การดำเนินธุรกิจที่ มีคู่แข่งอยู่ตลอดเวลา ทำให้ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เองก็ไม่หยุดหย่อนที่จะศึกษาคู่แข่ง
ผู้ที่ประกอบธุรกิจ สำเร็จ การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจที่สามารถลดต้นทุนแต่ทำกำไรได้ จนวันนี้ซีพีเอฟได้กลายเป็นบริษัทชั้นนำที่สามารถฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจได้อย่าง ดีบริษัทหนึ่ง
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารซีพีเอฟ บอกว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาซีพีเอฟ ได้เข้าไปศึกษาตัวอย่างบริษัทในอเมริกา โดยศึกษาบริษัทชั้นนำใหญ่ๆ ว่าเขาทำธุรกิจกันอย่างไรอย่างเช่น ไทสัน สมิทฟิลด์ คอร์นาก้า เนสท์เล่ มาแล้ว พร้อมกับยึดโมเดลของ "คอร์นาก้า" เขาสามารถลดลงทุนต้นทางได้ ทำแต่ ฟู้ดกับแบรนด์ ช่องทางการจัดจำหน่าย และมาร์เก็ตติ้ง
ซีพีเอฟได้วาง position ในอนาคต ต้องจะเป็น “Kitchen of the World” ต้องไปทำฟู้ด เมื่อทำฟู้ดก็ต้องมีแบรนด์มีขายไปทั่วโลกให้ได้ จะไม่ได้เอาเงินไปใส่ต้นทางการลงทุนอีกแล้ว อย่างคอร์นาก้า เขาขายต้นทางไปหมดเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว ซึ่งมีอยู่ประมาณ 13 คอมเพล็กซ์ ขายทิ้งหมด
นายอดิเรก บอกว่าซีพีเอฟต้องปรับโมเดลการทำธุรกิจใหม่ โดยวางแผนการลงทุนช่วงละ 5 ปี เน้นการใช้ "เอาท์ซอร์ส" มากขึ้น ร่วมกับผู้ผลิตเพื่อผลิตสินค้าให้ โดยเฉพาะในส่วนของต้นทาง ทั้งฟาร์มและ processing แต่ซีพีเอฟจะหันไปเน้นเรื่องฟู้ดมากขึ้น ทำในลักษณะ win-win วิธีนี้จะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ หลายบริษัทในต่างประเทศก็มีแผนการลงทุนลักษณะนี้
"ผมศึกษากลยุทธ์เขามาว่ามีวิธีการอย่างไร performance เป็นอย่างไร ผมต้องติดตามหมด เวลาที่เราไปเจอนักลงทุน เขามักถามว่าบริษัทใดอยู่ในใจคุณ ผมก็บอกว่าผมอยากทำตัวเหมือนคอร์นาก้า เพราะคอร์นาก้า สามารถลดลงทุนต้นทางได้ ทำแต่ฟู้ดกับแบรนด์ ช่องทางการจัดจำหน่าย และมาร์เก็ตติ้ง" นายอดิเรก กล่าว
จากการศึกษาคู่แข่ง ศึกษาตลาด และการบริหารจัดการ จนสามารถลดต้นทุนการผลิตได้เหนือคู่แข่ง ทำให้วันนี้ซีพีเอฟ ได้กลายเป็นบริษัทที่สามารถบริหารธุรกิจฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี บริษัทหนึ่งจนกลายเป็นบริษัทที่สร้างกำไรได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
กระทั่งเมื่อต้นปี 2552 ได้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลกขึ้น นายอดิเรก บอกว่านอกเหนือจากยึดแนวบริหารจากบริษัทชั้นนำแล้ว ซีพีเอฟยังได้ดำเนินการใน 3 เรื่องใหญ่ๆ เพื่อฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เรื่องแรก ปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนของธุรกิจ เรื่องที่สอง การเตรียมความพร้อมของบุคลากร ทั้งการฝึกอบรมและการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ เรื่องที่สาม เน้นการวิจัยและพัฒนา “อาหารคน” อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ปลอดสาร เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน รวมถึงการทำแบรนด์สินค้า ภายใต้ตราบริษัท และเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้า เพื่อให้สินค้าสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง
ขณะเดียวกัน ซีพีเอฟยังได้ปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจ โดยให้ความสำคัญกับการขยายธุรกิจที่มีความมั่นคงในการสร้างกำไร แบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก อาหารสัตว์ (FEED) การเลี้ยงสัตว์ (FARM) และอาหารคน (FOODS) เพื่อให้เกิดเสถียรภาพในการทำกำไรที่มั่นคง สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
นายอดิเรก บอกว่าการดำเนินธุรกิจอาหาร ซึ่งเป็นธุรกิจที่ไม่หวือหวาตามสภาพเศรษฐกิจ มีการเติบโตตามความต้องการของผู้บริโภคทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ส่วนกิจการในต่างประเทศที่ซีพีเอฟเข้าไปลงทุน ปัจจุบันมีจำนวน 9 ประเทศ เช่น ตุรกี อินเดีย รัสเซีย ลาว ไต้หวัน ผลการดำเนินงานที่เติบโตมาก เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ผลการดำเนินงานในภาพรวมของบริษัท มีการขยายตัวที่โดดเด่น
ส่งผลให้ผลประกอบการในช่วง 9 เดือน ปี 2552 สูงเป็นประวัติการณ์ ด้วยยอดขายรวม 119,000 ล้านบาท กำไรสุทธิ 8,080 ล้านบาท เป็นกำไรที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์
ส่วนปี 2553 บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตของยอดขายเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ไว้ประมาณ 5-7% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 170,000 ล้านบาท โดยกลยุทธ์หลักบริษัทยังคงเน้นเรื่อง "สร้างแบรนด์" ให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกสร้าง FOOD สร้างช่องทางขาย CP FRESHMART ขยายเชนไก่ย่างห้าดาว ข้าวมันไก่ เชื่อว่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้ซีพีเอฟ ด้วยการขยายธุรกิจในประเทศจะเน้นการผลิตสินค้าอาหารเป็นสำคัญ
โดยเฉพาะการผลิตอาหารจากสัตว์น้ำ เพื่อจำหน่ายในประเทศ และส่งออกไปต่างประเทศ ทั้งในสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น และประเทศในเอเชีย เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ เมนูอาหารแปรรูปที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ถือเป็นผลิตภัณฑ์ยอดนิยม (PRODUCT CHAMPION) ทั้งจากในและต่างประเทศ เช่น เกี๊ยวกุ้ง
นายอดิเรก ย้ำว่าบริษัทจะยังคงเน้นการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงโครงการด้านการประหยัดพลังงาน เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกด้วยต้นทุนที่แข่งขันได้ สำหรับการลงทุนในต่างประเทศ จะยังคงขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เช่น รัสเซีย ดำเนินการในส่วนของโรงงานอาหารสัตว์และฟาร์มสุกร ซึ่งมีความต้องการบริโภคเนื้อสุกร และที่ตุรกี ได้มีการลงทุนด้านอาหารแปรรูป
สำหรับเป้าหมายใน 5 ปีข้างหน้า บริษัทจะปรับสัดส่วนของธุรกิจ 3 ส่วน ให้มีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ได้แก่ อาหารสัตว์ ฟาร์ม และธุรกิจอาหารคน โดยเฉพาะในธุรกิจอาหารคน จะเน้นการเพิ่มมูลค่าโดยการแปรรูปอาหารมากขึ้น
นอกจากนี้ โครงการคืนกำไรให้กับสังคม ยังคงเป็นเรื่องหลักๆ ที่ซีพีเอฟให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ด้วยเป้าหมายการเป็นองค์กรที่ดีของสังคม เช่น โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน
--
ในเวลา ช่วงวันหยุดพักผ่อน และ เดินทางท่องเที่ยว ของท่าน อย่าเก็บความประทับใจนั้นไว้คนเดียว เชิญ เข้ามาร่วม post ใน web board
http://www.thebestinsure.com/
เพื่อแบ่งปันความสุข ความประทับใจ โดยเล่าเรื่องราว การเดินทางนั้น ในหัวข้อ ทริปเดินทางที่ข้าพเจ้าประทับใจ
กระทู้ของใครได้รับการโหวตจากผู้ชมมากที่สุด 3 อันดับแรก จะได้รับบัตรกำน้ล ของห้าง เซ็นทรัล มูลค่า 500 บาท จำนวน 3 รางวัล
โดยท่านที่จะร่วมโหวตสามารถให้คะแนนได้ดังนี้
ชอบมากที่สุด เรียงลำดับจนถึงน้อยที่สุด จาก 5 ,4 , 3 , 2 , 1
โดยให้เริ่มตั้งแต่ วันนี้ และจะสรุปผล ในวันที่ 25 มค. 2553
ขอให้ท่องเที่ยวอย่างมีความสุข และ เดินทางไป-กลับโดยสวัสดิภาพ ทุกท่านครับ
--
- ร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ประกาศรับสมัครงาน สำหรับนักสรรรหา มืออาชีพ พร้อมรับส่วนลด มากมาย ถึง 31 ธันวาคม 2552 นี้ เท่านั้น
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น