วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

[SIAMHRM.COM :29699] ดูตัวชี้วัดผลงานให้ชัด เพื่อใช้แผนกลยุทธ์ที่ดี

ใกล้ฤดูทำแผนกลยุทธ์ประจำปีกันอีกแล้ว องค์การส่วนใหญ่มักใช้ SWOT Analysis ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีผลสำรวจของ Thomas J Chermack และ Bernadette K. Kasshanna (HRDI Journal, 2007) นักวิชาการจาก Colorado State University และ The Pennsylvania State University เคยเล่าถึงผลการศึกษาว่าเครื่องมือนี้มีการใช้กันมากอย่างยาวนาน ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1950s และเผยแพร่ไปทั่วโลก
       
       
เรียกว่าเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมในการใช้มากที่สุด แต่ก็เป็นเครื่องมือที่มีการนำไปใช้ผิดๆ มากที่สุดเช่นกัน
       
       
เนื่องจากการจัดทำ SWOT Analysis ในองค์การส่วนใหญ่ทั่วโลกไม่ค่อยสนใจการวิเคราะห์ข้อมูลมากนัก โดยเฉพาะข้อมูลผลการปฏิบัติงาน (Performance Analysis) เช่น การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัด (KPIs) ที่ได้ตั้งไว้ในปีที่แล้วว่าตัวชี้วัดได้ส่งผลอะไรต่อผลการปฏิบัติงานระดับองค์การ (Corporate KPIs) บ้าง
       
       
ฝ่ายงานทรัพยากรมนุษย์อาจสรุปผลงานว่าปีที่ผ่านมาว่าสามารถปิดช่องว่างของสมรรถนะพนักงาน (Competency Gap) ได้ 80% ก็ต้องดูว่ามีผลสอดคล้องอะไรต่อองค์การบ้าง การจ้างคนได้น้อยลง ทำงานได้มากขึ้นหรือไม่ ซึ่งอาจต้องดูความสัมพันธ์ในเชิงตัวเลขกับผลผลิตต่อหัว (Productivity per head) และ/หรือ รายได้ต่อหัวที่เพิ่มขึ้น (Revenue per head) หรือคนของเรามีศักยภาพมากขึ้น คือทำงานได้มากขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้อีก
       
       
เนื่องจากสมรรถนะที่ได้รับการพัฒนาสอดคล้องกับเป้าหมายองค์การในหลายๆด้านทั้งในส่วนการเพิ่มรายได้ และลดค่าใช้จ่าย
       
       
ทั้งนี้ผลการพัฒนาสมรรถนะทำให้เห็นผลเป็นตัวเลขความสามารถในการทำผลกำไรต่อหัว ซึ่งแน่นอนตัวเลขเหล่านี้ต้องนำไปวิเคราะห์ร่วมกับตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของธุรกิจนั้นๆ ด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อรายได้และผลกำไร
       
       
แต่อย่างไรก็ตามตัวเลขเหล่านี้ควรที่จะเทียบเคียง (Benchmark) กับองค์การที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันด้วย เพื่อเห็นศักยภาพในการพัฒนา
       
       
ข้อมูลตัวอย่างข้างต้นนี้ ท่านผู้บริหารองค์การต้องเข้าใจตรงกันว่า เป็นการวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานเพื่อนำสิ่งที่องค์การลงทุน ลงแรงไปมาพัฒนาองค์การให้ถูกทาง มิใช่เอาผลดังกล่าวมาเชื่อมโยงกับผลงานของผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ
       
       
ในชีวิตการทำงานจริงมีใครบ้างที่จะรู้ว่า KPIs ตัวใดที่ทำให้องค์การประสบความสำเร็จ 100% KPIs บางตัวอาจใช้ได้ดีกับองค์การหนึ่ง แต่อาจใช้ไม่ได้กับอีกองค์การก็ได้ แม้ว่าทั้งสององค์การจะอยู่ในธุรกิจเดียวกัน ผู้บริหารองค์การจึงควรติดตามและวิเคราะห์ KPIs เหล่านี้อยู่เป็นประจำ เพื่อทราบความสอดคล้องกันของผลงานที่ได้จัดทำขึ้นในองค์การ กับผลลัพธ์ที่ต้องการอย่างแท้จริงจากการลงทุน หรือเสียเวลาในการทำเรื่องเหล่านั้น
       
       
ขอฝากข้อคิดว่า การจัดทำแผนกลยุทธ์นั้น ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับ Outcome (ผลลัพธ์) ที่ต้องการอย่างชัดเจนทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ แล้วจึงจัดทำ SWOT Analysis โดยมุ่งผลลัพธ์ดังกล่าว เช่นในวิสัยทัศน์กำหนดไว้ว่าองค์การต้องการเป็นผู้นำในธุรกิจ....อะไรเล่าที่จะบอกถึงความเป็นผู้นำธุรกิจ แค่รายได้ ผลกำไร หรือส่วนแบ่งทางการตลาด
       
       
หากมุ่งเน้นการเป็นองค์การนวัตกรรม การเป็น ผู้นำธุรกิจ...อาจดูได้จากส่วนแบ่งการตลาดในสินค้านวัตกรรมที่ผลิตขึ้นเป็นหลัก แต่ในภาพรวมเราอาจไม่ได้ต้องการจะมีส่วนแบ่งการตลาดที่ใหญ่ที่สุดก็ได้
       
       
หากตัวชี้วัดที่เป็นผลลัพธ์ไม่ชัดเจนแล้ว เราทำ SWOT Analysis ไปอาจไม่เห็นจุดอ่อน จุดแข็ง ที่สำคัญ และไม่เห็นโอกาส อุปสรรคที่มาจากภายนอกว่าคืออะไร กลยุทธ์ที่ใช้จึงไม่สามารถปิดช่องว่างของผลงานในปัจจุบันกับที่ต้องการได้
       
       
สุดท้ายองค์การก็ได้แต่จัดทำตัวชี้วัดที่อาจเสียเวลาเปล่าในแต่ละปีก็เป็นได้
       
       
รศ.ดร.จิรประภา อัครบวร
       
คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
       
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

ที่มาhttp://www.managerweekly.com/

DISCLAIMER: The information contained in this e-mail may be confidential, proprietary, and/or legally privileged. It is intended only for the person or entity to which it is addressed. If you are not the intended recipient, you are not allowed to distribute, copy, review, retransmit, disseminate or use this e-mail or any part of it in any form whatsoever for any purpose. If you have received this e-mail in error, please immediately notify the sender and delete the original message. Please be aware that the contents of this e-mail may not be secure and should not be seen as forming a legally binding contract unless otherwise stated. Thank you.

ไม่มีความคิดเห็น: