ครับ ก็ด้วยความเคารพเช่นกัน และผมเองก็ยินดีแชร์ข้อคิดเห็นต่างๆกับทุกท่านครับ ประเด็นที่ผมให้ความสำคัญในกรณีเช่นนี้ บอกตามตรงว่าสาระเรื่องกฎหมายที่จะใช้หาช่องทางในคดีนั้น มันก็มีในหลายประเด็นอย่างที่ท่านยกมานั้น (ซึ่งผมก็ยกมาในบางประเด็นเช่นกัน) ผมจะไม่ให้ความสำคัญมากนักหรอกครับ จริงอยู่ว่าหากศาลเอาประเด็นเหล่านี้มาทำให้ลูกจ้างชนะคดี ก็พอมีทางอยู่บ้าง แต่ประเด็นที่ผมให้ความสำคัญมากที่สุดคือ พฤติการณ์ของลูกจ้างมากกว่ายิ่งทำงานด้านบุคคลด้วย นอกเสียจากว่าลูกจ้างถูกกลั่นแกล้งก็ว่าไปอย่างครับ แต่หากว่ามีพฤติการณ์ มาสาย ขาดงาน บ่อยจริง บอกตามตรงว่าไม่ควรฟ้องศาลด้วยซ้ำไป ควรจะยอมรับและใช้เป็นบทเรียนในการทำงานในอนาคต เพราะมันไม่ได้อะไรขึ้นมาครับ มีแต่เสียเท่านั้น ถ้าลูกจ้างชนะ ท่านคิดว่าในอนาคตลูกจ้างคนนี้เค้าจะมีพฤติการณ์ในการทำงานต่อไปอย่างไร ผมห่วงอนาคตของเค้านะครับ หรือหากแพ้ความรู้สึกเค้าจะเป็นอย่างไร สาระเริ่องกฎหมายถ้าใครไม่รู้ว่าเอกสารควรทำอย่างไรที่มันถึงจะถูกต้องเป็นอีกประเด็นที่ฝ่ายบุคคลควรศึกษาไว้ด้วย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและชัดเจนเช่นกัน ผมจะไม่เข้าข้างฝ่ายใดหรอกนะครับ ถ้าใครที่ติดตามผมมาโดยตลอดก็คงทราบดี ถ้านายจ้างผิดผมก็แนะนำให้ลูกจ้างฟ้อง แต่หากลูกจ้างผิดก็จะให้ยอมรับไป มันจะดีกว่าไปหาช่องทางครับ
--- Original Message ---
From: "สุทธิรักษ์ วิชัยโคตร" <sutthiruklawyer@gmail.com>
Sent: 28 พฤษภาคม 2014 17:02
To: siamhrm@googlegroups.com
Subject: ตอบกลับ: Fwd: [JobSiam.com :54948] เรื่อง การเลิกจ้างงานพนักงานบริษัท
--- Original Message ---
From: "สุทธิรักษ์ วิชัยโคตร" <sutthiruklawyer@gmail.com>
Sent: 28 พฤษภาคม 2014 17:02
To: siamhrm@googlegroups.com
Subject: ตอบกลับ: Fwd: [JobSiam.com :54948] เรื่อง การเลิกจ้างงานพนักงานบริษัท
ด้วยความเคารพต่อ อ.อดิศร ครับ ขออนุญาตเห็นแตกต่างนะครับ ด้วยเห็นว่าหนังสือเตือนนายจ้างควรระบุให้ชัดแจ้งว่าพนักงานทำผิดวันไหน ที่บอกว่าขาดงาน ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ขาดเมื่อวันที่เท่าไหร่ สายตั้งแต่วันใด ถึง วันใด เป็นเวลากี่ชั่วโมง หนังสือเลิกจ้างพนักงาน แท้จริงแล้ววันที่ 2 ที่พนักงานขาดงานบริษัทฯเสียหายหรือไม่ แล้วพฤติการณ์ที่เขียนในหนังสือเตือนหรือเลิกจ้าง บรรยายเยอะแยะจนไม่รู้ว่าเหตุที่เตือนหรือเลิกจ้างสาเหตุหลักคืออะไร พฤติการณ์น่าต่อสู้คดีครับ แต่นัดแรกศาลแรงงานไกล่เกลี่ยอยู่แล้วครับ แต่ถ้าไกล่เกลี่ยแล้วลูกจ้างกลับบ้านมือเปล่า ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรับทุกอย่าง
ขอบคุณครับ
รักษ์
ถ้าน้องไม่มีเพื่อนร่วมเจรจาแอด Line หาผมได้นะครับ ยินดีไปเป็นเพื่อน เพราะมีประเด็นอยากไปปรึกษาข้อกฎหมายกะศาลแรงงานอยู่ด้วย
Line : sutthiruk_w
ส่งจาก Samsung Mobile
-------- ข้อความดั้งเดิม --------
จาก: JiewJiew Toa
วันที่:28/05/2014 10:42 (GMT+07:00)
ถึง: siamhrm@googlegroups.com
เรื่อง: Fwd: [JobSiam.com :54941] เรื่อง การเลิกจ้างงานพนักงานบริษัท
สวัสดีค่ะสมาชิก SIAMHRM
ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง
ศิริกานดา
28 พ.ค. 2557
Sent from my iPad
Sent from my iPad
Begin forwarded message:
From: Law Office <panitilaw@gmail.com>
Date: 28 พฤษภาคม 2557 8 นาฬิกา 27 นาที 39 วินาที GMT+7
To: "siamhrm@googlegroups.com" <siamhrm@googlegroups.com>
Subject: Re: [JobSiam.com :54932] เรื่อง การเลิกจ้างงานพนักงานบริษัท
Reply-To: siamhrm@googlegroups.com
หากจะให้ชัดเจน ต้องเอาคำสั่งตักเตือนมาอ่านให้ละเอียดว่าถ้อยคำและประเด็นการตักเตือนครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นช่องทางที่น่าจะมีทางรอดได้บ้างส่วนกรณีการฉีกใบลากิจซึ่งอนุมัติแล้ว หากสามารถพิสูจน์ได้ว่าบริษัทกระทำการเช่นนั้นจริง เราจะได้ประเด็นเรื่องเจตนาของนายจ้าง ประกอบการพิจารณาว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ ประเด็นเล็กน้อยที่มีก็ต้องเก็บเป็นข้อมูลครับ เพราะเท่าที่พิจารณาอย่างคร่าวๆ ก็เหมือนหมดทางสู้แต่น่าจะมีช่องไปได้บ้างครับ ใบเตือน น่าจะเป็นทางสู้ครับปนิธิ
เมื่อ 26 พฤษภาคม 2557 00:43, สมสกุล ภู่ธราภรณ์ <somsakul.tor@gmail.com> เขียนว่า:
ทำตามกฎหมายแรงงาน การเตือนไม่ได้เป็นเหตุเหมือนกัน พบแรงงาน แล้วให้เจ้าหน้าที่ทำงานแทนเราครับ
เมื่อ 15 พฤษภาคม 2557 03:12, สิทธิศักดิ์ เพียเอีย <sittisak80@windowslive.com> เขียนว่า:
ขอเสนอแนะละกันนะครับ....ก็ให้การตามที่เล่ามานี่ละครับ.....อย่างน้อยก็ได้ค่าชดเชยแน่นอนครับ...อย่าใจอ่อนก่อนละกัน
From: sirikanda_toa@hotmail.com
To: siamhrm@googlegroups.com
Subject: [JobSiam.com :54837] เรื่อง การเลิกจ้างงานพนักงานบริษัท
Date: Wed, 14 May 2014 18:17:24 +0000
สวัสดีค่ะสมาชิก SIAMHRM
ดิฉันมีเรื่องรบกวนสอบถามว่า กรณีถูกเลิกจ้างโดยได้รับหนังสือเตือน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เตือนกระทำความผิดวินัย เรื่อง มาทำงานและขาดงานบ่อยครั้ง ลว. 30 กรกฏาคม 2556 ครั้งที่ 2 เตือนกระทำความผิดวินัย เรื่อง มาทำงานสายคล้ายกับครั้งแรก ลว. 10 กุมภาพันธ์ 2557 และครั้งที่ 3 เตือนกระทำความผิด ลว. 7 พ.ค. 2557 และถูกเลิกจ้างเลย โดยยกประเด็นการลากิจมาเป็นความผิด เนื่องจากว่าในวันที่ 2 พ.ค. 2557 ที่ผ่านมา ลูกจ้างได้ยื่นใบลากิจล่วงหน้า เขียนใบลาวันที่ 23 เม.ย. 2557 และฝ่ายบุคคลเซ็นอนุมัติแล้วเรียบร้อย ลว. 28 เม.ย. 2557 (ใบลาจะส่งให้ฝ่ายบุคคลเซ็นสัปดาห์ละครั้ง) ตามกฎระเบียบการลากิจต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน แต่พอมาถึงบ่ายวันที่ 30 เม.ย. 2557 ฝ่ายบุคคลกลับเอาใบลาลูกจ้างไปขีดยกเลิกการลาดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า ในวันที่ 2 พ.ค. 2557 จะมีการติดตั้งโปรแกรมเงินเดือน จึงไม่อนุญาตให้ลา เพราะเป็นงานในหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบ แต่ว่าลูกจ้างได้จองตั๋วและวางแผนการเดินทางไว้แล้วเรียบร้อยจึงไม่สามารถที่จะมาทำงานได้แล้วในวันที่ 2 พ.ค. ก่อนที่ฝ่ายบบุคคลจะเซ็นอนุม้ติใบลาก็ไม่แจ้งให้ทราบก่อนว่าลาวันนี้ไมไ้ด้นะ ดังนั้นลูกจ้างจำเป็นต้องขาดงาน และลูกจ้างลากิจแค่ 1 วัน รวมหยุดติดกัน 2 วัน เพราะวันที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น