วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

[SIAMHRM.COM :32545] ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการลาป่วยของลูกจ้าง

เรียน  คุณสัจจะ
       
         เรื่องการลางานของลูกจ้าง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลาป่วยนั้น  มีความสำคัญเป็นอย่างมากครับ เพราะมีพนักงานลาป่วยอยู่เสมอ ๆ และฝ่ายบุคคลก็เข้าใจผิดกันเยอะด้วย ทั้งนี้ เพราะตีความ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 32 ผิด  ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงต้องศึกษา พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 32 และคำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้องให้ดี ๆ ครับ  มิฉะนั้นท่านอาจจะพลาดได้
          พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 32 บัญญัติว่า  ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง  การลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจให้ลุกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการ  ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งได้ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ 
         ในกรณีที่นายจ้างจัดแพทย์ไว้ ให้แพทย์นั้นเป็นผู้ออกใบรับรอง  เว้นแต่ลูกจ้างไม่สามารถให้แพทย์นั้นตรวจได้
         วันที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้เนื่องมากจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากการทำงานจากการทำงาน  และวันลาเพื่อคลอดบุตรตามมาตรา 41 มิให้ถือเป็นวันลาป่วยตามมาตรานี้ 
    
          ผมจึงขออนุญาตชำแหละหรือตีความ มาตรา 32 ให้เห็นชัดตามลำดับของถ้อยคำและประโยคแต่ละประโยคที่เกี่ยวข้องดังนี้ครับ
          1. ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง  หมายถึง  หากลูกจ้างป่วยจริง ลูกจ้างก็มีสิทธิขอลาป่วยได้ตราบเท่าที่ยังป่วยอยู่
          2.
การลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการ  หมายถึง  หากลูกจ้างลาป่วยติดต่อกันตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการก็ได้เท่านั้น  กฎหมายมิได้บังคับว่า ลูกจ้างจะต้องแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งเสมอไป  เพราะอาการป่วยของคนเรานั้น มีมากมายหลายโรค และหลายอาการ ตั้งแต่เบาไปหาหนัก จนถึงหนักมาก  อุบัติเหตุก็เป็นการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง  กรณีลูกจ้างหรือผู้ป่วยนั้น จึงอาจเจ็บป่วยขั้นรุนแรงอยู่โดยไม่มีใครทราบ หรือโดยที่ไม่อาจช่วยเหลือตัวเองได้ด้วย  หรืออาจมีเหตุสุดวิสัยอื่น ๆ ก็ได้กฎหมายจึงไม่สามารถบังคับให้แสดงใบรับรองแพทย์โดยเด็ดขาดได้
          และการที่กฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไป  อาจต้องแสดงใบรับรองแพทย์ต่อนายจ้าง  ก็แสดงว่า การลาป่วยที่ไม่เกิน 3 วันติดต่อกันนั้น  ลูกจ้างสามารถลาโดยมิต้องมีใบรับรองแพทย์ก็ได้ 
          3. ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งได้ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ หมายความว่า กรณีลูกจ้างอาจเจ็บป่วยขั้นรุนแรงอยู่โดยไม่มีใครทราบ หรือโดยที่ไม่อาจช่วยเหลือตัวเองได้ด้วย  หรืออาจมีเหตุสุดวิสัยประการอื่น ๆ ก็ได้  เมื่อหายป่วยและกลับมาทำงานได้แล้ว  ก็ให้ลูกจ้างชี้แจงถึงการเจ็บป่วย และเหตุที่ไม่อาจแจ้งลาป่วยนั้น ให้นายจ้างทราบ                          
           ในขณะเดียวกัน  หากไม่มีข้อเท็จจริงโดยแจ้งชัดซึ่งแสดงให้เห็นว่าลูกจ้างมิได้ป่วยจริง  หรือมิได้มีเหตุสุดวิสัยใด ๆ นายจ้างจึงจะด่วนสรุปว่าลูกจ้างขาดงานเกิน 3 วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรแล้วยังไม่ได้ กรณีนายจ้างจึงต้องตรวจสอบให้ละเอียด
           ดังนี้ กรณีนายจ้างจึงต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงต่าง ๆ ให้แน่ชัดเสียก่อนครับว่า  ที่ลูกจ้างหายไปเฉย ๆ เกิน 3 วันนั้น  ลูกจ้างหายไปไหน ถ้าหากมีพยานหลักฐานว่าลูกจ้างอยุ่สุขสบายดี นายจ้างก็สามารถประกาศเลิกจ้างได้ทันที่ (ติดไว้ที่บอร์ด หรือส่งไปให้ลูกจ้างด้วยก็ได้)
          ส่วนที่คุณสัจจะถามว่าใบรับรองแพทย์นั้น แพทย์จะต้องระบุว่าให้ลาได้ด้วยหรือไม่นั้น ผมเห็นว่าเป็นความเข้าใจผิดครับที่เข้าใจว่าแพทย์สามารถระบุว่าให้ลาหรือไม่ให้ลาได้  ความจริงก็คือ ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจว่าจะต้องลาป่วยหรือไม่นั้น ก็คือผู้ป่วย หรือญาติในกรณีที่ผู้ป่วยไม่อาจตัดสินใจเองได้ครับ
ไม่ใช่แพทย์  แพทย์นั้นเป็นเพียงผู้วินิจฉัยโรคและรับรองว่าคนไข้ป่วยจริงหรือไม่เท่านั้นครับ เพราะฉะนั้นใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่าคนไข้ได้มาตรวจรักษาโรคจริง ประกอบกับคำวินิจฉัยว่า เป็นโรคอะไร มีอาการอย่างไร ก็เป็นใบรับรองแพทย์ที่สมบูรณ์แล้วครับ  กรณีแพทย์จึงไม่จำต้องระบุด้วยว่าให้หยุดได้หรือไม่ได้หรือหากหยุดได้ได้กี่วันแต่อย่างใดครับ
          4. คำถามต่อมาว่า  การลาที่เกินกว่าแพทย์กำหนด เราสามารถที่จะไม่อนุมัติให้ลาป่วยได้หรือไม่นั้น  ผมเห็นว่า  ต้องดูที่ข้อเท็จจริงครับว่า  ลูกจ้างป่วยจริงหรือไม่  เพราะหากลูกจ้างยังป่วยอยู่ และไม่เกิน 3 วันติดต่อกัน  แม้จะไม่ได้ไปพบแพทย์  แต่กรณีลูกจ้างก็สามารถลาป่วยได้โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ดังกล่าวข้างต้นครับ  อันนี้ต้องตรวจสอบให้ดีครับ เพราะหากกรณีมีหลักฐานชัดว่าลาป่วยเท็จ ก็เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้โดยมิต้องจ่ายค่าชดเชยใด ๆ
          ที่สำคัญอยู่ที่ว่าลูกจ้างแจ้งลาป่วยหรือไม่ครับ  เพราะหากไม่แจ้งลาให้นายจ้างทราบโดยไม่มีเหตุ ผลสมควร ก็เป็นความผิดอีกฐานหนึ่งครับ คือผิดระเบียบเกี่ยวกับการลา  ซึ่งมิใช่ความผิดร้ายแรง นายจ้างต้องลงโทษด้วยการเตือนก่อนตามขั้นตอนครับ หากไม่มีหลักฐานว่าลูกจ้างลาป่วยเป็นเท็จ  เราจะอ้่างเหตุนี้เลิกจ้างเลยทันทียังไม่ได้

สวัสดีครับ
สมทัต
        

--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
 
แนะนำ :
 
www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน 3 เดือน แถมอีก 1 เดือน ฟรี*ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2554 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
 
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

ไม่มีความคิดเห็น: