ตอบคุณนิคมค่ะ
สอบถามอ.อดิศร และพี่ๆHRทุกท่าน
เรื่องสิทธิการลา วันหยุด
1.พนักงานรายเดือน ต้องมีวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์ละ1วันใช่หรือไม่
วันหยุดประจำสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท จะให้หยุดกี่วัน แต่ในทางกฎหมาย 1 สัปดาห์นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 6 วัน
เวลาทำงานไม่เกิน 8 ช.ม./วัน หรือไม่เกิน 48 ช.ม.ต่อสัปดาห์
2.พนักงานรายเดือนต้องมีสิทธิในวันหยุดนขัตฤกษ์และวันหยุดชดเชยใช่หรือไม่
วันหยุดนักขัตฤกษ์และวันชดเชยวันหยุดนักขัตฤกษ์มีสิทธิได้หยุดตามกฎหมายอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นพนักงานรายเดือนหรือรายวัน (เพราะต่างก็เป็นลูกจ้างเหมือนกัน) ตามกฏหมายให้นายจ้างกำหนดวันหยุดนักขัตฤกษ์ปีหนึ่งต้องไม่น้อยกว่า 13 วันโดยรวมวันแรงงานด้วยนั้น หากวันหยุดนั้นไปตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ให้ชดเชยไปในวันทำการถัดไป เพื่อให้ลูกจ้างได้หยุดตามที่กฏหมายกำหนดโดยไม่นับรวมกับวันหยุดของบริษัทหรือวันหยุดประจำสัปดาห์ หากวันหยุดเหล่านี้พนักงานไม่ได้หยุดตามวันดังกล่าว นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามกฎหมายกำหนด
3.ถ้าพนักงานรายเดือนมีคำสั่งให้ทำงานในวันนขัตฤกษ์ต้องได้ค่าจ้าง 2 เท่าของวันนั้นใช่หรือไม่
พนักงานรายเดือน กับ คำว่าค่าจ้าง 2 เท่า เชื่อว่าหลายคนคงเข้าใจอะไรผิด ลองอ่านข้อความข้างล่าง เพราะเคยตอบไปแล้วเมื่อเร็วๆ นี้
กรณีที่พนักงานมาทำงานในวันหยุด(ซึ่งหมายถึงวันหยุดทุกกรณี)นั้น นายจ้างจะต้องจ่าย
1. ค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 เท่าของอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงปกติ สำหรับลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด (สำหรับลูกจ้างรายเดือน)
อธิบายเพิ่มเติม สาเหตุที่ลูกจ้างรายเดือน ได้ 1 เท่านั้นเนื่องจาก บริษัทจ่ายค่าจ้างเหมารายเดือนซึ่ง ในวันหยุดประจำสัปดาห์หรือนักขตฤกษ์ ที่ไม่มีการทำงานก็ยังจ่ายค่าจ้างเต็มเดือน นั่นคือได้จ่ายไปแล้วในอัตราทำงานปกติ แต่ถ้ามาทำงานในวันหยุดนั้นๆ บริษัทต้องจ่ายให้อีก 1 เท่าของอัตราปกติในเวลาทำงานปกติ นั่นเอง
2. ค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่าของอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงปกติ สำหรับลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด (สำหรับลูกจ้างรายวัน)
อธิบายเพิ่มเติม ลูกจ้างรายวัน ได้ 2 เท่านั้นเนื่องจาก บริษัทจ่ายค่าจ้างเป็นรายวัน ซึ่ง ในวันหยุดประจำสัปดาห์ ที่ไม่มีการทำงานก็ไม่ได้จ่ายค่าจ้าง แต่ถ้ามาทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ บริษัทต้องจ่ายให้อีก 2 เท่าของอัตราปกติในเวลาทำงานปกติ แต่สำหรับวันหยุดนักขัตฤกษ์นั้นถึงไม่มีการทำงานบริษัทก็ยังต้องจ่ายค่าจ้างตามรายวัน แต่ถ้ามาทำงานในวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะไปเข้าเกณฑ์ข้อ 1 ทันที บริษัทต้องจ่ายให้อีก 1 เท่าของอัตราปกติในเวลาทำงานปกติ เช่นกัน
3. ค่าล่วงเวลาในวันหยุดไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงปกติ (ทั้งลูกจ้างรายเดือนและรายวัน)
· ข้อ 1 และข้อ 2 หมายถึง จ่ายค่าทำงานในกรณีที่ลูกจ้างมาปฏิบัติงานในช่วงเวลาทำงานปกติ เช่น บริษัท ก. เวลาทำงาน 08.00 – 17.00 มีพนักงานมาทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดนักขัตฤกษ์หรือวันชดเชยวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น. พนักงานดังกล่าวจะได้ค่าทำงานในวันหยุด 1 เท่าสำหรับพนักงานรายเดือน หรือที่เรียกกันติดปากว่า โอที 1 เท่า และพนักงานรายวันจะได้ค่าทำงานในวันหยุดในอัตรา 2 เท่า หรือที่เรียกกันว่าโอที 2 เท่า เป็นจำนวน 8 ชั่วโมง
· ข้อ 3 หมายถึง จ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดในกรณีที่ลูกจ้างมาปฏิบัติงานเกินจากช่วงเวลาทำงานปกติ เช่น บริษัท ก. เวลาทำงาน 08.00 – 17.00 มีพนักงานมาทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดนักขัตฤกษ์หรือวันชดเชยวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 20.00 น. พนักงานดังกล่าวจะได้ค่าทำงานในวันหยุด 1 เท่าสำหรับพนักงานรายเดือน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 และได้ค่าล่วงเวลาในวันหยุด 3 เท่าตั้งแต่เวลา 17.00-20.00น. สำหรับพนักงานรายวันจะได้ค่าทำงานในวันหยุด 2 เท่า ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 และได้ค่าล่วงเวลาในวันหยุด 3 เท่าตั้งแต่เวลา 17.00-20.00น. เช่นกัน
4.พนักงานรายเดือนมีสิทธิที่จะไม่ทำงานในวันนขัตฤกษ์ได้ใช่หรือไม่
ข้อนี้ถามแปลกๆ จริงๆ ต้องบอกว่า พนักงาน(ทั้งหมด)ได้สิทธิหยุดในวันหยุดทุกประเภทตามกฎหมาย เว้นแต่งานบางประเภทที่ไม่สามารถให้พนักงานหยุดได้เพราะจะมีผลกระทบต่อการทำงานนั้น นายจ้างสามารถให้ลูกจ้างมาทำงานได้โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
5.ไม่ทราบว่าสิทธิการลากิจของพนักงานรายเดือนมีกี่วันต่อ 1 ปี
พนักงงานทุกประเภทมีสิทธิลากิจได้ตามความจำเป็น กฎหมายไม่ได้กำหนด แต่สิทธิลากิจได้รับค่าจ้างนั้นนายจ้างอาจตกลงกับลูกจ้างว่าจะให้หรือไม่ให้ กี่วันเพราะตามกฎหมายลูกจ้างลากิจกี่วันก็ได้ตามความจำเป็น ซึ่งในความเป็นจริงบางบริษัทให้ลูกจ้างลากิจได้จริงแต่จ่ายค่าจ้าง 3 วันต่อปี ถ้าเกินนั้นก็เป็นลากิจไม้ได้รับค่าจ้าง เป็นต้น
6.ไม่ทราบสิทธิการลาพักร้อนของพนักงานรายเดือน ลาได้กี่วัน ต่อปี
ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปีขึ้นไป มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปี(ส่วนมากเรียกกันว่าลาพักร้อน)ไม่น้อยกว่า 6 วัน โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนนั้น
7.ไม่ทราบว่าสิทธิการลาป่วยลาได้กี่วันต่อปี
ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริงตามกฎหมาย 1 ปีลูกจ้างจะป่วยกี่วันก็ได้หรือจะป่วย 365 วันก็ได้ โดยหน้าที่ของนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างลาป่วย กฎหมายกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 30 วันต่อปี ตามความในมาตรา 57 ให้ดูความในมาตรา 32 ประกอบ การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือสถานพยาบาลของทางราชการได้ หากลูกจ้างไม่อาจแสดงได้ ให้ชี้แจงให้นายจ้างทราบ
8.ถ้าผู้ว่าจ้างไม่ให้สิทธิพนักงานรายเดือน ตามข้อ 1 - 7 จะมีความผิดตามกฎหมายอย่างไรบ้าง
สุดท้ายขอถามกลับว่าทำไมถึงเรียกร้องสิทธิเฉพาะพนักงานรายเดือน เพราะทุกข้อที่กล่าวมากฎหมายคุ้มครองถึงลูกจ้างทั้งหมด หากนายจ้างไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด ลูกจ้างสามารถร้องเรียนได้ โดยแจ้งเรื่องร้องเรียนไปยังกระทรวงแรงงานหรือกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานก็ได้ แต่หากแค่มาระบายหรือปรึกษาหารือกันแล้วไม่ไปดำเนินการต่อ กฎหมายก็ไม่สามารถทำอะไรนายจ้างได้อยู่ดีเพราะไม่มีเจ้าทุกข์
ทุกวันนี้ก็ยังมีอยู่หลายบริษัทที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ของนายจ้างตามกฎหมายซะทั้งหมด แต่ไม่มีลูกจ้างร้องเรียนไป ทางกระทรวงฯ ก็ไม่ทราบเรื่อง แล้วจะมาเอาผิดนายจ้างได้อย่างไรค้ะ
จริงมั้ย
ส่วนอื่นเดี๋ยวก็มีคนมาอธิบายเพิ่มเติมค่ะ
เปรม
ขอบคุณมากครับ
--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน แถมฟรี สูงสุด 2 เดือน ถึง 31 ธันวาคม 2553 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น