สาโรจน์ มณีรัตน์ - เส้นทางเศรษฐี เรื่อง
พนักงานคือทุนสำเร็จ
ครั้งหนึ่ง สองพี่น้องตระกูลตั้งมติธรรม เคยจับมือร่วมกันผุดโครงการจัดสรรหมู่บ้านชวนชื่น ขึ้นตามเขตพื้นที่ต่างๆ
ซึ่งแต่ละโครงการล้วนต่างขายดีเป็นเทน้ำเทท่า
เหตุที่ขายดี นอกจากเป็นฝีมือของน้องชาย "ประทีป ตั้งมติธรรม" ส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่ง น่าจะเป็นฝีมือของพี่ชาย "ชวน ตั้งมติธรรม" ด้วย
เพราะ "ประทีป" เรียนจบปริญญาตรี คณะสถาปัตย์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทคณะสถาปัตย์ สาขาการเคหะ จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ดังนั้น เรื่องของการออกแบบ ตกแต่งภายใน ให้โครงการดูโดดเด่น และต่างไปจากโครงการอื่นๆ จึงเป็นฝีมือของ "ประทีป" ล้วนๆ
ขณะที่ "ชวน" มีความเก่งกาจในเรื่องของการเลือกทำเล งานขาย และงานวิศวกรรมก่อสร้าง
ดัง นั้น เมื่อเก่ง+เฮง จึงทำให้โครงการหมู่บ้านชวนชื่น รวมถึงผู้บริหารทั้ง 2 คน จึงเป็นที่สนใจของเหล่าบรรดานักธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
เพราะ ขณะนั้น ยังมีนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อยู่เป็นจำนวนน้อย ดังนั้น เมื่อใครเข้ามาในธุรกิจไลน์เดียวกัน และยิ่งเข้ามาด้วยความสด บวกกับความแปลกใหม่ของรูปแบบโครงการ โครงการเหล่านั้นจึงกลายเป็นที่สนใจของผู้คนทั่วไป
แต่เมื่อถึงกาล ที่ต้องสร้างดาวคนละดวง โดย "ชวน" ผู้พี่ยังทำโครงการหมู่บ้านชวนชื่นต่อไป พร้อมกับแตกไลน์ในธุรกิจก่อสร้างในทุกๆ เซ็กเมนต์
ส่วนผู้น้อง "ประทีป" หันไปสร้างแบรนด์ศุภาลัยด้วยตนเอง
"ประทีป" บอกว่า "ศุภาลัย" แปลว่า...ที่อยู่อาศัยอันเป็นมงคล
ดัง นั้น ที่อยู่อาศัยอันเป็นมงคล ของ "ประทีป" ในโครงการแรกจึงอุบัติขึ้นที่เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ ในชื่อโครงการว่า ศุภาลัย เลค 1 เมื่อเดือนตุลาคม 2532
โครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว!
ต่อ มาราวเดือนพฤษภาคม ปี 2533 จึงเปิดโครงการที่ 2 เป็นคอนโดมิเนียมชื่อ ศุภาลัยเพลส ในซอยสุขุมวิท 39 และเดือนตุลาคมปีเดียวกัน เปิดอีกหนึ่งโครงการคือ ศุภาลัย เลค 2 พร้อมกับเพิ่มทุนจากทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 100 ล้านบาท เป็น 150 ล้านบาท
ก่อน ที่ "ประทีป" จะรุกคืบไปเปิดอีก 1 โครงการ บริเวณริมแม่น้ำป่าสัก จังหวัดสระบุรี ในชื่อโครงการว่า ศุภาลัยป่าสัก รีสอร์ต พร้อมกับเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 180 ล้านบาท และเพิ่มทุนอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน เป็น 225 ล้านบาท
แล้วต่อจากนั้นแบรนด์ศุภาลัยก็ขจรขจายไปทั่ว!
ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ คอนโดมิเนียม และออฟฟิศ บิลดิ้ง ที่ต่างผุดขึ้นเหมือนดอกเห็ด ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
ซึ่ง แต่ละโครงการเหมือนทำท่าจะไปได้ดี แต่แล้วสิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น เมื่อรัฐบาลประกาศลดค่าเงินบาท ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 จึงทำให้ "ประทีป" และบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) จำต้องแบกรับภาระหนี้สูงถึง 6,700 ล้านบาท
"ประทีป" ยอมรับว่าช่วงแรกเขามึนตึบอยู่เหมือนกัน ทำอะไรไม่ถูก แต่เมื่อสติกลับคืนมา เขาและภรรยา (อัจฉรา ตั้งมติธรรม) จึงวางแผนเจรจาเพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้
โดยแบ่งออกเป็นการชำระหนี้ในประเทศ และหนี้ต่างประเทศ
พอ 3 ปีผ่านไป ทุกอย่างจึงกลับเข้าสู่ภาวะปกติ "ประทีป" บอกว่าช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ไม่เพียงทำให้เขา และพนักงานในบริษัทรู้ซึ้งถึงคำว่า...การรู้จักประมาณตน
ยังทำให้เขาทุกคนรู้ซึ้งถึงคำว่าสามัคคีคือพลังด้วย
เพราะขณะนั้น ผู้บริหารทุกคนต่างช่วยกันประหยัด ต่างช่วยกันเร่งทำงาน เพื่อให้บริษัทฟื้นตัวเร็วที่สุด
"ประทีป" บอกว่า ความสำเร็จของคนทุกคน ล้วนมีที่มาที่ไปทั้งสิ้น แต่มีสักกี่คนจะเข้าใจว่า การที่บริษัท หรือโครงการต่างๆ ตั้งตระหง่านอวดโฉมไปในแต่ละที่ หาใช่มีแต่วิสัยทัศน์ หรือเงินในกระเป๋าของผู้บริหารเท่านั้น หากหยาดเหงื่อของพนักงานทุกคน ก็ล้วนมีส่วนหลอมรวมอยู่ในนั้นด้วย
"ประทีป" จึงค่อนข้างเชื่อว่า ความสำเร็จของคนไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ ยิ่งคนผู้นั้นไม่รู้จักมองคนอย่างคนด้วย ยิ่งเกิดยากใหญ่
ดัง นั้น การที่บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ผ่านมรสุมครั้งสำคัญมาได้ ไม่ใช่เป็นเพราะฝีมือของ"ประทีป" และ "อัจฉรา" เท่านั้น หากเกิดขึ้นจากพนักงานทุกคน
พนักงานทุกคนที่ทุกวันนี้ "ประทีป" ยังต้องหาเวลามานั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และมุมมองอยู่เสมอ เพื่อบอกเขาทุกคนว่า...ประสบการณ์ที่ผมมี ผมอยากแลกเปลี่ยนกับคุณ และประสบการณ์ที่คุณมี ผมก็อยากที่จะฟัง และน้อมนำไปปฏิบัติด้วย
ทั้ง นั้นเพราะเขาเชื่อว่าผู้บริหารจำเป็นต้องฟังเสียงของพนักงาน ขณะเดียวกัน พนักงาน ก็จำต้องรับฟังความคิด และมุมมองของผู้บริหารด้วย
เสมือนเป็นการเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน
ฉะนั้น จึงไม่แปลกเมื่อวันหนึ่ง "ประทีป" จะถูกยกย่องจากหน่วยงานราชการทั้งภาครัฐ และเอกชน ให้เป็นนักบริหารดีเด่น
แต่ เขายังมีความเชื่อแบบส่วนตัวว่า...ผมแค่เป็นเพียงคนทำงานคนหนึ่ง แต่ที่บริษัทเติบโตมาจนถึงทุกวันนี้ หาใช่เพราะผมเพียงคนเดียว แต่เป็นเพราะพนักงานเกือบพันคนต่างหาก
ที่พร้อมยืนอยู่บนหลักปรัชญาความเชื่อ 3 ประการคือ
หนึ่ง ความเป็นเลิศในสินค้า และบริการ
สอง ผลกำไรสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
สาม บริษัทจะต้องอยู่บนพื้นฐานที่มีความมั่นคงอย่างถาวร
อันเป็นหลักปรัชญาที่ "ประทีป" ยึดถือ และปฏิบัติมาจนทุกวันนี้
ทุก วันที่บริษัทสามารถก้าวข้ามพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ มาจนสู่จุดสูงสุดของการแข่งขัน ที่ไม่เพียงจะมีผู้บริหารยืนเคียงข้างพนักงานเสมอมา และเสมอไป
แต่ยังมี "ประทีป ตั้งมติธรรม" ยืนเคียงบ่าเคียงไหล่ตลอดไปด้วย?
--
- ร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ต้อนรับปีใหม่ สำหรับนักสรรรหามืออาชีพ พร้อมรับส่วนลด มากมาย ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2553 นี้ เท่านั้น
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น