วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

[SIAMHRM.COM :32464] พ.ร.ฎ.กำหนดงานที่ให้มีการคุ้มครองแตกต่างฯ พ.ศ. 2541 และการทำสัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา

เรียน ท่านอดิศร และเพื่อน HR
        ในหน่วยงานของผมกำลังหารือกันในการจะปรับปรุงระเบียบข้อตกลงเกี่ยวกับการทำงานกัน มีประเด็นเรื่องการทำสัญญาจ้างที่ผมยังคลุมเครือไม่ชัดเจน คือ
        1) โดยที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดงานที่ให้มีการคุ้มครองแรงงานแตกต่างไปจาก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2541 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2541 ที่ให้มีการคุ้มครองแรงงานแตกต่างจากใน พ.ร.บ. ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับเวลาทำงานปกติ เวลาพัก และงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงหรือค่าตอบแทนอย่างอื่น (ตาม ม.22) ซึ่งกำหนดให้มีงานต่าง ๆ ที่มีประเด็นสงสัยคือ มีงานด้านบริหารและงานจัดการ งานเสมียนพนักงาน งานที่เกี่ยวกับการผลิต งานในตำแหน่งผู้บริหาร งานธุรการ รวมทั้งงานเกี่ยวกับการเงินหรือบัญชี อยากทราบว่า พ.ร.ฎนี้ยังมีผลใช้บังคับในทางปฏิบัติอยู่หรือไม่ และมีประเด็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องอย่างไร
         2) ตำแหน่งทั่วไปที่เป็นลักษณะงานทำต่อเนื่อง เช่น งาน HR งานการเงิน งานจัดซื้อ รวมทั้งตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายดังกล่าว ฯลฯ จะทำสัญญาจ้างงาน เป็น (1) สัญญามีกำหนด 1 ปี แล้วต่อสัญญาทุก 1 ปีได้หรือไม่ หรือจะทำสัญญาจ้าง 3 ปี 2 ฉบับ (การต่อสัญญาที่ 2 เป็นต้นไปไม่ต้องมีการทดลองงาน) แล้วจึงปรับเข้าสัญญาแบบไม่มีกำหนดเวลา (Tenure) จะทำได้หรือไม่ และทั้งกรณี (1) และ (2) เมื่อสัญญาครบกำหนดแล้ว หากไม่ต่อสัญญา ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายตั้งแต่เริ่มงาน ใช่หรือไม่ เพราะจำไม่ได้ว่าอ่านพบความในลักษณะนี้ที่ใดซึ่งมีสาระสำคัญว่า งานเหล่านี้ไม่เข้าข่ายงานตามสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา
          ขอความกรุณาช่วยให้ความกระจ่างด้วย (กำลังหาข้อมูลช่วยเหลือตนเองอยู่ด้วย) และขอขอบคุณมา ณ ที่นี้
          ขอแสดงความนับถือ
           HR3CSR

ไม่มีความคิดเห็น: