วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

RE: [SIAMHRM.COM :31089] สอบถามอ.อดิศร และพี่ HR ทุกท่าน เรื่องสิทธิการลาครับ



NIKOM  POOKKAEW
P.T.P.GENERAL GUARD CO,LTD

TRAINING/MARKETING
081 811 5787

e-mail : nikom_ptpguard@hotmail.com
 

 ขอบคุณอ.อดิศรมากครับ  ที่ให้ความกระจ่างในเรื่องสิทธิการลาครับ   ได้รู้อะไรเพิ่มอีกมากเลย





 

From: adisorn_pers@hotmail.com
To: nikom_ptpguard@hotmail.com; lovelyhrs@googlegroups.com; siamhrm@googlegroups.com
Subject: RE: [SIAMHRM.COM :31087] สอบถามอ.อดิศร และพี่ HR ทุกท่าน เรื่องสิทธิการลาครับ
Date: Sat, 4 Dec 2010 14:10:23 +0700

สวัสดีครับ อดิศร ครับ

เรื่องแรกที่ต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับ

พนักงานไม่ว่าจะอยู่ในประเภทการจ้างแบบไหน เช่นรายวัน รายเดือนหรือรายเหมาตามชิ้นงานก็ตาม

พนักงานทดลองงาน พนักงานประจำ พนักงานพาร์ททามก็ตาม ถือว่าเป็นลูกจ้างตามกฎหมายที่จะต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานทุกฉบับทั้งหมดครับ

 

 

        คำตอบในข้อที่ 1.

นายจ้างจะต้องจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 1. วัน ถูกต้องครับ พนักงานรายเดือนจะต้องมีวันหยุดประจำสัปดาห์สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 1 วัน ตามมาตรา 28 ครับ

ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 56 ด้วย ยกเว้นลูกจ้างรานวันหรือรายเหมาตามชิ้นงาน นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ให้ก็ได้

 

       ข้อที่ 2. นายจ้างจะต้องจัดให้มีวันหยุดตามประเพณี ( หรือที่มักเรียกกันว่าหยุดนักขัตฤกษ์ ) ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วัน หากวันหยุดตามประเพณีที่นายจ้างประกาศออกมานี้ ไปตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้าง ให้ลูกจ้างได้หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป ตามมาตรา 29 ครับ  และนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณีนี้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 56 ซึ่งไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าพนักงานรายเดือนรายวันหรือรายเหมาก็ตาม  นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณีนี้ทั้งหมดครับ

 

       ข้อที่ 3. ในมาตรา 25 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างมาทำงานในวันหยุด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไป หากลูกจ้างยิน ยอมมาทำงานในวันหยุดแล้วนายจ้างจะต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามมาตรา 62  ซึ่งมีอยู่ 2 วงเล็บ ต้องดูให้ดี ๆ นะครับ

ใน ( 1 ) นั้นจะมีอัตรากำหนดไว้ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 เท่าสำหรับลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ซึ่งหมายถึงลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ได้แก่ลูกจ้างรายเดือน ต้องได้ค่าทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 1 เท่า หรือถ้าเป็นวันหยุดตามประเพณี ก็ทั้งลูกจ้างรายเดือน รายวัน หรือรายเหมา ก็จะได้ค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 เท่าของค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ

  ใน ( 2 ) นั้นก็จะมีอัตรากำหนดไว้ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า สำหรับลูกจ้างซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด  ซึ่งจะใช้ในลูกจ้างรายวันหรือรายเหมาชิ้นงาน เพราะลูกจ้างประเภทการจ้างลักษณะนี้จะไม่ได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ครับ

   ดังนั้นคำถามที่ถามมาจะเข้าข่ายมาตรา 62 ( 1 ) คือ 1 เท่าเป็นอย่างน้อยครับ จะจ่าย 2 เท่าก็ได้ แต่น้อยกว่า 1 เท่าไม่ได้ เพราะลูกจ้างก็ได้รับค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณีอยู่แล้ว นายจ้างก็จ่ายเพิ่มให้อีก 1 เท่าตามมาตรา 62 (1) นี้ และนายจ้างจะไปใช้คำสั่งไม่ได้ครับ ต้องใช้ความร่วมมือพูดคุยให้ลูกจ้างสมัครใจยินยอมมาทำงานในวันหยุด จึงจะถูกต้อง ถ้านายจ้างใช้คำสั่ง ลูกจ้างไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งนี้ก็ได้ นายจ้างจะไปพิจารณาโทษก็ไม่ได้ เพราะเป็นคำสั่งของนายจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายครับ

       ข้อที่ 4. ถ้านายจ้างได้ประกาศวันหยุดตามประเพณีมาแล้ว หน้าที่ของนายจ้างคือต้องให้ลูกจ้างได้หยุดตามที่ประกาศมา หากจะเปลี่ยนแปลง นายจ้างก็จะต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าและลูกจ้างต้องยินยอมเท่านั้นจึงจะเปลี่ยนแปลงได้ นายจ้างไปใช้คำสั่งหรือบังคับลูกจ้างให้มาทำงานในวันหยุดตามประเพณีไม่ได้ เพราะจะไปขัดต่อมาตรา 25 ครับ ยกเว้นว่าเป็นงานกิจการโรงแรม สถานมหรสพ

งานขนส่ง ร้ายขายอาหาร เครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาล หรือกิจการอื่นที่ประกาศในกฎกระทรวง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานบริการ หรืองานที่มีความจำเป็นที่จะต้องทำงานในวันหยุดที่ประกาศ

มาตรา 25 จะให้นายจ้างให้ลูกจ้างมาทำงานในวันหยุดนี้ได้โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง แต่นายจ้างก็จะต้องเลื่อนวันหยุดตามประเพณีนี้ไปให้ลูกจ้างได้หยุดทดแทนในวันอื่นแต่จะต้องไม่เกิน 4 สัปดาห์นับแต่วันที่ให้ลูกจ้างมาทำงานในวันหยุดครับ

   

      ข้อที่ 5. มาตรา 34 ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง

           กรณีนี้ก็ต้องไปดูที่ข้อบังคับของนายจ้างครับ ว่านายจ้างกำหนดเอาไว้อย่างไร ไม่มีกฎหมายกำหนดเอาไว้ครับ ว่าลากิจลูกจ้างมีสิทธิกี่วันใน 1 ปี

แต่โดยมาก นายจ้างมักเขียนเอาไว้ไม่ค่อยถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายนัก เช่นไปกำหนดว่า ลากิจได้ไม่เกิน 3 วันต่อปี ซึ่งในทางปฏิบัติจะสับสน และบางกรณีในการปฏิบัติของนายจ้างอาจขัดต่อกฎหมายมาตรา 34 นี้ได้ครับ

        ในมาตรานี้ เวลาอ่านให้แยกออกมาสองประเด็นครับ ประเด็นแรกคือ ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้  ความหมายคือ หากลูกจ้างมีกิจธุระที่จำเป็นจริง ๆ นายจ้างจะไปห้ามไม่ได้ ต้องให้ลูกจ้างมีสิทธิได้ลา จะกี่วันก็ตามครับ ขอให้เป็นกิจธุระอันจำเป็นจริง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับเหตุผลที่เป็นข้อเท็จจริงของลูกจ้าง ประกอบกับดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาถึงความจำเป็นด้วย

ถ้านายจ้างไปกำหนดว่า ลากิจได้ปีหนึ่งไม่เกิน 3 วัน  แล้วนายจ้างไปใช้ข้อบังคับเที่ยงตรงเป็นไม้บรรทัด ไม่มีความยืดหยุ่น ไม่มีการพิจารณาเหตุผล ขาดจิตวิทยาการปกครอง หากลูกจ้างลากิจไปครบ 3 วันแล้ว เกิดมีเหตุจำเป็นจริง ๆ ขึ้นมา เช่น แม่ป่วยหนักอยู่ที่ต่างจังหวัด จำเป็นต้องพาตัวมารักษาหรือไปเฝ้าไข้ แล้วนายจ้างไม่อนุญาต ถ้าลูกจ้างหยุดลาไป นายจ้างก็ไปพิจารณาโทษทางวินัย อย่างนี้ก็ไม่ได้ครับ ลูกจ้างฟ้องนายจ้างได้ และนายจ้างแพ้คดีแน่นอน เพราะขัดมาตรา 34 ครับ ดังนั้นหากพิจารณาเจตนารมณ์ของกฎหมายในข้อความท่อนนี้แล้ว วันลากิจจึงไม่สามารถกำหนดจำนวนวันที่แน่นอนได้ครับ เพราะขึ้นอยู่กับคำว่า กิจธุระอันจำเป็น

     ส่วนข้อความอีกท่อนหนึ่งในมาตรา 34 นี้ที่เขียนต่อมาว่า ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง

เจตนารมณ์เพื่อให้นายจ้างกำหนดว่าจะมีกฎกติกาที่ให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายได้อย่างไร

กฎหมายจึงให้สิทธิแก่นายจ้างไว้ เพราะหากลูกจ้างเกิดจำเป็นต้องลากิจไปหลาย ๆ วัน ถึงแม้ลูกจ้างจะมีสิทธิถูกต้อง แต่ก็อาจทำให้นายจ้างเสียหายได้ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน ถ้าชัด ๆ ที่เป็นตัวเงินคือ ค่าจ้าง  ดังนั้นจึงเป็นสิทธิของนายจ้างที่จะกำหนดว่าลูกจ้างจะได้รับค่าจ้างในวันลากิจนี้ด้วยหรือไม่

นายจ้างจะกำหนดในข้อบังคับว่า การลากิจของลูกจ้างทั้งหมดจะไม่ได้รับค่าจ้างก็ได้ หรือกำหนดว่าจะได้รับค่าจ้างไม่เกินกี่วันก็ได้ หรือกำหนดว่าลูกจ้างรายเดือนได้รับค่าจ้างในวันลากิจ ลูกจ้างรายวัน รายเหมา ไม่ได้รับค่าจ้างในวันลากิจ ก็ได้ หรือกำหนดว่าลากิจได้ 3 วันโดยได้รับค่าจ้างสำหรับลูกจ้างรายเดือน  ส่วนลูกจ้างรายวันไม่ได้รับค้าจางในวันลากิจ ก็ได้  แต่ไปกำหนดให้ต่างกันตามเพศไม่ได้นะครับ เช่นพนักงานชายลากิจโดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 10 วัน พนักงานหญิงไม่ได้รับค่าจ้างในวันลากิจ อย่างนี้ไปขัดต่อมาตรา 15 ซึ่งกำหนดให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิงเท่าเทียมกัน

    ในประเด็นนี้จึงแล้วแต่นายจ้างจะพิจารณาความเหมาะสมไปตามลักษณะของธุรกิจและตามหลักการปกครองครับ แต่เมื่อกำหนดออกมาแล้วก็จะต้องใช้ความยืดหยุ่นตามหลักมนุษยธรรมเพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่ลูกจ้างด้วย อย่าไปยึดแบบเที่ยงตรงเกินไปครับ เช่น ถ้าเกิดเป็นพนักงานที่ทำงานมานาน

มีผลงานดี มีความสามารถเป็นที่ยอมรับ มีความประพฤติดีเป็นเยี่ยงอย่างให้ผู้อื่นได้ หากมีข้อบังคับว่าลากิจได้ไม่เกิน 3 วันโดยได้รับค่าจ้าง ถ้าพนักงานคนนี้ จำเป็นจริง ๆ ที่จะต้องลากิจเกิน 3 วัน ซึ่งวันที่ลากิจเกิน 3 วันนั้นเค้าจะไม่ได้รับค่าจ้างตามข้อบังคับนี้ ทางผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างก็ควรสร้างขวัญกำลังใจและใช้โอกาสนี้สร้างแรงจูงใจให้คนในองค์กรมาความประพฤติดีอย่างนี้ ก็อาจพิจารณาจ่ายค่าจ้างในวันลากิจนี้เป็นกรณีพิเศษก็จะมีผลดีต่อองค์กรมากมายครับ

  

      ข้อที่ 6. วันลาพักร้อนในกฎหมายไม่มีครับ มีแต่วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามมาตรา 30 ซึ่งเป็นวันหยุดไม่ใช่วันลา พนักงานไม่ต้องมาขออนุญาตลาต่อนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาครับ

   แต่เป็นหน้าที่ที่นายจ้างจะต้องจัดให้ลูกจ้างที่ทำงานมาแล้ว 1 ปี ได้หยุดพักผ่อนประจำปี ๆ ละไม่น้อยกว่า 6 วัน และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีนี้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 56 ครับ

นายจ้างอาจคำนวณวันหยุดพักผ่อนประจำปีนี้เป็นสัดส่วนให้แก่ลูกจ้างทีทำงานไม่ครบ 1 ปีก็ได้ หรือนายจ้างอาจเลื่อนหรือสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีนี้ไปในปีถัดไปก็ได้ ขึ้นอยู่กับข้อบังคับการทำงานของนายจ้างกำหนดเอาไว้ว่าอย่างไร

      คำตอบในข้อนี้คือไม่น้อยกว่า 6 วันในแต่ละปีครับ และวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องคือ นายจ้างมีสิทธิที่จะจัดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีวันไหนก็ได้ แต่จะต้องไม่ไปทับซ้อนกับวันหยุดอื่น ๆ ตามสิทธิของลูกจ้าง และปีหนึ่งนายจ้างก็ต้องจัดไว้ไม่น้อยกว่า 6 วัน เช่นกำหนดไว้ 10 วัน 15 วันก็ได้ แต่เมื่อกำหนดไว้ที่กี่วันก็ตาม นายจ้างก็ต้องจัดให้ลูกจ้างตามที่กำหนดไว้นั้น จะไปลดมาเหลือ 6 วันไม่ได้ครับ      หรือนายจ้างกับลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าในแต่ละปีว่าจะหยุดวันไหนก็ได้ครับ แต่หากลูกจ้างไม่ขอหยุด ตามที่นายจ้างจัดไว้  แต่จะขอเป็นค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามมาตรา 56 เพิ่มขึ้นมาหากเค้ามาทำงานก็ได้ครับ หรือปีใดที่กำหนดไว้แล้วลูกจ้างหยุดไม่ครบตามที่กำหนดไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม เมื่อสิ้นปีนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีคืนให้แก่ลูกจ้าง ยกเว้นว่านายจ้างกำหนดให้สะสมหรือเลื่อนไปในปีถัดไปได้ ก็ต้องยกมาให้ลูกจ้างได้ใช้สิทธิในปีถัดไปแทน

     มาตรานี้ส่วนมากใช้กันผิด โดยไปใช้เป็นการลา ซึ่งลูกจ้างต้องมาขอลาและนายจ้างมีสิทธิที่จะอนุญาตหรือไม่ก็ได้ ซึ่งขัดต่อมาตรา 30 ครับ 

 

      ข้อที่ 7. มาตรา 32 ครับ ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง เอาข้อความแค่ท่อนนี้ก่อนนะครับ มาตรานี้ยังเขียนอีกยาว  ตอบคำถามที่ว่า ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้กี่วันต่อปี คำตอบคือ 365 วันครับ

หากลูกจ้างป่วยจริง ๆ นะครับ ทีนี้การป่วยจริงหรือป่วยไม่จริงของลูกจ้างนั้น โดยมากนายจ้างมักจะอาศัยใบรับรองแพทย์มาเป็นหลักฐานสำคัญ ซึ่งในมาตรานี้เรื่องใบรับรองแพทย์กฎหมายไม่ได้เขียนว่าให้นายจ้างใช้ใบรับรองแพทย์มาเป็นหลักฐานนะครับ ในกฎหมายเค้าเขียนว่า หากลูกจ้างลาป่วยตั้งแต่สามวันขึ้นไป ให้ลูกจ้างนำใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อนายจ้าง หากลูกจ้างไม่สามารถนำมาแสดงได้ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ  กฎหมายเขียนเอาไว้อย่างนี้ ดังนั้นในเจตนารมณ์เค้าต้องการให้นายจ้างได้มีการพูดคุยสอบถามถึง เหตุผลของลูกจ้างที่ลาป่วยเกินสามวัน ซึ่งอาจจะมีเหตุผลที่สมควรหรือไม่สมควรก็แล้วแต่ แต่นายจ้างยังไม่สมควรที่จะไปพิจารณาว่าลูกจ้างลาป่วยเป็นเท็จโดยเอาใบรับรองแพทย์มาเป็นหลักฐานเพียงอย่างเดียว  ในความเป็นจริงมีหลายสาเหตุที่ลูกจ้างไม่มีใบรับรองแพทย์ เช่นโรคบางอย่าง ก็ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ แค่นอนพักผ่อนซักสามสี่วันก็หาย หรือหากไปพบแพทย์ในกฎหมายระบุว่าต้องเป็นแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือสถานพยาบาลของรัฐ  บางทีก็อาจยุ่งยากต้องรอคิวนานกว่าจะได้ตรวจ ก็เลยไม่อยากไปหาหมอ   หรือไปแล้วถ้าใช้ประกันสังคมก็ต้องรอนาน ถ้าไปคลินิกก็เสียเงินเยอะ ลูกจ้างไม่มีตังค์  หรือลูกจ้างขี้เกียจไปหาหมอ หรือลูกจ้างไม่คิดว่าตัวเองเป็นโรคอะไรร้ายแรงก็เลยไม่ได้ไปหาหมอ สารพัดเหตุผลครับ แต่มันบอกไม่ได้ว่าป่วยไม่จริงอย่างชัดเจน

 การลาป่วยอันเป็นเท็จนั้นนายจ้างควรมีวิธีในการตรวจสอบค้นหาความผิดปกติที่ชัดกว่านี้ เช่นทำสถิติการหยุดงานของลูกจ้างเป็นรายบุคคลไว้ ในสถิตินี้นายจ้างจะได้เห็นความผิดปกติได้ เช่น มีลูกจ้างที่ลาป่วยทุกวันเงินเดือนออก ลาป่วยพร้อมเพื่อน ลาป่วยติดกับวันหยุดเป็นประจำ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้เวลาเรียกลูกจ้างมาสอบสวนเค้าจะให้เหตุผลไม่ได้แน่ครับ แล้วเราก็ตักเตือนไปก่อน หากพบอย่างนี้ซ้ำอีก ก็เลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่จ่ายค่าชดเชยครับ หรือหากไปพบซึ่งหน้าว่าลูกจ้างที่ขอลาป่วยไปนั่งกินเหล้า สังสรรค์อย่างนี้ ก็เอาผิดได้เต็มที่ครับ หรืออาจจะมีพยานที่เชื่อถือได้ให้ข้อเท็จจริงว่า ลูกจ้างมีปัญหาอย่างอื่นที่ไม่จำเป็น และไม่ได้ป่วยจริง แต่ขอลาป่วย เช่นหนีเจ้าหนี้ จึงไม่มาทำงาน ก็เอาผิดได้ครับ แต่ดูหลักมนุษยธรรมประกอบไปด้วยนะครับ

 อีกอย่างหนึ่ง เวลาที่ลูกจ้างมาชี้แจง นายจ้างจะได้ให้คำแนะนำในการรักษาแก่ลูกจ้างได้ หรือหากพบว่าเป็นโรคติดต่อ นายจ้างจะได้สั่งการไม่ให้แพร่ระบาดในองค์กรได้ทันการ บางทีอาจจะต้องสั่งให้ลูกจ้างลาไปก่อนไม่ต้องมาทำงานหากยังไม่หายก็ได้ครับ

   ในเรื่องการลาป่วยนั้น ยังมีมาตรา 57 อีกมาตราหนึ่งที่นายจ้างหรือฝ่ายบุคคลจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดไปในเรื่องจำนวนวันลาป่วยของลูกจ้าง โดยไปกำหนดในข้อบังคับว่า ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้ปีหนึ่งไม่เกินสามสิบวัน   ซึ่งจริง ๆ แล้วเรื่องจำนวนสามสิบวันนั้นมาจากมาตรา 57 นี้ อันเป็นกฎหมายให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วยปีหนึ่งไม่เกินสามสิบวัน  หมายถึงว่า ลูกจ้างที่ลาป่วยนั้น นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยให้แก่ลูกจ้างด้วย แต่เพื่อความเป็นธรรมกับนายจ้าง หากจะไปกำหนดเอาไว้โดยไม่มีกรอบระยะเวลา ลูกจ้างที่ลาป่วยจริง นาน ๆ ก็ทำให้นายจ้างเสียหายเป็นตัวเงินมากเกินไป

กฎหมายจึงกำหนดกรอบเอาไว้ว่าค่าจ้างในวันลาป่วย นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างไม่เกินสามสิบวัน หากลูกจ้างลาป่วยเกินสามสิบวัน นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยให้แก่ลูกจ้างก็ได้

    แต่ทั้งนี้ เช่นเดียวกันครับ ในแง่การปกครองที่ดี และจิตวิทยาการสร้างขวัญกำลังใจนั้น นายจ้างก็ควรพิจารณาเหตุผลประกอบเป็นราย ๆ ไปด้วย พนักงานคนใดมีความประพฤติดี ทำงานเก่ง เป็นเยี่ยงอย่างให้ผู้อื่นได้ อาศัยเรื่องนี้เป็นการสร้างแรงจูงใจ โดยถ้าพนักงานคนนี้ต้องลาป่วยเกินสามสิบวันด้วยเหตุผลที่จำเป็นจริง ๆ นายจ้างก็อาจจะให้ค่าจ้างในวันลาป่วยที่เกินสามสิบวันนี้เป็นกรณีพิเศษก็ได้ครับ

 

 ข้อที่ 8. บทกำหนดโทษของนายจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามมาตราต่าง ๆ ในข้อ 1 – 7 นั้น มาตรา 28 29 30

มีโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาทในมาตรา 146 ครับ

    นอกจากนี้หากการกระทำของนายจ้างที่ลูกจ้างเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่นพิจารณาโทษไม่เป็นธรรม หรือเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องในมาตรา 49 พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากนายจ้างได้ นอกเหนือจากค่าชดเชยในการเลิกจ้างตามมาตรา 118 ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบหรือคำสั่งใด ๆ ของนายจ้าง ที่เป็นการเอาเปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลก็มีอำนาจในการสั่งให้นายจ้างยกเลิกได้ ตามมาตรา 14/1 ครับ

การฟ้องของลูกจ้างกระทำได้สองกรณีคือ ยื่นคำฟ้องต่อพนักงานตรวจแรงงานที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือยื่นคำฟ้องต่อนิติกรที่ศาลแรงงานกลาง  ต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งนะครับ ยื่นสองอย่างพร้อมกันไม่ได้ และไม่มีค่าทนาย ค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้นครับ

อดิศร


 

From: nikom_ptpguard@hotmail.com
To: siamhrm@googlegroups.com
Subject: [SIAMHRM.COM :31056] สอบถามอ.อดิศร และพี่ HR ทุกท่าน เรื่องสิทธิการลาครับ
Date: Fri, 3 Dec 2010 09:08:33 +0700



NIKOM  POOKKAEW
P.T.P.GENERAL GUARD CO,LTD

TRAINING/MARKETING
081 811 5787

e-mail : nikom_ptpguard@hotmail.com
 

 
สอบถามอ.อดิศร และพี่ๆHRทุกท่าน
เรื่องสิทธิการลา วันหยุด
1.พนักงานรายเดือน ต้องมีวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์ละ1วันใช่หรือไม่

2.พนักงานรายเดือนต้องมีสิทธิในวันหยุดนขัตฤกษ์และวันหยุดชดเชยใช่หรือไม่
3.ถ้าพนักงานรายเดือนมีคำสั่งให้ทำงานในวันนขัตฤกษ์ต้องได้ค่าจ้าง 2 เท่าของวันนั้นใช่หรือไม่
4.พนักงานรายเดือนมีสิทธิที่จะไม่ทำงานในวันนขัตฤกษ์ได้ใช่หรือไม่
5.ไม่ทราบว่าสิทธิการลากิจของพนักงานรายเดือนมีกี่วันต่อ 1 ปี
6.ไม่ทราบสิทธิการลาพักร้อนของพนักงานรายเดือน ลาได้กี่วัน ต่อปี
7.ไม่ทราบว่าสิทธิการลาป่วยลาได้กี่วันต่อปี
8.ถ้าผู้ว่าจ้างไม่ให้สิทธิพนักงานรายเดือน ตามข้อ 1 - 7 จะมีความผิดตามกฎหมายอย่างไรบ้าง
                                             ขอบคุณมากครับ




--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
 
แนะนำ :
 
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน แถมฟรี สูงสุด 2 เดือน ถึง 31 ธันวาคม 2553 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
 
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
 
แนะนำ :
 
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน แถมฟรี สูงสุด 2 เดือน ถึง 31 ธันวาคม 2553 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
 
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

ไม่มีความคิดเห็น: