วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

[SIAMHRM.COM :35075] RE: การเลิกจ้างและการทดลองงาน (แก้ไข)

สวัสดีครับ อดิศร ครับ
 ขอแนะนำอย่างนี้นะครับ
เรื่องการทดลองงานขอให้พิจารณษองค์ประกอบตามนี้ก่อนครับ จะได้ไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง
 1. การกำหนดระยะเวลาทดลองงานเอาไว้ใช้ชัดเจน เช่นอาจจะกำหนดที่ 90 วัน หรือ 120 วันก็แล้วแต่ความเหมาะสม
     หรือในบางตำแหน่งที่อาจจะต้องใช้เวลามากหน่อยก็อาจกำหนดไว้เกินกว่า 120 วันก้ได้ครับ กฎหมายไม่ได้กำหนดเรื่องระยะเวลาทดลองงานเอาไว้
    เพียงแต่หากลูกจ้างทำงานติดต่อกันเกินกว่า 120 วัน ถ้านายจ้างจะเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างบไม่ได้มีความผิดทางวินัยตามมาตรา 119 นายจ้างก็จะต้องจ่ายค่าชดเชยใหตามมาตรา 118
 2. กำหนดแบบฟอร์มและหัวข้อคุณสมบัติที่ต้องใช้ในการประเมินผลทดลองงานในแต่ละตำแหน่งให้สอดคล้องกับความจำเป็นสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้น ๆ
     ถ้ามี JD. ที่ออกแบบคุณสมบัติไว้ครบถ้วนแล้ว ก็สามารถเอาหัวข้อคุณสมบัติตาม JD. นั้น มาใช้ก็ได้ครับ
 3. กำหนดตัวผู้ประเมินว่า ในแต่ละตำแหน่งใครเป็นผู้ประเมินผลบ้าง เอาให้ชัดเจนและเหมาะสมด้วยนะครับ ที่สำคัญคือไม่ควรให้มีผู้ประเมินเพียงคนเดียว
    เพราะอาจจะทำให้เกิเดความลำเอียงและไม่โปร่งใสได้ง่ายครับ ให้ทำในรูปคณะกรรมการจะดีกว่า อาจจะมี 2 หรือ 3 ท่านก็แล้วแต่ความเหมาะสมครับ โดยปกติแล้วก็จะประกอบไปด้วย
    หัวหน้าฝ่ายบุคคล , ผู้บังคับบัญชาในสายงานที่ลูกจ้างเข้ามาทดลองงานอยู่โดยตรง และผู้บังคับบัญชานั้นควรจะต้องเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างเท่านั้นนะครับ
    สองท่านนี้ก็จะสามารถให้คะแนนประประเมินผลได้แล้ว เพราะจะอยู่ใกล่ชิดกับลูกจ้างที่ทดลองงานมากกว่าคนอื่น ๆ แต่ถ้าจะให้ดีกว่านี้ก็ควรมีอีกสักคนโดยพิจารณาจากผู้มำอำนาจกระทำการแทนนายจ้างคนอื่น ๆ ได้อีก ( ถ้ามี ) แต่ก็จะต้องได้มีโอกาสสัมผัสหรือได้เห็นพฤติกรรมการทำงานของลูกจ้างที่ทดลองงานด้วยนะครับ
 
 
  องค์ประกอบ 3 ข้อนี้ ต้องทำให้เป็นระบบในองค์กรเสียก่อน โดยอาจจะออกเป็นระเยียบปฏิบัติเอาไว้ให้ชัดเจน
 
   เมื่อถึงเวลาปฏิบัติก็จะได้ไม่ยุ่งยากหรือสับสนครับ ที่เหลือก็ปฏิบัติให้เข้ากับกฎหมายมาตรา 17 หรือมาตรา 118 หรือมาตรา 119 แล้วแต่กรณีไป
   จากคำถามที่ถามมา  
1. พนักงานทำงานวันที 1 - 90  ทำการประเมินงาน วันที่ 91 แจ้งพนักงานเรื่องการประเมินผลว่ายังไม่ผ่านแต่ให้ทำงานครบ 120 วัน  (พอครบ 120 วันแล้วให้พนักงานออกอย่างนี้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใช่หรือไม่ค่ะ)
   ก็มาดูองค์ประกอบข้อที่ 1 ก่อนครับ ว่าองค์กร กำหนดระยะเวลาทดลองงานเอาไว้ที่กี่วัน
   สมมุติว่ากรณีนี้องค์กรกำหนดเอาไว้ที่ 120 วัน
    เราทำการประเมินผลทดลองงานในระยะเวลาที่พนักงานทำงานครบ 90 วัน
    ถ้่าผลไม่ผ่านก็มีอยู่ 2 ทางเลือกครับ คือ
     1. ให้ลูกจ้างออกจากงานเลยก็ได้ หากเห็นว่า โอกาสที่จะผ่านหรือจะให้โอกาสเค้าแก้ไขปรับปรุงคงจะยากแล้ว ซึ่งก็ไม่ควรไปเสียเวลาด้วยกันทั้งสองฝ่ายนะครับ
          นายจ้างก็ควรหาคนใหม่เข้ามาจะดีกว่า ตัวพนักงานเองก็ไม่ต้องมาเสียเวลากับเราด้วย
          ถ้าตัดสินใจเลือกข้อนี้ นายจ้างก็จะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไปอีก1 งวดการจ่ายค่าจ้างหรือ 1 เดือน ถ้าเป็นลูกจ้างรายเดือน และให้ลูกจ้างออกจากงานได้เลย
          ครับ ค่าชดเชยมาตรา 118 ไม่ต้องจ่าย เพราะยังทำงานไม่ถึง 120 วัน
     2. หากเห็นว่าข้อบกพร่องที่ได้จากการประเมินนั้น พนักงานน่าจะสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ โดยหัวหน้าเป็นผู้ช่วยเหลือในการให้คำแนะนำเข้มข้นมากขึ้น
         อย่างนี้ก็ควรให้โอกาสทดลองงานต่อไปได้อีก แต่ข้อสำคัญคือในเอกสารจะต้องระบุให้ชัดเจนว่าผลการประเมินครั้งแรกนี้ไม่ผ่าน
แต่ให้โอกาสทดลองงานต่ออีกกี่วัน ซึ่งหากผลการประเมินครั้งที่สองนี้ไม่ผ่าน จะเลิกจ้าง  ( ตรงนี้ถือเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 )
 ซึ่งก็แล้วแต่จะให้ระยะเวลาปรับปรุงอีกกี่วัน อาจจะ 15 วัน 30 วัน หรือ 60 วันก็แล้วแต่มติของกรรมการจะพิจารณาครับ
         แต่หากเกิน 120 วัน แล้วผลไม่ผ่าน ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยไป
         กรณีนี้สมควรใช้กับคนที่มีโอกาสผ่านได้สูงนะครับ  ถ้าผลผ่านก็ถือว่าเราได้พนักงานมาทำงานกับเราอย่างเป็น
         ทางการ ซึ่งอาจจะมีสิทธิหรือสวัสิการอื่น ๆ เพิ่มเติมให้อีก ก็แล้วแต่ในระเยียบเรากำหนดเอาไว้อย่างไร
         แต่ถ้าให้โอกาสแล้ว มีหัวหน้าหรีือพี่เลี้ยงคอยสอนแนะอย่างเต็มที่แล้ว พนักงานยังไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ และผลการประเมินครั้งที่สองนี้ไม่ผ่าน แล้วเราตัดสินใจเลิกจ้าง
        อย่างนี้ก็ให้ออกจากงานได้เลย โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 แล้ว และหากยังทำงานไม่ถึง 120 วันก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118
       แต่ถ้าเกิน 120 วัน สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ต้องจ่าย แต่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 ครับ
        ถ้าวิธีการประเมินเราดีและกรรมการใช้ดุลยพินิจได้แม่นยำแล้ว โอกาสไม่ผ่านทดลองงานในกรณีนี้จะมีน้อยมากหรือแทบไม่มีเลยครับ ปัญหาก็จะน้อยมากด้วย
 
2. พนักงานทำงานวันที 1 - 90  ทำการประเมินงาน วันที่ 91 แจ้งพนักงานเรื่องการประเมินผลว่ายังไม่ผ่านแต่ให้ทำงานครบ 120 วัน  (พอครบ 120 วันปรากฏว่าอยู่ช่วง91-120 วันนั้นทำงานได้ดีและปรับปรุงตัวเอง บริษัทจึงให้ทดลองเพิ่มอีก 30 วัน รวมเป็น 150 วัน พอครบ 150 วันปรากฏว่าไม่ผ่านทางบริษัทจึงให้ออก อย่างนี้จะต้องจ่ายค่าชดเชย 1 เดือนบวกกับการจ่าค่าแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ใช่หรือไม่ค่ะ )
 
         คำตอบอยู่ในทางเลือกที่ 2 ข้างต้นแล้วนะครับ อย่างนี้ยังไงก้ต้องจ่ายค่าชดเชย เพราะทำงานเกิน 120 วันแล้ว
        ยกเว้นว่าพนักงานทำผิดวินัยร้ายแรงตามมาตรา 119 เท่านั้นครับ
     ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น อยู่ที่เราได้ระบุเอาไว้เป็นหลักฐานที่ไหนหรือไม่ ถ้าไม่ระบุไว้ชัดเจน ก็ต้องจ่ายครับ แจต้ถ้าระบุให้ลูกจ้า่งทราบล่วงหน้าแล้วก็ไม่ต้องจ่าย
        
3.กรณีที่พนักงานผ่านการประเมินแล้ว แต่พอมาระยะหนึ่งพนักงานเริ่มมีปัญหากับหัวหน้างาน จึงได้มีการประเมินพฤติกรรม ซึ่งหหัวหน้าประเมินงานไม่ผ่าน แจ้งให้ฝ่ายบบุคลเลิกจ้าง โดยไม่จ่ายค่าชดเชย อย่างนี้สามารถทำได้หรือไม่ค่ะ และจะมีวิธีอย่างไรชี้แจงให้พนักงานได้เข้าใจและยอมรับในการประเมินของความหัวหน้าค่ะ
 
      ประเด็นนี้ก็อยู่ที่ระบบการประเมินเราวางเอาไว้อย่างไรแล้วล่ะครับ ถามว่าหัวหน้างานที่ว่ามานี้ เค้ามีสิทธิประเมินจตามระเบียบกฎเกณฑ์ของบริษัทหรือไม่
      และหัวหน้างานที่ว่านี้ โดยลักษณะการทำงานหรือการให้อำนาจของนายจ้างนั้น เค้าเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างหรือไม่ ถ้าเค้าไม่มี ก็ไม่มีสิทืธิตามกฎหมาย
ในการเลิกจ้างลูกจ้างครับ
     ส่วนที่หัวหน้าอ้างว่าพนักงานมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมหรือมีปัญหากับหัวหน้า กรณ๊นี้คงไม่เกี่ยวกับเรื่องการทดลองงานแล้ว  เพราะผลการประเมินได้ผ่านเรียบร้อยแล้วครับ
 อย่างนี้ก็ควรจะต้องมีการสอบสวนหาข้อเท็จจริง
กันไปถ้าพนักงานผิดจริง ก็อาจจะต้องพิจารณาโทษทางวินัยไปตามสมควร และหากร้ายแรง นายจ้างก็พิจารณาเลิกจ้างได้ตามมาตรา 119 ครับ
หรือถ้าหัวหน้าผิดก็ต้องพิจารณาโทษหัวหน้า หรือ จริง ๆ แล้วไม่มีฝ่ายใดถูกหรือผิด เพียงแต่เข้าใจผิดกัน หรือระบบงานมีปัญหา ก็ควรไกล่เกลี่ยกันให้เข้าใจ และองค์กรควรมาดูเรื่องของทักษะการทำงานเป็นทีมที่อาจจะมีปัญหาภายในองค์กรก็ได้ครับ
      คงต้องกลับไปพิจารณาองค์ประกอบ 3 ข้อ ที่แนะนำไว้ข่างต้นอีกมีนะครับ ถ้ายังมีไม่ครบ ต้องออกแบบทำใหม่ให้ครบ ส่วนที่ผ่านมาก็ต้องให้โอกาสพนักงานไปตามสมควรครับ
 เพราะเค้าไม่ผิด แต่ระบบงานของนายจ้างยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ทำให้ในทางปฏิบัติเกิดปัญหาขึ้นครับ
อดิศร
 
 


 
Date: Mon, 23 May 2011 18:48:31 +0700
Subject: Re: การเลิกจ้างและการทดลองงาน (แก้ไข)
From: lekhots@gmail.com
To: poonapn23@gmail.com
CC: adisorn_pers@hotmail.com


เรียน คุณ poona
cc. ท่าน อดิศร
      1. ก่อนอื่นต้องขออภัย ที่ผมส่ง Flow ผิด version มาให้ ขอแก้ไขเป็นล่าสุด ver.4 นี้นะครับ
      2. เพิ่มข้อความที่มีใน version 3 บางข้อความ ,เนื้อหาคงเดิม
      3. เพิ่ม flow กรณีที่เป็นคำถามสำหรับ 150 วัน...คือพนักงานเป็นพนักงาน(ลูกจ้าง)ของคุณมากกว่า 120 วันไปแล้ว
          และเพิ่มใบประเมินสำหรับ account ของท่านอดิศร
      4. คำถามข้อที่1 ขอทำความเข้าใจก่อนตอบว่า ควรประเมินคือสรุปหรือตัดสินก่อนครบกำหนด วันที่ครบวันทดลองงานนั้นๆ
          เช่น ประเมิน 90 วัน ควรสรุปให้เสร็จซักวันที่ 80 หรือ 120 วันก็ควรสรุปซักวันที่ 110 (ตาม flow sheet 1) เป็นต้น....
          คำตอบ ไม่น่าจะใช่ เขาไม่ผ่าน 90 คุณให้ทำต่อ ก็เหมือนให้โอกาสเขาแก้ไข-ปรับปรุง ก่อนถึง 120 วันก็ประเมินอีก ถ้ายังคง
          ไม่ผ่าน ก็คือการตัดสินว่าไม่ผ่าน 120 วัน ไม่ใช่ไม่ผ่าน 90 วัน ทำให้ชัดเจนดีกว่าครับ...การจ่าย ตาม flow ครับ
       5. คำถามข้อที่ 2 ...เป็นพนักงาน (บรรจุ) 120 วันไปแล้ว อยากเลิกจ้างเมื่อไหร่ก็ได้ครับ ถ้ามีเหตุผล แต่จะอ้างเหตุว่าเป็น
           การทดลองงาน อีก 30 วัน เป็น 150 วันน่ะ ไม่น่าจะแฟร์ เพราะเมือ บรรจุแล้ว ถ้าจะประเมินก็เมื่อถึง ฤดูประเมินประจำปี
           ครั้งที่ 1,ครั้งที่2 ครั้งที่ 3 ,.....แต่ก็ตามที่ว่านั่นแหละครับ นายจ้างก็คือนายจ้าง ถ้าอยากจะทำ คือ ไม่ต้องการ ก็ตาม Flow ครับ
           ไม่ต้องถึง 150 วัน ก็ได้ (วันใดๆ)...แต่ก็ควรทำให้ถูกกฏหมาย
       6. คำถามข้อที่ 3 ...หัวหน้างานเป็นใคร เป็นนายจ้างด้วยหรือไม่....การมีปัญหากับหัวหน้างาน ถ้าไม่ได้ทำให้นายจ้างเสียหาย
           ก็ไม่มีเหตุจะไปบอกศาลได้ว่าทำไมจึงจะไม่จ่ายค่าต่างๆ....
                   ขอนอกเรื่องครับ หัวหน้างานที่ถืออำนาจบาตรใหญ่ ไม่ปรับปรุงตัวเองในการบริหารจัดการงานบุคคลต่างหากที่ควรถูกเลิกจ้าง
           โดยไม่น่าที่จะต้องจ่ายค่าใดๆ เพราะทำให้นายจ้างเสียหายโดยตรง......ถ้าทำได้นะผมว่า....
                    คำตอบข้อที่ 3 เหมือน ข้อที่ 2 ครับ
 
            หรือว่าท่านอดิศรจะให้คำแนะนำเพิ่มเติมอย่างไร เรียนเชิญนะครับ
 
            ด้วยความเคารพ
               เล็ก

 
เมื่อ 23 พฤษภาคม 2554, 10:47, poona poona <poonapn23@gmail.com> เขียนว่า:
เรียนคุณเล็ก / คุณอดิศร
 
   ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูล จึงขอทบทวนว่าที่เข้าใจถูหรือเปล่าดังนี้ค่ะ
1. พนักงานทำงานวันที 1 - 90  ทำการประเมินงาน วันที่ 91 แจ้งพนักงานเรื่องการประเมินผลว่ายังไม่ผ่านแต่ให้ทำงานครบ 120 วัน  (พอครบ 120 วันแล้วให้พนักงานออกอย่างนี้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใช่หรือไม่ค่ะ)
2. พนักงานทำงานวันที 1 - 90  ทำการประเมินงาน วันที่ 91 แจ้งพนักงานเรื่องการประเมินผลว่ายังไม่ผ่านแต่ให้ทำงานครบ 120 วัน  (พอครบ 120 วันปรากฏว่าอยู่ช่วง91-120 วันนั้นทำงานได้ดีและปรับปรุงตัวเอง บริษัทจึงให้ทดลองเพิ่มอีก 30 วัน รวมเป็น 150 วัน พอครบ 150 วันปรากฏว่าไม่ผ่านทางบริษัทจึงให้ออก อย่างนี้จะต้องจ่ายค่าชดเชย 1 เดือนบวกกับการจ่าค่าแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ใช่หรือไม่ค่ะ )
3.กรณีที่พนักงานผ่านการประเมินแล้ว แต่พอมาระยะหนึ่งพนักงานเริ่มมีปัญหากับหัวหน้างาน จึงได้มีการประเมินพฤติกรรม ซึ่งหหัวหน้าประเมินงานไม่ผ่าน แจ้งให้ฝ่ายบบุคลเลิกจ้าง โดยไม่จ่ายค่าชดเชย อย่างนี้สามารถทำได้หรือไม่ค่ะ และจะมีวิธีอย่างไรชี้แจงให้พนักงานได้เข้าใจและยอมรับในการประเมินของความหัวหน้าค่ะ
 
ขอแสดงความนับถือค่ะ
POONA
 
 

 
เมื่อ 22 พฤษภาคม 2554, 21:01, lekhots <lekhots@gmail.com> เขียนว่า:

เรียน คุณ poona
 
    พอดีว่าเห็นคุณ poona มีเมล์เข้ากลุ่มเรื่องเลิกจ้าง+ทดลองงาน
และมีเมล์ที่ท่านอดิศรเคยให้คำแนะนำไว้ จึงส่งมาให้ดู (มีหลายข้อความ)
     เผื่อจะเป็นประโยชน์ครับ
 
     regards,
       lek

---------- จดหมายที่ถูกส่งต่อ ----------
จาก: lekhots <lekhots@gmail.com>
วันที่: 22 มกราคม 2554, 14:10
หัวเรื่อง: Fwd: การเลิกจ้างและการทดลองงาน Version2
ถึง: อาจารย์ อดิศร <adisorn_pers@hotmail.com>


เรียน คุณอดิศร
    ต้องขออภัยนะครับ ที่รบกวน พอดีว่า ไปนั่งอ่านที่คุณอดิศรว่าไว้อีกครั้งแล้วผมคิดว่า
ผมเข้าใจผิดแน่ๆว่า หาก นายจ้างจะเลิกจ้างทันที.....
    - ต้องมีการจ่ายชดเชยทุกกรณี และ
    - หากเลิกจ้างทันที ก็ต้องจ่ายค่าแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วย  .....ไม่ถูกต้องใช่มั๊ยครับ?
    ค่าชดเชยจะต้องจ่าย เมื่อลูกจ้างทำงานได้ 120 วันขึ้นไปใช่มั๊ยครับ
    กรณีประสงค์จะเลิกจ้างช่วง 0 - 119  วันนีั้น ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใช่หรือไม่ครับ
    แต่ถ้า 120 วันขึ้นไป หากเลิกจ้างทันทีต้องจ่ายค่าชดเชย และค่าการบอกกล่าวล่วงหน้า อันนี้ถกต้องหรือไม่ครับ
     ......ด้วยความเข้าใจใหม่นี้ ผมจึงแก้ไข Flow ใหม่ (Ver 2) ให้ท่านช่วยพิจารณาความถูกต้องให้ด้วยนะครับ
 เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกท่านอื่นๆได้ด้วย
 
ขอบคุณครับ
....เล็ก.....

---------- จดหมายที่ถูกส่งต่อ ----------
จาก: lekhots <lekhots@gmail.com>
วันที่: 21 มกราคม 2554, 21:21
หัวเรื่อง: การเลิกจ้างและการทดลองงาน
ถึง: อาจารย์ อดิศร <adisorn_pers@hotmail.com>


เรียน คุณอดิศร
 
     พอดีว่ามีประเด็นเรื่องเลิกจ้างกับการทดลองงานสอบถามกันในกลุ่มบ่อยครั้งมาก
ผมก็เลยลองทำ Flow เรื่องนี้ขึ้นมาอยากให้ช่วยพิจารณาให้หน่อยครับว่า ถูกต้องหรือไม่
โดยเฉพาะเมื่อจะเลิกจ้างแล้วจะต้องจ่ายอะไรบ้าง (ใน Flow น่ะครับ)
  
 
ขอบคุณครับ
เล็ก




ไม่มีความคิดเห็น: