วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

[SIAMHRM.COM :18675] ตลาดต่างประเทศ

 

ตลาดหุ้นนิวยอร์ค:ดาวโจนส์ปิดลบหลังดัชนีกิจกรรมธุรกิจหดตัว
 
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับตัวลงในวันพุธหลังดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจเขตมิดเวสต์หดตัวลงเกินคาด แต่แรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีชั้นนำ อาทิ ซิสโก ซิสเทมส์ในช่วงสิ้นไตรมาสได้ช่วยพยุงตลาด
 
        ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดลบ 29.92 จุดหรือ 0.31% สู่ 9,712.28, ดัชนี S&P 500 ปิดลดลง 3.53 จุดหรือ 0.33% สู่ 1,057.08 และดัชนี Nasdaq ปิดปรับตัวลง 1.62 จุดหรือ 0.08% สู่ 2,122.42
 
        ปริมาณซื้อขายหนาแน่นราว 1.77 พันล้านหุ้นในตลาดนิวยอร์ค และราว 2.76 พันล้านหุ้นในตลาด Nasdaq โดยมีจำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวกในอัตราส่วนประมาณ 3 ต่อ 2 ในตลาดนิวยอร์ค และมากกว่า 8 ต่อ 5 ในตลาด Nasdaq
 
        สถาบันจัดการด้านอุปทาน (ISM) เปิดเผยดัชนีธุรกิจเขตชิคาโกร่วงเกินคาดสู่ 46.1 ในเดือนก.ย.ซึ่งเป็นระดับที่บ่งชี้ถึงการหดตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค
 
        ดัชนีดาวโจนส์บวกขึ้น 15% ในไตรมาสนี้ และปรับตัวดีที่สุดในรายไตรมาสนับตั้งแต่ไตรมาส  4 ของปี 1998 ขณะที่ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้นเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน 15% และดัชนี Nasdaq บวก 15.7% ในไตรมาส 3
 
        สำหรับเดือนก.ย. ดัชนีดาวโจนส์บวก 2.3%, ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 3.6% และดัชนี Nasdaq บวก 5.6% โดยการปรับตัวขึ้นนี้ตรงกันข้ามกับแนวโน้มที่ผ่านมาซึ่งแสดงว่าเดือนก.ย.จะเป็นเดือนที่ย่ำแย่สำหรับตลาดหุ้นสหรัฐ
 
        กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขจีดีพีหดตัวลงมากเกินคาดในไตรมาส 2     (รอยเตอร์)
 
 
 
ตลาดน้ำมันนิวยอร์ค:สต็อกเบนซินร่วงหนุนราคาน้ำมันดิบปิดพุ่ง 3.9 ดอลล์
 
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นเกือบ 6 % มาปิดตลาดที่ระดับเหนือ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันพุธ ในขณะที่ราคาสัญญาผลิตภัณฑ์น้ำมันพุ่งขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขสต็อกผลิตภัณฑ์น้ำมันในคลัง และไม่ได้รับผลกระทบจากการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ของตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบ
 
        ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนพ.ย.พุ่งขึ้น 3.90 ดอลลาร์ หรือ 5.85 % มาปิดตลาดที่ 70.61 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 66.22-70.72 ดอลลาร์
 
        ราคาน้ำมันดิบมีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 วันที่ 68.76 ดอลลาร์ และ 20 วันที่ 69.38 ดอลลาร์ โดยมีแนวรับทางเทคนิคที่ 65.05 ดอลลาร์ และสามารถทะยานข้ามแนวต้านที่ 68.45 ดอลลาร์
 
        สัญญาผลิตภัณฑ์น้ำมันเดือนต.ค.ครบกำหนดส่งมอบในช่วงปิดตลาดวันพุธส่วนสัญญาน้ำมัน heating oil เดือนพ.ย.ปิดตลาดพุ่งขึ้น 10.58 เซนต์ หรือ 6.13 % สู่ 1.8324 ดอลลาร์ต่อแกลลอน หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1.7110-1.8355 ดอลลาร์
 
        สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐ (EIA) รายงานว่าสต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 2.8 ล้านบาร์เรล สู่ 338.4 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 25 ก.ย., สต็อกน้ำมันกลั่นเพิ่มขึ้น 300,000 บาร์เรล สู่ 171.1 ล้านบาร์เรล,สต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 1.6 ล้านบาร์เรล สู่ 211.5 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมัน heating oil เพิ่มขึ้น 400,000 บาร์เรล สู่ 51.2 ล้านบาร์เรล และอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันลดลง 1.0 % สู่ 84.6%    (รอยเตอร์)
 
 
 
ตลาดโลหะมีค่านิวยอร์ค:ทองปิดพุ่งเหนือเส้น 1,000 ดอลล์
 
ราคาทองที่ตลาดสหรัฐพุ่งขึ้นเหนือระดับ 1,000 ดอลลาร์อีกครั้งในวันพุธ โดยปิดพุ่งขึ้น 1.5% จากดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง, ราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้น และสถานการณ์ตึงเครียดที่รุนแรงขึ้นในตะวันออกกลาง
 
        ราคาทองได้แรงหนุน เมื่อดอลลาร์ร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญส่วนใหญ่ ขณะที่ข้อมูลของสหรัฐบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐกำลังมีการฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพโดยทั่วไป
 
        สำหรับราคาโลหะมีค่ามีดังต่อไปนี้  
 
                  ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง  (ดอลลาร์)
 
 ทองเดือนธ.ค.     1,009.30                  + 14.90
 
 เงินเดือนธ.ค.        16.658                 + 48.00 (เซนต์) 
 
พลาตินั่มเดือนม.ค.  1,302.90                  + 24.70
 
 พัลลาเดียมเดือนธ.ค.  299.20                  +  9.20     (รอยเตอร์) 
 
 
 
ตลาดเงินนิวยอร์ค:ดอลล์ร่วงจากความหวังศก.สหรัฐฟื้นตัว
 
ดอลลาร์ร่วงลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลสำคัญในวันพุธ ขณะที่การคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้นว่า เศรษฐกิจสหรัฐกำลังฟื้นตัวขึ้นนั้นได้ลดความต้องการดอลลาร์ในฐานะแหล่งลงทุนที่ปลอดภัย  ทั้งนี้ ดอลลาร์อยู่ที่ 89.700 เยน เทียบกับระดับปิดวันอังคารที่ 90.090 เยน  ส่วนยูโรอยู่ที่ 1.4641 ดอลลาร์ และ 131.38 เยน เทียบกับระดับปิดวันอังคารที่ 1.4583 ดอลลาร์ และ 131.39 เยน
 
        ข้อมูลที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐหดตัวลงในไตรมาส 2 ในอัตราที่ชะลอลง จากที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ได้ช่วยหนุนยูโรและปอนด์ ขณะที่ดอลลาร์ออสเตรเลียและดอลลาร์นิวซีแลนด์ทะยานขึ้น 
 
        ตลาดปริวรรตเงินตราไม่ได้สนใจรายงานการผลิตเขตมิดเวสต์ประจำเดือนก.ย.ที่บ่งชี้ว่า กิจกรรมการผลิตร่วงลงเกินคาด
 
        ยูโรปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ และปรับตัวขึ้นรายไตรมาส 4.3%  ขณะที่ดอลลาร์ร่วงลงเมื่อเทียบกับเยน และร่วง 6.8% ในไตรมาส 3    เทรดเดอร์กล่าวว่า ดอลลาร์ยังร่วงลงจากการที่ผู้จัดการกองทุนจำเป็นต้องขายดอลลาร์เพื่อรักษาอัตราส่วนการประกันความเสี่ยงในช่วงสิ้นไตรมาส
 
        ดัชนีดอลลาร์ลดลง 0.5% สู่ 76.731 โดยลดลง 4.3% ในไตรมาส 3 และลดลง 1.8% ในเดือนก.ย.
 
        กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า เศรษฐกิจสหรัฐติดลบ 0.7% ในไตรมาส  2 เมื่อเทียบกับรายงานครั้งแรกในเดือนที่ผ่านมาที่ติดลบ 1.0%     
 
         สถาบันจัดการด้านอุปทาน (ISM) ของสหรัฐเปิดเผยดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจในเขตมิดเวสต์ร่วงลงสู่ 46.1 ในเดือนก.ย. จากระดับ 50.0 ในเดือนส.ค  โดยดัชนีที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ถึงการหดตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค
 
         ADP Employer Services เปิดเผยตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนทั่วสหรัฐ ลดลงเกินคาด 254,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. แม้ต่ำกว่าการลดลง  277,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค.     (รอยเตอร์)   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ตลาดเงิน Emerging Asia:ดอลล์ไต้หวันพุ่งแรงนำสกุลเงินเอเชีย
 
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลต่างๆในเอเชีย  โดยร่วงลงเมื่อเทียบกับเยน ในขณะที่ผู้ส่งออกญี่ปุ่นขายดอลลาร์เพื่อชำระ บัญชีก่อนสิ้นไตรมาส แม้ว่าดอลลาร์อยู่เหนือจุดต่ำสุดรอบ 8 เดือนที่ทำไว้
 
เมื่อต้นสัปดาห์นี้ก็ตาม             
 
        ดอลลาร์ไต้หวันปรับตัวขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบ 1 ปี  มาที่ 32.11 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐโดยได้แรงหนุนจากการไหลเข้าของเม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้น และการขายดอลลาร์ของผู้ส่งออก………        วอนพุ่งขึ้นสูงถึง 1,179.10 ต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 14 ต.ค. เทรดเดอร์กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ปริวรรตเงินตราของเกาหลีใต้เข้าซื้อดอลลาร์เพื่อยับยั้งความแข็งแกร่งของวอน ………รูเปียห์ปรับตัวขึ้น 0.7 % สู่ 9,665 ต่อดอลลาร์ ในขณะที่เงินทุนยังคงไหลเข้าสู่ตลาดพันธบัตรภายในประเทศ..........ริงกิตแข็งค่าขึ้น 0.37 % สู่ 3.470 เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ……………. บาท/ดอลลาร์ภาคบ่ายแข็งค่าขึ้นทำจุดสูงสุดในรอบ 14 เดือน ซึ่งเป็นไปตามสกุลเงินต่างประเทศ ที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์  อยู่ที่ 33.41/45 จาก 33.55/59 เมื่อช่วงเช้า ขณะที่ในตลาด offshore อยู่ที่ 33.42/46 จาก 33.57/58 ช่วงเช้า โดยหลังบาทผ่านแนวต้าน 33.50 ได้ ทำให้มีแรงส่งให้แข็งขึ้นได้แรงพอสมควร และจากทิศทางของดอลลาร์ที่ยังคงอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ทำให้บาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าต่อไป โดยมีแนวต้านที่ 33.35/55 (รอยเตอร์)  
 
 
 
ดัชนีค่าระวางเรือ (Baltic Dry Index) ปิดวานนี้ (30 ก.ย.)   บวก 35 จุดหรือ 1.6% สู่ 2220 ระดับสูงสุดของปีนี้อยู่ที่ 4291 และระดับต่ำสุดของปีนี้อยู่ที่ 772  ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 554  ระดับปิดสูงสุดของปีที่แล้วอยู่ที่ 11793 และระดับปิดต่ำสุดของปีที่แล้วอยู่ที่ 663      
 
        ความเคลื่อนไหวของดัชนีในช่วง 5 วันทำการที่ผ่านมามีดังนี้:-
 
          วันที่                  ระดับปิด         เปลี่ยนแปลง (จุด)
 
       29 ก.ย.                  2185                 -7
 
       28 ก.ย.                  2192                 +9
 
       25 ก.ย.                  2183                +20
 
       24 ก.ย.                  2163                -12
 
       23 ก.ย.                  2175                -71     (รอยเตอร์)
 
 

 


--~--~---------~--~----~------------~-------~--~----~
       - ร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล  -

แนะนำ :

http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ประกาศตำแหน่งงาน แถมฟรีสูงสุด 3 เดือน ถึง 30 ตุลาคม 52 นี้

http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
-  หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
-  หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
-  หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
-~----------~----~----~----~------~----~------~--~---

ไม่มีความคิดเห็น: