สวัสดีครับ อดิศร ครับ
กรณีนี้เป็นการใช้สิทธิของลูกจ้างในมาตรา 49 พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน เรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมครับ
ซึ่งลูกจ้างมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากนายจ้างได้ อัตราค่าเสียหายไม่มีกำหนดไว้ในกฎหมายครับ
ขึ้นอยู่กับว่าลูกจ้างจะคิดว่าตนเองเสียหายอะไรบ้าง และเรียกร้องเอาจากนายจ้างตามเหตุผลที่ลูกจ้างจะอ้างต่อศาล
และเมื่อศาลรับฟ้องและวินิจฉัยว่านายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจริง ค่าเสียหายในส่วนนี้ก็จะมีการเจรจาต่อรองและศาลจะไกล่เกลี่ยให้จนสามารถตกลงหรือยินยอมกันได้ทั้งสองฝ่ายครับ
ทีนี้มาดูกันนะครับว่าอะไรบ้างที่เป็นเหตุผลเข้าข่ายว่านายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ผมพอจะรวบรวมได้จากประสบการณ์ดังนี้ครับ
- กรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่อายุงานไม่ถึง 120 วัน หรือกรณีที่นายจ้างมีเหตุผลว่าลูกจ้างไม่ผ่านทดลองงาน
หลาย ๆ คดีเกิดขึ้นและเข้าข่ายเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือนายจ้างเอาเปรียบลูกจ้างเกินสมควรนั้น เนื่องจากนายจ้างไม่มีระบบการประเมินผลทดลองงานที่โปร่งใสและเป็นธรรมต่อลูกจ้าง เช่น นายจ้างไม่มีแบบประเมินผลทดลองงานเลย เมื่อลูกจ้างเข้ามาทำงานให้แล้ว นายจ้างก็ปล่อยให้ลูกจ้างทำงานไปโดยอาจจะไม่มีคนคอยชี้แนะหรือสอนงานด้วยซ้ำ พอนายจ้างเห็นว่าลูกจ้างทำงานไม่ได้ตามที่คาดหวัง หรือเมื่อครบกำหนดทดลองงานแล้วโดยนายจ้างอาจจะเข้าใจว่าการทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลา ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ก็เลยบอกเลิกจ้างลูกจ้างทันที สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 นายจ้างก็ไม่จ่าย อย่างนี้หากลูกจ้างเห็นว่าไม่เป็นธรรมก็สามารถฟ้องตามมาตรา 49 วิ. ได้ครับ ศาลก็จะมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง หรือถึงแม้ว่านายจ้างจะจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแล้วก็ตาม แต่หากลูกจ้างพิสูจน์ได้ว่าฝ่ายนายจ้างมีการกลั่นแกล้ง หรือนายจ้างไม่มีหลักฐานที่แสดงว่ามีการพิจารณาทดลองงานอย่างเป็นธรรมลูกจ้างก็เรียกร้องค่าเสียหายได้ครับ
- กรณีที่ลูกจ้างทำงานเกิน 120 วันแล้ว เหตุผลในการเลิกจ้างก็จะมีอยู่ 2 ประการคือ
2.1 นายจ้างเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่ได้มีความผิดทางวินัยตามมาตรา 119 ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 118 และหากไม่ได้มีการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วยก็ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 ถ้านายจ้างไม่จ่าย ลูกจ้างก็ฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยหรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ หรือลูกจ้างก็อาจเรียกร้องค่าเสียหายตามมาตรา 49 วิ ได้อีก หากเห็นว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการเอาเปรียบเกินสมควรหรือลูกจ้างถูกกลั่นแกล้ง หรือเหตุผลที่นายจ้างเลิกจ้างในกรณีนี้เป็นเพราะระเบียบของนายจ้างบางอย่างขัดต่อกฎหมาย ถึงแม้นายจ้างจะจ่ายค่าชดเชยแล้วก็ตาม
2.2 นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากลูกจ้างมีความผิดทางวินัยตามมาตรา 119 ซึ่งนายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย แต่ฝ่ายนายจ้างไม่มีการพิจารณาสอบสวนอย่างเป็นธรรม หรือกฎระเบียบของนายจ้างขัดต่อกฎหมาย หรือเอกสารหนังสือเตือนก็ดี หนังสือเลิกจ้างก็ดีของฝ่ายนายจ้างเป็นโมฆะ อย่างนี้ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าเสียหายจากการเลิกจ้างได้ครับ
นอกจากนี้แล้ว ก็จะยังมีค่าตอบแทนอื่น ๆ ( ถ้ามี ) ที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้ลูกจ้างกรณีเลิกจ้างด้วย เช่นเงินประกันตามมาตรา 10 , ค่าจ้างค้างจ่าย ,ค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสม ตามมาตรา 67 หรือเงินอื่น ๆ อันเป็นสิทธิของลูกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมาย หากนายจ้างจ่ายให้ไม่ครบ ลูกจ้างก็เรียกร้องได้ครับ
เท่าที่คุณได้ยกตัวอย่างมา เรื่องของระเบียบการลา ถ้านายจ้างกำหนดไว้อย่างนี้ลูกจ้างฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้แน่นอนครับ เพราะเป็นระเบียบที่ขัดต่อกฎหมาย ใช้บังคับลูกจ้างไม่ได้ครับ
ถึงแม้จะจ่ายค่าชดเชยก็ตาม ลูกจ้างก็ยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ครับ
หากนายจ้างจะพิจารณาการลางานของลูกจ้างว่ามีความผิดทางวินัยนั้น นายจ้างจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่า การลาของลูกจ้างเป็นเท็จ หรือลูกจ้างได้ทำผิดระเบียบในการลางานที่นายจ้างได้กำหนดไว้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นครับ
เหตุผลเพราะการลางานของลูกจ้างนั้น มีกฎหมายกำหนดไว้แล้ว ว่าลูกจ้างมีสิทธิอย่างไรบ้าง
เช่นสิทธิในการลาป่วยตามมาตรา 32 หรือสิทธิในการลากิจตามมาตรา 34
ถึงแม้ในมาตรา 34 นายจ้างจะมีสิทธิกำหนดข้อบังคับในการลากิจได้ แต่ข้อบังคับนั้นก็จะต้องไม่เป็นการเอาเปรียบลูกจ้างเกินสมควรด้วยเช่นกันครับ
แนะนำว่าหากไม่ต้องการให้เกิดปัญหาพนักงานฟ้องร้อง ฝ่ายบุคคลจะต้องเอาข้อบังคับการทำงานที่มีอยู่รวมทั้งวิธีในการปฏิบัติด้านกระบวนการพิจารณาทางวินัย ตลอดจนแบบฟอร์มต่าง ๆ มาทบทวนดูใหม่ครับ ว่ามีอะไรขัดต่อกฎหมายหรือไม่ เพราะถ้ามี ข้อบังคับจะเป็นโมฆะ ใช้บังคับไม่ได้ ถึงแม้ลูกจ้างจะยินยอมก็ตาม และหากลูกจ้างไปฟ้อง นายจ้างก็จะแพ้คดีครับ
ส่งข้อบังคับหรือระเบียบต่าง ๆ มาให้ผมช่วยดูให้ก็ได้นะครับ จะแนะนำให้
และไม่ทราบว่าเคยได้รับเอกสาร คำถาม คำตอบ ที่ผมรวบรวมไว้หรือยัง ถ้ายังก็ขอมาได้ครับ
จะ mail ส่งมาให้นะครับ
อดิศร
From: malisa.yon@sammitrauto.com
To: Angkarn@kslgroup.com; siamhrm@googlegroups.com
Subject: FW: อ้างถึง: [SIAMHRM.COM :28713] ปรึกษาเกี่ยวกับคดีแรงงานค่ะ
Date: Thu, 26 Aug 2010 13:26:43 +0700
ยกตัวอย่างเช่น บริษัทฯ มีระเบียบการลาให้พนักงานเช่น
ลาได้ไม่เกิน 5% ของ MAN HOUR ในแต่ละเดือน หากเกิน ติดต่อกัน 2 เดือน จะถูกใบเตือนครั้งที่ 1 ด้วยวาจา
ติดต่อกันอีก ก็ถูกครั้งที่ 2 ,ครั้งที่ 3 ...ซึ่งพนักงานลงนามเซ็นต์รับทราบทุกครั้ง จนถึงเลิกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชยตามอายุงาน
เป็นต้นค่ะ
ขอแสดงความนับถือ
มาลิสา พรสุดาชัย(นุ่น)
เจ้าหน้าที่บุคคล
บริษัท สามมิตรโอโตพาร์ท จำกัด
02-4209696
From: Angkarn Chaiyachart [mailto:Angkarn@kslgroup.com]
Sent: Thursday, August 26, 2010 1:10 PM
To: malisa.yon@sammitrauto.com
Subject: อ้างถึง: [SIAMHRM.COM :28697] ปรึกษาเกี่ยวกับคดีแรงงานค่ะ
กรณีที่เลิกจ้างนี้ มีเหตุผลในการเลิกจ้างอย่างไร หรือทำผิดระเบียบบริษัทฯอะไรบ้างครับ
จาก: siamhrm@googlegroups.com [mailto:siamhrm@googlegroups.com] ในนามของ malisa.yon@sammitrauto.com
ส่ง: Thursday, August 26, 2010 11:24 AM
ถึง: siamhrm@googlegroups.com
เรื่อง: [SIAMHRM.COM :28697] ปรึกษาเกี่ยวกับคดีแรงงานค่ะ
ปรึกษาผู้รู้ค่ะ
บริษัทฯ มีคดีความที่ต้องขึ้นศาลแรงงานหลายคดีค่ะ(เช่น สถิติการหยุดงานมากสะสมฯลฯ)
โดยบริษัทฯ ก็ได้ทำการเลิกจ้างพนักงานโดยจ่ายเงินชดเชยตามอายุงาน
และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง+วันพักร้อนคงเหลือให้พนักงานแล้ว
ซึ่งพนักงานส่งฟ้องบริษัทฯ โดยขอค่าเสียหายกรณีถูกเลิกจ้าง เป็นเงินหลายแสนบาท
บางรายเป็นล้านบาท ซึ่งตำแหน่งงานก็เป็นพนักงานธรรมดา แต่ศาลก็รับฟ้อง
ปัจจุบันก็ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาคดีอยู่ เลยอยากจะถามผู้รู้ว่า ค่าเสียหายกรณีถูกเลิกจ้าง
ที่พนักงานอ้างว่า ทำให้เขาต้องลำบากเช่น ต้องส่งรถ ส่งลูก ส่งบ้าน ฯลฯ ศาลจะพิจารณาจากอะไร
และมีอัตราการจ่ายกำหนดไว้หรือไม่
ตัวดิฉันเองก็เป็นลูกจ้างคนหนึ่ง ถึงจะเป็นฝ่ายบุคคล แต่ก็มิได้เข้าข้างนายจ้างจนเกินไป
แต่ในกรณีนี้ หากนายจ้างต้องจ่ายเพิ่มเติมจากเงินชดเชยตามอายุงานแล้ว ต้องมาจ่ายค่าเสียหาย
อีก แล้วนายจ้างจะเลิกจ้างพนักงานที่เกเร ด้วยวิธีอะไร บางครั้งการลงโทษตามขั้นตอน หรือการนับ
อายุใบเตือนว่าไม่เกิน 1 ปี ก็เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งในการจัดการกับพนักงานที่เกเรหรือหัวหมออยู่
เหมือนกัน รบกวนผู้ที่เคยมีประสบการณ์เรื่องดังกล่าว แชร์ข้อมูลด้วยค่ะ
ขอแสดงความนับถือ
มาลิสา พรสุดาชัย(นุ่น)
เจ้าหน้าที่บุคคล
บริษัท สามมิตรโอโตพาร์ท จำกัด
02-4209696
--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน รับส่วนลดลด 40 % ถึง 31 สิงหาคม 2553 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
__________ Information from ESET NOD32 Antivirus, version of virus signature database 5397 (20100825) __________
The message was checked by ESET NOD32 Antivirus.
http://www.eset.com
__________ Information from ESET NOD32 Antivirus, version of virus signature database 5397 (20100825) __________
The message was checked by ESET NOD32 Antivirus.
http://www.eset.com
--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน รับส่วนลดลด 40 % ถึง 31 สิงหาคม 2553 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น