การคำนวณจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี กรณีสัญญาจ้างสิ้นสุด
โดย พงษ์รัตน์ เครือกลิ่น
การคำนวณจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำ ปี ซึ่งเป็นเงินอีกจำนวนหนึ่งที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง มีรายละเอียด ดังนี้
หลักเกณฑ์ของกฎหมายเกี่ยวกับหยุดพักผ่อนประจำปี
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แก้ไขปี 2551 กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างไรบ้างพระราช บัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 30 กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน โดยจ้างเป็นผู้กำหนดหรือตามที่นายจ้างลูกจ้างตกลงกัน การกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่นิยมในทางปฏิบัติมี 2 แบบ คือ
แบบแรก ปีอายุงาน จะนับตั้งแต่วันเข้าทำงานจนไปครบ 1 ปี และให้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นปีๆ ตามนั้น เช่น ลูกจ้างคนหนึ่งเข้าทำงานเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2550 จะทำงานครบ 1 ปีวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ลูกจ้างคนนี้จะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีระหว่าง 1กรกฎาคม ถึง 30 มิถุนายนของปีถัดไปปีละ 6 วัน วิธีการนับแบบนี้จะมีข้อดี คือ สะดวกเพราะใช้วันเริ่มทำงานเป็นวันกำหนด 1 ปี แต่อาจมีข้อยุ่งยากคือ ลูกจ้างแต่ละเข้าทำงานไม่พร้อมกัน ต่างวันกัน จะก่อปัญหาสร้างความยุ่งยากในการบริหารจัดการวันหยุดพักผ่อนประจำปี การใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีแบบนี้จะนำการทำงานในปีที่ 1 ไปหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่ 2 การทำงานในปีที่ 2 ไปหยุดในการทำงานปีที่ 3 ไล่อย่างนี้ไปเรื่อย เช่น
ลูกจ้างทำงาน 1 กรกฎาคม 2550 ครบปีแรกวันที่ 30 มิถุนายน 2551 จะใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีของปีแรกนี้ไปหยุดระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2552 เมื่อทำงานครบปีที่ 2 ก็จะนำไปหยุด 6 วันในปีถัดไป เช่นนี้ตลอดไปจนกว่าจะสิ้นสุดสภาพการจ้าง
แบบที่สอง แบบปีปฏิทิน จะนับหนึ่งปีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีนั้นๆ ลูกจ้างจะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีโดยนับตามปีปฏิทินเป็นปีๆไป วิธีการแบบนี้จะบริหารจัดการได้งายกว่าแบบแรก แต่เนื่องจากลูกจ้างไม่ได้เริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม จึงต้องแก้ปัญหาด้วยการให้ลูกจ้างหยุดตามส่วนของเศษปีไปก่อน เช่น ลูกจ้างที่เข้าทำงานวันที่ 1 กรกฎาคม 2550 ก็อาจให้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2550 ตามส่วน(pro rate) โดยให้ลูกจ้างที่ทำงานระหว่าง 1 กรกฎาคม 2550 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 รวม 6 เดือน มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี 2550 ได้ 3 วันทำงาน จากนั้นในปี 2551 , 2552, 2553..... ก็ให้สิทธิหยุดปีละ 6 วันทำงาน โดยนับตั้งแต่ระหว่าง 1มกราคมถึง 31 ธันวาคม ก็ได้ หรือ นายจ้างอาจให้ลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 ทำงานจนครบ 1 ปีในวันที่ 30 มิถุนายน 2551 เสียก่อน แล้วสำหรับการทำงานตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2550 จนถึงวันที่ 31ธันวาคม 2551 รวม 1 ปี 6 เดือนนี้ ให้ลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีรวม 9 วันก็ได้(นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2551 รวม1 ปีให้ 6 วัน และจากวันที่ 1กรกฎาคม 2551ถึงวันที่ 31ธันวาคม 2551 รวม 6 เดือน ให้อีก 3 วัน รวมเป็น 9 วัน)
การสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปี
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ให้สิทธินายจ้างและลูกจ้างจะตกลงให้สะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น การสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปหยุดในปีถัดไปได้หรือไม่เพียงใด จึงเป็นไปตามที่นายจ้างลูกจ้างตำลงกันซึ่งมักเขียนไว้ในข้อบังคับการทำงาน เช่น
ข้อบังคับการทำงานกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ได้ปีละ 6 วันทำงาน โดยนายจ้างเป็นผู้กำหนด เมื่อกำหนดแล้วลูกจ้างจะต้องใช้สิทธิเสียให้หมดในปีนั้น ห้ามมิให้สะสมไปหยุดในปีถัดไป กรณีนี้ ลูกจ้างใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมไม่ได้
แต่ถ้าข้อบังคับการทำงานกำหนดว่า ลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ได้ปีละ 6 วันทำงาน โดยนายจ้างลูกจ้างตกลงกัน หากไม่หยุดหรือหยุดไม่ครบให้สะสมได้ไม่เกิน 2 ปี รวมแล้วไม่เกิน 12 วัน ลูกจ้างที่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไม่ครบในปีนี้ ก็สามารถสะสมไปหยุดในปีถัดไปได้ แต่สะสมไปได้ไม่เกิน 2 ปี วันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมสูงสุดต้องไม่เกิน 12 วัน เป็นต้น
การคำนวณจ่ายกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีความผิด
หากนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตาม ส่วนให้แก่ลูกจ้าง รวมทั้งวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมถ้ามี
กรณีแรก แบบปีอายุงาน หากลูกจ้างเข้าทำงาน 1 กรกฎาคม 2548 มีวันหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละ 6 วันทำงาน ไม่มีสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปี ได้รับเงินเดือนเดือนละ 12,000 บาท หากนายจ้างเลิกจ้างโดยให้ทำงานจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 โดยที่ลูกจ้างยังไม่ได้ใช้สิทธิหยุด นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างเป็นเงิน เท่าใด
คำตอบคือ ลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีแบบปีอายุงาน แสดงว่าการทำงานของลูกจ้างตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2551 จะนำมาใช้สิทธิหยุดระหว่าง 1 กรกฎาคม 2551 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2552 รวม 6 วัน หากลูกจ้างยังไม่ได้ใช้สิทธิหยุด ในส่วนนี้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ที่ลูกจ้างยังไม่ได้ใช้สิทธิหยุด 6 วันให้แก่ลูกจ้าง นอกจากนี้สำหรับการทำงานตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ที่ลูกจ้างต้องออกจากงาน รวม 6 เดือน ลูกจ้างก็ไม่ได้นำมาใช้สิทธิหยุดเช่นกัน เพราะลูกจ้างถูกเลิกจ้างเสียก่อน นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วน ให้แก่ลูกจ้างอี ก 3 วัน ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี รวม 9 วัน เมื่อลูกจ้างได้ค่าจ้างเดือนละ 12,000 บาท หรือวันละ 400 บาท จึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นเงิน 3,600 บาท
กรณีที่สอง แบบปีปฏิทิน หากข้อเท็จจริง เปลี่ยนไปว่าลูกจ้างทำงานมาหลายปี ได้รับเงินเดือนเดือนละ 12,000 บาท ค่าครองชีพเดือนละ 3,000 บาท เงินช่วยเหลือบุตรเดือนละ 500 บาท มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละ 6 วันทำงาน ใช้แบบปีปฏิทิน ซึ่งตัดเศษให้หยุดไปแต่แรกแล้ว และลูกจ้างใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2551 ครบ 6 วันแล้ว หากต่อมานายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะยุบหน่วยงานในวันที่ 1 มีนาคม 2552 (ให้ทำงานถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552) นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นเงินเท่าใด
คำตอบคือ 1 วัน เป็นเงิน 500 บาท เพราะกรณีเป็นแบบปีปฏิทิน ลูกจ้างใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี 2551ไปครบแล้ว ในปี 2552 ลูกจ้างทำงานให้นายจ้างเพียง 2 เดือน จึงถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด เมื่อเทียบตามส่วนจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 1 วัน ลูกจ้างได้รับเงินเดือน เดือนละ 12,000 บาท ค่าครองชีพเดือนละ 3000 บาทเป็นค่าจ้าง ส่วนเงินช่วยเหลือบุตรเป็นสวัสดิการไม่เป็นค่าจ้าง ลูกจ้างจึงได้รับค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท หรือวันละ 500 บาท
หากมีข้อเท็จจริงเพิ่มว่า ลูกจ้างรายนี้มีสิทธิสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้ และในปี 2551 ยังไม่ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีเลย แสดงว่าลูกจ้างมีสิทธิได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังไม่ได้ หยุด 6 วัน เมื่อรวมกับวันพักผ่อนประจำปีตามส่วนในปีที่เลิกจ้างอีก 1 วัน นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี รวม 6 วันเป็นเงิน 3,000 บาทให้แก่ลูกจ้าง
การคำนวณจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีกรณีเกษียณอายุ
ในกรณีสัญญาจ้างสิ้นสุดเพราะลูกจ้างเกษียณอายุ ถือว่าลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเช่นกัน นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนของปีสุด ท้ายให้แก่ลูกจ้างเช่นกัน(คำพิพากษาฎีกาที่ 2191-2206/2528 ) เช่น
ลูกจ้างได้รับเงินเดือนเดือนละ 18,000 บาท มีข้อบังคับการทำงานกำหนดเกษียณอายุเมื่อสิ้นเดือนกันยายนของปีที่ลูกจ้างอา ยุครบ 60 ปี ลูกจ้างมีวันหยุดพักผ่อนประจำปีปีละ 10 วันทำงาน แบบปีปฏิทิน ลูกจ้างใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2550 ครบ 10 วันแล้ว หากลูกจ้างเกษียณวันที่ 30 กันยายน 2551 และในปี 2551ใช้สิทธิหยุดไป 2 วัน นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นเงินเท่าใด
คำตอบคือ ในปี 2551 ลูกจ้างทำงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 30 กันยายน 2551 รวม 9 เดือน การเกษียณถือเป็นการสิ้นสุดสัญญาด้วยการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีสุดท้ายตามส่วน คือ 9 วัน แต่ลูกจ้างใช้สิทธิหยุดไปแล้ว 2 วัน เหลือ 7 วัน นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2552 รวม 7 วันเป็นเงิน 42,0000 บาท (ค่าจ้างเดือนละ 18,000 บาทหรือวันละ 600 บาท)
มีข้อควรสังเกตว่า หากนายจ้างมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนด ให้ลุกจ้างใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี เสียให้หมดก่อนเกษียณ ถือว่านายจ้างกำหนดให้หยุดพักผ่อนประจำปีแล้ว ลูกจ้างไม่หยุด นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน (คำพิพากษาฎีกาที่ 2274/2529)
การคำนวณจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีกรณีตกลงเลิกสัญญาหรือลูกจ้างลาออก
ในกรณีสัญญาจ้างสิ้นสุดด้วยการตกลงเลิกสัญญาหรือลาออก ลูกจ้างจะไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนในปี สุดท้าย เพราะกฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายเฉพาะกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มี ความผิดเท่านั้น ยกเว้นแต่นายจ้างจะมีระเบียบข้อบังคับหรือประเพณีปฏิบัติให้จ่าย ลูกจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับ เช่น
ตามตัวอย่างข้างต้น ลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละ 6 วันทำงาน ใช้แบบปีปฏิทิน และลูกจ้างใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2551 ครบ 6 วันแล้ว หากต่อมาลูกจ้างลาออกโดยทำงานจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 โดยนายจ้างไม่มีข้อบังคับหรือประเพณีปฏิบัติให้จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพัก ผ่อนประจำปี นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2552 จำนวน 1 วันให้แก่ลูกจ้างเพราะเป็นกรณีที่ลูกจ้างลาออกเอง นายจ้างไม่ได้เลิกจ้าง (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 3683/2526 )
ลูกจ้างที่พ้นสภาพไปเนื่องจากเข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนครบกำหนด ถือว่าตกลงเลิกสัญญากับนายจ้าง ลูกจ้างจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามโครงการที่นายจ้างกำหนดไว้ กรณีดังกล่าวนายจ้างไม่ได้เป็นฝ่ายเลิกจ้าง ลูกจ้างจะไม่มีสิทธิได้รับผิดค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 67 (คำพิพากษาฎีกา 497-528/2544 และ 8324/2544)
แต่อย่างไรก็ตาม หากลูกจ้างที่ลาออกนั้น มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีสะสม นายจ้างยังต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้แก่ลูกจ้าง ด้วย เช่น ลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละ 6 วันทำงาน ใช้แบบปีปฏิทิน และลูกจ้างไม่ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2551 และมีสิทธิสะสมไปหยุดในปี 2552 ได้ 6 วัน หากต่อมาลูกจ้างลาออกโดยทำงานจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 แม้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2552 จำนวน 1 วันให้แก่ลูกจ้างเพราะเป็นกรณีที่ลูกจ้างลาออกเอง นายจ้างไม่ได้เลิกจ้างก็ตาม แต่นายจ้างยังต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมเท่ากับค่า จ้าง 6 วันให้แก่ลูกจ้าง เพราะเป็นสิทธิที่ลูกจ้างพึงได้รับอยู่แล้ว ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 67 วรรคสอง
บทสรุป
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี แม้เป็นเงินจำนวนไม่มากนัก แต่ก็เป็นสิทธิที่ลูกจ้างพึงได้รับจากนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ดังนั้น เวลาสัญญาจ้างสิ้นสุดลง นายจ้างทั้งหลายอย่าลืมหรือแกล้งลืมไม่จ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่ลูกจ้าง มิฉะนั้น อาจมีเรื่องเป็นข้อพิพาทกันที่พนักงานตรวจแรงงานหรือที่ศาลแรงงาน เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย จ่ายให้ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายดีกว่าครับ !
เมื่อ 28 ตุลาคม 2553, 15:57, HR <hr@akandorealestate.com> เขียนว่า:
เรียน Mr. Rattapum Chunyawongsak
กรณีที่ 1 สิทธิ์การลาพักร้อนตามปีปฏิทิน หมายความว่า อนุญาตให้ลาพักร้อนได้ในปีปฏินทินนั้น ๆ สำหรับพนักงานที่อายุงานครบ 1 ปี ขึ้นไป หากพนักงานที่มีอายุงานครบ 1 ปีภายในปีปฏิทินนั้น ให้สิทธิ์ลาพักร้อนได้ตามสัดส่วนของวันที่เหลือในปีปฏิทินนั้นๆ
ตัวอย่าง พนักงานของคุณเริ่มงาน 1 มิ.ย.52 ครบ 1 ปีในวันที่ 31 พ.ค.53 วันที่เหลือของปีปฏิทิน 2553 คือ 1 มิถุนายน ถึง 31 ธันวาคม ( 6 เดือน ) ครึ่งปีพอดี พนักงานก็จะได้สิทธิ์ลาพักร้อนครึ่งหนึ่งของจำนวนวันพักร้อนที่บริษัทอนุญาตให้ลาได้ทั้งปี( 7 วัน ) เท่ากับ 3วันครึ่ง เริ่มใช้ได้ตั้งแต่ 1 มิถุนายน ถ้าพนักงานครบปีในวันที่ 30 กันยายน ก็ให้เฉลี่ยตั้งแต่ตุลาคม ถึง ธันวาคม ( 3 เดือน ) โดยเฉลี่ยได้ 1 วันครึ่ง เริ่มใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม
เมื่อขึ้นปีปฏิทินใหม่(2554) พนักงานเหล่านี้จึงจะมีสิทธิ์ใช้พักร้อนได้ 7 วัน
กรณีที่ 2 สิทธิ์การลาพักร้อนตามวันเริ่มงาน หมายความว่า พนักงานที่อายุงานครบ 1 ปี เมื่อใดก็ตามมีสิทธิ์ลาพักร้อนได้ตามจำนวนวันที่บริษัทอนุญาตให้แต่ละปี แต่จะนับชนวันเริ่มในปีถัดไป
ตัวอย่าง พนักงานเริ่มงาน 1 มิ.ย.52 ครบปีในวันที่ 30 พ.ค.53 พนักงานมีสิทธิ์ใช้ลาพักร้อนได้ 7 วัน โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ 1 มิ.ย.53 – 31 พ.ค.54 และ 1 มิ.ย.54 ก็เริ่มใช้สิทธิ์ลาพักร้อนใหม่ 7 วัน ไปจนถึง 31 พ.ค.55 อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งการนับวันพักร้อนแบบนี้จะมีข้อเสีย คือ จะต้องเช้กวันพักร้อนเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ยิ่งพนักงานในบริษัทมีจำนวนมากอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้
ประมานนี้ค่ะ
From: siamhrm@googlegroups.com [mailto:siamhrm@googlegroups.com] On Behalf Of rattapum
Sent: Thursday, October 28, 2010 1:11 PM
To: siamhrm@googlegroups.com
Subject: [SIAMHRM.COM :30311] สงสัยเรื่องวันลาพักร้อน กรณีพนักงานครบ 1 ปีแบบคาบเกี่ยว
สมมติพนักงานเริ่มงาน 1 มิย 52 ทำงานครบ 1 ปี ในวันที่ 1 มิย 53 แบบนี้เราให้เค้าเต็มสิทธิ์ไหมครับ ในเดือนที่เหลือ มิย – ธค 53
ของที่บริษัท พักร้อน ได้ 7 วัน/ปีครับ
SOLUTIONS
• Mechanical
• Architectural Engineering & Construction
• Plant
• RP&3D Scan
Best Regards,
Mr. Rattapum Chunyawongsak
Senior HR : Central Admins Department
M • 08-9793-5220, W • www.applicadthai.com
--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน แถมฟรี สูงสุด 2 เดือน ถึง 31 ตุลาคม 2553 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน แถมฟรี สูงสุด 2 เดือน ถึง 31 ตุลาคม 2553 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน แถมฟรี สูงสุด 2 เดือน ถึง 31 ตุลาคม 2553 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน แถมฟรี สูงสุด 2 เดือน ถึง 31 ธันวาคม 2553 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น