วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ธรรมะใกล้ตัวฉบับ Lite ฉบับวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๘



จากใจ บก ใก้ตัว

dungtrin_avatar

ฉบับที่ ๑๕๘ ผลกรรมเก่าหรือใหม่เอาอะไรชี้?



จะใช้อะไรเป็นเครื่องตัดสินว่า
สิ่งที่กำลังเกิดขึ้น 
เป็นผลของกรรมเก่าหรือกรรมใหม่?


ไม่ว่าจะถูกห่อหุ้มด้วยโลกอันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์
ทางพุทธชี้ว่าคุณกำลังอยู่กับผลกรรมของตัวเอง
ถ้าไม่ใช่กรรมใหม่ก็กรรมเก่า


พระพุทธเจ้าทรงชี้ว่ากรรมเก่าของมนุษย์
ก็คือสิ่งที่เลือกไม่ได้ตั้งแต่เกิด ได้แก่
กายแบบมนุษย์นี้ และจิตสำนึกแบบมนุษย์นี้
ส่วนกรรมใหม่ของมนุษย์
คือสิ่งที่เลือกได้ว่าจะให้เป็นอย่างไร ได้แก่
เจตนาดีชั่ว เบียดเบียนหรือเกื้อกูล มีศีลหรือทุศีล


ฉะนั้น หากสิ่งใดบังเกิดขึ้นแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้
พ้นจากการควบคุมหรือขวนขวายพยายาม
สิ่งนั้นเป็นผลของกรรมเก่า
เช่น ถูกรางวัลใหญ่ที่เขาจัดรายการชิงโชค
หรือจู่ๆมีตีนผีขับมาชนท้ายดื้อๆ


แต่หากสิ่งใดเกิดขึ้นด้วยผลของความพยายาม
ความตั้งใจให้เกิดขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบทางใจ ทางความรู้สึก
สิ่งนั้นเป็นผลของกรรมใหม่
เช่น เลือกที่จะไม่ทำร้ายตอบคนที่ทำร้ายก่อน
จึงเบาใจจากการไม่ต้องสู้รบปรบมือ
เลือกที่จะไม่ผิดกาเมทั้งที่มีโอกาส
จึงโล่งใจไม่ต้องรู้สึกผิดในภายหลัง
เลือกที่จะปลีกตัวออกจากสังคมหัวราน้ำ
จึงปลอดโปร่งกายใจไม่ต้องสติเพี้ยน


กรรมเก่าเป็นตัววางแผนว่าชีวิตนี้คุณต้องพบกับอะไร
ส่วนกรรมใหม่เป็นตัวแทรกแซง
ให้เกิดอะไรขึ้นหลังจากพบกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง


สรุปโดยย่นย่อ การตั้งความเชื่อแบบพุทธ
คือทำไว้ในใจว่า กรรมไม่ได้เริ่มทำกันที่ชาตินี้
ชาตินี้เกิดมาเป็นอย่างนี้ด้วยผลของกรรมเก่า
แต่คนที่นึกว่าอะไรๆถูกกำหนดไว้หมดแล้ว
ดิ้นหนีหรือทำอะไรให้ดีขึ้นไม่ได้แล้ว
จัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ 
เป็นต้นเหตุกรรมใหม่ในแบบงอมืองอเท้า
ไม่ใช่ทางไปสู่ความเจริญ
ไม่ใช่เหตุแห่งความสบายกายสบายใจ
ทั้งวันนี้และวันหน้า


ดังตฤณ
มิถุนายน ๒๕๕๘




 

http://www.twitter.com/Dungtrin

http://www.facebook.com/Dungtrin

heading02

  • วิธีการปฏิบัติธรรมที่อาจมีคำเรียกขานต่างกันไปนั้น 
    แท้ที่จริงแล้วแตกต่างกันหรือไม่
    และจะทราบได้อย่างไรว่าเราปฏิบัติได้ดีแล้ว
    ติดตามได้จากวิสัชนาธรรม โดย หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
    ตอน "นั่งสมาธิ นั่งวิปัสสนาและนั่งกรรมฐาน เหมือนหรือต่างกันอย่างไร"
    ในคอลัมน์ "สารส่องใจ" (-/\-)


  • ใครที่มีเป้าหมายจะปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นทุกข์ให้ได้ในชาตินี้
    แต่พบว่าเมื่อชีวิตมีความสุขขึ้น ความเพียรกลับลดลง
    คอลัมน์ "ดังตฤณวิสัชนา" มีคำตอบให้ 
    ในตอน "ทำอย่างไรให้เลิกเกียจคร้านในการปฏิบัติธรรม"

  • ภัยธรรมชาติต่างๆ เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
    การเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติจึงเป็นเรื่องจำเป็น
    ดังคุณงดงามได้นำมาแบ่งปันกันไว้
    ในคอลัมน์ "จุดหมายปลายธรรม" ตอน "เตรียมรับภัย"

--

---
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณสมัครรับข่าวสารจากกลุ่ม "ธรรมะใกล้ตัว" ของ Google Groups
หากต้องการยกเลิกการสมัครรับข่าวสารและหยุดรับอีเมลจากกลุ่มนี้ โปรดส่งอีเมลไปที่ dharma-at-hand+unsubscribe@googlegroups.com
หากต้องการดูตัวเลือกเพิ่มเติม โปรดไปที่ https://groups.google.com/d/optout

ไม่มีความคิดเห็น: