วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

RE: [SIAMHRM.COM :31783] FW: สอบถามเรื่องขอคำแนะนำเกี่ยวกับการวางระบบงาน HRMค่ะ

เรียน Khun adisorn และทุกท่าน
รบกวนขอความอนุเคราะห์ ข้อมูลการทำสัญญากับพนักงานขาย ว่าด้วยเรื่องการรักษาข้อมูลความลับทางการค้าของบริษัทฯ และการไม่เปิดเผยข้อมูลให้คู่แข่งทราบ ในช่วงที่ปฏิบัติงานอยู่ หรือลาออกไปในระยะเวลา 6 เดือน พอจะมีข้อมูลที่ใกล้เคียงเป็นไอเดียให้บ้างมั้ยค๊ะ เนื่องจากกำลังจัดทำสัญญากับพนักงานขายอยูค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

-----Original Message-----
From: siamhrm@googlegroups.com [mailto:siamhrm@googlegroups.com] On Behalf Of adisorn klinpikul
Sent: 13 ธันวาคม 2553 10:08
To: lovelyhrs@googlegroups.com; siamhrm@googlegroups.com
Subject: [SIAMHRM.COM :31237] FW: สอบถามเรื่องขอคำแนะนำเกี่ยวกับการวางระบบงาน HRMค่ะ




________________________________

From: adisorn_pers@hotmail.com
To: poumsu@yahoo.com
Subject: RE: สอบถามเรื่องขอคำแนะนำเกี่ยวกับการวางระบบงาน HRMค่ะ
Date: Mon, 13 Dec 2010 10:05:03 +0700


สวัสดีครับ อดิศร ครับ
การวางระบบ HRM. มีเรื่องที่จะต้องทำมากมายครับ ซึ่งคุณควรจะมีทีมงานที่ดีเข้ามาช่วยทำด้วย เพราะทำเดียวไม่ไหวแน่นอนครับ
แต่ถ้าเป็นกิจการที่เปิดใหม่ ๆ ก็คงไม่ยากนัก เพราะทุกอย่างจะได้เริ่มต้นภายใต้กรอบที่เราวางไว้ได้ง่ายหน่อย
สำคัญที่สุดคือแนวคิดของผู้บริหารว่า มีแนวคิดหรือวิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการองค์กรอย่างไร และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน
ส่งเสริมอย่างเต็มที่หรือไม่

แนวคิดของผู้บริหารจะมีอยู่ 3 แบบหลัก ๆ ครับ
1. ลักษณะหนึ่งที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาองค์กรคือ คิดเอาแต่กำไรอย่างเดียวโดยไม่สนใจเรื่องการบริหารคนในองค์กร เพราะเห็นว่าไม่สำคัญ
ลูกจ้างก็คือลูกจ้างที่จ่ายค่าจ้างให้เท่านั้น ไม่สนใจว่าเค้าจะเดือดร้อนอะไรบ้าง ไม่มีสัมพันธภาพที่ดีในองค์กร และมักเอาเปรียบลูกจ้าง ( เอาแต่งาน )
2. อีกลักษณะหนึ่งก็คือ บริหารคนได้ดีเกินไป โดยละเลยเรื่องการวางระบบงานหรือวางกรอบให้คนปฏิบัติ ทำนองใจดีเกินไป ตามใจพนักงานมากเกินไป ก็ไม่เอื้ออำนวยต่อการบริหารธุรกิจ
จนทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจได้ง่าย เพราะพนักงานจะขาดวินัยและความรับผิดชอบ การบริหารธุรกิจก็ไม่มีความแน่นอนหรือชัดเจนว่ามีเป้าหมายอย่างไร ( เอาแต่คน )
3. ลักษณะที่ดีที่สุดคือ บริหารงานและบริหารคนควบคู่กันไปอย่างเหมาะสม และมีแนวคิดว่าคนคือทรัพยากรที่มีค่า ต้องได้รับการพัฒนาให้เค้ามีคุณค่าต่อองค์กรมากที่สุด
ส่วนในเรื่องการบริหารงานหรือบริหารธุรกิจนั้น ก็จะมีเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และใช้วิสัยทัศน์นั้นบริหารจัดการองค์กรครับ ( เอาทั้งงานและคน โดยพัฒนาคนให้มีศักยภาพมากที่สุด )

หากจะทำ HRM. ให้ได้อย่างมืออาชีพ HR. กับ ผู้บริหารต้องมีแนวคิดเหมือน ๆ กัน ในข้อที่ 3. ครับ
อันดับแรกที่คุณจะต้องทำคือ คุยแนวคิดเรื่องนี้กับผู้บริหารให้ตรงกันเสียก่อน เพราะเราต้องทำงานควบคู่อย่างใกล้ชิดกับผู้บริหารและกิจกรรมหรือแผนงานต่าง ๆ จะต้องสอดคล้องกับแนวคิดนี้ ซึ่งผู้บริหารต้องสนับสนุนอย่างเต็มที่ด้วยครับ

ถ้าตกลงกันได้แล้วก็เริ่มกิจกรรมกัน ซึ่งผมขอแยกประเด็นหลัก ๆ มา 2 ประเด็นนะครับ
A. ประเด็นการบริหารจัดการธุรกิจองค์กร และ B. การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล

ในข้อ A. ขอแนะนำดังนี้ครับ


1. ทบทวนหรือกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร อันเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะองค์กรจะเดินได้ถูกทิศทาง

และคนในองค์กรสามารถปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ได้แม่นยำ ไม่ซ้ำซ้อน ก้าวก่าย หรือขัดแย้งกันได้

เป้าหมายก็ต้องชัดเจนก่อนครับ ถ้ายังไม่มี HR. กับผู้บริหารก็ต้องร่วมกันกำหนดขึ้นก่อนในครั้งแรก

แต่ถ้ามีแล้วก็ต้องมาทบทวนร่วมกับผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาในสายงานต่าง ๆ ว่า ตอนนี้วิสัยทัศน์ที่มีนั้นเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตหรือไม่

หลักการในการกำหนดวิสัยทัศน์คือ

1.1 จะต้องมีเป้าหมายหรือทิศทางที่ชัดเจน

1.2 สามารถสื่อสารกันได้ทั่วถึงทุกคนและทุกตำแหน่งภายในองค์กรรวมทั้งลูกค้าภายนอก ให้มีความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งต้องทบทวนอย่างสม่ำเสมอ

1.3 จะต้องท้าทายและมีความเป็นไปได้ สามารถสร้างแรงกระตุ้นแรงจูงใจและความภาคภูมิใจของคนในองค์กร



2. กำหนดภารกิจหลักว่าจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุวิสัยทัศน์นั้น

3. กำหนดยุทธศาสตร์ว่าแต่ละภารกิจนั้น จะต้องมีแผนงานอะไรบ้าง มีวิธีการชี้วัดผลลัพธ์ทางธุรกิจอะไรบ้าง ( KPI ระดับองค์กร )

4. การจัดโครงสร้างการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งได้แก่ แผนผังการบังคับบัญชา แผนผังโครงสร้างหน้าที่หลักของงานแต่ละฝ่ายหรือแผนกที่จำเป็นในการขับเคลื่อนองค์กรตามภารกิจและยุทธศาสตร์

5. จัดคนเข้าปฏิบัติภารกิจในแผนผังให้เหมาะสมความทักษะ ความรู้ ความสามารถ

6. ในฝ่ายต่าง ๆ ขององค์กรนั้นผู้บริหารในฝ่ายจะต้องกำหนดวิสัยทัศน์ของหน่วยงานตนเอง

ให้สอดคล้องหรือสนับสนุนต่อวิสัยทัศน์องค์กร รวมทั้งกำหนดภารกิจหลัก ยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดผลสำเร็จของฝ่ายตนเองออกมาด้วยครับ



6 ข้อ ของประเด็นข้อ A. เอาสั้น ๆ เป็นเบื้องต้น ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ รายละเอียดยังมีอีกมากครับ

คุณลองเขียนโครงการหลัก ๆ นี้ขึ้นมานำเสนอผู้บริหารดูก่อนครับ

ถ้าได้ 6 ข้อนี้มาแล้ว จะเห็นภาพการบริหารจัดการธุรกิจองค์กรที่ชัดเจน รู้ว่าใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร มีการวัดความสำเร็จของงานอย่างไรบ้าง

