วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

[SIAMHRM.COM :20583] Re: ขออนุญาตรบกวนอีกครับ

สวัสดีคะ
 
พอจะมีท่านใดแนะนำเพิ่มเติมได้ไหมคะ ว่าจะใช้วิธีใดในการกระตุ้นให้พนักงานปรับปรุงเรื่องมาสาย
ทางบริษัทได้มีการกำหนดนโยบายไว้และมีการปรับปรุงบ้าง แต่ก็ยังมีการมาสายอยู่ แต่สามารถลดจำนวนนาทีการมาสายได้พอสมควร
แต่ก็ยังอยากที่จะตั้งเป้าหมายให้ลดจำนวนนาทีการสายให้ได้อีก
 
ขอบคุณคะ
เคท
 

From: adisorn_pers@hotmail.com
To: hr@rice-th.com; lovelyhrs@googlegroups.com; siamhrm@googlegroups.com
Subject: [SIAMHRM.COM :20533] RE: ขออนุญาตรบกวนอีกครับ
Date: Tue, 10 Nov 2009 11:59:28 +0700

สวัสดีครับ
อันดับแรกต้องมาดูที่ระเบียบของเราก่อนครับว่ามีเขียนระบุให้สะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้หรือไม่
หากไม่มีการสะสมนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่พนักงานยังไม่ได้ใช้สิทธิหรือใช้สิทธิไม่ครบคืนให้เมื่อสิ้นปีครับ
แต่ถ้าสะสมได้ก็ดูต่อไปอีกนิดว่าสะสมได้ไม่เกินกี่ปี ถ้ายังอยู่ในระยะเวลาที่กำหนดให้สะสมก็ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี แต่ให้พนักงานสะสมหรือเลื่อนไปในปีถัดไปได้
แต่หากว่าครบกำหนดระยะเวลาสะสมแล้วก็ต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีคืนให้พนักงานไปครับ
มาตราที่เกี่ยวข้องในกรณีนี้คือมาตรา 30 และมาตรา 56 ครับ ลองไปเปิดอ่านดูนะครับ
  สำหรับบทลงโทษพนักงานในกรณีมาสาย อันดับแรกให้ไปดูที่ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของเราก่อนนะครับ ว่ามีเขียนบทกำหนดโทษทางวินัยว่าอย่างไรบ้าง
เราก็ใช้บทกำหนดโทษนั้นพิจารณาทางวินัยได้ครับ แต่ต้องดูต่ออีกว่าบทกำหนดโทษที่เขียนไว้นั้นขัดต่อกฎหมายหรือไม่ด้วย
เช่นหากกำหนดโทษว่า หักเงินพนักงาน ลดค่าจ้าง ลดตำแหน่ง ในกรณีพนักงานกระทำความผิด โทษลักษณะนี้เป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้ครับ เพราะการหักค่าจ้างขัดต่อมาตรา 76 หรือการลดค่าจ้าง ลดสวัสดิการก็เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงาน ซึ่งนายจ้างจะทำได้ก็ต่อเมื่อทำเป็นหนังสือยื่นข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างและลูกจ้างต้องยินยอมเท่านั้น เป็นกฎหมายแรงงานสัมพันธ์มาตรา 13 นะครับ
 
   โทษทางวินัยโดยทั่วไปก็มักจะกำหนดไว้เป็นลำดับได้  ตั้งแต่ 1 การตักเตือนด้วยวาจา 2 การตักเตือนด้วยวาจาอย่างเป็นทางการ  3 การตักเตือนเป็นหนังสือ 4 การพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างและ 5 การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย เป็นต้นครับ
   กรณีพนักงานมาสายก็ไม่ควรทิ้งเรื่องคาราคาซังเอาไว้นะครับ เพราะจะกลายเป็นความเคยชินและการปกครองก็จะเสียหายไปด้วย
ควรพิจารณาโทษตั้งแต่สถานเบาที่สุด ไล่เรียงไปเรื่อย ๆ หากพนักงานยังปรับปรุงตัวไม่ได้นะครับ และเมือถึงโทษในขั้นตักเตือนเป็นหนังสือแล้วก็ถือได้ว่าเป็นโทษร้ายแรงพอสมควรนะครับ โทษตักเตือนเป็นหนังสือนี้ควรมีการชี้แจงให้พนักงานเข้าใจด้วยว่าเป็นโทษร้ายแรง เพราะหากพนักงานกระทำผิดซ้ำอีกครั้งภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี นายจ้างก็สามารถเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่จ่ายค่าชดเชย เพียงแต่ว่าจะลดหย่อนเป็นการพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างอักสักครั้งเท่านั้น พนักงานจะได้ตระหนักในโทษที่ได้รับนะครับ
   การมาสายใช้วิธีการพิจารณาโทษลักษณะนี้ได้เลยครับ ที่สำคัญคือการสอบสวนหาสาเหตุให้ดีด้วย และที่สำคัญมากที่สุดเลยก็คือ ตัวผู้บังคับบัญชาของพนักงานปฏิบัติตนอย่างไร มีวินัยเพียงพอหรือไม่ เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกน้องหรือไม่ เพราะถ้าหัวหน้ามาสายเสียเอง ลูกน้องก็ไม่ต้องพูดถึงหรอกครับ การลงโทษทางวินัยก็ไม่สามารถสร้างสำนึกให้พนักงานได้ด้วย เพราะพนักงานก็จะต่อต้านต่อบทลงโทษนั้น ไม่มีประโชน์อะไรครับ การลงโทษที่ดีคือการลงโทษให้เกิดการรู้สำนึก ลงโทษแล้วพนักงานที่ได้รับโทษมีความรู้สึกที่ดีต่อเราและองค์กร นั่นคือสุดยอดของการลงโทษที่ประสบผลสำเร็จแล้วครับ
อดิศร
 

From: hr@rice-th.com
To: adisorn_pers@hotmail.com
Subject: ขออนุญาตรบกวนอีกครับ
Date: Tue, 10 Nov 2009 10:26:47 +0700

เรียน     อาจาร์ยอดิศรครับ

            ผมขอรบกวนสอบถามอาจาร์ยอีกคครั้งนะครับ เรื่องสิทธิพักร้อนครับ

1.      ปี 52 นาย ก ได้สิทธิพักร้อน 6 วัน

2.      ปี 52 นาย ก ใช้ไป 3 วัน

3.      ปี 53 นาย ก ได้สิทธิเพิ่ม 6 วัน บวกกับสะสมของปี52  2วัน เป็น 8 วัน

4.      สิ้นปี 53 สิทธิพักร้อนสะสมของปี52  2 วัน  นาย ก ไม่ได้ใช้  นายจ้างต้องจ่ายหรือไม่ครับ

และ บทลงโทษกรณีพนักงานมาสายบ่อยๆ อาจาร์ยพอจะมีบทลงโทษไหมครับ

           

 

Best Regard...

 

ภานุวัฒน์ 

 



Windows 7 ใหม่: ค้นหาพีซีที่เหมาะสมกับคุณ เรียนรู้เพิ่มเติม
--~--~---------~--~----~------------~-------~--~----~
       - ร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล  -

แนะนำ :

http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ประกาศรับสมัครงาน สำหรับนักสรรรหา มืออาชีพ พร้อมรับส่วนลด มากมาย ถึง 31 ธันวาคม 2552 นี้ เท่านั้น
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
-  หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
-  หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
-  หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
-~----------~----~----~----~------~----~------~--~---

ไม่มีความคิดเห็น: