การหักเงินพนักงานในกรณีนั้น ขัดต่อมาตรา 76 แน่นอนครับ ลูกจ้างฟ้องได้ และนายจ้างแพ้คดีแน่นอนครับ
ในมาตรา 76 นั้นห้ามนายจ้างหักค่าจ้างลูกจ้าง ยกเว้นไว้เฉพาะกรณีที่ลูกจ้างจงใจหรือประมาทอย่างร้ายแรงและทำให้ทรัพย์สินนายจ้างเมียหายเท่านั้น
นายจ้างจึงจะปรับเป็นเงินลูกจ้างได้ ซึ่งในมาตรานี้ก็กำหนดเอาไว้อีกว่า นายจ้างหักได้ไม่เกินร้อยละสิบของค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ และลูกจ้างต้องยินยอมเท่านั้นด้วย
หากลูกจ้างไม่ยินยอมนายจ้างก็จะไปหัก ไปปรับไม่ได้อีกครับ ต้องไปฟ้องแพ่งเอาเองครับ
ประกาศที่บริษัททำออกมาลักษณะนี้จะตกเป็นโมฆะ ใช้บังคับลูกจ้างไม่ได้ครับ
หากลูกจ้างมาสาย นายจ้างจะทำได้ก็คือไม่จ่ายค่าจ้างให้เฉพาะในช่วงเวลาที่ลูกจ้างไม่ได้มาทำงานให้เท่านั้นครับ ไปหักเกินกว่านั้นไม่ได้เด็ดขาด
แต่นายจ้างสามารถลงโทษทางวินัยโดยชอบด้วยกฎหมายได้ ตั้งแต่การตักเตือนด้วยวาจา , การตักเตือนเป็นหนังสือ , การพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง, เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยครับ
และการที่ลูกจ้างมาสายยังไม่ถือว่า เป็นการกระทำที่จงใจหรือประมาทอย่างร้ายแรงตามมาตรา 76 เช่นกันครับ เพราะไม่เข้าข่ายตามเจตนารมณ์ของมาตรานี้
และความเสียหายยังไม่เกิดกับทรัพย์สินของนายจ้างอีกด้วย
มาตรการที่ควรใช้และขอบอกจากประสบการณ์เลยว่าได้ผลคือใช้มาตรการที่เด็ดขาดในการพิจารณาทางวินัย แต่ต้องผ่านกระบวนการสอบสวนอย่างเป็นธรรมด้วยนะครับ
เพราะการไปหัก ไปปรับ ไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลยครับ แต่กลับทำให้มีผลเสียตามมาด้วยซ้ำ
หากพนักงานมาสายครั้งแรก ให้เรียกมาสอบสวนสาเหตุ หากไม่มีเหตุผลอันสมควร ก็ควรตักเตือนด้วยวาจาอย่างไม่เป็นทางการไปก่อนครับ
ครั้งที่สองถ้ายังมาสายอีก ก็เช่นเดียวกับครั้งแรก แต่บทลงโทษจะขยับขึ้นมาเป็นการตักเตือนด้วยวาขจาอย่างเป็นทางการ คือมีการบันทึกในเอกสารไว้เป็นหลักฐาน
ครั้งที่สาม ขยับโทษขึ้นไปอีกครับ ด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือ มาถึงขั้นนี้แล้วก็จะสามารถนำไปเชื่อมโยงกับมาตรา 119 ได้แล้วครับ หากพนักงานมาสายอีกครั้ง
นายจ้างมีสิทธิที่จะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยครับ หรือหากจะให้โอกาสแก้ตัวอีกสักครั้งก็สามารถพิจารณาลงโทษด้วยการพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง เป็นเวลาสัก สามวัน ห้าวัน หรือเจ็ดวันก็แล้วแต่ความเหมาะสมครับ ถ้าให้โอกาสแล้วยังแก้ไขไม่ได้ ก็ควรตัดใจเลิกจ้างไปดีกว่าครับ เอาไว้ก็ทำให้เสียการปกครอง
กระบวนการตรงนี้ข้อสำคัญคือ ขอให้มีการพิจารณาด้วยเหตุผลนะครับ ต้องสอบสวนทุกครั้งอย่างเป็นธรรม
อีกประการหนึ่งก็คือ คนที่อยู่ในระดับบังคับบัญชาเอง จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้พนักงานด้วยครับ เพราะหากหัวหน้ามาสายซะเอง
ไม่ว่ามาตราการใด ๆ ก็ใช้ไม่ได้ผลครับ
ถ้าเราใช้มาตรการนี้อย่างเข้มงวด ลงมือทันทีที่พบ รับรองว่าไม่มีใครกล้าสายหรอกครับ เพราะอาจถูกพิจารณาเลิกจ้างได้ครับ
อดิศร
Date: Wed, 28 Oct 2009 09:50:26 +0700
Subject: สอบถาม
From: topundee@gmail.com
To: adisorn_pers@hotmail.com
--
สุดารัตน์
Windows 7 ใหม่: ค้นหาพีซีที่เหมาะสมกับคุณ เรียนรู้เพิ่มเติม
--~--~---------~--~----~------------~-------~--~----~
- ร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ประกาศตำแหน่งงาน แถมฟรีสูงสุด 3 เดือน ถึง 30 ตุลาคม 52 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
-~----------~----~----~----~------~----~------~--~---
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น