อีกครั้งครับสำหรับคำตอบในประเด็นคำถามที่เกี่ยวข้องกัน
เรียนเพื่อนสมาชิก
พนักงานหญิงมีครรภ์เป็นลูกจ้างของนายจ้าง มีสิทธิลาคลอดก่อนและหลังคลอดครรภ์หนึ่งไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับค่าจ้างร้อยละ ๕๐ ของอัตราค่าจ้างหรือ ๔๕ วัน นั้นเอง ส่วนอีก ๔๕ วัน หากลูกจ้างจ่ายเงินสมทบกรณีคลอดบุตรครบ ๗ เดือน ภายใน ๑๕ เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตรลูกจ้างมีสิทธิเบิกเงินทดแทนกรณีคลอดบุตรอัตราเหมาจ่าย ๑๓,๐๐๐ บาท และเงินสงเคราะห์เนื่องจากการคลอดบุตรอีก ๔๕ วัน โดยที่พนักงานต้องไปยื่นเรื่องกับประกันสังคมเองหรือหากบริษัทมีบริการไปยื่นให้ก็แล้วแต่ครับ แต่แนะนำว่าถ้าพนักงานไปยื่นเองจะได้เงินเร็วกว่าครับ
เพื่อความเข้าใจภาษาในทางกฎหมายและภาษาที่เราใช้กันในหมู่วิชาชีพการบริหารทรัพยากรมนุษย์
พนักงานหญิงมีครรภ์เป็นลูกจ้างของนายจ้าง มีสิทธิลาคลอดก่อนและหลังคลอดครรภ์หนึ่งไม่เกิน ๙๐ วัน โดยได้รับค่าจ้างร้อยละ ๕๐ ของอัตราค่าจ้างหรือ ๔๕ วัน นั้นเอง ส่วนอีก ๔๕ วัน หากลูกจ้างจ่ายเงินสมทบกรณีคลอดบุตรครบ ๗ เดือน ภายใน ๑๕ เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตรลูกจ้างมีสิทธิเบิกเงินทดแทนกรณีคลอดบุตรอัตราเหมาจ่าย ๑๓,๐๐๐ บาท และเงินสงเคราะห์เนื่องจากการคลอดบุตรอีก ๔๕ วัน โดยที่พนักงานต้องไปยื่นเรื่องกับประกันสังคมเองหรือหากบริษัทมีบริการไปยื่นให้ก็แล้วแต่ครับ แต่แนะนำว่าถ้าพนักงานไปยื่นเองจะได้เงินเร็วกว่าครับ
เพื่อความเข้าใจภาษาในทางกฎหมายและภาษาที่เราใช้กันในหมู่วิชาชีพการบริหารทรัพยากรมนุษย์
2) เงินเดือนชดเชยลาคลอด 45 วัน เราจะไม่เรีกว่า "เงินชดเชย" นะครับ มันคนละความหมายกันถ้าเรานักบริหารทรัพยากรมนุษย์ยังใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้องเราก็จะจดจำหรือกระทำหรือชี้แจ้งให้บุคคลอื่นๆ เข้าใจผิดได้นะครับ ควรเรียกให้มันถูกต้องและจำเป็นต้องเรียกให้ถูกด้วยครับ เพราะเราต้องใช้งานไปตลอดชีวิตการทำงานนักบริหารทรัพยากรมนุษย์
เราเรียกเงินที่จ่ายให้พนักงานที่ใช้สิทธิลาคลอดว่า "ค่าจ้าง" เหมือนกันครับ แต่เป็น "ค่าจ้าง" ที่จ่ายให้ตามกฎหมายกำหนดใน
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน โดยพิจารณาตามมาตรา ดังนี้
มาตรา ๔๑ ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกินเก้าสิบวัน วันลาตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย
มาตรา ๕๙ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกินสี่สิบห้าวัน
ความจริงยังมีมาตราที่เกี่ยงข้องเกี่ยวกับประเด็นนี้อีกคือ มาตรา ๔๒ และ ๔๓ ลองหยิบ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานมาอ่านดูนะครับ เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า กฎหมายไม่ได้เรียกเงินที่จ่ายให้ลูกจ้างเพื่อคลอดบุตรว่า "เงินชดเชย" แต่เรียกว่า "ค่าจ้าง" นะครับ
อยากให้เรานักบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้ตระหนักและควรเรียกให้ถูกต้องนะครับจะได้ชี้แจ้งพนักงานของเราได้ถูกต้อง
From: nattanan_kh@hotmail.com
To: siamhrm@googlegroups.com
Subject: [SIAMHRM.COM :53202] รบกวนสอบถามเรื่องลาคลอดค่ะ
Date: Sat, 14 Dec 2013 14:46:21 +0700
90 วันนี้นับรวมวันหยุดด้วยหรือไม่คะ
ขอบคุณค่ะ
--
--
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น