โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
แม้ว่าศาสนาพุทธจะยังคงเป็นศาสนาหลักของญี่ปุ่นควบคู่กับชินโต แต่จำนวนวัดและพระก็ลดน้อยลงเรื่อยๆ ปัจจุบันมีวัดราว 75,000 แห่ง และพระสงฆ์ประมาณ 200,000 กว่ารูป และในแต่ละปีมีวัดหลายร้อยแห่งต้องปิดตัวลง พระสงฆ์รุ่นใหม่จึงรู้สึกกังวลถึงอนาคตของพุทธศาสนาที่เริ่มริบหรี่ลง เรื่อยๆ เพราะคนญี่ปุ่นยุคนี้เติบโตในสังคมที่เน้นการบริโภคเป็นหลัก จึงหันหลังให้กับการสวดมนต์ภาวนา
คนญี่ปุ่นจะเข้าวัดเฉพาะเทศกาลสำคัญทางพุทธศาสนา และมุ่งหาที่พึ่งปลอบประโลมที่เป็นวัตถุ เช่น พวกเครื่องรางของขลัง มากกว่าการเยียวยาทางจิตวิญญาณ
ด้วยเหตุนี้ พระสงฆ์หลายรูปจึงได้ลุกขึ้นมาหากลยุทธ์ที่จะดึงคนรุ่นใหม่ให้เข้าหาธรรมะ เพื่อให้พุทธศาสนายังคงอยู่คู่ญี่ปุ่น
พระคันโช ทาไก เจ้าอาวาสหนุ่มของวัดเคียวโยจิ ซึ่ง ชูสโลแกนของวัดเก่าแก่อายุกว่า 400 ปีว่า “คลินิกรักษาใจ” พระทาไกได้ฉายาจากคนทั่วไปว่า “มิสเตอร์แฮปปี้เนส” จากการปรับรูปแบบการสวดมนต์แบบดั้งเดิม มาเป็นการสวดมนต์ในสไตล์แร็พ ที่ลงท้ายด้วยเย่ๆ โย่ๆ เพื่อเรียกความสนใจจากวัยโจ๋
“นี่เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นนานแล้ว เขาได้เข้ามาอยู่ในฝันของฉัน เขาเป็นพระเจ้าในจักรวาลนี้ เย่.. เย่.. คุณกำลังพูดถึงใครอยู่หรือพี่ชาย อ๋อ..ฉันกำลังพูดถึงองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า.. โย่.. โย่” นี่เป็นส่วนหนึ่งของการสวดมนต์สไตล์แร็พที่สนุกสนาน
“มีคนวิพากษ์วิจารณ์กันมาก เมื่ออาตมาเริ่มต้นสวดแบบนี้ แต่อาตมาคิดว่า บทบาทของพระสงฆ์คือ การเผยแพร่หลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในรูปแบบต่างๆกัน เมื่อเวลาผ่านมากว่า 2,500 ปีแล้ว อาตมาคิดว่า เราควรจะเลือกวิธีที่เหมาะสม เพื่อปรับพุทธศาสนาให้เข้ากับทุกยุคสมัย แม้ว่าพุทธศาสนามีเนื้อหาสาระที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนในสังคม แต่พระสงฆ์ก็จำเป็นต้องทำงานเชิงรุกเข้าหามวลชน” พระทาไกกล่าว
ส่วนพระนาคาซาโตะ วัย 45 ปี เจ้าอาวาสวัดเรียวโฮจิ วัดที่มีอายุราว 400 ปีเศษ บอกว่า ตัวท่านเกิดในยุคการ์ตูนมังงะ (การ์ตูนตาโตสำหรับเด็กของญี่ปุ่น) ดังนั้น จึงได้นำการ์ตูนมังงะ มาเป็นไอเดียในการดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้มาที่วัด โดยเริ่มตั้งแต่ประตูทางเข้าที่มีป้ายตัวการ์ตูนมังงะสีสันสดใส ซึ่งตัวการ์ตูนเหล่านี้ก็คือเทพเจ้าต่างๆของญี่ปุ่น เช่น เทพธิดาแห่งความรู้ดนตรี และศิลปะ เป็นต้น และในวันเสาร์-อาทิตย์ วัดจะจัดรายการพิเศษ ตั้งเต็นท์ร้านกาแฟชั่วคราว โดยมีพนักงานสาวแต่งกายในชุดกระต่ายน้อย ซึ่งเป็นหนึ่งในชุดแฟนซี ที่กำลังฮอตฮิตในหมู่วัยรุ่นญี่ปุ่น มาเสิร์ฟกาแฟ และทำหน้าที่ต้อนรับผู้คนที่มาเยือน รวมทั้งยังมีนักร้องสาวขวัญใจวัยโจ๋ “โทโรมิ” ซึ่งเป็นผู้วาดการ์ตูนมังงะบนป้ายของวัด แต่งกายในชุดแดงขาว เลียนแบบเทพธิดาศักดิ์สิทธิ์ของ วัดมาช่วยดึงดูดคนให้เข้าวัดด้วย
กลยุทธ์นี้ดูท่าจะได้ผล เพราะจากก่อนหน้าที่แทบจะไม่มีคนมาวัด กลายเป็นว่ามีผู้คนนับร้อยแห่กันมาวัดในช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองฤดูใบไม้ร่วงที่ ผ่านมา
“ผมมาที่นี่ เพราะมีคนพูดถึงวัดนี้กันมากในโลกไซเบอร์” มิตซูทากะ อาดาชิ วัย 26 ปี โปรแกรมเมอร์ซอฟแวร์ของบริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง ซึ่งมาที่วัดนี้เป็นครั้งแรกกล่าว “ผมค่อนข้างประหลาดใจที่ได้มาเห็นสิ่งเหล่านี้ แต่ก็สนุกดี มันจะกระตุ้นให้คนอยากมาที่นี่”
เจ้าอาวาสวัดเรียวโฮจิย้ำว่า ท่านไม่คิดว่าสิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม
“อาตมาอยากจะบอกให้คนทั่วไปรู้ว่า วัดก็เป็นสถานที่ ที่สนุกสนานได้เช่นกัน”
นอกจากนี้ทางวัดได้ทำการ์ดตัวการ์ตูนมังงะออกจำหน่าย ซึ่งสามารถดาวน์โหลดวิดีโอบทสวดมนต์ของเจ้าอาวาสลงในโทรศัพท์มือถือได้ด้วย
วัดอีกแห่งหนึ่งที่มีรูปแบบสนุกสนานไม่แพ้กัน ในการ ดึงคนเข้าวัดก็คือ วัดสึกิจิ ฮองกันจิ ซึ่งบรรดาพระสงฆ์และแม่ชีได้จัดกิจกรรมที่คล้ายแฟชั่นโชว์ของทางโลก คือมีพระภิกษุจากหลายนิกายในพระพุทธศาสนา ต่างนุ่งห่มจีวรสีสันสดใส เดินบนเวที พร้อมขับขานพระสูตรด้วยท่วงทำนองแร็พ และท่าเดินที่เข้ากับเสียงดนตรีแนวฮิพฮอพที่บรรเลงประกอบ ท่ามกลางกลีบดอกบัวกระดาษหลากสีที่ถูกโปรยลงบนเวที
ส่วนพระคาคุ เอโออิ พระอีกรูปหนึ่งของวัดสึกิจิ ก็จัดกิจกรรม “ปิดตาทายอาหาร” เป็นประจำทุกเดือน โดยผู้ร่วมงานจะถูกปิดตา เพื่อเล่นเกมทายชื่ออาหารที่พระฉัน ซึ่งนอกจากความสนุกสนานแล้ว ฆราวาสยังจะได้รู้ว่าอาหารที่พระสงฆ์ฉันมีรสชาติเช่นไร(เพราะพระญี่ปุ่นทำ อาหารฉันเอง)
“พระและฆราวาสมีโอกาสพบปะกันน้อยมาก” พระเอโออิกล่าว “เมื่ออาตมาจัดงานสนุกสนานเช่นนี้ คนจะเริ่มเปิดใจและอยากเรียนรู้เรื่องพุทธศาสนามากขึ้น”
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่เห็นด้วยซึ่งก็กังวลต่ออนาคตของพุทธศาสนา มองว่าการดึงคนเข้าวัดในรูปแบบดังกล่าว คือ เล่ห์กลทางการตลาด
ขณะที่พระโฮเกน นาโตริ พระจากวัดแห่งหนึ่งในโตเกียวใช้กลยุทธ์เดินออกนอกวัดเข้าหาผู้คนตามคลับ บาร์ เพื่อนำธรรมะเข้าถึงคนวัยทำงาน ที่มักใช้เวลาหลังเลิกงานมาสังสรรค์ที่นี่
พระนาโตริเริ่มจากการเสิร์ฟเครื่องดื่ม และคุยเล่นกับ แขกที่มาเที่ยว เพื่อให้รู้สึกเป็นกันเอง จากนั้นจะพูดถึงเนื้อหาของบทสวด แล้วเมื่อเริ่มตีระฆัง 1 ครั้ง พระสงฆ์ 3 รูปก็เริ่มต้นร้องเพลงสวดมนต์ เมื่อสวดมนต์เสร็จ ก็จะปุจฉาวิสัชนาธรรมกับบรรดาแขกที่มาเที่ยวอีกครั้งหนึ่ง
6 ปีที่แล้ว พระนาโตริและพระลูกวัดอีก 2 รูป ได้เริ่ม ทดลองขับขานบทสวดมนต์ในสไตล์แจ๊สและสไตล์อื่นๆ แต่ในที่สุดก็มาลงเอยที่การสวดมนต์แบบดั้งเดิมซึ่งไม่ได้เสริมแต่งอะไร
“หนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นมีโอกาสน้อยมากที่จะเข้าถึงพุทธศาสนา” พระนาโตริกล่าว “พวกเขาพากันคิดว่าพวกพระทำตัวน่าเบื่อ มัวแต่นั่งอยู่แต่ในวัด สวดมนต์ให้ชาวบ้านโดยไม่ออกมารับฟังความคิดเห็นของพวกเขา”
ตลอดเวลาที่ผ่านมา พระนาโตริไม่รู้สึกละอายที่ต้องรุกคืบเข้าไปในย่านคนกลางคืนของโตเกียว เพื่อนำหลักธรรมคำสอนไปเผยแพร่ ท่านบอกว่า “เราจำต้องเร่งชี้ทาง ให้ฆราวาสรู้จักการใช้ชีวิต แต่เราก็ต้องทำให้พระรู้สึกสนุกในการเผยแพร่ด้วย...ถ้าพวกเขาไม่มาหาเรา เราก็ต้องไปหาเขา ก็เหมือนการส่งมอบธรรมะให้ถึงที่นั่นเอง”
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 110 มกราคม 2553 โดยพิสุทธิ์)
--
เชิญ เข้ามาร่วม post ใน web board
http://www.thebestinsure.com/
บทความของใครได้ัรับการพิจารณาจากคณะกรรมการแล้วว่าน่าสนใจ และ มีประโยชน์ จะได้รับรางวัล กาแฟ 7 จากเวียตนามครับ
โดยจะพิจารณาให้ทุกเดือน
--
- ร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ต้อนรับปีใหม่ สำหรับนักสรรรหามืออาชีพ พร้อมรับส่วนลด มากมาย ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2553 นี้ เท่านั้น
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น