ระดับ Physiological เลย ก็ อย่างเช่น
1. บริษัทจ่ายเงินเดือนช้า หรือไม่จ่าย (เพื่อนที่ทำราชการ หรือทำงานกับราชการเล่าให้ฟังบ่อยๆ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มลูกจ้างที่โดน)
2. บริษัทโกงเงินสวัสดิการ OT ประกันสังคม และอื่นๆ (นี่เคยเจอมากับตัวครับ)
3. งานหนักจนไม่มีเวลากิน เวลานอน หรือพักผ่อน
ระดับ Safty ก็เช่น
1. งานไม่มีความปลอดภัย เสี่ยงอันตราย
2. งานที่ต้องออกค่าใช้จ่ายให้บริษัทก่อน แล้วบริษัทจ่ายทีหลัง ซึ่งเบิกจ่ายให้ช้า หรือไม่ยอมเบิกจ่ายให้
3. งานที่ทำแล้วเสียสุขภาพ ไม่มีเวลาพักผ่อน หรือมีเวลาให้ครอบครัว
ระดับ Love/Belonging ก็เช่น
1. สภาพในที่ทำงาน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน หัวหน้า-ลูกน้อง
2. ความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับองค์กร เช่น องค์กรเห็นว่าพนักงานเปรียบเสมือนคนในครอบครัว ดูแลเหมือนคนในครอบครัว หรือ มีลักษณะกดขี่ มองคนเหมือนเป็นเครื่องจักร ใช้แล้วทิ้ง เสียแล้วเปลี่ยนใหม่ หรือ บีบบังคับกดขี่
ระดับ Esteem เช่น
1. การให้ความเคารพระหว่างกันในบริษัท เช่น มีการเคารพผลงานของพนักงานที่ได้ทุ่มเท ลงมือทำไปหรือไม่ หรือว่าไม่ว่าจะทำอะไรมาก็จะถูกดูถูกจากหัวหน้า แผนกอื่น หรือ พนักงานในบริษัทคนอื่นตลอด
2. มีส่งเสริมให้พนักงาน มีความคิดริเริ่ม กล้าคิด กล้าตัดสินใจหรือไม่ หรือ ให้แค่คอยทำตามที่สั่งอย่างเดียว
3. งานที่ทำ ทำให้พนักงานรู้สึกว่าได้ทำอะไรสำเร็จในชีวิตหรือไม่ มีเป้าหมายให้ไขว่คว้า หรือ ไม่ หรือเป็นการทำงานไปวันๆ ไม่มีจุดหมาย
ระดับ Self Actualization
.
.
.
ยกตัวอย่าง 4 ระดับพอนะครับ พอดีเดี๋ยวต้องไปทำธุระ
พนักงานระดับล่างๆ ตอบสนองในระดับแรกๆ เช่น Physiological และ Safty ก็เพียงพอครับ เช่น แรงงานระดับล่าง กรรมกร แรงงานรายวัน
แต่ถ้าหากเป็นระดับสูงๆ เช่น พนักงานบริษัท ก็จะเริ่มต้องการ ระดับ Love/Belonging
และถ้าเป็นผู้บริหาร จะต้องตอบสนองในระดับ Esteem ขึ้นไปด้วยครับ คงไม่มีผู้บริหารคนไหนที่ชอบทำงานตามความสั่งเพียงอย่างเดียว ไม่มีอำนาจการตัดสินใจ หรือ ไม่สามารถใช้ความคิดความสามารถของตัวเองในการบริหารหรอกครับ
อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับ1.สาเหตุทำให้พนักงานลาออก (ระดับปฏิบัติการ)2.วิธีรักษา ดูแลพนักงาน ให้ทำงานอยู่กับบริษัท (ระดับปฏิบัติการ)3.วิธี หรือ แบบสำรวจพนักงานลาออกลองเลย!
ลอง Yahoo! Mail ใหม่ เร็วแรงกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น