สวัสดีครับ อดิศร ครับ
กรณีอย่างนี้นายจ้างทำไม่ได้ครับ เพราะเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่ยินยอม
และตามกฎหมายแล้วค่าตำแหน่งถือเป็นค่าจ้างตามปกติที่ต้องนำมาคิดรวมในการจ่ายค่าล่วงเวลา หรือค่าชดเชย ด้วยครับ นายจ้างจะมาแยกคิดไม่ได้ครับ ถ้าลูกจ้างฟ้องนายจ้างก็จะมีความผิดได้ครับ
วิธีการแก้ไขเรื่องของพนักงานทำงานไม่ได้ตามความคาดหวังที่ดีที่สุดคือการพัฒนาบุคลากรให้แม่นยำมากขึ้น ต้องคิดเสมอว่า หากพนักงานทำงานได้ไม่ดี คนที่บกพร่องมากที่สุดคือตัวผู้บังคับบัญชาเอง หรือแม้กระทั่งองค์กรเองที่ไม่มีวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ดีเพียงพอครับ ทั้งนี้ตั้งแต่การคัดเลือกคนเข้าทำงาน การสอนงานในระหว่างทดลองงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ ๆ อย่างสม่ำเสมอเพื่อค้นหาจุดแข็งและจุดอ่อนของคนในองค์กร และนำข้อมูลที่ได้มาทำแผนการฝึกอบรม พัฒนาทักษะให้ถูกต้องครับ
ขอให้มาใช้วิธีการพัฒนาให้ตรงจุดจะดีกว่าไปลดค่าจ้างหรือลดตำแหน่ง เพราะถึงลดไป ก็ไม่มีอะไรดีขึ้นมีแต่จะทำให้ยิ่งเกิดความเบื่อหน่าย ขวัญกำลังลดลง และประสิทธิภาพก็จะยิ่งตกต่ำลงไปอีกครับ สุดท้ายแล้วองค์กรเองนั่นล่ะครับที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะขาดศักยภาพในการแข่งขันครับ
ถ้าเราทำแผนพัฒนาได้ตรงจุดแล้ว คนที่ยังไม่มีการพัฒนาที่ดีขึ้น ก็สามารถใช้กลยุทธ์ วิธีการหรือมาตรการอื่น ๆ ได้อีกหลายอย่างครับ ตั้งแต่การโยกย้ายตำแหน่งหน้าที่ไปให้เค้าทำในที่ ๆ เหมาะสมกว่าเดิมโดยไม่ลดตำแหน่งหรือลดค่าจ้าง , การใช้มาตรการให้เกิดความเป็นธรรมและกระตุ้นจูงใจเช่น การพิจารณาปรับอัตราเงินเดือนหรือจ่ายโบนัส ตามคะแนนประเมินผลที่ได้ , ถ้าใครไม่ไหวจริง ๆ ทั้งที่เราทำทุกวิถีทางแล้ว ก็ใช้มาตรการสุดท้ายคือการเลิกจ้างและจ่ายค่าชดเชยให้ตามกฎหมาย เป็นต้นครับ
อดิศร
From: arinchaya@tuntextextile.com
To: adisorn_pers@hotmail.com; siamhrm@googlegroups.com
Subject: การลดตำแหน่ง ลดค่าตำแหน่ง และเงินเดือนของพนักงาน
Date: Tue, 25 May 2010 11:43:34 +0700
อีเมลของคุณและบริการอื่นๆ ที่พร้อมใช้งาน รับ Windows Live Hotmail ฟรี ลงทะเบียนเดี๋ยวนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น