สวัสดีครับ อดิศร ครับ
ข้อที่ 1. นายจ้างสามารถบอกเลิกสัญญาจ้างหรือเลิกจ้างลูกจ้างทั้งรายวันหรือรายเดือนได้ครับ
หากเห็นว่าลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ตามที่คาดหวังหรือมีความสามารถหรือคุณสมบัติไม่เหมาะสมในการทำงานในตำแหน่งที่นายจ้างได้ว่าจ้าง ทั้งนี้หากลูกจ้างยังทำงานไม่ถึง 120 วัน นายจ้างก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยครับ ส่วนมากนายจ้างก็จะพิจารณาในกรณีนี้ว่าไม่ผ่านทดลองงานนั่นเองครับ
แต่ทั้งนี้ หลักฐานที่นายจ้างจะต้องมีคือ ใบประเมินผลทดลองงานที่ต้องชัดเจน และเป็นธรรมในการประเมินรวมทั้งมีวิธีการที่โปร่งใสด้วย เพราะหากนายจ้างไม่มีหลักฐาน กรณีที่ลูกจ้างมีปัญหาและฟ้องร้องขึ้นมานั้น ลูกจ้างก็สามารถฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้ครับ
ข้อที่ 2. มาตราในกฎหมายเรื่องการทดลองงานนั้นไม่มีเขียนเอาไว้ครับ แล้วแต่นายจ้างจะกำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับหรือสัญญาจ้างไว้อย่างไรก็ได้ แต่มีกฎหมายอ้างอิงในกรณีเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิดทางวินัยอยู่สองมาตราคือมาตรา 118 ซึ่งหากลูกจ้างทำงานเกินกว่า 120 วัน ถ้านายจ้างเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่ได้มีความผิดทางวินัยร้ายแรงตามที่กำหนดในมาตรา 119 แล้ว นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามอัตราที่กำหนดในมาตรา 118 ครับ ดังนั้นส่วนใหญ่แล้วนายจ้างจึงกำหนดเงื่อนไขระยะเวลาทดลองงานไว้ไม่เกิน 119 วันครับ ส่วนมาตราที่เกี่ยวข้องอีกมาตราคือมาตรา 17 ซึ่งเป็นข้อกำหนดเรื่องการสิ้นสุดสัญญาจ้าง ของงานประเภทที่กำหนดระยะเวลาและไม่กำหนดระยะเวลาไว้ ซึ่งขอตอบในข้อ 3. ต่อไปเลยนะครับ
ข้อที่ 3. การแจ้งล่วงหน้าในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างหรือเลิกจ้างลูกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิดทางวินัยนั้น ในมาตรา 17 และหากว่างานที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำนั้นเป็นงานประเภทที่ไม่สามารถทำสัญญาแบบกำหนดระยะเวลาได้ ( การทดลองงานถือเป็นสัญญาจ้างแบบไม่สามารถกำหนดระยะเวลาได้นะครับ งานที่กำหนดระยะเวลาได้จะต้องเป็นงานที่สามารถกำหนดการเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานได้ชัดเจน เช่นงานรับเหมา งานโครงการ งานตามฤดูกาลเป็นต้นครับ ) ในมาตรา 17 นั้น ระบุว่านายจ้างจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 งวดการจ้าง
ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับว่างวดการจ่ายค่าจ้างของนายจ้างกำหนดไว้อย่างไร สมมุติว่า นายจ้างกำหนดให้งวดการจ่ายค่าจ้างคือทุกวันที่ 30 ของแต่ละเดือน กรณีที่นายจ้างจะต้องเลิกจ้างลูกจ้างก็จะต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือก่อนวันที่ 30 ครับ ซึ่งนายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานต่อจบครบงวดการจ่ายค่าจ้างคราวต่อไปก็ได้ หรือนายจ้างอาจให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีก็ได้ แต่นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไปอีก 1 งวดครับ
ยกตัวอย่างนะครับ สมมุติว่างวดการจ่ายค่าจ้างเป็นทุกวันที่ 30 กรณีที่นายจ้างจะพิจารณาเลิกจ้างลูกจ้างในเดือน พย. / 2552 เนื่องจากเห็นว่าไม่ผ่านทดลองงาน นายจ้างจะต้องทำหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกจ้างก่อนวันที่ 30 พย. 2552 ซึ่งจะไปมีผลให้สิ้นสภาพการเป็นนายจ้างลูกจ้างเอาวันที่ 30 ธค. 2552 นะครับ ไม่ใช่จะมีผลในวันที่ 30 พย. 2552 ซึ่งนายจ้างก็อาจให้ลูกจ้างทำงานต่อไปจนถึงวันที่ 30 ธค. 2552 ก็ได้ ( แต่คงไม่มีลูกจ้างคนไหนมีกำลังใจทำงานต่อ ยกเว้นว่านายจ้างมีข้อตกลงหรือมีข้อชี้แนะจุดอ่อนของลูกจ้างและให้โอกาสลูกจ้างแก้ไขปรับปรุงในระยะเวลาที่เหลือ และเห็นว่าลูกจ้างน่าจะแก้ไขจุดอ่อนได้ ก็ให้โอกาสไปครับ ) หรือนายจ้างอาจให้ลูกจ้างออกจากงานในวันที่ 30 พย. 2552 ไปเลยก็ได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือน ธค.2552 ไปอีก เดือนด้วยครับ ไม่ใช่จ่ายสิ้นสุดแค่เดือน พย. 2552 ครับ
แต่หากนายจ้างไปบอกกล่าวล่วงหน้าเอาในวันที่ 1 ธค. แล้ว ค่าบอกกล่าวล่วงหน้านี้นายจ้างจะต้องจ่ายให้ลูกจ้างไปจนถึงเดือน มค. 2553 เลยนะครับ เพราะมันข้ามงวดการจ่ายค่าจ้างเดือน พย. มาเข้างวดค่าจ้างเดือน ธค.แล้วครับ ตรงนี้ฝ่ายบุคคลหรือผู้บังคับบัญชาต้องดูให้ดีนะครับ
ส่วนสัญญาจ้างแบบกำหนดระยะเวลาได้นั้น เมื่อถึงกำหนดระยะเวลาที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงในสัญญาจ้างแล้ว ก็ถือว่าสิ้นสุดสภาพการเป็นนายจ้างลูกจ้างไปตามวันที่ระบุในสัญญาได้เลย โดยที่นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยครับ
อดิศร
Date: Fri, 20 Nov 2009 08:17:54 +0700
Subject: Re: [SIAMHRM.COM :20970] RE: ปรึกษาเรื่องการหักเงินพนักงานกรณีขาด ลา มาสาย
From: theangthumsirinart905@gmail.com
To: adisorn_pers@hotmail.com
สวัสดีครับ อดิศร ครับ
ระเบียบการหักค่าจ้างเช่นนี้ ขัดต่อ พรบ. คุ้มครองแรงงานมาตรา 76 ครับ ลูกจ้างฟ้องร้องได้ และนายจ้างมีความผิดตามบทกำหนดโทษของพรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 144 มีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนปละปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับครับ
กรณีที่พนักงานขาด ลา มาสายนั้น ที่ถูกต้องนายจ้างควรจะใช้บทกำหนดโทษทางวินัยอันชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ซึ่งปกติแล้วมักจะกำหนดโทษได้ตั้งแต่สถานเบาที่สุด เช่น การตักเตือนด้วยวาจา ไปจนถึงสูงสุดคือเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยครับ เช่นบทกำหนดโทษตามลำดับได้แก่
1. ตักเตือนด้วยวาจาอย่างไม่เป็นทางการ ( ไม่ต้องบันทึกในเอกสาร )
2. ตักเตือนด้วยวาจาอย่างเป็นทางการ ซึ่งควรบันทึกในเอกสารไว้เป็นหลักฐานและมีการลงนามรับทราบด้วย
3. ตักเตือนเป็นหนังสือ ใช้เอกสารหนังสือเตือนที่มีองค์ประกอบครบถ้วนตามหลักกฎหมาย
4. พักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง
5. เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย
การพิจารณาโทษทุกเรื่องจะต้องมีการสอบสวนหาข้อเท็จจริงเสมอและจะต้องทำด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรมเท่านั้นครับ
