกจ้างป่วยจริงหรือไม่ ไม่ได้พิสูจน์ด้วยใบรับรองแพทย์ครับ หลักฐานมันไม่พอ
เป็นธรรมดาครับที่ลูกจ้างบางคนที่ป่วยจริง แต่เค้าไม่ได้ไปพบแพทย์ จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ( นายจ้างเองหรือฝ่ายบุคคลเองก็เถอะครับ บางทีเราป่วยเราก็ไม่ไปหาหมอเหมือนกัน ต้องนึกถึงความเป็นจริงด้วยครับ )
ทีนี้ หากลูกจ้างที่ไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงนั้น นายจ้างหรือหัวหน้า หรือฝ่ายบุคคงก็ต้องให้ลูกจ้างชี้แจงเหตุผลให้ทราบ และต้องให้คำแนะนำแก่ลูกจ้างไปว่าเค้าควรทำอย่างไร เช่น หากเห็นว่า การป่วยของลูกจ้างจำเป็นต้องพบแพทย์แผนปัจจุบันทำการรักษา ก็ต้องแนะนำไปครับ ถ้าลูกจ้างเค้าติดปัญหาอะไร เราก็มีหน้าที่ต้องช่วยเหลือตามสมควร
หรือหากเห็นว่า ลูกจ้างเป็นโรคที่อาจติดต่อได้ ก็ควรแนะนำให้ลูกจ้างหยุดงานลาป่วยต่อไปอีกระยะหนึ่งตามความเห็นของแพทย์ซึ่งเราเองอาจจะต้องพาลูกจ้างไปพบแพทย์เองเลยด้วยซ้ำไปครับ
แต่หากพบว่าลูกจ้างไม่ได้ป่วยจริง แต่แจ้งเท็จมา อย่างนี้นายจ้างก็มีสิทธิที่จะพิจารณาโทษทางวินัยได้ครับ
ซึ่งจะต้องพิสูจน์ให้ชัดเจนจากหลักฐานหรือพยานอื่น ๆ นอกเหนือจากใบรับรองแพทย์ครับ
บางคนที่ถึงจะมีใบรับรองแพทย์มาแสดง แต่จริง ๆ แล้วเค้าไม่ได้ป่วยก็มีครับ
คุณว่าจริงมั้ยล่ะครับ
ในเรื่องของการปกครองจึงต้องนำมาพิืจารณาควบคู่ไปกับกฎหมายด้วย...
ทีีจะฝากไว้อีกเรื่องก็คือ คนที่เป็นหัวหน้า จะต้องเป็นแบบอย่างทางวินัยที่ดีให้กับลูกน้อง
หัวหน้ามาสาย ลูกน้องจะมาสายตาม
หัวหน้าป่วยบ่อย ลูกน้องจะเป็นโรคติดต่อ ป่วยบ่อยเหมือนกัน
หัวหน้าลากิจบ่อย ลูกน้องก็จะมีกิจธุระบ่อยเหมือนกัน ครับ
อดิศร
Date: Tue, 27 Aug 2013 10:36:20 +0700
Subject: [JOBSIAM.COM :50643] การลาป่วยและค่าจ้างของลูกจ้างรายวัน
From: lekhots@gmail.com
To: adisorn_pers@hotmail.com
CC: sawai.prm@gmail.com; siamhrm@googlegroups.com
--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
- http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น รับส่วนลด 20% แถม Flash Drive 32G ฟรี (ขอใบเสนอราคา/โทรสอบถามทีมงานได้ค่ะ Tel.02-279-0-466) ถึง 31 สค 56 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ** กด Like เป็น Fan Page ของเรานะค่ะ **
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
---
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณสมัครรับข้อมูลจากกลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์" ของ Google Groups
หากต้องการยกเลิกการสมัครรับข้อมูลและหยุดรับอีเมลจากกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com
หากต้องการโพสต์ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
กรุณาเข้าสู่กลุ่มนี้ที่ http://groups.google.com/group/siamhrm
หากต้องการดูตัวเลือกเพิ่มเติม กรุณาดูที่ https://groups.google.com/groups/opt_out
ปัญหาลักษณะนี้ สาเหตุเพราะความไม่เข้าใจหรรือเข้าใจไม่ถูกต้องในเรื่องกฎหมายแรงงานของฝ่ายนายจ้าง
หรือแม้กระทั่งฝ่ายบุคคลเองที่ยังขาดความรู้ที่ถูกต้อง รวมไปถึงการทำหน้าที่ของฝ่ายบุคคลที่จะต้องชี้แจงให้ฝ่ายนายจ้างมีความเข้าใจด้วยครับ
ประเด็นเรื่องการลาป่วยผมขอแยกอธิบายในสองเรื่องนะครับ
1. เรื่องกฎหมาย
