สวัสดีครับ อดิศร ครับ
ลูกจ้างฟ้องได้ครับ เพราะจริง ๆ แล้วเรื่องเงินประกันนั้นอยู่ในมาตรา 10 และประกาศกฎกระทรวงที่มีเนื้อหาค่อนข้างมากครับ
เรื่องตั้งแต่อาชีพหรือลักษณะงานที่เรียกเก้บเงินประกันได้นั้น จะต้องเป็นอาชีพหรือหน้าที่หรือลักษณะงานที่ลูกจ้างเกี่ยวข้องในการดูแลทรัพย์สินของนายจ้างโดยตรง
เช่น พนักงานบัญชี การเงิน แคชเชียร์ พนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานเร่งรัดหรือเรียกเก็ยหนี้สิน เป็นต้น
หากเป็นหน้าที่อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับทรัพย์สินของนายจ้างแล้ว นายจ้างจะไปเียกเก็บเงิรประกันไม่ได้ครับ
เงินประกันที่เรียกเก็บจากลูกจ้างนั้นจะต้องจัดไว้เฉพาะโดยไม่ไปเกี่ยวข้องกับเงินอื่น ๆ ของนายจ้าง
และนายจ้างจะเอาเงินประกันที่เรียกเก็บมานั้น มาใช้ในลักษณะอื่นใดที่เป็นประโยชน์ต่อนายจ้างเองไม่ได้
เงินประกันเรียกเก็ยได้ไม่เกินหกสิบเท่าของค่าจ้างที่คำนวณเป็นรายวัน
ส่วนกรณีที่นายจ้างจะสามารถริบหรือหักเงินประกันได้นั้น ลูกจ้างจะต้องมีความผิด หรือทำงานผิดพลาด บกพร่อง แล้วทำให้ทรัพย์สินของนายจ้างเสียหายหรือสูญหาย
กรณีอื่น ๆ ไม่เกี่ยวข้องครับไปเรียกเก็บหรือริบ หรือหักเงินประกันไม่ได้ครับ ถ้าลูกจ้างฟ้อง นายจ้างเสียเปรียบ เพราะอาจขัดต่อเจตนารมณ์ของมาตรา 10 ได้ครับ
อย่างกรณ๊ที่คุณถามมาเรื่องที่ลูกจ้างลาออกไม่ถูกต้อง ไม่มีการส่งมอบงานนั้น
หากจะสู้คดีกัน เรื่องแรกเลยก็ต้องมาดูก่อนครับ ว่าพนักงานคนนั้นทำหน้าที่อะไร และเป็นหน้าที่งานที่สามารถเก็บเงินประกันตามกฎหมายได้หรือไม่
หากเป็นหน้าที่ที่ไม่เข้าข่ายตามที่ประกาศไว้ในกฎกระทรวง นายจ้างจะต้องคืนเงินประกันที่เรียกเก็บมาทั้งหมดคืนให้แก่ลูกจ้างไปพร้อมดอกเบี้ยครับคิดตั้งแต่วันแรกที่นายจ้างได้เรียกเก็บเงินประกันไปจนถึงวันสุดท้ายที่ลูกจ้างลาออกหรือพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ในอัตราร้อยละ 15ต่อปีครับ
แต่หากว่าเป็นหน้าที่ที่เข้าข่ายเรียกเก็บเงินประกันได้ตามกฎหมายแล้ว ก็ต้องมาดูต่อว่าพฤติการณ์หรือความผิดพลาด หรือความบกพร่องที่ลูกจ้างได้กระทำลงไปนั้น
ทำให้นายจ้างเสียหายในทรัพย์สินของนายจ้างหรือไม่ เป้นจำนวนเงินเท่าไร ซึ่งจะต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนประกอบด้วย จึงจะไปหักหรือริบเงินประกันได้
และการหักหรือริบเงินประกันได้นั้น ลูกจ้างต้องยินยอมเท่านั้น รวมทั้งกฎหมายยังได้กำหนดเงื่อนไขเอาไว้อีกว่าหักได้ไม่เกินเท่าไรอีกครับ
อย่างเช่น พนักงานรักษาความปลอดภัย ทำงานผิดพลาด ทำให้มีการโจรกรรมทรัพย์สินของนายจ้างขึ้นภายในบริษัท อย่างนี้ก็เข้าข่ายชัดเจนว่านายจ้างหักหรือริบเงินประกันได้ครับ
แต่ถ้าเรื่องที่ลูกจ้างลาออกไม่ถูกต้อง ไม่มีการส่งมอบงานนั้น ก็จะมีอยู่สองกรณีที่ไม่ควรเอามารวมกันเวลาพิจารณานะครับ
สองกรณีนี้คือการลาออกไม่ถูกต้อง ก็ต้องมาดูอีกครับว่า ลาออกไม่ถูกต้องนั้น ไม่ถูกต้องอย่างไร และการลาออกของลูกจ้างนั้นก็จะมีมาตรา 17 เข้ามาเกี่ยวข้องอีก
หากลูกจ้างได้ลาออกโดยปฎิบัติายใต้กรอบของมาตรา 17 แล้ว ลูกจ้างไม่มีความผิดนะครับ นายจ้างไม่อาจยกเอาระเบียบของนายจ้างมาอ้างแต่ฝ่ายเดียว นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 17
เช่นเดียวกัน หากไม่อยู่ใรกรอบนี้แล้ว ระเบียบของนายจ้างก็จะเป็นโมฆะ ใช้บังคับลูกจ้างไม่ได้ครับ เช่น นายจ้างไปกำหนดว่า ลูกจ้างที่ประสงค์จะลาออกจะต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย สามสิบวัน
ซึ่งตามมาตรา 17 นั้น ลูกจ้างมีสิทธิที่จะลาออกโดยทำเป็นหนังสือให้รายจ้างทราบ ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงงวดการจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใดเพื่อให้มีผลต่องวดการจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า
หมายถึงว่า หากงวดการจ่ายค่าจ้างของนายจ้างกำหนดเอาไว้ทุกวันที่ 30 ของแต่ละเดือน สมมุติว่า ลูกจ้างจะลาออกในเดือน เมษายนนี้ ลูกจ้างอาจทำหนังสือลาออกเพื่อให้นายจ้างทราบในวันที่ 29 เมษายนก็ได้ครับ ไม่จำเป็นต้องบอกกล่วงหน้าก่อนสามสิบวันก็ได้ ส่วนนายจ้างอาจจะเสียหายที่ลูกจ้างลาออกกระทันหันนและทำให้นายจ้างเสียหายนั้น
นายจ้างก็จะต้องมีหลักฐานชัดเจนว่าเสียหายอย่างไร มูลค่าเท่าไร และไปดำเนินการฟ้องแพ่งเอาเองรับ ฟ้องในคดีแรงงานไม่ได้
เรื่องของการลาออกไม่ถูกต้องคุณก็ต้องมาดูและพิจารณาในประเด้นนี้ให้ดีครับ
ส่วนอีกประเด็นคือไม่มีการส่งมอบงาน อย่างนี้พอจะมีช่องทางสู้คดีหากลูกจ้างฟ้องได้ครับ แต่ก็เช่นกัน คือจะต้องมาดูว่าเงินประกันที่เรียกเก็บมานั้น เป็นไปตามมาตรา 10 หรือไม่
ถ้าผิดมาตั้งแต่ต้น ก็แพ้คดีตั้งแต่ต้นเช่นกันครับ ต้องจ่ายคืนพร้อมดอกเบี้ยอีกต่างหาก แต่ถ้าเป็นเงินประกันที่ถูกต้องแล้ว ก็มาดูพฤติการณ๋ว่าการไม่ส่งมอบงานนั้น ลูกจ้างมีเจตนาหรือไม่
และนายจ้างเสียหายอย่างไร มูลค่าเท่าไร ซึ่งต้องมีหลักฐานชัดเจนด้วยครับ ถ้าหลักฐานไม่ชัดเจน หรือชัดเจนเพียงบางประเด็น นายจ้างก็หักได้เฉพาะบางประเด็นที่ชัดเจนเท่านั้น
หรือหากไม่ชัดเจนทั้งหมดก็แพ้คดีไปครับ
นอกจากนี้ก็ยังมีด่านสุดท้ายอีกด้วย คือลูกจ้างต้องยิมยอมจึงจะหักได้ครับ
การแก้ปัญหาเรื่องนี้ที่จะยั่งยืนผมขอแนะนำว่าให้มาดูเรื่องของระบบการสรรหาหรือคัดสรรค์คนเข้าทำงานมาให้ดีตั้งแต่ต้นครับ
หากเราเลือกคนดีมาทำงานด้วย ปัญหาก็จะน้อย ต้องหาวิธีทดสอบหลาย ๆ ด้านในการเลือกคนเข้ามาทำงานกับเรา
ทดสอบทั้ง IQ EQ ทัศนคติ ตรวจสอบประวัติการทำงานที่ผ่านมา ยิ่งเราได้ข้อมูบลมากเท่าไรก็ยิ่งดีครับ ให้ฝ่ายสรรหาเค้าพิถีพิถันสักหน่อยครับ
ช้าหน่อยคงไม่เปนไรครับ ยอมเสียเวลาสักหน่อยแต่คุ้มครับ เมื่อหามาได้แล้ว กระบวนการต่อไปก็คือควรมีระบบการทดลองงานที่ชัดเจน เป็นธรรม เด็ดขาด ถ้าไม่ผ่านก็ไม่ผ่านครับ
ไม่ต้องเอาไว้ หาคนใหม่ไปเลย หลาย ๆ ที่มักจะใจดีเกินไป ก็ไม่คุ้มครับ หรือบางแห่งก็ไม่มีระบบการทดลองงานเอาเลย ก็ยิ่งแย่ครับ
นอกจากนี้แล้วสิ่งสำคัญคือควรตังคำถามว่า เราจะรักษาคนขององค์กรเอาไว้ได้อย่างไร เราจะสร้างจิตสำนึกให้คนรักและหวงแหนองค์กรได้อย่างไร
เราจะสร้างให้คนในองค์กรมีความสุขในการทำงานทุก ๆ วันได้อย่างไร องค์กรเราทำอะไรรับใช้หรือดูแลสังคมบ้าง คนในองค์กรขัดแย้งกันมากน้อยแค่ไหน
ถ้าเรามีระบบหรือกระบวนการด้านแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในองค์กรแล้ว ปัญหาพนักงานลาออกไม่ถูกต้องจะแทบไม่มีหรือไม่มีเลยครับ
อดิศร
> Subject: [SIAMHRM.COM :34496] รบกวนผู้รู้กฎหมายค่ะ เกี่ยวกับการหักเงินประกันการทำงาน
> From: aummyangel@gmail.com
> To: siamhrm@googlegroups.com
>
> เรียน ท่านสมาชิกทุกท่าน
>
> กรณีลูกจ้างลาออกไม่ถูกต้อง ไม่มีการส่งมอบงาน
> หากนายจ้างจะริบเงินประกันการทำงานจะได้หรือไม่คะ
> กฎหมายจะครอบคลุมด้านใดบ้างคะ
> พอดีมีลูกจ้างก่อกวนบริษัทยุให้เพื่อนพนักงานด้วยกันฟ้องศาลเกี่ยวกับการริบเงินประกันการทำงาน
> บริษัทฯ ไม่มีเจตนาจะริบเงินประกันหรอกค่ะ
> แต่จะกำหลาบพนักงานที่ไม่มีระเบียบ ทิ้งงานไว้ มีผลเสียหายต่อการทำงาน
> การประสานงานภายนอกก็สะดุดค่ะ
>
> รบกวนด้วยนะคะพอดีไม่เก่งเรื่องข้อกฎหมายค่ะ
>
> --
> - โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
>
> แนะนำ :
>
> http://www.facebook.com/JobSiam ** กด ถูกใจ เป็น Fan Page ของเรานะค่ะ **
>
> http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน ลด30% ถึง 30 เมษายน 2554 นี้
>
> http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
>
> ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
>
> คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
> - หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
> - หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
> - หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
> - เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
> ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น