อยากจะรบกวนเกี่ยวกับใบประเมินผลประจำปีค่ะ พอดีที่ทำงานเล็ก ต้องการให้มีการประเมิน ทุกฝ่าย เช่น แผนกต้อนรับ มีแผนกไหนบ้างที่ เกี่ยวข้อง เช่น ต้องติดต่อกับบัญชี ติดต่อกับแม่บ้าน รวมทั้ง ฝ่ายบุคคล ให้ ทั้ง 3 แผนกเป็นผู้ประเมินด้วย นอกจากหัวหน้านะค่ะ รบกวนให้ช่วยชี้แนะหน่อยนะค่ะว่าเล็ก จะเอาอะไรเข้าเป็นตัวประเมินความสัมพันธ์กับเขาเหล่านั้นบ้าง
เล็ก
Date: Thu, 3 Dec 2009 12:19:38 +0700
Subject: [SIAMHRM.COM :21407] Re: เงินชดเชย จ่ายยังไง
From: sandyyjaa@gmail.com
To: hr@bdlp.co.th
CC: siamhrm@googlegroups.com
หมวด ๑๑
ค่าชดเชย
มาตรา ๑๑๘ ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้
(
๑) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้าย
สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(
๒) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้าง
ซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(
๓) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
สุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(
๔) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้าย
สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(
๕) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับ
ค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้าง
ทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และ
หมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถ
ดำเนินกิจการต่อไป
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
และเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น
การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานใน
โครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและ
สิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอัมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือ
ความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงาน
นั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง
มาตรา ๑๑๙
นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้(
๑) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง(
๒) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย(
๓) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง(
๔) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง
นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
(
๕) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(
๖) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในกรณี
(๖) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอัน
เป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้
การจ่ายค่าชดเชย กรณีให้ออกจากงาน ไม่ทราบว่าจ่ายยังงัยและหลักเกณฑ์อย่างไรบ้างคะ รบกวนขอคำตอบด้วยคะ
Patira Sungthong "Pat"
PHARMACOSMET PUBLIC COMPANY LIMITED กลุ่มบริษัทอังกฤษตรางู
100/105-108 อาคารว่องวานิชบี ชั้น 31 ถนนพระรามเก้า แขวงห้วยขวาง
เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320 Tel.02-645-1333 ต่อ 158 Fax. 02-645-0700
P Please consider the environment before printing this email.
From: siamhrm@googlegroups.com [mailto:siamhrm@googlegroups.com] On Behalf Of sawai paramee
Sent: Thursday, December 03, 2009 10:10 AM
To: Pascharrmon Lertchanapizithar
Cc: Sureena Surakitkoson; siamhrm@googlegroups.com
Subject: [SIAMHRM.COM :21403] Re: เงินชดเชย จ่ายยังไง
การจ่ายค่าชดเชย กรณีย้ายสถานประกอบการ
นายจ้างต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงานมาตรา ๑๒๐ ฉบับแก้ไข ปี ๒๕๕๑
กรณีนี้นายจ้าง ได้บอกกล่าวล่วงหน้าแล้ว ๖ เดือน ถือว่าได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย จึงไม่ต้องจ่าย
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
กรณีลูกจ้าง แจ้งความประสงค์ขอลาออก เนื่องจากไม่ประสงค์จะย้ายตามนายจ้างไป ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างต่อนายจ้างได้
(ลาออก) โดยแจ้งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายจ้าง หรือ วันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบการ
กรณีนี้ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้าสงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๑๑๘
ดังนั้น กรณี้หากฟังว่า ลูกจ้างลาออกเนื่องจากไม่ประสงค์ย้ายตามนายจ้างไป มีสิทธิได้รับค่าชดเชยครับ ตามมาตรา ๑๒๐ ฉบับแก้ไขปี
๒๕๕๑
แต่หากลาออกด้วยเหตุผลอื่น เช่น ได้งานใหม่ เจ็บป่วย หรือกระทำความผิดแต่ขอลาออกเอง ไม่เกี่ยวกับการย้ายสถานประกอบการ
ไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา ๑๒๐ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษ
ไสว
๐๒-๘๑๕๙๕๒๒,๐๘๑-๗๙๓๖๑๕๖
--
แซนดี้
--~--~---------~--~----~------------~-------~--~----~
- ร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ประกาศรับสมัครงาน สำหรับนักสรรรหา มืออาชีพ พร้อมรับส่วนลด มากมาย ถึง 31 ธันวาคม 2552 นี้ เท่านั้น
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
-~----------~----~----~----~------~----~------~--~---
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น