สวัสดีครับ อดิศร ครับ
การลางานจะมีองค์ประกอบอยู่สามอย่างที่ต้องพิจารณาคือ
- กฎหมาย
- ระเบียบหรือหลักเกณฑ์หรือข้อปฏิบัติในการลางาน
- เหตุผลในการขอลางานของลูกจ้างและพฤติการณ์ของลูกจ้าง
ในกรณีนี้ขอยกตัวอย่างการพิจารณาแล้วกันนะครับ เข้าใจว่าเป็นกรณีลากิจและพนักงานจะขอใช้สิทธิในการลากิจ
ประเด็นแรก กฎหมาย การลากิจ มาตรา 34 ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
หมายความว่าหากลูกจ้างมีกิจธุระอันจะเป็นแล้ว ย่อมมีสิทธิหยุดงานโดยลากิจต่อนายจ้างได้ กิจธุระอันจำเป็นหมายถึง กิจที่หากลูกจ้างไม่ไปตามที่มีกิจธุระแล้วอาจเกิดความเดือดร้อนต่อลูกจ้างได้ เช่นมีหมายนัดของทางราชการ ญาติใกล้ชิดมีปัญหาจะเป็นที่ต้องไปช่วยเหลือ หรือมีหมายนัดของแพทย์ หรือตัวเองต้องเข้าประกอบพิธีการสำคัญ ๆ ต่าง ๆ เช่น แต่งงาน อุปสมบท เป็นต้น
ทั้งนี้นายจ้างก็ต้องใช้ดุลยพินิจในการอนุญาตอย่างเป็นธรรมด้วย ส่วนคำว่าตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนั้นหมายความว่านายจ้างอาจกำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่นลูกจ้างจะต้องขออนุญาตล่วงหน้าก่อนอย่างน้อยกี่วัน และอาจกำหนดว่าจะจ่ายค่าจ้างในวันลากิจให้ด้วยหรือไม่อย่างไรก็ได้
ประเด็นที่สอง ระเบียบหรือหลักเกณฑ์ที่นายจ้างกำหนดนั้นจะต้องไม่ไปขัดกับกฎหมายด้วยและเมื่อมีระเบียบกฎเกณฑ์ที่ถูกต้องแล้ว เวลาเราพิจารณาเพื่อจะตัดสินอะไรต่าง ๆ ก็ต้องแยกแยะให้ดี
อย่างในกรณีที่คุณมีปัญหาถามมานี้ว่า จะเรียกว่าเป็นการลางานหรือขาดงาน
ก็ต้องมาพิจารณาเหตุผลประกอบของลูกจ้างในประเด็นทีสามด้วยครับว่าลูกจ้างมีเหตุผลอย่างไรบ้าง
มีสองเรื่องที่ต้องพิจาณาครับ คือ เหตุผลว่าทำไมพนักงานจึงไม่ทำเอกสารลาล่วงหน้าขออนุญาตตามระเบียบที่กำหนดไว้และเหตุผลของการที่พนักงานเค้าโทรมาใช้สิทธิขอลานั้นเหตุผลในการลาคืออะไรเป็นกิจธุระอันจำเป็นหรือไม่ แล้วค่อยมาตัดสินครับ
กรณีถ้าเหตุผลรับไปได้ว่าจำเป็นทั้งสองเรื่องและเป็นเหตุสุดวิสัย ก็ไม่ควรพิจารณาตัดสินว่าพนักงานมีความผิดใด ๆ ทั้งสิ้นครับ ระเบียบที่นายจ้างกำหนดมานั้นคนใช้จะต้องรู้จักยืดหยุ่นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายด้วย
กรณีที่เหตุผลในการลานั้นเนื่องจากมีกิจธุระอันจำเป็นจริง ๆ แต่พนักงานอาจจะลืมแจ้งล่วงหน้าหรืออาจจะละเลยขาดวินัยและความรับผิดชอบที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบนั้น พนักงานก็ยังสามารถใช้สิทธิในการลากิจได้ตามกฎหมายเพราะเค้ามีกิจธุระอันจำเป็น ยังไม่ถือว่าเค้าขาดงานครับ เพราะการพิจารณาเรื่องการขาดงานนั้นอย่าลืมคำทั้งหมดตามกฎหมายด้วย อย่าเรียกว่าขาดงานเฉย ๆ ตามกฎหมายใช้คำว่าขาดงานโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรครับ แต่ในกรณีนี้นายจ้างก็สามารถพิจารณาทางวินัยในเรื่องที่พนักงานไม่ปฏิบัติตามระเบียบของการลากิจได้ครับ อาจจะตักเตือนด้วยวาจาหรือตักเตือนเป็นหนังสือในข้อหาไม่ปฏิบัติตามระเบียบของการลากิจ แต่ไม่ได่เป็นข้อหาขาดงานครับ
กรณีที่สามหากเหตุผลของการลายังไม่ใช่เพราะกิจธุระอันจำเป็น กรณีนี้พนักงานก็มีความผิดทั้งในเรื่องของการปฎิบัติตามระเบียบของการลากิจ และอาจถือว่าขาดงานได้อีกด้วยครับ
อดิศร
From: yin30400@hotmail.com
To: siamhrm@googlegroups.com; adisorn_pers@hotmail.com
Subject: [SIAMHRM.COM :18979] การขาดงาน กับ การลา
Date: Wed, 7 Oct 2009 10:03:09 +0700
สวัสดีค่ะ
ญ.ยอมยุ่งกลับมาอีกแล้ว ครั้งนี้ยุ่งน้อยหน่อย คือว่า การลาทางบริษัทมีกฏระเบียบในการลางานคือ พนักงานต้องทำหนังสือลางานอย่างน้อย 3 วัน แต่ถ้าในกรณีไม่ทำหนังสือลางาน แต่หยุดงานแล้วโทรศัพท์มาแจ้งอย่างนี้เรียกว่าเป็นการลางานหรือขาดงานค่ะ (ถ้ามีในกฏหมายระบุมาให้ด้วยน่ะค่ะ)
ขอบคุณค่ะ
ญ.ยอดยุ่ง
โหลดฟรี! โปรแกรม Windows Live ครบชุด Windows Live Services
--~--~---------~--~----~------------~-------~--~----~
- ร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ประกาศตำแหน่งงาน แถมฟรีสูงสุด 3 เดือน ถึง 30 ตุลาคม 52 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
-~----------~----~----~----~------~----~------~--~---
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น