วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

[SIAMHRM.COM :21407] Re: เงินชดเชย จ่ายยังไง

คุณ แพท
 
กรณีให้ออกจากกงาน กรณีมีความผิด หรือไม่มีความผิด
ถ้ากรณีมีความผิด ตามมาตรา 119 ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
แต่ ถ้า กรณีไม่มีความผิด ต้องจ่ายค่าชดเชย และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ตามมาตรา 118
และยังมี มาตรา 120  เรื่อง การจ่ายค่าชดเชย กรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบการ
มาตรา 121 เรื่องการจ่ายค่าชดเชย เนื่องจากนายจ้าง ปรับปรุงกิจการ
และมาตรา 122 เรื่องการจ่ายค่าชดเชยเพิ่มเติม กรณีลูกจ้างทำงานติดต่อกันเกิน 6 ปี
ลองอ่านมาตราตามที่แนบมานะคะ
 
แซนดี้
 

หมวด ๑๑

ค่าชดเชย

มาตรา ๑๑๘ ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

(

) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่

น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้าย

สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(

) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่า

ค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้าง

ซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(

) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่า

ค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวัน

สุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(

) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่า

ค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้าย

สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(

) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตรา

สุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับ

ค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้าง

ทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และ

หมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถ

ดำเนินกิจการต่อไป

ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน

และเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น

การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานใน

โครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและ

สิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอัมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือ

ความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงาน

นั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

มาตรา ๑๑๙

นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้

(

) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

(

) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

(

) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

(

) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบ

ด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง

นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน

หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

(

) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็

ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

(

) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

ในกรณี

() ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้อง

เป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอัน

เป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบใน

ขณะที่เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้

 


2009/12/3 Patira <hr@pharmacos.co.th>

การจ่ายค่าชดเชย  กรณีให้ออกจากงาน      ไม่ทราบว่าจ่ายยังงัยและหลักเกณฑ์อย่างไรบ้างคะ  รบกวนขอคำตอบด้วยคะ

 

 

Patira Sungthong “Pat”   

PHARMACOSMET PUBLIC COMPANY LIMITED กลุ่มบริษัทอังกฤษตรางู  

100/105-108 อาคารว่องวานิชบี ชั้น 31  ถนนพระรามเก้า  แขวงห้วยขวาง

เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320 Tel.02-645-1333 ต่อ 158  Fax. 02-645-0700

 

 

 

 
                                                                         

 

 

 

                                 

P Please consider the environment before printing this email.

 


From: siamhrm@googlegroups.com [mailto:siamhrm@googlegroups.com] On Behalf Of sawai paramee
Sent: Thursday, December 03, 2009 10:10 AM
To: Pascharrmon Lertchanapizithar
Cc: Sureena Surakitkoson; siamhrm@googlegroups.com
Subject: [SIAMHRM.COM :21403] Re: เงินชดเชย จ่ายยังไง

 

การจ่ายค่าชดเชย   กรณีย้ายสถานประกอบการ

 

นายจ้างต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงานมาตรา ๑๒๐ ฉบับแก้ไข ปี ๒๕๕๑ 

 

กรณีนี้นายจ้าง  ได้บอกกล่าวล่วงหน้าแล้ว    เดือน  ถือว่าได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย   จึงไม่ต้องจ่าย

 

สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

 

       กรณีลูกจ้าง  แจ้งความประสงค์ขอลาออก  เนื่องจากไม่ประสงค์จะย้ายตามนายจ้างไป   ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างต่อนายจ้างได้

 

(ลาออก)  โดยแจ้งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายจ้าง  หรือ  วันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบการ

 

      กรณีนี้  ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้าสงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๑๑๘  

 

      ดังนั้น  กรณี้หากฟังว่า  ลูกจ้างลาออกเนื่องจากไม่ประสงค์ย้ายตามนายจ้างไป  มีสิทธิได้รับค่าชดเชยครับ   ตามมาตรา ๑๒๐  ฉบับแก้ไขปี

 

๒๕๕๑ 

 

      แต่หากลาออกด้วยเหตุผลอื่น  เช่น  ได้งานใหม่  เจ็บป่วย หรือกระทำความผิดแต่ขอลาออกเอง  ไม่เกี่ยวกับการย้ายสถานประกอบการ  

 

ไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา  ๑๒๐  นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษ

 

                                        ไสว

 

                          ๐๒-๘๑๕๙๕๒๒,๐๘๑-๗๙๓๖๑๕๖ 







--
แซนดี้



--~--~---------~--~----~------------~-------~--~----~
       - ร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล  -

แนะนำ :

http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ประกาศรับสมัครงาน สำหรับนักสรรรหา มืออาชีพ พร้อมรับส่วนลด มากมาย ถึง 31 ธันวาคม 2552 นี้ เท่านั้น
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
-  หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
-  หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
-  หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
-~----------~----~----~----~------~----~------~--~---

ไม่มีความคิดเห็น: