เป้าหมายของการ บริหารค่าตอบแทนก็คือ การดึงดูดและรักษาพนักงานให้พร้อมที่จะทุ่มเททำงานและสร้างผลงานให้กับ องค์กร จนทำให้หลายๆ คนมองว่า ค่าตอบแทนนั้นเป็นคำตอบสุดท้ายในการรักษาพนักงานให้อยากทำงานในองค์กรต่อๆ ไปเรื่อยๆ ดังนั้นมาตรการที่ผู้บริหารระดับสูงของหลายองค์กรใช้กันมากก็คือ เมื่อพนักงานที่มีผลงานดีเลิศเดินมาหา แล้วบอกว่า ขอลาออก สิ่งที่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรนั้นทำก็คือ เพิ่มค่าตอบแทนให้ ซึ่งอาจจะเป็นการเพิ่มเงินเดือนให้ เพิ่มโบนัส หรือ เพิ่มรถประจำตำแหน่งให้ เพื่อหวังเพียงแต่ว่าให้พนักงานชั้นดีคนนั้นทำงานให้กับบริษัทต่อไป
ใน การสร้างความผูกพันของพนักงานให้เกิดขึ้นกับองค์กรนั้น เราจะต้องทำกันอย่างเป็นระบบ และบรรดาผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการ หัวหน้างาน รวมถึงตัวพนักงานเอง ก็ต้องช่วยกันทำให้มันเกิดขึ้น ความผูกพันไม่ใช่เรื่องของค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดี ความผูกพันมันเกิดขึ้นในจิตใจของคน เป็นความรู้สึกของคนที่รู้สึกว่า อยากทุ่มเททำงานให้กับบริษัท อยากสร้างความเจริญให้กับบริษัท แล้วเราจะทำอย่างไรเพื่อให้พนักงานของเราเกิดความรู้สึกผูกพันกับองค์กร
ผมได้อ่านงานวิจัยเรื่องของความผูกพัน (Engagement) ซึ่งเป็นงานวิจัยของ Towers Perrin ที่เขาทำไว้ โดยการสอบถามพนักงานถึง 90,000 คน และครอบคลุมถึง 18 ประเทศทั่วโลกในปี 2008 โดยเขาถามว่าปัจจัยอะไรเป็นตัวสร้างความรู้สึกผูกพันของพนักงานต่อองค์กร ผลที่ได้ออกมาเป็นลำดับดังนี้ครับ
- ผู้บริหารระดับสูงมีความใส่ใจและสนใจ ในเรื่องความเป็นอยู่ของพนักงาน
- มีการพัฒนาทักษะที่เป็นจุดอ่อนในผลงานของปีที่ผ่านมา
- องค์กรมีชื่อเสียงในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมภายนอก
- มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในงานของหน่วยงานที่ตนทำงานอยู่
- องค์กรตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
- ตั้งมาตรฐานของแต่ละบุคคลให้สูงขึ้น
- มีโอกาสเจริญก้าวหน้าในสายอาชีพ
- มีการมอบหมายงานที่ท้าทาย และเป็นงานที่เพิ่มทักษะและความสามารถ
- มีความสัมพันธ์ที่ดีกับหัวหน้างาน
- สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานในทุกระดับ
ข้างต้นก็คือ 10 อันดับที่พนักงานทั่วโลก 18 ประเทศตอบมา ซึ่งผมมองว่าประเทศไทยก็ไม่น่าจะรู้สึกแตกต่างกันไปมากนัก อาจจะมีบางอันดับที่สลับที่กันบ้างเล็กน้อย แต่ประเด็นที่อยากให้เห็นก็คือ ใน 10 อันดับที่พนักงานเลือกมานั้น ไม่มีอันดับใดที่บอกถึงเรื่องของค่าตอบแทนเลย
ดังนั้นจึงสรุปได้ง่ายๆ ว่า ค่าตอบแทนนั้นมีความสำคัญ และเป็นสิ่งที่ดึงดูดพนักงานให้เข้ามาทำงานกับบริษัทได้ กล่าวคือ บริษัทใดที่มีการจ่ายค่าตอบแทนที่สูง ก็มักจะได้รับความสนใจจากผู้สมัครมากหน่อย ส่วนเรื่องของการรักษาพนักงาน และการสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรนั้น ค่าตอบแทนแทบจะไม่มีผลอะไรมากมายเลย แม้ว่าองค์กรเราจะมีการจ่ายค่าตอบแทนที่สูงสักเพียงใด แต่ถ้าผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ไม่มีความใส่ใจในความเป็นอยู่ของพนักงานในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง คิดเพียงว่านี่ก็คือลูกจ้าง บริษัทจ่ายเงินเดือนแล้ว ก็ต้องทำงานตอบแทน ถ้าคิดแบบนี้ พนักงานก็คงจะมีความรู้สึกผูกพันต่อองค์กรได้ยากมาก
ดังนั้นอยากให้ชาว HR ที่อยากจะสร้างความรู้สึกผูกพันต่อองค์กรให้เกิดขึ้นในจิตใจของพนักงานแล้ว นั้น ให้พยายามพิจารณาเรื่องอื่นๆ ที่มีผลต่อความรู้สึกของพนักงานในการทำงานมากขึ้นด้วย ปัจจัยที่น่าจะสร้างความผูกพันให้เกิดขึ้นได้ ตามที่ผมได้เคยสอบถามกับพนักงานในหลายๆ องค์กรที่ผมได้ไปบรรยาย และเป็นที่ปรึกษาให้ก็สามารถสรุปได้ 5 ข้อดังนี้ครับ
- ผู้บริหารใส่ใจ และให้กำลังใจพนักงาน
- ผู้บริหารพูดและทำตามที่สัญญาไว้เสมอ ไม่ใช่พูดอย่างแต่ทำอีกอย่าง
- เน้นการพัฒนาทักษะและความสามารถของพนักงานให้เก่งขึ้น และมีเส้นทางความก้าวหน้าในการทำงาน
- มีหัวหน้างานที่ดี เข้าใจพนักงานทั้งเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว
- เปิดโอกาสให้แสดงความเห็น และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องราวต่างๆ ขององค์กร
ลองพิจารณาในองค์กรของเราว่าพอจะมีปัจจัยอะไรบ้างที่ยังขาดอยู่ แล้วค่อยๆ สร้างขึ้นมา การสร้างความผูกพันนั้นไม่ได้สร้างได้ในวันเดียวครับ ต้องใช้เวลา และความอดทนอย่างมาก แต่ถ้าสร้างได้แล้ว ผลที่ตามมาก็คุ้มค่ามากครับ
ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
- ร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ประกาศรับสมัครงาน สำหรับนักสรรรหา มืออาชีพ พร้อมรับส่วนลด มากมาย ถึง 31 ธันวาคม 2552 นี้ เท่านั้น
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น