เพื่อมุ่งมั่นพัฒนาบริการเพื่อการให้ก้าวไปสู่ความเป็นบริษัทมาตรฐานสากลในประเทศไทยแลนานาชาติ ที่ให้บริการการตรวจทางห้องปฏิบัติการ พร้อมข้อมูลและเทคโนโลยีที่ครอบคลุมทุกสาขา โดยการใช้ความรู้ความชำนาญของบุคลากร และความสามารถเชิงกลยุทธในการสร้างเครือข่ายพันธมิตรเพื่อให้การบริการของ นาโนตอบสนองต่อลูกค้าได้ครบวงจร เพื่อสร้างประโยชน์และความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า
จำเป็นแค่ใหนที่จะต้องตรวจสุขภาพ
ปัจจุบันสังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การใช้ชีวิตของคนไทยจึงเปลี่ยนไปจากการใช้แรงงานทำงานมากเป็นการใช้สมองนั่งโต๊ะทำงานและการใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบทำให้เกิดความเครียด ขาดการออกกำลังกาย ขาดการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ขาดความสนใจต่อสุขภาพ ทำให้เกิดโรคต่างๆ ซึ่งเกิดจากการไม่ดูแลตัวเองให้ดีเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันหรือลดอุบัติการณ์ได้โดยการที่เราใส่ใจดูแลตัวเอง การสืบค้นความผิดปกติของร่างกายตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อรับการรักษา อย่างทันท่วงทีก่อนที่รอยโรคต่างๆ จะพัฒนาไปจนเกินแก้ไขเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น การตรวจสุขภาพประจำปีจึงมีความจำเป็น เพื่อให้คุณมีสุขภาพดี มีชีวิตยืนยาว และเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
ควรจะตรวจสุขภาพตั้งแต่อายุเท่าใด
ในความเป็นจริงเราเริ่มต้นตรวจสุขภาพตั้งแต่แรกเกิดเลย จะเห็นได้ว่าหลังจากคลอดคุณหมอจะนัดพาเด็กไปตรวจสุขภาพชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบศีรษะและฉีดวัคซีนป้องกันโรค แต่สำหรับผู้ใหญ่ที่แข็งแรง ไม่มีโรคทางกรรมพันธุ์ในครอบครัวก็อาจจะจะเริ่มต้นตรวจเมื่ออายุ35 ปีแต่หากคุณเป็นคนอ้วน มีประวัติเบาหวานในครอบครัว ประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจของญาติสายตรง ไขมันสูงในครอบครัวหรือเจ็บป่วยบ่อยก็อาจจะเริ่มต้นตรวจที่อายุน้อยกว่านี้ ส่วนเรื่องความถี่ก็ขึ้นกับสิ่งที่ตรวจพบหากพบว่ามีโรคหรือเสี่ยงต่อการเกิดโรคก็อาจจะต้องตรวจถี่หากไม่เสี่ยงก็อาจจะตรวจทุก 3-5 ปี
รถยนต์ยังต้องเข้าศูนย์ตรวจสภาพ
แล้วตัวท่านละตรวจสุขภาพแล้วหรือยัง
1. ก่อนการตรวจสุขภาพ
- ไม่ควรอดนอน ดื่มสุราหรือกาแฟ ในคืนก่อนการตรวจสุขภาพเนื่องจากจะทำให้ความดันโลหิตสูง กว่าที่เป็นจริง
- ควรใส่เสื้อผ้าที่พับแขนเสื้อขึ้นได้สะดวกไม่รัดแน่น เพื่อความสะดวก ในการเจาะเลือด
- ถ้าต้องตรวจภายใน (สภาพสตรี) ควรสวมกระโปรง และควรตรวจก่อนหรือ หลังการมีประจำเดือน 7 วัน
2. การอดอาหารก่อนตรวจสุขภาพ
- การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ต้องงดน้ำและอาหารก่อนการเจาะเลือด 6 ชั่วโมง และตรวจ ไขมันในเลือด ( CHO,TRI,HDL,LDL ) งด 12 ชั่วโมง หากกระหายน้ำหรือหิวน้ำมากให้จิบน้ำเปล่าได้เพียงเล็กน้อย
- หลักจากเจาะเลือดแล้วสามารถรับประทานน้ำและอาหารได้ทันที จากนั้นเข้ารับการตรวจรายการต่อไปได้ ยกเว้นถ้าต้องตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบนต่อ ยังคงต้องงดน้ำและอาหารก่อน
3. เมื่อเจาะเลือดเสร็จแล้ว
- ควรพับแขนข้างที่ถูกเจาะเลือดบริเวณข้อพับไว้อย่างน้อย 5-10 นาที ไม่คลึงหรือนวดบริเวณที่ เจาะเลือดเพราะอาจทำให้เส้นเลือดแตกได้
- ในกรณีที่มีรอยช้ำเขียวบริเวณที่เจาะเลือด แสดงว่าเส้นเลือดอาจแตกรอยช้ำดังกล่าวจะหายไปได้เองใน 1-2 สัปดาห์ อาจทายาแก้ฟกช้ำเช่น ฮีรูดอยด์ ช่วยได้แต่ไม่ควรนวดคลึงบริเวณที่เส้นเลือดแตก
4. การเก็บปัสสาวะ
- ให้ถ่ายปัสสาวะช่วงแรกทิ้งไปก่อนแล้วจึง เก็บปัสสาวะในช่วงกลาง (Mid Stream)
- สุภาพสตรีที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือนไม่ควรตรวจ หรือถ้าต้องตรวจกรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ
5. เอกซเรย์ปอด
- ในวันตรวจงดใส่เครื่องประดับต่าง ๆ ที่เป็นโลหะ
- สุภาพสตรีงดใส่ชุดชั้นในที่เป็นโครงเหล็ก
- ไม่ควรเอกซเรย์ หากไม่แน่ใจว่าตั้งครรภ์หรือไม่ หากสงสัยว่าจะมีการตั้งครรภ์ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ ก่อนการเอกซเรย์
รายการตรวจสุขภาพ
1. ตรวจร่างกายโดยแพทย์ Physical Examination (PE) เป็นการตรวจสุขภาพโดยแพทย์เป็นการตรวจสุขภาพขั้นพื้นฐาน วินิจฉัยเบื้องต้น โดยการดู, คลำ, เคาะ, ฟัง เพื่อตรวจดูการทำงานของอวัยวะต่างๆ ว่าผิดปกติหรือไม่เพื่อเตรียมการการรักษาต่อไป การตรวจนี้เป็นการตรวจเพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้มารับการตรวจเท่านั้นไม่ได้ทำการรักษา
2. เอ็กซ์เรย์ทรวงอก ฟิล์มใหญ่, ฟิล์มเล็ก (Chest X-ray) เป็นการเอ็กเรย์เพื่อดูอาการของปอด เช่น ปอดอักเสบ, วัณโรคปอด,หัวใจโต ,มะเร็งปอดในระยะแรก
3. ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) การเจาะเลือดเพื่อนำเลือดมาปั่นเข้าเครื่องมือทางเทคนิคการแพทย์ให้เลือดนั้นแยกตัว แยกชนิดของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เพื่อดูค่าความเข้มข้นของเลือด โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ และดูรูปร่างของเม็ดเลือดว่าแต่ละชนิดมีมากน้อยกว่าค่าปกติเท่าใด เช่น การตรวจดูว่าเป็นโรคไข้เลือดออก พื้นฐานการตรวจดูโรคทาลัสซีเมียร์ หรือโรคเลือดทางพันธุกรรม
4. ตรวจการทำงานของไต ( BUN,Creatinine) ต้องการดูว่าภาวะการทำงานของไตนั้นปกติหรือมีอาการเสื่อมสภาพหรือค่าที่ออกมานั้นมากกว่าปกติอย่างไร และจำเป็นต้องรักษาต่อเนื่องหากผลผิดปกติ หรือถึงสภาวะเสื่อมสภาพไตที่ต้องทำการล้างไตตามคำสั่งของแพทย์ ซึ่งนอกจากการอ่านค่าของใตนี้ จะต้องดูค่าของความดันโลหิตอีกด้วยเป็นส่วนประกอบเพราะถ้าความดันโลหิตสูง อาจทำให้การทำงานของหัวใจผิดปกติเช่นกัน และภาวะไตวายตามมาเป็นลำดับ
5. ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ (HbsAg,HBs) เพื่อหาเชื้อและภูมคุ้มกัน
6. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) เพื่อตรวจหาระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ซึ่งเกิดจากภาวะดื้อต่ออินสุลินของคนส่วนใหญ่ที่อ้วนทำให้กรดไขมันอิสระในเลือดสูง ทำให้สลายตัวได้น้อยมีผลทำให้ฮอร์โมนอินสุลินออกฤทธิ์ได้น้อยลง ฮอร์โมนอินสุลินซึ่งสร้างจากตับอ่อนในช่องท้องของคนเรานอกจากจะมีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดแล้วยังมีผลต่อการควบคุมการสร้างและทำลายไขมันในเลือดบางชนิดด้วยดังนั้นผู้ที่ภาวะดื้อต่ออินสุลิน นอกจากจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานแล้วยังเพื่อมโอกาสที่จะมีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
7. ตรวจระดับไขมันในเลือดชนิด (Cholesterol, Triglyceride) เพื่อป้องกันโรคไขมันอุดตัน
8. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ( EKG) เป็นการตรวจเพื่อดูความผิดปกติของการทำงานของหัวใจโดยเครื่องตรวจคลื่อนไฟฟ้าหัวใจสามารถแปลผลได้ทันที
9. ตรวจปัสสาวะแบบสมบูรณ์ (UA) เพื่อดูระดับผิดปกติของระดับปัสสาวะ, นิ่ว, ทางเดินปัสสาวะ
10. ตรวจการทำงานของตับ ( SG0T,SGPT) เพื่อตรวจดูการทำงานของตับว่าผิดปกติหรือไม่
11. ตรวจหาสารแอมเฟตามีน เพื่อตรวจดูสารกระตุ้นในพนักงาน
12. ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometry) เป็นการตรวจการได้ยินในความถึ่ของเสียง เพื่อให้ท่านทราบว่ามีความผิดปกติทางหูหรือไม่ เช่น หูตึง หูหนวก การได้ยินอยู่ในระดับมาตรฐานหรือไม่
13. ตรวจสมรรถภาพเป่าปอด (Spirometry) เป็นการตรวจดูสมรรถภาพปอดทั้ง 2 ข้าง ว่ามีความแข็งแรงและสามารถรับออกซิเจนเป็นปกติหรือไม่
14. ตรวจวัดสายตาด้วยคอมพิวเตอร์ (Vision Test) เพื่อตรวจการมองเห็น
15. ตรวจเพิ่มเติมพิเศษ เช่น กลุ่มมะเร็งต่างๆ ฯลฯ
ขั้นตอนในการตรวจสุขภาพ
ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของพนักงานก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ
1. รวบรวมรายชื่อพนักงาน ผู้จะเข้ารบการตรวจสุขภาพ เพื่อเตรียมชุดอุปกรณ์สำหรับพนักงานทุกคนล่วงหน้า
2. ประชาสัมพันธ์เพื่อเตรียมความพร้อมและการเตรียมตัวของพนักงานก่อนถึงวันตรวจ
3. วางแผนร่วมกับลูกค้า จัดสถานที่ กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติในวันตรวจ เพื่อให้กิจกรรมราบรื่น และรวดเร็วในวันตรวจจริง
4. ต้อนรับพนักงาน เข้าลงทะเบียนด้วยระบบ Barcode โดย Programs Register แล้วกระจายตรวจตามจุดที่กำหนดไว้ พนักงานเข้ารับการตรวจ ตามขั้นตอนต่าง ๆ โดยมีทีมงานอำนวยความสะดวก และบริการจัดการให้เสียเวลาการปฏิบัติงาน ของพนักงานของท่านให้น้อยที่สุด
ขั้นตอนการตรวจสุขภาพ แบบ one stop service ถึงสถานที่ทำงานท่าน สดวก รวดเร็ว ไม่เสียเวลา
1. ลงทะเบียนด้วยระบบบาร์โค้ด
2. ช่างน้ำหนัก/วัดส่วนสูง
3. วัดความดัน
4. เจาะเลือด
5. ตรวจสุขภาพโดยแพทย์
6. เอกซเรย์ปอด
7.ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน
8. ตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด
9. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ( EKG)
10. ตรวจสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
11. และอืนๆตามที่ตกลง
Website: http://www.nanomedicallab.com Facebook: www.facebook.com/nanomedicallab
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
- http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น รับส่วนลด + แถม Flash Drive 32G ฟรี (ขอใบเสนอราคา/โทรสอบถามทีมงานได้ค่ะ Tel.02-279-0-466)
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ** เพจ จ๊อบสยาม
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิก ควรอ่านกฎ กติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
---
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณสมัครรับข่าวสารจากกลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์" ของ Google Groups
หากต้องการยกเลิกการสมัครรับข่าวสารและหยุดรับอีเมลจากกลุ่มนี้ โปรดส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com
ถ้าต้องการโพสต์ไปยังกลุ่มนี้ โปรดส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
โปรดดูข้อมูลกลุ่มนี้ที่ http://groups.google.com/group/siamhrm
หากต้องการดูตัวเลือกเพิ่มเติม โปรดไปที่ https://groups.google.com/d/optout
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น