วิธีการลงโทษเช่นนี้ได้ผลดีมากในการแก้ปัญหาเรื่องวินัย ไม่ว่าจะเป็นการ ขาด ลา มาสาย หรืออื่น ๆ
และไม่ขัดต่อกฎหมายครับ
ส่วนการหักค่าจ้างกรณี ขาด ลา มาสายนั้น ผิดกฎหมายแน่นอนครับ ในมาตรา 76 ห้ามนายจ้างหักค่าจ้างลูกจ้างยกเว้นเป็นการหักที่มีกฎหมายอื่นรองรับเช่น ชำระภาษี , ชำระหนี้สหกรณ์ , หักเงินประกันตามมาตรา 10 . ค่าบำรุงสหภาพ ( ถ้ามี ) เป็นต้น หรืออาจหักค่าจ้างในกรณีที่ลูกจ้างจงใจหรือประมาทอย่างร้ายแรงและเป็นผลให้ทรัพย์สินนายจ้างเสียหาย ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้อีกว่า นายจ้างหักได้ไม่เกินร้อยละสิบของค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับและลูกจ้างจะต้องยินยอมเท่านั้นจึงจะหักได้
นอกเหนือจากนี้นายจ้างต้องไปฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งเอาเองครับ
นอกจากนี้การที่ลูกจ้างมาสายหรือขาดงานนั้น นายจ้างย่อมมีสิทธิที่จะไม่จ่าค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเฉพาะในช่วงเวลาที่ลูกจ้างไม่ได้มาทำงานนั้นได้ครับ แต่ไปหักเกินกว่านั้นไม่ได้ ถือว่าเข้าข่ายมีความผิดตามมาตรา 76 ครับ
มาตรการอื่น ๆ ที่นายจ้างอาจใช้เพิ่มเติมได้เช่นการพิจารณาไม่ปรับค่าจ้างประจำปีหรือไม่จ่ายโบนัสให้สำหรับลูกจ้างที่มีความผิดทางวินัยก็ได้ครับ แต่จะไปลดค่าจ้างลดสวัสดิการตามกฎหมายที่นายจ้างได้ตกลงไว้ล่วงหน้าแล้วไม่ได้ครับ ถือว่าผิดข้อตกลงเรื่องสภาพการจ้างงานครับ
อดิศร
Date: Thu, 19 Nov 2009 14:27:36 +0700
Subject: ปรึกษาเรื่องการหักเงินพนักงานกรณีขาด ลา มาสาย
From: sangsuemool.chaiporn@gmail.com
To: adisorn_pers@hotmail.com
- อยากสอบถามเรื่องระเบียบหรือวิธีเกี่ยวการหักเงินพนักงานกรณี การขาด ลา มาสาย ของการทำงานบริษัท ครับ
- ที่ทำงานผมเขากำหนดระเบียบขึ้นมาเอง ว่าขาด ลา มา สาย จะต้องถูกหักเงินเท่านั้นเท่านี้ โดยที่เอกสารไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากผู้จัดการหรือผู้มีอำนาจอนุมัติ ประมาณว่าเขาเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล แล้วส่งเรื่องให้สำนักงานที่กรุงเทพหักเงินเดือนเลย
- โดยที่พนักงานผู้ถูกหัก ไม่ได้รับทราบ ว่าหักเงินกรณีอะไร วิธีการหักเป็นอย่างไร รายละเอียดไม่ทราบเลย
- ผมจึงอยากถามแล้ววิธีการที่ถูกต้อง มันต้องปฎิบัติอย่างไร ที่เขาปฎิบัติกันของงานบุคคลจริงเลยนะครับ กรุณาให้ความกระจ่างเพราะผมทนเห็นการทำงานที่ไม่มีหลักเกณฑ์และทำงานกันอย่างไม่รู้จริง มันส่งผลเสียอย่างมากต่อองค์กร ผมจะได้นำข้อมูลนี้ชี้แจงให้พวกกบในกะลาเข้าใจเสียที
- กรุณาตอบมาด้วยนะครับ
โหลดฟรี! โปรแกรม Windows Live ครบชุด Windows Live Services
Windows 7 ใหม่: ค้นหาพีซีที่เหมาะสมกับคุณ เรียนรู้เพิ่มเติม
--~--~---------~--~----~------------~-------~--~----~
- ร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ประกาศรับสมัครงาน สำหรับนักสรรรหา มืออาชีพ พร้อมรับส่วนลด มากมาย ถึง 31 ธันวาคม 2552 นี้ เท่านั้น
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
-~----------~----~----~----~------~----~------~--~---
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น