จากใจ บก.ใกล้ตัว - ฉบับ ๒๒๖
ตรงไปตรงมา
ถ้าประกาศตนบ่อยๆว่าเป็นคน
'ชอบพูดตรงไปตรงมา'
โดยมากมักหมายถึงกล้าต่อว่าคนอื่นซึ่งๆหน้า
ไม่ไว้หน้าใคร ไม่เก็บคำ หรือกระทั่งไม่ออมเสียง
การกล้าถากถางหรือด่าทอคน
แบบไม่ถนอมน้ำใจกันเลยนั้น
แท้จริงแล้วไม่ใช่การแสดงถึงจิตใจที่เข้มแข็ง
แต่เป็นการแสดงความอ่อนแอในการห้ามใจ
จึงอาจพ่นคำพรั่งพรูจากอารมณ์ดิบตรงๆแบบไม่ยั้งคิด
ผิดวิสัยธรรมดาของมโนสำนึก
ที่มีความเกรงใจเป็น แสดงมารยาทเป็น
ความอ่อนแอทางใจยิ่งชัดขึ้น
เมื่อมีใคร 'กล้าดี' มาแตะความผิดของตน
แล้วเกิดปฏิกิริยาอาละวาดฟาดงวงฟาดงา
ด้วยความรู้สึกเกินทนกับการต้องเป็นฝ่ายผิดบ้าง
นั่นเป็นธรรมดา
เมื่อด่าทอคนอื่นไว้รุนแรง
พอถึงตาตัวเองผิด
อุปาทานก็ทำให้หวั่นกลัวว่าคนอื่นใช้คำรุนแรงกับตนเช่นกัน
เสียหน้าไม่แพ้คนที่ตนเคยทำให้เขาเสียหน้าเช่นกัน
การพูดแข็งๆ การคาดคั้นให้กลับตัวใหม่
อันจัดเป็นการพูดตรงๆ
แสดงความเข้มแข็งทางใจนั้น
มีอยู่สถานเดียว คือ ยอมรับแบบไม่อ้อมค้อม
ว่าตนเป็นคนผิด
และจะลุกขึ้นมาแก้ไขสิ่งที่ผิดนั้นให้จงได้!
ดังตฤณ
มิถุนายน ๕๘
** ข่าวสารประจำฉบับ **
แนะนำคอลัมน์
มุทิตาคือความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุขนั้น
ควรปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องเหมาะสม
ติดตามได้จากพระธรรมเทศนา ใน สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
คอลัมน์ "แสงส่องใจ" ค่ะ (-/\-)
ในการถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์
เพื่อให้เกิดกุศลสูงสุดควรตั้งจิตเช่นไร
คอลัมน์ "ดังตฤณวิสัชนา" มีคำตอบให้
ในตอน "ขณะใส่บาตรควรวางจิตใจอย่างไร"
การฝึกเจริญสตินั้นก็เพื่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ
เห็นขันธ์ ๕ หรือรูปนามอยู่ภายใต้ไตรลักษณ์
คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ดังเนื้อความที่คุณงดงามบอกเล่าไว้
ในคอลัมน์ "เพื่อนธรรมจารี" ตอน "สติเป็นเครื่องกั้นกระแส"
พบกันใหม่พฤหัสหน้า
ที่ www.dlitemag.com นะคะ
สวัสดีค่ะ (^__^)
--
---
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณสมัครรับข่าวสารจากกลุ่ม "ธรรมะใกล้ตัว" ของ Google Groups
หากต้องการยกเลิกการสมัครรับข่าวสารและหยุดรับอีเมลจากกลุ่มนี้ โปรดส่งอีเมลไปที่
dharma-at-hand+unsubscribe@googlegroups.com หากต้องการดูตัวเลือกเพิ่มเติม โปรดไปที่
https://groups.google.com/d/optout
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น