ถึงจะเป็นสัญญาจ้างที่อ้างว่าเป็นระหว่างบุคคลก็ตาม แต่ในข้อเท็จจริงแล้วมันเกี่ยวข้องกับมาตรา 10 มาตรา 17 และมาตรา 76 ในกฎหมายแรงงาน และถือว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงานครับ
ไม่ใช่สัญญาทางแพ่ง อย่างเช่น หากนายจ้างกำหนดว่าให้ลูกจ้างต้องแจ้งลาออกล่วงหน้าก่อน 30 วัน หากไม่ปฏิบัติตาม นายจ้างจะฟ้องร้องค่าเสียหาย
เขียนในสัญญาได้ครับ แต่หากจะบังคับกัน นายจ้างก็ต้องไปฟ้องแพ่ง แต่ฟ้องในคดีแรงงานไม่ได้ เพราะในมาตรา 17 เป็นสิทธิของลูกจ้างที่สามารถบอกเลิกสัญญาจ้างเป็นหนังสือ ( ยื่นใบลาออก ) ต่อนายจ้างได้ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงงวดการจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า
ซึ่งถ้าการลาออกของลูกจ้างไม่ได้เป็นไปตามสัญญาที่ตกลงกับนายจ้างไว้ว่าต้องแจ้งล่วงหน้าก่อน 30 วัน นายจ้างก็ต้องไปฟ้องค่าเสียหายทางแพ่งเอาเอง และนายจ้างก็ต้องมีหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจนว่านายจ้างเสียหายเป็นมูลค่าเท่าไร และยังไม่ปรากฎว่ามีนายจ้างคนไหนฟ้องลูกจ้างในกรณีอย่างนี้ครับ เพราะไม่คุ้ม และไม่สามารถอ้างอิงหลักฐานมูลค่าเสียหายได้ ฟ้องไปก็แพ้คดีครับ
ทำนองเดียวกันกับการใช้สัญญานี้มาผู้พันกับเงินประกันตามมาตรา 10 เพราะหากนายจ้างจะริบเงินประกัน นายจ้างก็ต้องพิสูจน์ใด้ว่านายจ้างเสียหายไปทีมูลค่าเท่าไร แล้วก็ไปฟ้องแพ่งเพื่อเรียกร้องกับลูกจ้าง ซึ่งบอกได้เลยว่านายจ้างไม่มีหลักฐานถึงมูลค่าเสียหายที่ชัดเจนต่อศาลได้เพียงพอ แต่หากว่าลูกจ้างคนนั้นได้ทำให้ทรัพย์สินนายจ้างเสียหายก็อีกเรื่องหนึ่งครับ เพราะมีหลักฐานถึงมูลค่าที่เสียหายตามความเป็นจริงได้ และนายจ้างสามารถหักริบเงินประกันแก่ลูกจ้างได้ตามมาตรา 76 ( 4 ) ครับ แต่ในมาตรา 76 ( 4 ) นั้นก็ยังเขียนต่อไปอีกด้วยว่าลูกจ้างต้องยินยอมเท่านั้น ถ้าลูกจ้างไม่ยินยอม นายจ้างก็ไม่สามารถหักเงินประกันนี้ได้ ตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งก็ต้องไปฟ้องแพ่งอีกเช่นกันครับ
สรุปนะครับ ในสัญญานี้มีอยู่สองประเด็น
1. ประเด็นลูกจ้างลาออกก่อนกำหนดในลักษณะที่ลูกจ้างลาออกโดยไม่ได้แจ้งต่อนายจ้างก่อน 30 วัน และนายจ้างจะริบเงินประกันหรือนายจ้างจะฟ้องร้องดำเนินคดีเรียกค่าเสียหายตามที่นายจ้างระบุไว้ในสัญญา ถึงแม้ลูกจ้างจะยินยอมลงนามในสัญญานั้นแล้ว นายจ้างก็บังคับไม่ได้ เพราะสัญญาลักษณะนี้เป็นโมฆะครับ เป็นสัญญาที่เอาเปรียบลูกจ้างเกินสมควรซึ่งลูกจ้างอาจไปร้องต่อศาลตามมาตรา 14/1 เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้นายจ้างยกเลิกสัญญานี้ก็ได้ หรือหากนายจ้างบังคับใช้ต่อลูกจ้างไปแล้ว ลูกจ้างก็สามารถไปฟ้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน เพื่อเรียกร้องเอาเงินประกันคืนพร้อมดอกเบี้ยได้เช่นกันครับ เหตุผลเพราะขัดต่อมาตรา 17 อันเป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะบอกเลิกสัญญาต่อนายจ้างได้ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงงวดการจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด โดยให้มีผลในงวดการจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า ซึ่งในมาตรานี้ไม่ได้กำหนดว่าลูกจ้างจะต้องแจ้งก่อน 30 วัน และยังขัดต่อเจตนารมณ์ของมาตรา 10 ครับ
2. ประเด็นหักเงินประกันเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย (ตามมาตรา 76 ) หากนายจ้างจะหักหรือริบเงินประกันนั้น นายจ้างจะต้องมีหลักฐานถึงมูลค่าเสียหายที่ลูกจ้างได้กระทำผิดในกรณีที่จงใจหรือประมาทอย่างร้ายแรงและทำให้นายจ้างเสียหาย นายจ้างจึงจะหักเงินประกันนั้นได้ตามมูลค่าที่เสียหายจริงที่เกิดขึ้นเท่านั้น ไปหักเกินกว่านั้นก็ไม่ได้ และถ้าหากมูลค่าเสียหายนั้นเกินกว่าเงินประกันที่เรียกเก็บจากลูกจ้าง และนายจ้างต้องการเรียกร้องค่าเสียหายมากกว่าเงินประกัน นายจ้างก็ต้องไปฟ้องแพ่ง เพื่อให้ศาลบังคับให้บุคคลซึ่งทำให้เกิดความเสียหายนั้น ชดใช้ค่าเสียหายให้ เป็นการฟ้องกันระหว่างคู่กรณีที่ไม่ได้เป็นนายจ้างลูกจ้างต่อกันนะครับ
3. หากสิ้นสุดสภาพการจ้างกันไม่ว่านายจ้างเลิกจ้างหรือลูกจ้างลาออก นายจ้างจะต้องคืนเงินประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน นับแต่วันที่สิ้นสุดสัญญาจ้าง ยกเว้นว่าลูกจ้างได้กระทำความผิดแล้วทำให้เกิดความเสียหายเป็นตัวเงินแก่นายจ้าง นายจ้างจึงจะหักเงินประกันได้ตามข้อที่ 2. ( มาตรา 76 ) ข้างต้นเท่านั้น ไปหักในกรณีอื่นไม่ได้ครับ
ดังนั้นสัญญาที่เขียนเอาไว้สองประเด็นรวม ๆ กันอย่างนี้จะบังคับใช้ไม่ได้ครับ เป็นโมฆะ หากจะเขียนสัญญาก็ต้องแยกออกมาเฉพาะเรื่องของความเสียหายที่เกิดจากลูกจ้างกระทำความผิดโดยจงใจหรือประมาทอย่างร้ายแรงเพียงประเด็นเดียวเท่านั้นจังจะใช้บังคับได้ เพราะมีมาตรา 10 และมาตรา 76 รองรับ
แต่กรณีที่ลูกจ้างลาออกโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้าก่อน 30 วัน แล้วจะหักเงินประกันหรือเรียกร้องค่าเสียหาย ใช้บังคับไม่ได้ครับ ถ้าจะเขียนลงไป นายจ้างก็ต้องไปฟ้องแพ่ง และต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเสียหายเท่าไรด้วย และสัญญานี้ลูกจ้างก็มีสิทธิเรียกร้องให้ศาลมีคำสั่งให้นายจ้างยกเลิกก็ได้ตามมาตรา 14 / 1 ครับ
ไม่มีข้ออ้างว่าเป็นสัญญาระหว่างบริษัทเอกชนกับบุคคลครับ นายจ้างไปใช้อ้างไม่ได้ เพราะโดยลักษณะสัญญาแล้วบุคคลที่ว่านั้นมีฐานะเป็นลูกจ้างของบริษัทครับและบริษัทมีฐานะเป็นนายจ้าง ซึ่งมีกฎหมายแรงงานบังคับอยู่ครับ
เรื่องนี้ผมสอบถามนิติกรแรงงานให้แล้วนะครับ ยืนยันตามนี้ครับ
อดิศร
From: chutinthorn@maxtex.net
To: adisorn_pers@hotmail.com
Subject: RE: เงินประกัน
Date: Sat, 31 Jul 2010 10:37:26 +0700
เรียน อ.อดิศร
ขอบคุณค่ะ การเก็บเงินประกันบริษัทฯ เป็นไปตาม ม.10 ค่ะ ลูกจ้างทำงานรับผิดชอบเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัทฯค่ะ แต่ ข้อที่บริษัทฯ กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาหักเงินประกัน จะคืนต่อเมื่อลาออกถูกต้องเท่านั้นจะใช้เป็นข้ออ้างไม่ได้ใช่ไหมค่ะ พอดีว่าหัวหน้างานของลูกจ้างเขาเคยทำงานทนายค่ะเขาแย้งมาค่ะว่าทำได้ค่ะเพราะเป็นสัญญาระหว่างบริษัทฯเอกชนกับบุคคล ไม่เกี่ยวกับกฏหมายแรงงานค่ะ และทางนายก็ท่าทางจะเชื่อเขาน่ะคะ ก็เลยไม่รู้ว่าจะหาเหตุผลอะไรให้นายเข้าใขในทางที่ถูกค่ะ (ดิฉันเพิ่งมาทำงานที่นี่ได้ 4 เดือนเองค่ะ) อาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ
เรียนสอบถามอีกเรื่องค่ะ สัญญาจ้างระบุไว้ว่า หากพนักงานไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อนี้ จะยินยอมให้บริษัทฯ ดำเนินคดีเรียกร้องค่าเสียหายแล้ว พนักงานยังตกลงชำระค่าปรับให้แก่ บริษัทฯ อีกเป็นจำนวน......บาท และมีการลงชื่อระหว่างนายจ้างและลูกจ้างรวมทั้งพยาน
ไม่ทราบว่าสัญญาจ้างงานเช่นนี้ผิดต่อกฏหมายแรงงานไหมค่ะ นอกเหนือจากเป็นการเอาเปรียบแล้วค่ะ เพราะทางผู้บริหารเขากำลังจะเปลี่ยนแปลงสัญญาจ้างแรงงานใหม่แล้วประมาณว่าจะเขียนข้อความข้างต้นไว้ในสัญญาน่ะคะ
ขอแสดงความนับถือ
ชุตินธร
From: adisorn klinpikul [mailto:adisorn_pers@hotmail.com]
Sent: 31 กรกฎาคม 2010 10:04
To: chutinthorn@maxtex.net; lovelyhrs@googlegroups.com; siamhrm@googlegroups.com
Subject: RE: เงินประกัน
สวัสดีครับ อดิศร ครับ
ประการแรกต้องมาดูก่อนว่า การเก็บเงินประกันนั้น เป็นไปตามมาตรา 10 และประกาศกฎกระทรวงหรือไม่ เพราะในกฎหมายจะกำหนดให้นายจ้างเก็บเงินประกันได้เฉพาะงานบางประเภทเท่านั้น
ถ้านายจ้างไปเก็บเงินประกันนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในกฎหมาย นายจ้างก็ผิดครับ ตรงนี้คุณไปดูให้ดีก่อนนะครับ เพราะนายจ้างหลายท่านยังไม่เข้าใจ
ประการต่อมา ในกฎหมายจะกำหนดให้นายจ้างต้องคืนเงินประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นสุดสภาพการจ้าง
และการที่นายจ้างไปกำหนดว่าหากลูกจ้างไม่ได้ลาออกตามระเบียบที่กำหนดให้แจ้งล่วงหน้า 30 วัน ระเบียบนี้ขัดต่อมาตรา 17 ครับ
นายจ้างจึงจะยกเอาเงื่อนไขนี้มาเป็นข้ออ้างในการไม่คืนเงินประกันไม่ได้เช่นกันครับ เพราะเป็นระเบียบที่เอาเปรียบลูกจ้างเกินสมควร
ถึงแม้ลูกจ้างจะยินยอมก็ไม่ได้ครับ
เงินประกันตามมาตรา 10 นี้ กฎหมายมีเจตนารมณ์เพื่อ ป้องกันไม่ให้นายจ้างเสียหายในลักษณะที่เป็นตัวเงินจากการกระทำของลูกจ้างที่รับผิดชอบเกี่ยวกับทรัพย์สินเงินทองของนายจ้าง
แต่ไม่ได้มีเจตนารมณ์เพื่อป้องกันม่ให้ลูกจ้างลาออกก่อนกำหนดตามระเบียบที่นายจ้างกำหนดเอาไว้
อดิศร
From: chutinthorn@maxtex.net
To: adisorn_pers@hotmail.com
Subject: เงินประกัน
Date: Fri, 30 Jul 2010 16:34:47 +0700
เรียน อ.อดิศร
รบกวนเรียนสอบถามเรื่องการหักเงินประกันพนักงานค่ะ กรณีที่เราทำสัญญาหักเงินประกันพนักงานไว้แล้วเราได้ระบุในสัญญาหักเงินประกันไว้ว่า” จะคืนเงินประกันให้เมื่อพนักงานลาออกถูกต้องตามระเบียบเท่านั้น คือต้องแจ้งออกล่วงหน้า 30 วัน และไม่ทำทรัพย์สินบริษัทฯ เสียหาย
เรียนสอบถามมี พนักงานลาออกโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้า ทางบริษัทฯไม่คืนเงิน ไม่ทราบว่าผิดกฏหมายแรงงานหรือไม่อย่างไรค่ะ พนักงานได้เซ็นชื่อรับทราบเงื่อนไขในสัญญาหักเงินประกันค่ะ
รบกวนด้วยนะคะ
ขอแสดงความนับถือ
ชุตินธร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น