ทั้งนายจ้างและฝ่ายบุคคลจะต้องเข้าใจเสียก่อนว่าลูกจ้างคือใครบ้าง เพราะหลายคนเข้าใจว่าลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างรายเดือน ลูกจ้างรายวัน ผิดครับ จึงทำให้มีการแบ่งแยกสิทธิต่าง ๆ ของลูกจ้างต่างกันไป
ที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้วการเป็นนายจ้างลูกจ้างจะเกิดขึ้นทันทีที่มีการจ้างงานครบองค์ประกอบการจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญาลักษณะ 6
องค์ประกอบของการจ้างงานคือ
1 มีนายจ้างหรือผู้มีอำนาจการทำการแทนนายจ้าง
2 มีลูกจ้าง
3 มีสินจ้างต่างตอบแทนการทำงาน หรือค่าจ้าง
4 มีอำนาจบังคับบัญชา หมายถึง นายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชาลูกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมาย
หากมีองค์ประกอบครบ 4 ประการนี้เมื่อไร นั่่นก็คือมีสภาพความเป็นนายจ้างลูกจ้างทันที ซึ่งจริง ๆ ก็คือ ในวันแรกที่ลูกจ้างมาทำงานให้นายจ้างเค้าก็จะเป็นลูกจ้างโดยสมบูรณ์แล้ว ไม่ว่าสัญญาจ้างจะทำเป็นเอกสารหรือตกลงกันด้วยวาจาก็ตาม ยกเว้นว่าเป็นการจ้างงานแบบกำหนดระยะเวลา เช่นงานรับเหมา งานในโครงการรืองานตามฤดูกาลที่นายจ้างจะต้องทำสัญญาเป็นเอกสารก่อนเริ่มจ้างงานครับ
ดังนั้น ไม่ว่า นายจ้างจะเรียกว่าลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างรายวัน ลูกจ้างรายเดือน
ก็คือลูกจ้างโดยสมบูรณ์ตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างทำงานให้นายจ้าง ซึ่งจะต้องได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน 7 ฉบับทันทีครับ ซึ่งสิทธิต่าง ๆ นั้น จะเหมือนกันทั้งหมด ยกเว้นที่จะต่างกันก็คือในมาตรา 56 ( 1 ) ที่วันหยุดประจำสัปดาห์นั้น
สำหรับลูกจ้างรายวันหรือลูกจ้างรับเหมาชิ้นงาน นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ให้ก็ได้ และก็จะมีแตกต่างกันในมาตรา 62 63
สำหรับค่าจ้างในวันหยุด และค่าจ้างล่วงเวลาในวันหยุด ที่ลูกจ้างรายเดือนกับรายวันหรือรายเหมาชิ้นงาน จะคำนวณอัตราต่างกัน
ลองไปอ่านรายละเอียดดูอีกทีครับ
นอกนั้นแล้ว ทุกอย่างเหมือนกันสำหรับลูกจ้างทุกประเภทการจ้างงาน
ดังนั้นคำถามที่ว่าทำไมลูกจ้างรายวันต้องจ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยด้วย ก็ตอบว่าเป็นไปตามกฎหมายมาตรา 57 ครับ
รายเดือนกับรายวัน ได้สิทธิในมาตรานี้เหมือน ๆ กันครับ และหากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามก็จะมีความผิดและมีลทกำหนดโทษนายจ้างในมาตรา 146
เจตนารมณ์ของกฎหมายก็เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายครับ
เป็นไปไม่ได้เลยที่คนเราจะไม่ป่วยเลยใน 1 ปี เมื่อป่วยแล้วก็ควรมีค่าจ้างให้ ลูกจ้างจะได้ไม่เดือดร้อน แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ใช่ว่านายจ้างจะต้องจ่ายทุกวันตลอดระยะเวลาที่ป่วย นายจ้างจ่ายค่าจ้างในปีหนึ่งสำหรับลูกจ้างที่ลาป่วยไม่เกินสามสิบวัน เกินจากนั้นนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยให้ก็ได้
2. เรื่องของการปกครอง การลาป่วยนั้นในมาตรา 32 กำหนดว่าให้ลูกจ้างลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง
และหากป่วยเกินกว่าสามวัน ต้องมีใบรับรองแพทย์ หากลูกจ้างไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดง ก็ให้ชี้แจงเหตุผลให้นายจ้างทราบ
ประเด็นนี้หลาย ๆ ท่าน มักจะเอาเรื่องใบรับรองแพทย์นี้มาเป็นเงื่อนไขที่จะไม่จ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยให้ลูกจ้าง
ซึ่งหากลูกจ้างเค้าป่วยจริง ๆ การกระทำเช่นนี้ก็เป็นการเอาเปรียบเกินสมควร และผิดหลักการปกครองที่ดีนะครับ
ต่อไปจะไม่มีลูกจ้างที่จงรักภักดีต่อองค์กรเหลืออยู่เลย
การที่จะพิจารณาตัดสินว่าลูกจ้างป่วยจริงหรือไม่ ไม่ได้พิสูจน์ด้วยใบรับรองแพทย์ครับ หลักฐานมันไม่พอ
เป็นธรรมดาครับที่ลูกจ้างบางคนที่ป่วยจริง แต่เค้าไม่ได้ไปพบแพทย์ จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ( นายจ้างเองหรือฝ่ายบุคคลเองก็เถอะครับ บางทีเราป่วยเราก็ไม่ไปหาหมอเหมือนกัน ต้องนึกถึงความเป็นจริงด้วยครับ )
ทีนี้ หากลูกจ้างที่ไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงนั้น นายจ้างหรือหัวหน้า หรือฝ่ายบุคคงก็ต้องให้ลูกจ้างชี้แจงเหตุผลให้ทราบ และต้องให้คำแนะนำแก่ลูกจ้างไปว่าเค้าควรทำอย่างไร เช่น หากเห็นว่า การป่วยของลูกจ้างจำเป็นต้องพบแพทย์แผนปัจจุบันทำการรักษา ก็ต้องแนะนำไปครับ ถ้าลูกจ้างเค้าติดปัญหาอะไร เราก็มีหน้าที่ต้องช่วยเหลือตามสมควร
หรือหากเห็นว่า ลูกจ้างเป็นโรคที่อาจติดต่อได้ ก็ควรแนะนำให้ลูกจ้างหยุดงานลาป่วยต่อไปอีกระยะหนึ่งตามความเห็นของแพทย์ซึ่งเราเองอาจจะต้องพาลูกจ้างไปพบแพทย์เองเลยด้วยซ้ำไปครับ
แต่หากพบว่าลูกจ้างไม่ได้ป่วยจริง แต่แจ้งเท็จมา อย่างนี้นายจ้างก็มีสิทธิที่จะพิจารณาโทษทางวินัยได้ครับ
ซึ่งจะต้องพิสูจน์ให้ชัดเจนจากหลักฐานหรือพยานอื่น ๆ นอกเหนือจากใบรับรองแพทย์ครับ
บางคนที่ถึงจะมีใบรับรองแพทย์มาแสดง แต่จริง ๆ แล้วเค้าไม่ได้ป่วยก็มีครับ
คุณว่าจริงมั้ยล่ะครับ
ในเรื่องของการปกครองจึงต้องนำมาพิืจารณาควบคู่ไปกับกฎหมายด้วย...
ทีีจะฝากไว้อีกเรื่องก็คือ คนที่เป็นหัวหน้า จะต้องเป็นแบบอย่างทางวินัยที่ดีให้กับลูกน้อง
หัวหน้ามาสาย ลูกน้องจะมาสายตาม
หัวหน้าป่วยบ่อย ลูกน้องจะเป็นโรคติดต่อ ป่วยบ่อยเหมือนกัน
หัวหน้าลากิจบ่อย ลูกน้องก็จะมีกิจธุระบ่อยเหมือนกัน ครับ
อดิศร
Date: Tue, 27 Aug 2013 10:36:20 +0700
Subject: [JOBSIAM.COM :50643] การลาป่วยและค่าจ้างของลูกจ้างรายวัน
From: lekhots@gmail.com
To: adisorn_pers@hotmail.com
CC: sawai.prm@gmail.com; siamhrm@googlegroups.com
เรียน ท่านอดิศร
ประเด็นเรื่องค่าจ้างกับการลาป่วย และลูกจ้างรายวัน รายเดือน มาอีกแล้ว
--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
- http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น รับส่วนลด 20% แถม Flash Drive 32G ฟรี (ขอใบเสนอราคา/โทรสอบถามทีมงานได้ค่ะ Tel.02-279-0-466) ถึง 31 สค 56 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ** กด Like เป็น Fan Page ของเรานะค่ะ **
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
---
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณสมัครรับข้อมูลจากกลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์" ของ Google Groups
หากต้องการยกเลิกการสมัครรับข้อมูลและหยุดรับอีเมลจากกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com
หากต้องการโพสต์ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
กรุณาเข้าสู่กลุ่มนี้ที่ http://groups.google.com/group/siamhrm
หากต้องการดูตัวเลือกเพิ่มเติม กรุณาดูที่ https://groups.google.com/groups/opt_out
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น