สวัสดีครับ อดิศร ครับ
กรณีนี้นายจ้างต้องพิสูจน์ให้ได้ก่อนครับ ว่าพนักงานที่กินเหล้าอย่างนี้ทำให้นายจ้างเสียหายอย่างไร
และได้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดไว้ชัดเจนหรือไม่ การกำหนดว่าการดื่มสุรามีความผิดร้ายแรงนั้นก็ต้องมาดูอีกครับ ว่าส่งผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อนายจ้างจริงหรือไม่อย่างไรครับ ซึ่งหากฟ้องร้องกันศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยว่าร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรงครับ
หากไม่ได้ทำให้นายจ้างเสียหาย นายจ้างก็จะมาเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้ครับ เป็นเพียงการฝ่าฝืนระเบียบหรือมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสมเท่านั้น ซึ่งนายจ้างก็ควรใช้วิธีการตักเตือนเป็นหนังสือไปก่อน หรือถ้าจะเลิกจ้าง นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยครับ
และนายจ้างจะมาบังคับให้ลูกจ้างเขียนใบลาออกก็ไม่ได้เช่นกันครับ
ในข้อที่ 1. หากไม่มีหลักฐานยืนยันว่านายจ้างเสียหาย การเลิกจ้างอย่างนี้ นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 ครับ ถ้าอายุงานไม่ถึง 1 ปี ค่าชดเชยก็ไม่อัตราไม่น้อยกว่าสามสิบวันครับ
ในข้อที่ 2. หากสัญญาจ้างระบุว่าเมื่อผ่านทดลองงาน นายจ้างจะปรับอัตราเงินเดือนขึ้นให้ ถ้านายจ้างไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญา ลูกจ้างก็มีสิทธิทวงถามและเรียกร้องค่าจ้างตามสัญญาได้ครับ
ข้อที่ 3. ไม่แน่ใจว่าเป็นความผิดทางอาญาหรือไม่นะครับ แต่ผิดกฎหมายแพ่งครับ เดี๋ยวไงคงมีสมาชิกท่านอื่น ที่ให้ความกระจ่างในประเด็นนี้ได้นะครับ
ข้อที่ 4. หากลูกจ้างฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และนายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจริง ลูกจ้างก็มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้ตามสมควรครับ ซึ่งก็จะต้องมีการเจรจาต่อรองและไกล่เกลี่ยในชั้นศาลอีกทีครับ ที่ควรจะเรียกร้องได้ก็คงเป็นค่าเสียโอกาส ค่าเสียเวลาและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ครับ
ค่าเสียหายส่วนนี้แล้วแต่ลูกจ้างจะเรียกร้องประกอบกับเหตุผลอย่างไรก็ได้ครับ
อดิศร
From: tarzila@hotmail.com
To: adisorn_pers@hotmail.com
Subject: ค่าชดเชยจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
Date: Mon, 31 May 2010 01:37:40 +0700
สวัสดีค่ะ คุณอดิสร
ผู้รับจ้างเริ่มทำงานในธุรกิจโรงแรมตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2552
ในตำแหน่งระดับผู้บริหาร มีอายุสัญญา 1 ปี ตั้งแต่ 21 ธ.ค. 2552 - 21 ธ.ค. 2553 โดยระบุว่า มีระยะทดลองงาน119 วัน และ
หลังจากผ่านทดลองงานแล้ว หากผู้ว่าจ้างหรือผู้รับจ้างมีความประสงค์ที่จะยุติสัญญาก่อนกำหนด
สามารถบอกเลิกสัญญาแก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน...วันที่ 25 พฤษภาคม 2553 นายจ้างขอให้ลาออก โดยแจ้งว่า
ผู้รับจ้างได้ทำผิดสัญญาจ้างอย่างร้ายแรง กล่าวคือ ได้ดื่มสุรา
กับลูกค้าในวันที่ลูกค้ามาจัดเลี้ยงที่โรงแรมเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา...ผู้รับจ้างไม่ตกลงยื่นใบลาออก เพราะ
ในวันนั้น ผู้รับจ้างได้อยู่ต้อนรับลูกค้าในงานเลี้ยงของลูกค้า และ ลูกค้าระดับผู้บริหารได้เชิญผู้รับจ้างร่วมดื่มเป็นเกียรติ
ผู้รับจ้างเห็นว่าเป็นเวลาที่เลิกงานแล้ว ประมาณ 5 ทุ่ม จึงร่วมดื่มด้วย และไม่ได้ดื่มมาก
เป็นการดื่มเพื่อมารยาทเท่านั้น อีกทั้งตัวเองยังเป็นพนักงานระดับผู้บริหารของโรงแรม
จึงไม่น่าจะเป็นเหตุให้ถูกเลิกจ้างและผู้บริหารของทางลูกค้ายินดีมาเป็นพยานยืนยันด้วย....นายจ้างจึงส่งจดหมายบอกเลิกสัญญา
( ไม่มีการให้ใบเตือนใดๆ ) โดยระบุว่าขอบอกเลิกสัญญาจ้าง
โดยมีวันสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 26 มิถุนายน 2553 ( เหมือนเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน )
และจะไม่จ่ายเงินชดเชยใดๆเนื่องจากลูกจ้างผิดสัญญาข้อกระทำการที่เป็นเหตุให้นายจ้างเสียหายและให้ลูกจ้างหยุดปฏิบัติงานทันที
แต่จ่ายเพียงค่าจ้างจนถึงเดือนมิถุนายนเท่านั้น
จึงขอรบกวนถามว่า
1. ผู้รับจ้างมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าชดเชยการเลิกจ้างได้อีก 1 เดือน ถูกต้องหรือไม่คะ
2 ในสัญญาจ้างงานผู้ว่าจ้างตกลงจะขึ้นค่าจ้างให้เมื่อผ่านทดลองงาน แต่กลับไม่ได้ขึ้น ผู้รับจ้างมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ว่าจ้างจ้างจ่ายค่าจ้างตามสัญญาได้หรือไม่คะ
3 การที่นายจ้างจงใจผิดสัญญาจ้าง ถือว่าเป็นความผิดทางอาญาหรือไม่
4 ผู้รับจ้างสามารถเรียกร้องค่าชดเชยจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้หรือไม่ และมีหลักเกณฑ์อย่างไร เรียกเท่าใดจึงจะเหมาะสมคะ
เนื่องจากในช่วงนี้ธุรกิจโรงแรมมีรายได้ไม่ค่อยดีนักจึงเป็นการยากที่ผู้รับจ้างจะหางานใหม่ได้เพราะอยู่ในช่วง low season อีกทั้งสถานการณ์บ้านเมืองไม่ค่อยสงบด้วย
ผู้รับจ้างสามารถเรียกค่าชดเชยจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมนี้ เป็นเงินค่าจ้าง x 5 เดือนได้หรือไม่คะ เพราะกว่าจะ high season ก้คงเป็นช่วงเดือนพฤศจิกายน
ขอรบกวนด้วยนะคะ คำตอบของคุณอดิศร จะเป็นประโยชน์อย่างมากค่ะ
ขอบคุณค่ะ
Hotmail: Trusted email with powerful SPAM protection. Sign up now.
อีเมลของคุณและบริการอื่นๆ ที่พร้อมใช้งาน รับ Windows Live Hotmail ฟรี ลงทะเบียนเดี๋ยวนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น