สวัสดีครับ อดิศร ครับ
ระเบียบที่ออกมาในลักษณะนี้ นายจ้างจะมีความผิดตามมาตรา 32 มาตรา 57 และมาตรา 76 ครับ
รวมทั้งการที่ไม่มีระเบียบหรือให้สิทธิลูกจ้างในการลากิจก็ผิดในมาตรา 34 ด้วยครับ
นอกจากนี้การที่ให้ลูกจ้างไปใช้เป็นการลาพักร้อนแทน ซึ่งการลาพักร้อนไม่มีในกฎหมายนะครับ
มีแต่วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามมาตรา 30 ซึ่งเป็นวันหยุด ไม่ใช่วันลาและนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างด้วยตามมาตรา 56
ลูกจ้างมีสิทธิไปร้องเรียนหรือฟ้องศาล และจะศาลใช้มาตรา14/1 ยกเลิกระเบียบที่เป็นการเอาเปรียบลูกจ้างเกินสมควรนี้ได้
และที่สำคัญขอบอกว่าระเบียบเช่นนี้จะทำให้นายจ้างเสียเปรียบในคดีแรงงาน หากลูกจ้างไปฟ้องถึงแม้ว่าลูกจ้างจะผิดจริง
เช่นอาจจะลาป่วยเป็นเท็จ นายจ้างก็จะไม่สามารถเอาผิดทางวินัยร้ายแรงได้ครับ
แนะนำดังนี้ครับ
1. ยกเลิกระเบียบการลาป่วยดังกล่าวนี้ กำหนดระเบียบการลากิจออกมาซึ่งการลากิจนั้น นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างให้หรือไม่ก็ได้
หรือในปีหนึ่งจะจ่ายให้กี่วันก็ได้ครับ ส่วนเรื่องวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นไปแก้ไขใหม่ ห้ามใช้คำว่าลาพักร้อนในทุกเอกสาร
เพราะไปใช้คำนี้แล้วระเบียบจะเป็นโมฆะ
2. เข้าใจครับว่านายจ้างต้องการแก้ปัญหาการลาป่วยที่มีมากเกินไป แต่ถามว่าวิธีการหักค่าจ้างเช่นนี้ สถิติการลาป่วยลดลงหรือไม่ บอกได้เลยครับว่าไม่มีทางลด มีแต่จะเพิ่มครับ เพราะไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ และไม่ได้ใช้มาตรการทางวินัยในการแก้ปัญหากับพนักงานทีีมีปัญหา อีกทั้งจะเป็นการสร้างให้พนักงานมีทัศนคติที่ไม่มีต่อองค์กรด้วย และผลกระทบที่วัดเป็นตังเงินได้ยากก็คือประสิทธิภาพพนักงานจะลดลงหรือเค้าไม่ได้ผลักดันศักยภาพออกมาเต็มที่ ทำงานไปวัน ๆ เท่านั้น เพราะขาดความสุขขาดขวัญกำลังใจในการทำงานครับ และทัศนคติที่ไม่ดีนี้มันจะขยายวงกว้างไปเรื่อย ๆ พนักงานเค้าไม่แคร์หรอกครับ
ว่าจะโดนหักเงินไปเท่าไหร่ เผลอ ๆ อาจจะมีการแข่งขันทำยอดหักเงินขึ้นมาด้วยซ้ำ
และผมเขื่อว่าสถิติการลาออกก็จะเยอะเช่นเดียวกันนะครับ
จึงแนะนำว่า ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล ทำบันทึกประวัติการหยุดงานเป็นรายบุคคล ลักษณะเหมือนกับปฏิทินส่วนบุคคลครับ ในบันทึกนี้เราจะเห็นถึงพฤติการณ์การหยุดงานของพนักงานทุกคนได้ชัดเจน ให้ทำในทุกตำแหน่งงานนะครับ หัวหน้าก็ไม่เว้น
เพื่อความเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
ใครที่มีประวัติการหยุดงานมาก เช่นลาป่วยมากผิดปกติวิสัย ก็ขึ้นแบลคลิสไว้รอการสอบสวนในแต่ละเดือน
หรือหากพบว่ามีโรคประปลาดบางอย่างเช่น โรคแพ้เงินเดือน คือเงินเดือนออกเมื่อไหร่วันรุ่งขึ้นจะป่วยทันที
หรือประเภทแพ้วันหยุดคือมักป่วยติดกับวันหยุด หรือเป็นโรคแพ้เพื่อน คือป่วยพร้อมเพื่อนเป็นประจำ
การป่วยประเภทนี้ นายจ้างมีอำนาจในการพิจารณาโทษได้นะครับ
โดยครั้งแรกที่เจอเราเรียกมาให้ใบเตือนก่อนได้เลย ในข้อหามีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต ถ้ายังเจออีก เลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่จ่ายค่าชดเชยครับ แต่มีเทคนิคทางกฎหมายนิดนึงนะ คือค่าจ้างในวันลาป่วยอย่าไปหักนะครับ ให้จ่ายไปตามมาตรา57 ไม่ต้องไปเสียดายเงินครับ เพราะหากเราไปหัก แทนที่จะเป็นความผิดทางวินัยร้ายแรงตามมาตรา 119 ( 1 ) เราจะทำไม่ได้ครับ
เพราะไม่เข้าข่ายทุจริตต่อหน้าที่ ลูกจ้างไม่ได้ประโยชน์ที่เป็นตัวเงินจากการลาป่วยเท็จและนายจ้างก็ไม่ได้เสียประโยชน์อะไรเนื่องจากไปหักค่าจ้างพนักงานแล้ว จะไปเอาผิดด้วยการเลิกจ้างทันทีโดยไม่จ่ายค่าชดเชยจะทำไม่ได้ครับ
( นี่คือเหตุผลสำคัญครับว่าเราไม่ควรไปหักค่าจ้าง หักเมื่อไหร่นายจ้างเสียเปรียบคดีเมื่อนั้นและนายจ้างเองก็มีความผิดตามที่กล่าวมาข้างต้นอีกด้วยครับ )
กรณีที่พนักงานป่วยมาก แต่ไม่มีหลักฐานหรือพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต ให้เรียกพนักงานมีคุยครับ ชี้แจงว่ามันทำให้บริษัทเสียหาย ให้พนักงานไปรักษาตัวดูแลสุขภาพให้ดี หรือบางเคสเราอนุญาติให้พนักงานลาไปรักษาตัวเลยครับ ค่าจ้างในวันลาป่วยก็ให้ตามมาตรา 57 และหากว่า พนักงานยังป่วยบ่อยอยู่อีก ก็เลิกจ้างเลยครับโดยจ่ายค่าชดเชยให้ไปเลย
ในข้อ 2 นี้จะทำได้โดยการยกเลิกข้อ 1 เสียก่อนนะครับ
ลองดูสิครับ ถ้ามีสักเคสสองเคสเกิดขึ้น สถิติการลาป่วยจะลดลงทันที
3. เป็นเรื่องของจิตวิทยาและการปกครองรวมทั้งเรื่องของอาชีวอนามัยในสถานประกอบกิจการครับ
ต้องไปสังเกตุดูว่าสภาพหรือสิ่งแวดล้อมในการทำงานเป็นอย่างไร ที่แน่ ๆ เชื่อได้เลยว่า สภาพการทำงานและสิ่งแวดล้อมต้องไม่ดีแน่ ๆ ครับ อีกทั้งระบบแรงงานสัมพันธ์ในองค์กรก็ไม่ดีด้วย พนักงานถึงเบื่องาน ไม่อยากมาทำงานและหาเรื่องลาป่วย
เราอย่าไปโทษพนักงานฝ่ายเดียวครับ หันกลับมาสำรวจฝ่ายนายจ้างด้วยครับ
ประสบการณ์ที่ผมเจอกับตัวเองคือ จากสถิติประวัติการทำงานที่ทำในข้อ 2 เราไปเจอพนักงานในแผนกหนึ่ง ลาป่วยบ่อยมาก
ที่สุด สาเหตุเป็นเพราะหัวหน้างานในแผนกนั้นล่ะครับที่ปกครองไม่ดี ใช้วาจาไม่สุุภาพ มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก และยังกระทำผิดทางวินัยเสียเองในหลายเรื่องแต่ด้วยตำแหน่งหัวหน้าจึงมีวิธีการปกปิดที่ค้นหาได้ค่อนข้างยาก
ลองไปดูนะครับ ว่ามีบ้างมั้ย และอีกแผนกหนึ่ง พนักงานป่วยด้วยสาเหตุกล้ามเนื้ออักเสบ พอเข้าไปสำรวจสถานที่ทำงานที่แผนกนั้น ปรากฎว่า พนักงานทำงานไม่ถูกหลักการยศาสตร์ อุปกรณ์การทำงานหลายชิ้นก็ชำรุดใช้การไม่ได้ แต่หัวหน้าไม่ได้ดูแลจัดการอะไรเลย
เรื่องในข้อ 3 นี้ จำเป็นนะครับ ที่เราจะต้องเข้าไปสำรวจ ไปดูแลแก้ไข ซึ่งหากเราทำได้ดีแล้ว พนักงานจะมีขวัญกำลังใจที่ดีและรักองค์กรมากขึ้น ถึงจะป่วยเค้าก็จะมาทำงานครับ ทีนี้บางทีเราจะต้องสั่งให้พนักงานหยุด ลากลับบ้านไปพักผ่อนหรือไปรักษาตัวให้ดีเสียก่อนแล้วค่อยมาทำงาน
อย่าไปซีเรียสเรื่องใบรับรองแพทย์ครับ ตัดประเด็นนี้ทิ้งไปเลย ไม่ต้องไปใส่ใจครับ เอามาประกอบตามกฎหมายว่าป่วยสามวันขึ้นไปต้องมี หากไม่มีลูกจ้างก็ต้องชี้แจงเหตุผลให้นายจ้างทราบ นายจ้างก็เอามาพิจารณาว่าเค้าป่วยเป็นอะไร ร้ายแรงหรือไม่ ติดต่อหรือไม่ จะได้บริหารถูก เช่นถ้าเกิดเค้าเป็นโรคติดต่อ นายจ้างก็ควรสั่งให้เค้าหยุดรักษาตัวกอนด้วยซ้ำไปครับ
ถ้าเอาใบรับรองแพทย์มาเป็นระเบียบกำกับทางวินัย มันจะเอามาใช้เป็นประโยชน์ในการพิจารณาทางวินัยและใช้ในการปกครองไม่ได้หรอกนะครับ และนายจ้างก็เสียเปรียบทางคดีด้วย
คิดดูให่้ดี
อย่าลืมนะครับ ว่าใบรับรองแพทย์หามาได้ไม่ยากเย็นอะไร พนักงานบางคนไม่ได้ป่วยจริง แต่เค้ามีใบรับรองแพทย์มาแสดง
เค้าไม่ผิดตามระเบียบ แต่พนักงานบางคนป่วยจริง ๆ แต่ไม่มีใบรับรองแพทย์กลับกลายเป็นว่าเค้ามีความผิดและถูกหักเงิน
ลักษณะที่เกิดขึ้นมาในองค์กรแบบนี้ ถามว่าต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นในองค์กรครับ
อดิศร
Date: Thu, 22 May 2014 23:18:23 -0700
From: csuebwonglee@gmail.com
To: siamhrm@googlegroups.com
CC: poumsu@yahoo.com
Subject: [JobSiam.com :54898] Re: สอบถามการลาป่วยแล้วบริษัทฯหักเงิน
--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
- http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น รับส่วนลด 20% แถม Flash Drive 32G ฟรี (ขอใบเสนอราคา/โทรสอบถามทีมงานได้ค่ะ Tel.02-279-0-466) ถึง 30 เม.ย 57 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ** กด Like เป็น Fan Page ของเรานะค่ะ **
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
---
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณสมัครรับข่าวสารจากกลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์" ของ Google Groups
หากต้องการยกเลิกการสมัครรับข่าวสารและหยุดรับอีเมลจากกลุ่มนี้ โปรดส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com
ถ้าต้องการโพสต์ไปยังกลุ่มนี้ โปรดส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
โปรดดูข้อมูลกลุ่มนี้ที่ http://groups.google.com/group/siamhrm
หากต้องการดูตัวเลือกเพิ่มเติม โปรดไปที่ https://groups.google.com/d/optout
ระเบียบที่ออกมาในลักษณะนี้ นายจ้างจะมีความผิดตามมาตรา 32 มาตรา 57 และมาตรา 76 ครับ
รวมทั้งการที่ไม่มีระเบียบหรือให้สิทธิลูกจ้างในการลากิจก็ผิดในมาตรา 34 ด้วยครับ
นอกจากนี้การที่ให้ลูกจ้างไปใช้เป็นการลาพักร้อนแทน ซึ่งการลาพักร้อนไม่มีในกฎหมายนะครับ
มีแต่วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามมาตรา 30 ซึ่งเป็นวันหยุด ไม่ใช่วันลาและนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างด้วยตามมาตรา 56
ลูกจ้างมีสิทธิไปร้องเรียนหรือฟ้องศาล และจะศาลใช้มาตรา14/1 ยกเลิกระเบียบที่เป็นการเอาเปรียบลูกจ้างเกินสมควรนี้ได้
และที่สำคัญขอบอกว่าระเบียบเช่นนี้จะทำให้นายจ้างเสียเปรียบในคดีแรงงาน หากลูกจ้างไปฟ้องถึงแม้ว่าลูกจ้างจะผิดจริง
เช่นอาจจะลาป่วยเป็นเท็จ นายจ้างก็จะไม่สามารถเอาผิดทางวินัยร้ายแรงได้ครับ
แนะนำดังนี้ครับ
1. ยกเลิกระเบียบการลาป่วยดังกล่าวนี้ กำหนดระเบียบการลากิจออกมาซึ่งการลากิจนั้น นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างให้หรือไม่ก็ได้
หรือในปีหนึ่งจะจ่ายให้กี่วันก็ได้ครับ ส่วนเรื่องวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นไปแก้ไขใหม่ ห้ามใช้คำว่าลาพักร้อนในทุกเอกสาร
เพราะไปใช้คำนี้แล้วระเบียบจะเป็นโมฆะ
2. เข้าใจครับว่านายจ้างต้องการแก้ปัญหาการลาป่วยที่มีมากเกินไป แต่ถามว่าวิธีการหักค่าจ้างเช่นนี้ สถิติการลาป่วยลดลงหรือไม่ บอกได้เลยครับว่าไม่มีทางลด มีแต่จะเพิ่มครับ เพราะไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ และไม่ได้ใช้มาตรการทางวินัยในการแก้ปัญหากับพนักงานทีีมีปัญหา อีกทั้งจะเป็นการสร้างให้พนักงานมีทัศนคติที่ไม่มีต่อองค์กรด้วย และผลกระทบที่วัดเป็นตังเงินได้ยากก็คือประสิทธิภาพพนักงานจะลดลงหรือเค้าไม่ได้ผลักดันศักยภาพออกมาเต็มที่ ทำงานไปวัน ๆ เท่านั้น เพราะขาดความสุขขาดขวัญกำลังใจในการทำงานครับ และทัศนคติที่ไม่ดีนี้มันจะขยายวงกว้างไปเรื่อย ๆ พนักงานเค้าไม่แคร์หรอกครับ
ว่าจะโดนหักเงินไปเท่าไหร่ เผลอ ๆ อาจจะมีการแข่งขันทำยอดหักเงินขึ้นมาด้วยซ้ำ
และผมเขื่อว่าสถิติการลาออกก็จะเยอะเช่นเดียวกันนะครับ
จึงแนะนำว่า ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล ทำบันทึกประวัติการหยุดงานเป็นรายบุคคล ลักษณะเหมือนกับปฏิทินส่วนบุคคลครับ ในบันทึกนี้เราจะเห็นถึงพฤติการณ์การหยุดงานของพนักงานทุกคนได้ชัดเจน ให้ทำในทุกตำแหน่งงานนะครับ หัวหน้าก็ไม่เว้น
เพื่อความเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
ใครที่มีประวัติการหยุดงานมาก เช่นลาป่วยมากผิดปกติวิสัย ก็ขึ้นแบลคลิสไว้รอการสอบสวนในแต่ละเดือน
หรือหากพบว่ามีโรคประปลาดบางอย่างเช่น โรคแพ้เงินเดือน คือเงินเดือนออกเมื่อไหร่วันรุ่งขึ้นจะป่วยทันที
หรือประเภทแพ้วันหยุดคือมักป่วยติดกับวันหยุด หรือเป็นโรคแพ้เพื่อน คือป่วยพร้อมเพื่อนเป็นประจำ
การป่วยประเภทนี้ นายจ้างมีอำนาจในการพิจารณาโทษได้นะครับ
โดยครั้งแรกที่เจอเราเรียกมาให้ใบเตือนก่อนได้เลย ในข้อหามีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต ถ้ายังเจออีก เลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่จ่ายค่าชดเชยครับ แต่มีเทคนิคทางกฎหมายนิดนึงนะ คือค่าจ้างในวันลาป่วยอย่าไปหักนะครับ ให้จ่ายไปตามมาตรา57 ไม่ต้องไปเสียดายเงินครับ เพราะหากเราไปหัก แทนที่จะเป็นความผิดทางวินัยร้ายแรงตามมาตรา 119 ( 1 ) เราจะทำไม่ได้ครับ
เพราะไม่เข้าข่ายทุจริตต่อหน้าที่ ลูกจ้างไม่ได้ประโยชน์ที่เป็นตัวเงินจากการลาป่วยเท็จและนายจ้างก็ไม่ได้เสียประโยชน์อะไรเนื่องจากไปหักค่าจ้างพนักงานแล้ว จะไปเอาผิดด้วยการเลิกจ้างทันทีโดยไม่จ่ายค่าชดเชยจะทำไม่ได้ครับ
( นี่คือเหตุผลสำคัญครับว่าเราไม่ควรไปหักค่าจ้าง หักเมื่อไหร่นายจ้างเสียเปรียบคดีเมื่อนั้นและนายจ้างเองก็มีความผิดตามที่กล่าวมาข้างต้นอีกด้วยครับ )
กรณีที่พนักงานป่วยมาก แต่ไม่มีหลักฐานหรือพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต ให้เรียกพนักงานมีคุยครับ ชี้แจงว่ามันทำให้บริษัทเสียหาย ให้พนักงานไปรักษาตัวดูแลสุขภาพให้ดี หรือบางเคสเราอนุญาติให้พนักงานลาไปรักษาตัวเลยครับ ค่าจ้างในวันลาป่วยก็ให้ตามมาตรา 57 และหากว่า พนักงานยังป่วยบ่อยอยู่อีก ก็เลิกจ้างเลยครับโดยจ่ายค่าชดเชยให้ไปเลย
ในข้อ 2 นี้จะทำได้โดยการยกเลิกข้อ 1 เสียก่อนนะครับ
ลองดูสิครับ ถ้ามีสักเคสสองเคสเกิดขึ้น สถิติการลาป่วยจะลดลงทันที
3. เป็นเรื่องของจิตวิทยาและการปกครองรวมทั้งเรื่องของอาชีวอนามัยในสถานประกอบกิจการครับ
ต้องไปสังเกตุดูว่าสภาพหรือสิ่งแวดล้อมในการทำงานเป็นอย่างไร ที่แน่ ๆ เชื่อได้เลยว่า สภาพการทำงานและสิ่งแวดล้อมต้องไม่ดีแน่ ๆ ครับ อีกทั้งระบบแรงงานสัมพันธ์ในองค์กรก็ไม่ดีด้วย พนักงานถึงเบื่องาน ไม่อยากมาทำงานและหาเรื่องลาป่วย
เราอย่าไปโทษพนักงานฝ่ายเดียวครับ หันกลับมาสำรวจฝ่ายนายจ้างด้วยครับ
ประสบการณ์ที่ผมเจอกับตัวเองคือ จากสถิติประวัติการทำงานที่ทำในข้อ 2 เราไปเจอพนักงานในแผนกหนึ่ง ลาป่วยบ่อยมาก
ที่สุด สาเหตุเป็นเพราะหัวหน้างานในแผนกนั้นล่ะครับที่ปกครองไม่ดี ใช้วาจาไม่สุุภาพ มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก และยังกระทำผิดทางวินัยเสียเองในหลายเรื่องแต่ด้วยตำแหน่งหัวหน้าจึงมีวิธีการปกปิดที่ค้นหาได้ค่อนข้างยาก
ลองไปดูนะครับ ว่ามีบ้างมั้ย และอีกแผนกหนึ่ง พนักงานป่วยด้วยสาเหตุกล้ามเนื้ออักเสบ พอเข้าไปสำรวจสถานที่ทำงานที่แผนกนั้น ปรากฎว่า พนักงานทำงานไม่ถูกหลักการยศาสตร์ อุปกรณ์การทำงานหลายชิ้นก็ชำรุดใช้การไม่ได้ แต่หัวหน้าไม่ได้ดูแลจัดการอะไรเลย
เรื่องในข้อ 3 นี้ จำเป็นนะครับ ที่เราจะต้องเข้าไปสำรวจ ไปดูแลแก้ไข ซึ่งหากเราทำได้ดีแล้ว พนักงานจะมีขวัญกำลังใจที่ดีและรักองค์กรมากขึ้น ถึงจะป่วยเค้าก็จะมาทำงานครับ ทีนี้บางทีเราจะต้องสั่งให้พนักงานหยุด ลากลับบ้านไปพักผ่อนหรือไปรักษาตัวให้ดีเสียก่อนแล้วค่อยมาทำงาน
อย่าไปซีเรียสเรื่องใบรับรองแพทย์ครับ ตัดประเด็นนี้ทิ้งไปเลย ไม่ต้องไปใส่ใจครับ เอามาประกอบตามกฎหมายว่าป่วยสามวันขึ้นไปต้องมี หากไม่มีลูกจ้างก็ต้องชี้แจงเหตุผลให้นายจ้างทราบ นายจ้างก็เอามาพิจารณาว่าเค้าป่วยเป็นอะไร ร้ายแรงหรือไม่ ติดต่อหรือไม่ จะได้บริหารถูก เช่นถ้าเกิดเค้าเป็นโรคติดต่อ นายจ้างก็ควรสั่งให้เค้าหยุดรักษาตัวกอนด้วยซ้ำไปครับ
ถ้าเอาใบรับรองแพทย์มาเป็นระเบียบกำกับทางวินัย มันจะเอามาใช้เป็นประโยชน์ในการพิจารณาทางวินัยและใช้ในการปกครองไม่ได้หรอกนะครับ และนายจ้างก็เสียเปรียบทางคดีด้วย
คิดดูให่้ดี
อย่าลืมนะครับ ว่าใบรับรองแพทย์หามาได้ไม่ยากเย็นอะไร พนักงานบางคนไม่ได้ป่วยจริง แต่เค้ามีใบรับรองแพทย์มาแสดง
เค้าไม่ผิดตามระเบียบ แต่พนักงานบางคนป่วยจริง ๆ แต่ไม่มีใบรับรองแพทย์กลับกลายเป็นว่าเค้ามีความผิดและถูกหักเงิน
ลักษณะที่เกิดขึ้นมาในองค์กรแบบนี้ ถามว่าต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นในองค์กรครับ
อดิศร
Date: Thu, 22 May 2014 23:18:23 -0700
From: csuebwonglee@gmail.com
To: siamhrm@googlegroups.com
CC: poumsu@yahoo.com
Subject: [JobSiam.com :54898] Re: สอบถามการลาป่วยแล้วบริษัทฯหักเงิน
เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2014, 23 นาฬิกา 30 นาที 40 วินาที UTC+7, sureerat kanogpornkul เขียนว่า:
เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2014, 23 นาฬิกา 30 นาที 40 วินาที UTC+7, sureerat kanogpornkul เขียนว่า:
สวัสดีค่ะ พี่ๆเพื่อนๆทุกท่านคะที่บริษัท ฯ ก็เป็นแบบนี้นะคะ ถ้าไม่มีใบรับรองแพทย์ นับเป็นวันลากิจ แต่อย่างที่คุณอ้อยบอก เป็นเหตุผลเลยค่ะ เพราะสถิติขาดลามาสายในบริษัท สูงมาก
คือบริษัทไม่สามารถตรวจสอบได้เลยว่า พนักงานป่วยจริงหรือไม่ และตามหลักเหตุผล หากพนักงานป่วยจริงก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรักษาจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่านะคะ
ส่วนตามกฎหมาย นายจ้าง สามารถจ่ายค่าแรงให้ ในวันที่พนักงานลาป่วยจริงค่ะ แต่ไม่เกิน 30 วัน / ปี และเงื่อนไขที่จะจ่ายสามารถระบุในสัญญาจ้าง ตามเงื่อนไขที่บริษัทฯ ต้องการ เช่น หากจะแสดงหลักฐานการป่วย
พนักงานจึงควรมีใบรับรองจากแพทย์นะคะ
ปล.ส่วนตัวเคยปวดหัวนิดนห่อยไปพบแพทย์ คุณหมอก็เขียนใบรับรองแพทย์ให้นะคะ
เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2014, 23 นาฬิกา 30 นาที 40 วินาที UTC+7, sureerat kanogpornkul เขียนว่า:
สวัสดีค่ะ พี่ๆเพื่อนๆทุกท่านคะรบกวนสอบถามหน่อยค่ะ คือ MD มีนโยบายตั้งนานแล้วบริษัทไม่มีลากิจ ถ้าลาก็ถูกหักเงินพวกที่ ทำงานเกินปี ก้ใช้สิทธิลาพักร้อน แต่เขากลับมีนโยบายอีกข้อที่ดู ไม่น่าถูกต้อง คือการลาป่วยจะต้องมีใบรั บรองแพทย์ทุกกรณีแม้กระทั่งลา ครึ่งวัน ถ้าไม่มีใบรับรองแพทย์จะถูกหั กเงิน อย่างนี้จะถูกต้องหรือ คะ เพราะถ้าป่วยท้องเสียเป็นไข้ ก็อาจลาพักอยู่บ้าน 1 or 1/2 วันก็จบคงไม่ได้ไปหาหมดแต่ก็ไม่มีใบรับรองแพทย์ไปให้จะถูกหั กเงิน ซึ่งอย่างนี้ถูกต้องหรือคะ รบกวนแชร์ความรู้ด้วยค่ะ เพราะไม่คิดว่าจะทำได้ค่ะ รบกวนให้ความกระจ่างด้วยค่ะ เพราะถ้าทำได้จะได้เปลี่ ยนความเข้าใจค่ะ ขอบคุณมากค่ะปุ้ม
--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
- http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น รับส่วนลด 20% แถม Flash Drive 32G ฟรี (ขอใบเสนอราคา/โทรสอบถามทีมงานได้ค่ะ Tel.02-279-0-466) ถึง 30 เม.ย 57 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ** กด Like เป็น Fan Page ของเรานะค่ะ **
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
---
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณสมัครรับข่าวสารจากกลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์" ของ Google Groups
หากต้องการยกเลิกการสมัครรับข่าวสารและหยุดรับอีเมลจากกลุ่มนี้ โปรดส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com
ถ้าต้องการโพสต์ไปยังกลุ่มนี้ โปรดส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
โปรดดูข้อมูลกลุ่มนี้ที่ http://groups.google.com/group/siamhrm
หากต้องการดูตัวเลือกเพิ่มเติม โปรดไปที่ https://groups.google.com/d/optout
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น