วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

RE: [SIAMHRM.COM :32929] พนักงานแอบนอนหลับเวลาทำงาน

สวัสดีครับ อดิศร ครับ
กรณีนี้ควรกำหนดออกมาให้เป็นระเบียบปฎิบัติที่ชัดเจนนะครับ
ซึ่งหากจะว่ากันตามกฎหมายแล้ว การหยุดงานไปเที่ยว ไม่ใช่เป็นการลากิจครับ
เพราะการลากิจนั้น ลูกจ้างต้องมีกิจธุระอันจำเป็น และขออนุญาตต่อนายจ้างตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ซึ่งนายจ้างจะจ่ายค่าจ้างให้ด้วยหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าระเบียบข้อบังคับนั้น นายจ้างกำหนดไว้อย่างไร
การหยุดงานไปเที่ยวจึงไม่ควรใช้ในลักษณะของการลากิจครับ เพราะต่อไปจะเกิดความสับสนวุ่นวายภายในองค์กรได้
  กรณีอย่างนี้ควรให้สิทธิในวันหยุดพักผ่อนประจำปีจะดีกว่าครับ ซึ่งนายจ้างก็สามารถกำหนดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีวันไหนก็ได้ หรือนายจ้างกับลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าก็ได้
แต่นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้นะครับ
อดิศร
 
> From: angkana@mmpfilm.com
> To: adisorn_pers@hotmail.com; nkorthanyawat@yahoo.com; lovelyhrs@googlegroups.com; siamhrm@googlegroups.com; angkana@mmpfilm.com
> Subject: RE: [SIAMHRM.COM :32928] พนักงานแอบนอนหลับเวลาทำงาน
> Date: Mon, 21 Feb 2011 11:19:24 +0700
>
> เรียน คุณอดิศร และเพื่อน ๆ สมาชิก
> มีประเด็นที่อยากขอแชร์ความเห็นค่ะ
> บริษัทฯ มีสวัสดิการเงินให้พนักงานแบ่งเป็น BU รายเดือน แล้วแต่ละ BU ไปบริหารจัดการเงินก้อนนี้ ในทุก BU เมื่อสะสมเงินได้ก้อนโต ก็จะพาพนักงานทั้งทีมไปเที่ยวต่างประเทศบ้าง ในประเทศบ้างเป็นหมู่คณะ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะต้องคาบเกี่ยววันทำงานด้วย
> คำถามคือ ทุกท่านคิดเห็นอย่างไรว่า พนักงานควรใช้การลาแบบใด ระหว่างพักร้อนหรือลากิจค่ะ บางคนบอก พักร้อนคือการหยุดเพื่อพักผ่อนครอบครัว แต่หากหยุดไปเที่ยวหมู่คณะ ต้องใช้ลากิจ แต่ในมุมของดิฉันคือ บริษัทฯให้เงินเที่ยวแล้ว น่าจะใช้วันหยุดบริษัทไปเที่ยว หรือถ้าคาบเกี่ยวก็ควรต้องเสียสละวันพักร้อนบ้าง
> ขอแชร์ความเห็น HR ด้วยค่ะ (แล้วจะพูดอย่างไรให้ผู้บริหารแต่ละ BU เข้าใจ)
>
> -----Original Message-----
> From: siamhrm@googlegroups.com [mailto:siamhrm@googlegroups.com] On Behalf Of adisorn klinpikul
> Sent: 21 กุมภาพันธ์ 2554 10:56
> To: nkorthanyawat@yahoo.com; lovelyhrs@googlegroups.com; siamhrm@googlegroups.com
> Subject: RE: [SIAMHRM.COM :32926] พนักงานแอบนอนหลับเวลาทำงาน
>
> สวัสดีครับ อดิศร ครับ
> กรณีนี้เป็นปัญหาเรื่องของกระบวนการพิจารณาทางวินัย และเรื่องของระบบการปกครองในองค์กรครับ
> ขอตอบคำถามที่ถามมาก่อนแล้วกันนะครับ
> ข้อ 1. HR. ที่มีการพูดคุยนั้น ก็อาจจะเป็นการพูดคุยเพื่อตักเตือนหรืออาจจะลงโทษ แต่ผลคือพนักงานไม่ยอมรับ
> ก็เป็นปัญหาตั้งแต่ระบบการปกครองแล้วครับ
> ข้อ 2. HR. จะห้ามพนักงานเข้าบริษัทก็ได้ครับ แต่พนักงานคนนั้นต้องได้รับการพิจารณาถึงขึ้นเลิกจ้างเสียก่อน
> การไปห้ามโดยที่ยังไม่มีหลักฐานว่าได้สิ้นสุดสภาพการจ้างงานแล้ว ก็ไม่ถูกต้องครับ ลูกจ้างร้องเรียนได้
> ข้อ 3. เรื่องนี้เป็นกรณีพิพาทขึ้นแล้ว ถ้าจะให้ผ่อนหนักเป็นเบา ก็แนะนำให้มีคณะกรรมการสอบสวนและพิจารณาเรื่องนี้
> โดยให้โดยความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย ซึ่งจริง ๆ แล้ว เรื่องเป็นเรื่องเล็กครับ แต่วิธีการ หรือกระบวนการมีปัญหาสองประการข้างต้น
> จึงทำให้เรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่ไปแล้วครับ
> ต้องคุยกันด้วยเหตุผลให้เข้าใจครับ
> แนวทางการไกล่เกลี่ยเรื่องนี้ก็คือต้องมีความเป็นกลางในการพิจารณาและสอบสวนโดยคณะกรรมการต้องพิจารณาจากความเป้นจริงที่เกิดขึ้นไล่เรี่ยงมาเป็นลำดับเหตุการณ์
> ตั้งแต่
> 1. พนักงานคนหนึ่งแอบหลับในเวลาทำงาน กรรมการก็ต้องไปหาพยานหลักฐานว่าเป็นความจริงหรือไม่
> ถ้าเป็นความจริง พนักงานคนนั้นก็ผิด แต่โทษอย่างนี้ควรมีการตักเตือนกันก่อนเป็นลำดับเบาไปหนัก
> ตั้งแต่เตือนด้วยวาจา ตักเตือนเป็นหนังสือ ซึ่งหากมีการตักเตือยเป็นหนังสือแล้ว พนักงานยังกระทำเช่นเดิมอีก จึงจะเลิกจ้างได้
> แต่ถ้าสอบสวนแล้วขาดพยายหลักฐาน หรือพนักงานไม่ได้กระทำจริง ก็ต้องยกประโยชน์ให้จำเลย หรือหากมีการกลั่นแกล้งกัน
> ก็ต้องสอบสวนต่อเพื่อหาผู้กระทำผิดครับ แล้วก็พิจารณาโทษไปตามที่เห็นสมควร
> 2. ปัญหาของ HR, ซึ่งเป็นคู่กรณี
> ก็ต้องมาสอบสวนถึงวิธีการที่ HR. ได้คุยกับพนักงานคนนั้นครับ ว่าคุยอย่างไร ผลถึงออกมาเป็นอย่างนี้
> ซึ่ง HR. ก็อาจจะมีความผิดก็ได้ เช่นอาจจะใช้วิธีการคุยที่ไม่ดี หรือวิธีการพิจารณาโทษที่ไม่เป็นธรรม
> ซึ่ง ถ้า HR. ผิด ก็ต้อง พิจารณาโทษเหมือนกันครับ จะได้เกิดความเป็นธรรมกันทั้งสองฝ่าย
>
> แนวทางแก้ไขเหตุกาณ์เฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นก็ควต้องทำไปในแนวนี้ก่อนครับ ข้อสำคัญคือจะต้องมีบรรยากาศที่เหมาะสมในการคุยด้วย
> ไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างใช้อารมณ์โดยไม่คำนึงถึงเหตุผล กรรมการต้องทำหน้าที่นี้ให้ดีครับ
>
> ในระยะยาว องค์กรต้องแก้ไขเรื่องระบบการปกครองเสียก่อนครับ
> ลักษณะนี้อาจแสดงว่าหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชาในสายงายต่าง ๆ ไม่ได้ใช้อำนาจในการปกครองลูกน้องตัวเอง
> แต่มาฝากทุกอย่างไว้ที่ HR. เป็นผู้ใช้อำนาจ
> ซึ่งผิดหลักการปกครองครับ เวลามีปัญหาพิพาทในองค์กรจึงไม่มี HR. ที่จะต้องมาทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ย
> และที่สำคัญคือ HR. จะกลายเป็นผู้มีอำนาจมากจนเกินไป ซึ่งอาจใช้อำนาจไม่ถูกต้องก็ได้
> อย่างปัญหาที่เกิดขึ้นมานี้ครับ ก็เลยต้องใช้คณะกรรมการที่ต้องเสียเวลามาไกล่เกลี่ยแทน
>
> - การปกครองทีถูกต้องก็คือ ผู้บังคับบัญชาตามสายงานจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบลูกน้องตัวเอง
> ถ้าลูกน้องทำผิดอะไรก็ต้องเป็นผู้พิจารณาโทษ โดยที่ HR. อาจจะต้องให้คำปรึกษาในบางกรณี
> ทั้งนี้องค์กรก็จะต้องสอนให้ผู้บังคับบัญชาได้มีความรู้ด้านกฎหมายแรงงาน จิตวิทยาการปกครอง หลักและกระบวนการพิจาณาทางวินัยด้วยครับ
> เค้าจะได้ใช้อำนาจหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง
> และหากเกิดปัญหาขัดแย้งระหว่างผู้บังคับบัญชากับลูกน้อง HR. ก็จะต้องเข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ย
> - กระบวนการพิจารณาทางวินัย องค์กรจะต้องมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยชอบด้วยกฎหมาย
> มีการอบรมพนักงาน และหากพนักงานกระทำความผิดก็ต้องรีบสอบสวน หรือพิจารณาโทษกันไปตามสมควรแก่เหตุครับ
> ลักษณะที่เกิดขึ้นนี้ก็แสดงว่าในองค์กร ไม่มีกระบวนการพิจารณาทางวินัยครับ
> เพราะหากมี พนักงานคนนั้นก็จะต้องผ่านกระบวนการตักเตือนด้วยวาจา จากผู้บังคับบัญชา ( ไม่ใช่ HR. )
> หรือมีการตักเตือนเป็นหนังสือจากผู้บังคับบัญชา ( ไม่ใช่ HR. ) มาตั้งแต่ครั้งแรกที่มีการพบเห็นว่าพนักงานคนนี้แอบหลับในเวลางาน
> แต่ถ้าผู้บังคับบัญชาตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว พนักงานยังกระทำผิดซ้ำอีกภานในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
> ผู้บังคับบัญชาที่เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้าง ก็สามารถพิจารณาเลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชยครับ ซึ่งหากถึงขึ้นนี้
> HR. ก็ควรจะต้องเข้ามาทำหน้าที่ร่วมด้วยครับ
>
> ถ้าเรา SET ระบบไว้อย่างนี้แล้ว ปัญหาเล็ก ๆ อย่างนี้ ก็จะไม่กลายมาเป็นเรื่องใหญ่ครับ
> อดิศร
>
>
> Date: Sat, 19 Feb 2011 21:45:28 -0800
> From: nkorthanyawat@yahoo.com
> Subject: [SIAMHRM.COM :32904] พนักงานแอบนอนหลับเวลาทำงาน
> To: siamhrm@googlegroups.com
>
>
>
> ปรึกษาเพื่อน HR ทุกท่านค่ะ
>
> มีพนักงานชายคนนึง HR จะได้รับทราบการกระทำผิดเรื่องการแอบนอนหลับในเวลางานบ่อยครั้ง
> แต่ไม่เคยพบเห็นจัง ๆ สักครั้ง มีแต่พนักงานผู้หวังดี โทรเข้ามาแจ้งให้ทราบ
>
> ครั้งล่าสุดมีคนมาแจ้งให้ HR คนหนึ่งทราบ
> HR คนนั้นก็เรียกพนักงานเข้ามาคุย แต่คุยยังไงกันไม่ทราบ
> ปรากฎว่าพนักงานโกรธ และหุนหันออกจากที่ทำงานไปในช่วงบ่าย
> หลังจากนั้นในช่วงเย็นของวันนั้นก็ได้โทรศัพท์มาหา HR คนนั้นเพื่อบอกว่า
> จะเข้าไปทำงานในวันจันทร์ และจะขอลาออกล่วงหน้า 15 วัน
> HR คนนั้นก็ตอบไปว่า คงไม่ต้องไปทำงานแล้ว การกระทำของพนักงานที่ผ่านมาก็น่าจะพิจารณาตัวเองได้
> หลังจากที่พนักงานคนนั้นได้ฟังก็เริ่มมีอาการโกรธต่อว่ากันด้วยถ้อยคำรุนแรงกับ HR คนนั้นและพูดขู่ว่าจะไม่ยอมให้เรื่องจบง่าย ๆ
> เพราะเค้าทำผิดแค่นี้เอง ทำไมไม่ให้โอกาสกันบ้าง
>
> สรุปก็คือ HR คนนั้นเกิดกลัวพนักงานจะเข้าไปทำร้าย จึงโทรแจ้งให้ รปภ.ทราบว่าในวันจันทร์ ห้ามให้พนักงานคนนี้เข้าบริษัทฯ โดยเด็ดขาด
>
> มีคำถามค่ะ
> 1. พนักงานกระทำความผิดโดยการถูกกล่าวหา HR ก็ไม่พบเห็นและมีหลักฐาน ยังไม่มีการตักเตือนและยอมรับผิดของพนักงานแต่อย่างใด
> 2. HR คนนั้นสามารถห้ามเข้าบริษัทฯ ได้เลยในขณะนี้หรือไม่
> 3. เรื่องราวดังกล่าวควรพิจารณาจัดการได้อย่างไรไม่ให้มีความรุนแรงเกิดขึ้น และถูกต้องตามกฎหมายแรงงานคะ
>
> ดิฉันเป็น HR อีกคนหนึ่งที่เพียงแค่ได้รับทราบข้อมูลไม่ได้มีโอกาสคุยกับพนักงานที่มีปัญหา และต้องการจะจัดการเรื่องนี้ให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานค่ะ
> ขอบคุณทุกท่านมากค่ะ
>
> น้ำเย็น.
>
>
> --
> - โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
>
> แนะนำ :
>
> www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน 3 เดือน แถมอีก 1 เดือน ฟรี*ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2554 นี้
> http://www.SiamHRM.com <http://www.siamhrm.com/> : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
> http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
>
> คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
> - หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
> - หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
> - หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
> - เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
> ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
>
>
> --
> - โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
>
> แนะนำ :
>
> www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน 3 เดือน แถมอีก 1 เดือน ฟรี*ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2554 นี้
> http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
> http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
>
> คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
> - หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
> - หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
> - หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
> - เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
> ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
>
> --
> - โปรดร่วมกัน เสวนา ถาม-ตอบ วันละ 1 กระทู้ สร้างความรู้ใหม่ได้ มหาศาล -
>
> แนะนำ :
>
> www.JobSiam.com : โปรโมชั่น*! ลงประกาศตำแหน่งงาน 3 เดือน แถมอีก 1 เดือน ฟรี*ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2554 นี้
> http://www.SiamHRM.com : สยามเอชอาร์เอ็ม ดอทคอม รวมพลคนทำงาน มากที่สุด
> http://www.facebook.com/JobSiam ติดตามตำแหน่งงาน Update. ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
>
> คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "บริหารทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทย"
> - หากต้องการโพสต์ ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ siamhrm@googlegroups.com
> - หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่ siamhrm+unsubscribe@googlegroups.com (ยืนยัน การยกเลิกใน Email อีกครั้ง.)
> - หากต้องการดูกระทู้ หัวข้อ HR โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่ http://groups.google.co.th/group/siamhrm?hl=th&pli=1
> - เนื่องจากสมาชิกมีจำนวนมาก สมาชิกทุกท่าน ควรอ่านกติกา มารยาท และใช้เมล์กรุ๊ปร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์
> ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

ไม่มีความคิดเห็น: