นโยบายนี้ไม่สามารถใช้บังคับตามกฎหมายได้ครับ เพราะเป็นการเอาเปรียบลูกจ้างเกินสมควร
การที่ลูกจ้างจะทำงานได้ตามที่คาดหวังหรือไม่นั้น ต้องเร่ิมมาจากองค์กรได้กำหนดคุณสมบัติของพนักงานเอาไว้อย่างไร
และมีการสรรหาพนักงานมาได้ใกล้เคียงกับคุณสมบัติที่กำหนดไว้หรือไม่ และเมื่อได้พนักงานมาทำงานแล้ว องค์กรมีวิธีการสอนแนะ
ฝึกงาน หรืออบรมอย่างไร เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้ตามที่คาดหวัง
ซึ่งหาองค์กรมีระบบเริ่มต้นที่ดีแล้ว โอกาสที่พนักงานจะทำงานได้ตามที่ต้องการก็จะมีมาก ปัญหาที่จะต้องเลิกจ้างในกรณ๊นี้ก็แทบจะไม่มีเลยครับ
เพราะยังไงก็ตามหากองค์กรมีระบบในการประเมินผลทดลองงานที่ชัดเจนแล้ว พนักงานที่ไม่สามารถทำงานได้ตามที่คาดหวังก็จะถูกเลิกจ้างในขั้นตอนทดลองงานนี้แล้วครับ
การออกระเบียบนี้มานอกจากจะขัดต่อกฎหมายแล้วก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาประสิทธิภาพของพนักงานได้ครับ
คำถามข้อที่ 1. นพักงานฟ้องตามมาตรา 14/1 เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้นายจ้างยกเลิกระเบียบนี้ได้ครับ ถึงแม้พนักงาตคิดจะลาออกอยู่แล้วหรือไม่ก็ตาม แต่เนื่องจาก
ระเบียบข้อนี้ไปขัดกับมาตรา 118 ครับ
ข้อที่ 2 ระเบียบนี้ได้กำหนดให้พนักงานเขียนใบลาออกและจ่ายค่าชดเชยให้ครึ่งหนึ่ง
ก็จะขัดต่อมาตรา 17 และมาตรา 118 ครับ เพราะการที่ลูกจ้างจะลาออกนั้น ต้องเป็นความประสงค์ของลูกจ้างเอง นายจ้างจะไปบังคับ หรือออกระเบียบมาเพื่อบังคับไม่ได้
และการจ่ายค่าชดเชยต่ำกว่าสิทธิตามมาตรา 118 ก็ขัดต่อกฎหมายครับ
ข้อที่ 3 การที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ตามเป้าหมาย ไม่ได้เป็นความผิดทางวินัยครับ นายจ้างจะไปออกใบเตือนไม่ได้ เพราะใบเตือนนั้นตามกฎหมายจะใช้เพื่อการควบคุมวินัย
สำหรับลูกจ้างที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามวินัยที่นายจ้างกำหนดไว้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น การที่พนักงานไม่สามารถทำงานตามเป้าหมาย แต่ถ้าเค้ายังคงมีวินัยและความรับผิดชอบที่ดีแล้ว
นายจ้างจะไปออกใบเตือนไม่ได้ครับ
ที่ถูกต้องนายจ้างจะต้องมีการอบรมหรือฝึกฝนให้พนักงานสามารถ ทำงานได้ตามที่ต้องการ หากลูกจ้างทำไม่ได้จริง ๆ ทั้งที่นายจ้างได้มีการสอนงานเต็มที่แล้ว นายจ้างจึงจะพิจารณาเลิกจ้างไปตามมาตรา 118 ได้ครับ แต่หากนายจ้างไปออกใบเตื่อนซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องทางวินัย และมีการเลิกจ้างในภายหลัง ไม่ว่าจะมีการจ่ายค่าชดเชยให้ครบถ้วนหรือไม่ก็ตาม ลูกจ้างสามรรถฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้ตามมาตรา 49 พรบ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานได้ครับ
อดิศร
From: rattapum@applicadthai.com
To: siamhrm@googlegroups.com
Subject: [SIAMHRM.COM :36512] ขอถามเรื่องการให้พนักงานออก กรณีผลการทำงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
Date: Tue, 19 Jul 2011 09:39:41 +0700
พอดีผู้บริหารมีนโยบายใหม่ประมาณว่าถ้า พนักงานคนใดทำงานไม่เป็นไปตามเป้าฯ หรือไม่มีประสิทธิภาพหัวหน้างานมีสิทธิเสนอชื่อเข้าที่ประชุมคณะผู้บริหารพิจารณาอนุมัติให้ออก
โดยให้พนักงานท่านนั้นเขียนใบลาออก แล้วบริษัทฯ จ่ายเงินชดเชยให้ครึ่งหนึ่งตามสิทธิที่พนักงานควรได้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
แต่มีข้อสงสัยดังนี้
1. นโยบายดังกล่าวหากพนักงานไม่ยินยอม เค้ามีสิทธิจะฟ้องทางแรงงานจังหวัดได้ไหมครับ ในความเห็นผมถ้าพนักงานมีความคิดจะลาออกอยู่แล้วก็ไม่น่ามีปัญหา
2. นโยบายดังกล่าวขัดกับข้อ กม. อย่างไรไหมครับ
3. ถ้าในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทฯ ไม่ได้ระบุนโยบายดังกล่าวไว้ แต่ระบุในกรณีเลิกจ้างโดยด้รับค่าชดเชยไว้ดังนี้“ กรณีที่พนักงานหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน โดยไม่สามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ หรือผลงานไม่เป็นที่พอใจ หรือไม่ได้มาตรฐานตามที่บริษัทกำหนดไว้ ทั้งนี้ หลังจากที่บริษัทได้ตักเตือนไปแล้วแต่ยังไม่สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นภายในระยะเวลาอันสมควร “ จำเป็นจะต้องแก้ไข ปรับปรุงไหมครับ
รบกวนข้อคำแนะนำเพื่อน ๆและผู้รู้ด้วยครับ ... ขอบคุณครับ
|
| |
--
- โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
แนะนำ :
http://www.JobSiam.com : โปรโมชั่น สุดคุ้ม*! แถม Flash Drive 16GB ฟรี ถึง 31 กรกฎาคม 54 นี้
http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
http://www.facebook.com/JobSiam ** กด Like เป็น Fan Page ของเรานะค่ะ **
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
- หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
- หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
- หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
- เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น