ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
มาตรา 57 วรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยตามมาตรา 32 เท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงาน แต่ปีหนึ่งไม่เกิน 30 วัน
มาตรา 32 วรรคหนึ่ง ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองแพทย์ได้ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ
มาตรา 146 นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 57 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
สรุป ลูกจ้างลาป่วยได้ตามจริง แต่นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างให้ปีละ 30 วัน หากเกิน 30 วัน ๆ ที่เกินก็ไม่จ่าย ซึ่งการลาป่วยแต่ละครั้งไม่ถึง 3 วัน ไม่จำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์ หากลาป่วยตั้งแต่ 3 วัน นายจ้างอาจให้ลูกจ้างนำใบรับรองแพทย์มาดู หากลูกจ้างไม่สามารถนำใบรับรองแพทย์มาแสดงก็ต้องมาชี้แจงให้นายจ้างเชื่อว่า ลูกจ้างป่วยจริง หากลูกจ้างไปร้องว่านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างในวันลาป่วย นายจ้างจะถูกปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท
ทีนี้กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยให้แก่ลูกจ้าง แต่ลูกจ้างอยากได้และไม่อยากไปฟ้องนายจ้าง เพราะอยากทำงานต่อ วิธีปฏิบัติ ก็ไปปรึกษาที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเขตที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ว่านายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายพนักงานตรวจแรงงานก็แกล้งมาตรวจเอกสารที่ สถานประกอบการ และแจ้งให้นายจ้างทราบว่าปฏิบัติผิดกฎหมายในเรื่องไม่จ่ายค่าจ้างในวันลา ป่วยให้ลูกจ้าง ให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้อง นายจ้างก็จะเริ่มจ่ายให้ลูกจ้างตั้งแต่วันที่ไปตรวจ จะไม่จ่ายย้อนหลัง แต่ถ้าหากนายจ้างยังเพิกเฉย พนักงานตรวจแรงงานมาตรวจอีกหากยังไม่ปฏิบัติ พนักงานตรวจแรงงานจะออกคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติ หากไม่ปฏิบัติจะปรับนายจ้าง 2หมื่นบาท ลูกจ้างไม่ต้องกลัวว่าพนักงานตรวจแรงงานจะแจ้งชื่อของท่านให้นายจ้างทราบ ชื่อของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับครับ
อันนี้ผมตอบแบบลูกจ้างนะครับ ถ้านายจ้างถามจะแนะนำอีกแบบครับ
ธนวัฒน์
On 04/23/2014 01:54 PM, pj wrote:
แล้วนายจ้างที่ไม่จ่ายค่าจ้างวันลาป่วย โดยอ้างว่าต้องมีใบรับรองแพทย์มาเท่านั้นจึงจะจ่าย (ป่วยไม่เกิน2วัน) ลูกจัางอย่างเราต้องทำอย่างไรเพื่อเรียกรัองสิทธิค่าจ้างที่เราควรจะได้ ท่านผู้รู้ช่วยแนะนำดีวยคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น