ฉบับที่ ๑๔๕ ถอนอาการยึดมั่นความทรงจำ
การจากไปของใครบางคนที่เคยผูกพัน
ไม่ว่าจากเป็นหรือจากตาย
จะกระตุ้นให้เกิดความทรงจำที่มีร่วมกับคนคนนั้น
เด่นชัดขึ้น โดยเฉพาะฉากเหตุการณ์ที่ยังอยู่ในใจไม่รู้ลืม
ถ้าคุณจำความรู้สึกที่เกิดกับใครได้แม่น
โดยเฉพาะเรื่องราวที่ประทับใจ ฝังแน่นในจิต
คุณจะรู้สึกเหมือนเรื่องราวเพิ่งเกิดหยกๆเป็นธรรมดา
ต่างกับเรื่องราวที่สัมผัสใจได้แค่ผิวๆ
ผ่านมาแล้วผ่านไป แม้เพิ่งเกิดขึ้นไม่กี่สิบวัน
คุณก็รู้สึกเหมือนเกิดขึ้นนานกว่าเรื่องฝังใจเมื่อสิบปีก่อนได้
ความทรงจำที่ฝังแน่นไม่รู้ลืม
เป็นสิ่งที่นำมาเป็นแบบฝึกหัดเจริญสติได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เมื่อจู่ๆมันโผล่ขึ้นมารบกวนจิตใจไม่ให้เป็นสุข
รู้สึกว่ามีจริง เป็นจริงแค่เอื้อม แต่คว้ามาจับต้องจริงไม่ได้
จึงเกิดอาการทุรนทุราย
ดิ้นรนอยากหาทางให้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริงอีก
วิธีง่ายๆที่จะใช้ประโยชน์จากความทรงจำชุดนั้น
คือ นั่งดู ยืนดู เดินดู นอนดู ไปเลย
มันโผล่ขึ้นมาเมื่อไร ในอิริยาบถไหน
ให้ใช้อิริยาบถนั้นดูไปว่า
รายละเอียดของความทรงจำเป็นอย่างไร
เอาที่ปรากฏเด่นขึ้นมาก่อน
เช่น น้ำเสียง สายตา สัมผัสแตะต้อง กลิ่นอายบรรยากาศ
และที่สำคัญที่สุด ความรู้สึก ณ ขณะนั้นๆ
ที่คุณเป็นทุกข์หรือเป็นสุข มากหรือน้อยเพียงใด
ยิ่งระลึกถึงรายละเอียดให้ชัดครบบ่อยครั้งขึ้นเท่าไร
จิตของคุณจะยิ่งเสพอารมณ์ได้ชัดขึ้นเท่านั้น
และยิ่งเห็นว่า 'นั่นเป็นความทรงจำ' ชัดเจนขึ้นด้วย
จากเดิมทีที่คุณจะถูกหลอกให้อุปาทานไปว่า
'ของจริงยังอยู่' หรือ 'ของจริงน่าจะกลับมาได้'
เมื่อจิตถูกกะเทาะเปลือกอุปาทานให้หลุดร่วงได้จริง
แล้วพิจารณาว่า แม้ความทรงจำอันแจ่มชัด ณ บัดนี้
ก็มีความไม่เที่ยง ให้ชัดเจนแค่ไหน เดี๋ยวก็เลือนไป
ใจจะหลุดจากความยึดอดีต (คือเรื่องที่เคยเกิด)
เห็นแต่ปัจจุบัน (คือความทรงจำ)
ซึ่งต่างก็ไม่เที่ยงทั้งคู่
ใจจะเลิกยึดได้ง่ายๆ ไม่เอาความไม่เที่ยงทั้งคู่ง่ายๆ
ดังตฤณ
ธันวาคม ๕๗
— แนะนำหนังสือ
ชื่อหนังสือ: ใจใหม่ (BOOKSMILE และ 7Eleven เท่านั้น)
เนื้อหา: http://on.fb.me/1l4k55V
http://www.twitter.com/Dungtrin
http://www.facebook.com/Dungtrin
- หากอัญญเดียรถีย์ถามพระสงฆ์ในสมัยพุทธกาลว่า
พระพุทธองค์ทรงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อเกิดในเทวโลกใช่หรือไม่
คำตอบของคำถามนี้จะเป็นอย่างไร
ติดตามได้จาก "ธรรมะจากพระสูตร"
ในตอน "เทวสูตร ว่าด้วยสิ่งที่ควรรังเกียจ" - ใครที่ตักบาตรแต่ไม่มีโอกาสเตรียมของถวายพระสงฆ์ด้วยตนเอง
แล้วสงสัยว่าแบบนี้จะได้กุศลบ้างหรือไม่
หาคำตอบได้ใน "ดังตฤณวิสัชนา"
ตอน "ไม่ได้เป็นคนเตรียมข้าวของในการตักบาตร จะได้บุญบ้างไหม" - การเลิกจ้างพนักงานอาจนำมาซึ่งความทุกข์ของหลายคน
ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่มีหน้าที่จัดการการเลิกจ้างเอง
ส่วนจะเป็นบาปหรือไม่ และควรทำอย่างไรจึงจะดีที่สุด
ลองมาดูเรื่องราวใน "โหรา (ไม่) คาใจ" ตอน "น้ำใจนาย" ค่ะ
---
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณสมัครรับข่าวสารจากกลุ่ม "ธรรมะใกล้ตัว" ของ Google Groups
หากต้องการยกเลิกการสมัครรับข่าวสารและหยุดรับอีเมลจากกลุ่มนี้ โปรดส่งอีเมลไปที่ dharma-at-hand+unsubscribe@googlegroups.com
หากต้องการดูตัวเลือกเพิ่มเติม โปรดไปที่ https://groups.google.com/d/optout
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น