ซึ่งคุณอาจจะพัฒนาจากแผนผังนี้มาเป็นโครงสร้างอัตราจ้าง และโครงสร้างความก้าวหน้าในอาชีพได้เลยครับ

หลักการในการเขียนโครงสร้างการบริหารมีเทคนิคอยู่ว่า ให้เขียนโครงสร้างที่จำเป็นออกมาก่อน แล้วค่อยเอาคนไปใส่ทีหลังนะครับ อย่าไปเขียนจากคนที่มีก่อน เพราะจะไม่ครอบคลุมได้ครับ



เครื่องมือที่นิยมใช้ในการกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ทางธุรกิจในปัจจุบันนี้คือ BSC.

( Balance Score Card ) นะครับ แต่ต้องใช้ให้เป็นด้วย ไม่งั้นจะไปติดกับดักได้ครับ



ส่วนในข้อ B. เป็นภารกิจหลักของ HR. โดยตรง หัวใจคือ ทำอย่างไรให้คนในองค์กรมีทักษะความสามารถเต็มศักยภาพที่มีอยู่และทำอย่างไรให้ทุกคนมีความสุขในการทำงานครับ

กิจกรรมที่ต้องทำผมก็ขอแยกออกมา 2 งานหลัก ๆอีกนะครับ

B1. การสร้างศักยภาพในการปฏิบัติงานของคนในองค์กร และ

B2. การสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ในองค์กร



ในข้อ B1. เครื่องมือที่ใช้ได้ดีและชัดเจนแม่นยำในการพัฒนาศักยภาพของคนในองค์กรคือการใช้

COMPETENCY ในการประเมินจุดอ่อน จุดแข็ง ของคนในองค์กรครับ ซึ่งเริ่มตั้งแต่การกำหนดคุณสมบัติของบุคลากรในตำแหน่งต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้แล้วในผังโครงสร้าง และให้บรรจุเอาไว้เอกสาร JD. ในทุกตำแหน่งงานครับ เมื่อกำหนดเรียบร้อยแล้ว เราก็เอาคุณสมบัติที่กำหนดไว้นี้

ไปใช้ตั้งแต่การสรรหาคนเข้าทำงาน การประเมินผลทดลองงาน การบริหารผลงานประจำปี การพิจารณาเลื่อนตำแหน่งงาน และสำคัญที่สุด คือเอาผลที่ได้ไปจัดการเรื่อง TRAINING NEED ครับ



ในข้อ B2. เป็นเรื่องของการสร้างสัมพันธภาพของคนในองค์กรทั้งหมดในทุกระดับการบังคับบัญชา

เป้าหมายคือการสร้างให้คนมีความสุขในการทำงานครับ มีธรรมาภิบาลในองค์กร ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบกัน เริ่มตั้งแต่ การทบทวนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่ามีอะไรขัดต่อกฎหมายบ้างหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องแก้ให้ถูก เพราะถ้ายังผิดอยู่ ก็จะไม่สามารถสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ได้เลยครับ

จากนั้นก็ต้องวางระบบการปกครองที่ถูกต้อง ให้ผู้บังคับบัญชาทั้งหลายมีความเข้าใจในกฎระเบียบ

มีความรู้ในกฎหมายแรงงาน มีจิตวิทยาการปกครอง และมีหลักในกระบวนการพิจารณาทางวินัย

หลักการคือ ฝ่ายบุคคลไม่ใช่เป็นผู้มีอำนาจหรือผู้ปกครองคนทั้งหมดในองค์กรนะครับ แต่คนที่มีอำนาจในการปกครองคือผู้บังคับบัญชาในแต่ละสายงาน ฝ่ายบุคคลเป็นที่ปรึกษาให้เท่านั้นครับ ยกเว้นลูกน้องของฝ่ายบุคคลเองเท่านั้นที่ผู้บังคับบัญชาฝ่ายบุคคลจะปกครองได้ครับ

นอกจากที่สิ่งที่ขาดไม่ได้คือคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานตามกฎหมาย หรือหากยังไม่เข้าข่ายที่กฎหมายกำหนดให้มี ก็ควรมีด้วยครับ เพราะจำเป็นมาก ในการสร้างกิจกรรมที่ก่อให้เกิดสัมพันธภาพในองค์กร คุณจะต้องมีทีมงานทำเรื่องนี้ และทีมงานนี้ก็ต้องมีความเสียสละด้วย

หน้าที่คือการเป็นสื่อกลางระหว่างนายจ้างลูกจ้าง รวมทั้งการสร้างกิจกรรมต่าง ๆ ในองค์กรเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วม รักและหวงแหนองค์กร มีทัศนคติที่ดี ไม่แก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น อิจฉาริษยากันครับ

หัวหน้ากับลูกน้อง ต้องมีสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน องค์กรจึงจะมีความสุขได้ครับ



เอาไว้แค่นี้ก่อนนะครับ ผมแนบเอกสารหลาย ๆ เรื่องไว้ให้ศึกษา

ติดตรงไหนก็ถามมาได้อีกครับ

อดิศร












________________________________

Date: Sat, 11 Dec 2010 09:28:22 -0800
From: poumsu@yahoo.com
Subject: สอบถามเรื่องขอคำแนะนำเกี่ยวกับการวางระบบงาน HRMค่ะ
To: adisorn_pers@hotmail.com



สวัสดีค่ะ อาจารย์คะ

พอดีผู้บริหารฯ เรียกเข้าไปคุยเรื่องการวางแผนงานของปีหน้าแล้วแกให้โจทก์
ขอคำแนะนำเกี่ยวกับการวางระบบ HRM และมีเครื่องมืออะไรที่ใช้กันในปัจจุบัน เพื่อให้บริษัทมีระบบ HR ที่ดีเหมาะสม สามารถทำให้สอดคล้องกับสถานการณ์แรงงานในปัจจุบัน (ถ้าได้แบบ hr commpetency) ก็จะดีมากเลยค่ะ (ถ้าได้ด่วนก็ดีค่ะเพราะ เพิ่งเริ่มงานที่บริษัทใหม่พอดีค่ะจึงจำเป็นต้องใช้ค่ะ) บริษัทมีพนักงาน 2 ส่วนคือ ประจำ สำนักงานใหญ่ และพนักงานขายตามห้าง
มีสำนักงานตามห้างสรรพสินค้าค่ะ


ขอบคุณมากค่ะ (ส่งถามมาก่อนหน้านี้แล้วแต่อาจารย์ยังไม่ได้ตอบจึงอาจจะไม่ได้รับจึงขอส่งมาสอบถามอีกครั้งค่ะ)

ปุ้ม





________________________________

From: adisorn klinpikul <adisorn_pers@hotmail.com>
To: phornthip_kung@hotmail.com; lovelyhrs@googlegroups.com; siamhrm@googlegroups.com
Sent: Thu, December 9, 2010 1:10:01 PM
Subject: RE: [SIAMHRM.COM :31171] สอบถามเรื่องการลงโทษมาสายที่สอดคล้องกับกม.แรงงาน ค่ะ

สวัสดีครับ อดิศร ครับ
ให้ไปดูที่ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ว่ากำหนดบทลงโทษทางวินัยเอาไว้อย่างไรครับ
และบทลงโทษทางวินัยนั้นขัดต่อกฎหมายหรือไม่
โดยปกติแล้วก็มักกำหนดโทษจากเบาไปหนักตั้งแต่
ตักเตือนด้วยวาจา , ตักเตือนเป็นหนังสือ , พักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง ,เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยครับ
เมื่อพนักงานมาสาย หากสอบสวนอย่างเป็นธรรมแล้ว พนักงานไม่มีเหตุผลอันสมควรใด ๆ
ก็ควรตักเตือนด้วยวาจาก่อนในความผิดครั้งแรก
หากยังกระทำผิดซ้ำอีก ก็ควรลงโทษด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือ
หากยังผิดซ้ำอีกโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเช่นเคยภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ได้กระทำผิดโดยได้รับใบเตือนไปแล้ว
นายจ้างก็สามารถพิจารณาเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่จ่ายค่าชดเชยครับ
แต่หากจะให้โอกาสอีกสักครั้งก็ทำได้ โดยลดหย่อนโทษมาเป็นการพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างเป็นเวลา...วัน

หรือหากสอบสวนแล้วพนักงานมีเหตุผลจำเป็นจริง ๆ ก็ไม่ควรไปพิจารณาโทษอะไรทั้งสิ้น แต่จะต้องประกาศหรือชี้แจงเหตุผลนี้ให้ทุกคนในองค์กรรับทราบด้วยครับ
เช่นบางกรณีพนักงานจำเป็นต้องดูแล พ่อ หรือ แม่ ที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ในตอนเช้าก่อนที่จะมาทำงาน เป็นต้น
อย่างนี้นอกจากจะไม่พิจารณาโทษแล้ว ควรจะตอบแทนให้เค้าเป็นพนักงานดีเด่นด้านความกตัญญูด้วยซ้ำ อย่างนี้องค์กรก็จะได้ภาพลักษณ์ที่ดีต่อลูกจ้างรวมทั้งลูกค้า
ด้วยครับ

นอกจากนี้ในช่วงเวลาที่ลูกจ้างมาสายนั้น นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าจ้างให้ในช่วงเวลานั้นได้ เพราะค่าจ้างเป็นสินจ้างต่างตอบแทนในการทำงาน
หากลูกจ้างไม่ได้มาทำงานให้นายจ้าง นายจ้างก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าจ้างให้ในช่วงเวลาที่ลูกจ้างไม่ได้มาทำงานให้ได้ครับ

ถ้าใช้มาตราการนี้อย่างจริงจัง พนักงานก็จะไม่กล้ามาสายครับ เพราะอาจถูกเลิกจ้างได้

มาตรการที่ไม่ควรใช้คือการหักค่าจ้างเพราะนอกจากผิดกฎหมายมาตรา 76 แล้ว ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้
เพราะคนที่มาสายบางคนเค้าก็ไม่แคร์ว่าจะถูกหักค่าจ้างหรอกครับ

อีกประการหนึ่งต้องมาดูพฤติกรรมของผู้บังคับบัญชาด้วยนะครับ
ถ้าผู้บังคับบัญชากระทำตนเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี มาสายบ่อย ๆ ลางานบ่อย ๆ พนักงานก็จะเอาเป็นเยี่ยงอย่างได้
และการลงโทษก็จะไม่สามารถบังคับพฤติกรรมได้และพนักงานจะมีทัศคติที่ไม่ดีและต่อต้านองค์กรอีกด้วยครับ
มีหลาย ๆ องค์กร มุ่งแต่ลงโทษพนักงาน แต่ลืมดูที่ผู้บังคับบัญชาครับ
อดิศร

________________________________

From: phornthip_kung@hotmail.com
To: siamhrm@googlegroups.com
Subject: [SIAMHRM.COM <http://siamhrm.com/> :31152] สอบถามเรื่องการลงโทษมาสายที่สอดคล้องกับกม.แรงงาน ค่ะ
Date: Thu, 9 Dec 2010 07:43:29 +0700

พอดีทางบรษัท ได้กำหนดนโยบาย ให้มีการลงโทษพนักงานที่มาทำงานสาย เลยขอแชร์ความคิดเห็นจากเพื่อน หน่อยค่ะ

ขอบคุรค่ะ

--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -

แนะนำ :

http://www.jobsiam.com/ : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน แถมฟรี สูงสุด 2 เดือน ถึง 31 ธันวาคม 2553 นี้
http://www.siamhrm.com/ : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -

แนะนำ :

http://www.JobSiam.com <http://www.jobsiam.com/> : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน แถมฟรี สูงสุด 2 เดือน ถึง 31 ธันวาคม 2553 นี้
http://www.SiamHRM.com <http://www.siamhrm.com/> : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~



--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -

แนะนำ :

http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน แถมฟรี สูงสุด 2 เดือน ถึง 31 ธันวาคม 2553 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -

แนะนำ :

http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน รับส่วนลด สูงสุด 30% เดือน ถึง 31 มกราคม 2554 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

ไม่มีความคิดเห็น: